คนสร้างสุข

directions_run

การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการแก้ไขปัญหาความ ไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนสู่สังคมสันติสุข

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการแก้ไขปัญหาความ ไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนสู่สังคมสันติสุข
ภายใต้โครงการ ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมประชาภาคสังคม ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้
ภายใต้องค์กร องค์กร???
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 17 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 กันยายน 2560 - 31 มีนาคม 2561
งบประมาณ 250,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์กรเปอร์มูเดอร์เบิร์ดอิลมู
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมารุยูกีรานิง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 ก.ย. 2560 31 มี.ค. 2561 250,000.00
รวมงบประมาณ 250,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเป็นปัญหาที่สำคัญของสังคม เพราะก่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนและสังคมส่วนรวมเป็นอันมาก โดยเฉพาะความเสียหายทางระบบเศรษฐกิจ ซึ่งหากสังคมใดมีปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น สังคมนั้นจะประสบความไม่สงบและเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมีหลายชนิด ไดแก่ ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ลอบวางเพลิง และทำร้ายร่างกาย เป็นต้น เหล่านี้ล้วนก่อความเดือนร้อนให้กับประชาชนและสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นตัวบั่นทอนความสงบด้านความปลอดภัยในการดำรงชีวิตของประชาชน และกระทบความต่อเชื่อมั่นของนักลงทุนจากต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม จิตใจ และความเป็นอยู่ของประชาชนที่หวาดระแวง และตื่นตระหนกในความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งสะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงานด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยที่รัฐมีพันธะสัญญาต่อประชาชนและสังคม อันนำไปสู่ความไม่พึงพอใจต่อการบริการของรัฐในภาพรวม ภายใต้นโยบายการดูแลความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินก็ยังไม่ลดลงตามเป้าหมายที่ต้องการ ยังคงเพิ่มขึ้นมีรูปแบบที่สลับซับซ้อนและมีความรุนแรงมากขึ้นมากที่ผ่านมา
การดูแลความสงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเป็นบทบาทหนึ่งในหลายบทบาทของกำนันและผู้ใหญ่บ้านในเขตหมู่บ้านและตำบล ซึ่งอาศัยตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 (ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม 2547)อันเป็นกฎหมายแม่บทของการปกครองท้องที่ที่ได้กำหนดให้กำนันและผู้ใหญ่บ้าน มีอำนาจหน้าที่ในทางปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตหมู่บ้านและตำบลของตนที่เรียกกันว่า “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” อำนาจหน้าที่ในทางปกครองดังกล่าว ได้แก่ หน้าที่ชี้แจงข้อราชการให้ประชาชนทราบ หน้าที่ควบคุมประชาชนให้ปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งต้องกระทำตามกฎหมาย หรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ นอกจากนั้น ยังมีหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนประชาชน ตลอดจนทำตัวเป็นตัวอย่างตามที่ทางราชการแนะนำ เป็นต้น

ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้และศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้สรุปสถิติจังหวัดนราธิวาสที่เป็นจังหวัดอันดับแรกในชายภาคแดนใต้ได้เกิดลักษณะความไม่สงบและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อาทิ ยิงด้วยอาวุธปืน ลอบวางระเบิด ลอบวางเพลิง ฆ่าทารุณ ทําร้ายร่างกาย และอาชญากรรมทั่วไป เป็นต้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557-2558 จำนวน 272 เหตุการณ์ พื้นที่หมู่บ้านและตำบลของจังหวัดนราธิวาสมีบ้างพื้นที่มิได้เกิดเหตุและบ้างพื้นที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบและอาชญากรรมทั่วไปที่ทำให้ประชาชนไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งการกระทำที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในพื้นที่ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประสบปัญหาอยู่ในภาวะถดถอย และการให้บริการทางสังคม การศึกษาและสาธารณสุขไม่อาจดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทุกพื้นที่และทุกกลุ่มเป้าหมายได้ นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตกับประชาชน ตลอดจนประชาชนบางส่วนพากันทยอยอพยพออกจากพื้นที่ และส่งผลให้วัฒนธรรมความดีงามภายใต้ความหลากหลายของเชื้อชาติ ศาสนา และประเพณีวัฒนธรรมค่อยๆ เลือนหายไป และศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้และศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้สรุปลักษณะของปัญหาความไม่สงบและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในอำเภอต่างๆ ในจังหวัดนราธิวาส ปี พ.ศ. 2557-2558 พบว่าอำเภอที่เกิดปัญหาความไม่สงบและอาชญากรรมทั่วไปอยู่ในระดับมากที่สุดคือ อำเภอรือเสาะ รองลงมาคืออำเภอตากใบ และอำเภอสุไหงปาดี ตามลำดับ สำหรับอำเภอที่เกิดปัญหาความไม่สงบและอาชญากรรมทั่วไปที่มีต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอยู่ในระดับน้อยที่สุดคืออำเภอจะแนะ รองลงมาคือ อำเภอศรีสาครและอำเภอสุคิริน ตามลำดับ จังหวัดนราธิวาสมีตำบลรวมทั้งหมดจำนวน 73 แห่ง และหมู่บ้าน จำนวน 525 แห่ง แสดงได้ว่าจังหวัดนราธิวาส มีกำนัน จำนวน 73 คน และผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 525 คน (กรมการปกครอง. 2558 : ธันวาคม) สำหรับพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ และอาชญากรรมทั่วไป หรือการกระทำที่ผิดกฎหมาย ที่ทำให้ประชาชนไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เนื่องอาจเกิดจากความหละหลวมการปฏิบัติในอำนาจและหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมาย ได้แก่ อำนาจหน้าที่ในทางปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย และอำนาจในทางอาญา การไม่มีส่วนรวมและความร่วมมือของประชาชน รวมทั้งขาดความรอบคอบและสังเกตพฤติการณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบในหมู่บ้านและตำบลในเขตปกครองตนเอง เป็นต้น จากปัญหาดังกล่าวอันเป็นช่องว่างที่นำมาซึ่งเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความไม่สงบและอาชญากรรมทั่วไปที่มีผลต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งได้เป็นเครื่องชี้วัดถึงระดับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่ลดลง อันจะส่งผลกระทบต่อความหวาดกลัว และความไม่มั่นคงทางสังคมตามมา ซึ่งแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสลดลง แก้ไข หรือบรรเทาปัญหาความไม่สงบในระดับหนึ่งได้ คือการมีส่วนร่วม และให้ความร่วมมือกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในการหามาตรการต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

จากปัญหาและความสำคัญข้างต้นจะเห็นได้ว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนันและผู้ใหญ่บ้าน มีความสำคัญต่อการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนสู่การพัฒนาพื้นที่จังหวัดนราธิวาสและสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เจริญละสันติสุข ดังนั้น คณะผู้ทำงานจึงเห็นว่าถ้าต้องการให้พื้นที่นี้ได้รับการแก้ไข หรือบรรเทา และพัฒนาจะต้องไม่ละเลยความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจึงอยากทำโครงการการมีส่วนของประชาชนกับกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในจังหวัดนราธิวาส เพื่อให้เกิดความสงบและสันติสุขในพื้นที่แห่งนี้อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 250,000.00 5 250,000.00
1 ต.ค. 60 กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่มครั้งที่ 1 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ 0 62,500.00 62,500.00
19 ต.ค. 60 - 19 ก.ค. 61 กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่มครั้งที่ 2 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ 0 62,500.00 62,500.00
3 พ.ย. 60 กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่มครั้งที่ 3 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ 0 62,500.00 62,500.00
27 พ.ย. 60 - 26 มี.ค. 62 กิจกรรมเวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการเพื่อนำสู่สาธารณชนโดยมีเอกสารรายงานผลของโครงการฯ และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ 0 62,500.00 62,500.00
15 ก.ค. 61 กิจกรรมอบรมบันทึกข้อมูลประชาสังคม 0 0.00 0.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2561 13:39 น.