แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

องค์กร???


“ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านซีโปร์ ”

บ้านซีโปร์ หมู่ 4 ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นาย ปักรูเด็น มิง

ชื่อโครงการ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านซีโปร์

ที่อยู่ บ้านซีโปร์ หมู่ 4 ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ J9604 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 17 กันยายน 2560 ถึง 31 มีนาคม 2561


กิตติกรรมประกาศ

"ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านซีโปร์ จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านซีโปร์ หมู่ 4 ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ องค์กร??? ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านซีโปร์



บทคัดย่อ

โครงการ " ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านซีโปร์ " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านซีโปร์ หมู่ 4 ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ J9604 ระยะเวลาการดำเนินงาน 17 กันยายน 2560 - 31 มีนาคม 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 180,000.00 บาท จาก องค์กร??? เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 50 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ด้วยปัญหาความไม่สงบของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ นับวันยิ่งเลวร้ายขึ้นทุกที ทำให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนภาคประชาชนเองรู้สึกเบื่อและไม่ค่อยให้ความสนใจมากนัก จนทำให้การร่วมมือร่วมพลังต่อสู้กับสถาณการถูกชะลอลงตามลำดับ
          เยาวชนในวันนี้ นับเป็นอนาคตของชาติ ที่เราทุกคนละเลยไม่ได้แม้แต่วินาทีเดียว ซึ่งสถารณ์ที่เกิดขึ้นปัจจุบันก็บ่งบอกให้เห็นถึงสภาพการจัดการกับเยาวชนในอดีตทั้งทางตรงและทางอ้อม และประเทศชาติในภายภาคหน้าจะสงบสุขหรือยืดเยื้อต่อไปก็ขึ้นอยู่กับการที่ทุกคนช่วยกันพัฒนา กำหนดทิศทางเยาวนในวันนี้ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
          เยาวชนที่อยูในระบบโรงเรียนและเรียนต่อในระดับสูงๆเพื่อหางานทำ รับราชการ ก็ถือว่ามีความหวังอยู่ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเรามองถึงเยาวชนนอกระบบ ที่ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียนซึ่งมีอยู่ในชุมชนบ้านเรา ณ ปัจจุบันไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งถ้าเราบอกว่าส่วนใหญ่แล้วเยาวชนกลุ่มนี้จะถูกละเลย ก็ถือว่าไม่ผิด เพราะทั้งปัญหาการศึกษา ปัญหาขาดคุณธรรมจริยธรรม ปัญหายาเสพติด ปัญหาไม่มีงานทำ ขาดรายได้ สิ่งต่างๆเหล่านี้ อาจจะเป็นตัวเชื่อมของการเกิดปัญหาความไม่สงบของสามจังหวัดชายแดนภาคใด้ด้วยก็ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกิจกรรมหรือกิจวัตรประจำวันของเยาวชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นชุมชนชนบทหรือชุมชนเมือง ไม่เว้นแต่ชุมชนไทยพุทธหรือมุสลิม           เมื่อ พ.ศ 2550 กลุ่มเยาวชนบ้านซีโปร์ได้มารวมตัวกันเพื่อจัดกิจกรรมร่วมกัน ทั้งกิจกรรมทางศาสนา ละหมาดห้าเวลา อ่านอัลกุรอาน เรียนรู้หลักธรรมของศาสนาอย่างถูกต้อง และกิจกรรมอื่นๆ เช่นกิจกรรมกีฬา งานวันพ่อ วันแม่ วันสำคัญต่างๆตลอดจน กิจกรรมการอบรมอาชีพระยะสั้น อบรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การอบรมเชิงปฏิบัติการการทำการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครอบคลุมทั้ง ทางด้านการศึกษา สายสามัญ( ก ศ น ) ศาสนาและสายอาชีพเพื่อหวังเป็นพื้นฐานหลักในการดำรงชีวิติในอนาคต อีกทั้งเพื่อหลีกเลี่ยงจากภัยยาเสพติดอีกด้วย
          ย่างเข้าสิบปีกับการรวมกลุ่มของเยาวชนบ้านซีโปร์ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นที่เห็นได้ชัดได้แก่
1 การเพิ่มของสมาชิคจากหกคนเป็นสิบคนเป็นสิบห้าและปัจจุบันมีสมาชิคที่มารวมกลุ่มกันจากในหมุ่บ้านและชุมชนใกล้เคียงจำนวนทั้งสิ้น 150 คน ทั้งหญิงและชาย อายุตั้งแต่ 6 – 25 ปี ทุกคนไม่มั่วสุมกับยาเสพติดแม้กะทั่งบุหรี่แม้แต่คนเดียว เป็นเยาวชนนอกระบบ 50 คน 2 มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ มีการออมเงินอาทิตย์ละครั้ง 3 ทางด้านอาชีพได้มีการกู้เงินจากกลุ่มออมทรัพย์ ซื้อแม่พันธุ์วัว ควาย และแพะมาเลี้ยง 4 ส่วนมูลสัตว์ได้ทำเป็นปุ๋ยหมัก และจัดทำเป็นแปลงผักปลอดสารพิษไว้กินในกลุ่ม เป็นต้น
          ดังนั้น เพื่อเป็นการต่อยอดและยกระดับกลุ่มอาชีพของเยาวชนอันเป็นจุดประกายของการสร้างรากฐานอาชีพแก่ชุมชน และเพื่อหลีกเลี่ยงเยาวชนให้พ้นจากภัยอันตรายของยาเสพติดอันนำไปสู่ความสันติสุขของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงขอเสนอโครงการนี้เพื่อรับการสนับสนุนต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

เพื่อสร้างอาชีพที่มั่นคงให้แก่เยาวชน     เพื่อให้ชุมชนเกิดรายได้ที่แน่นอนในชีวิตประจำวัน     เพื่อสร้างความสามัคคี ปรองดอง อันนำไปสู่ความสงบสุขของบ้านเมือง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. บรรยายธรรมแก่เด็กนักเรียนตาดีกา ต้อนรับฮิจรอฮศักราชแห่งอิสลาม
  2. การจัดธรรมชมรมตาดีกาตำบลนานาค
  3. กิจกรรมที่ 5 พิธีเปิดกิจกรรมโครงการ
  4. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 การวางแผนการดำเนินงาน
  5. กิจกรรมที่ 3 ค่าเดินทางและติดต่อประสานงาน
  6. กิจกรรมที่ 4 จัดซื้ออุปกรณ์สำนักงาน
  7. กิจกรรมที่8 ปรับฐานเรียนรู้ทั้ง 7 ฐาน
  8. ประชุมครั้งที่ 2 ติดตามผลการดำเนินงาน
  9. กิจกรรมที่ 6 อบรมเรื่องวิทยากรเศรษฐกิจ
  10. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 การสือสารข้อมูลข่าวสารกับกลุ่มเป้าหมาย
  11. กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมศึกษาดูงาน
  12. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 เตรียมสรุปบทเรียนภาพรวมโครงการ
  13. กิจกรรมที่ 9 จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการและนำเสนอต่อสาธารณชน
  14. กิจกรรมที่ 2 จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน
  15. อบรมการบันทึกข้อมูลการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม
  16. ต้อนรับ ผอ.ปรีชา ชนะกิจคำจร และคณะทีมงานจาก ศอ. บต. ลงพื้นที่เยี่ยม 7 องค์กรภาคประชาสังคมในอำเภอตากใบ
  17. ประชุมร่างโครงการวิจัยทางเลือกประเด็นอาชีพของเยาวชนปอเนาะซีโป
  18. ถอดบทเรียนการดำเนินงานพัมนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอหัวข้อ อำเภอสุขใจ
  19. ประชุมปรึกษาหารือกับผู้ประสานงานแต่ละตำบล(ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขอำเภอตากใบ) เพื่อวางแผนจัดโครงการสร้างเครือข่ายแกนนำจัดการขยะและจัดการชุมชน(โครงการปี62ที่เสนอต่อ ศอ.บต)
  20. ต้อนรับทีมงาน หน่วยงานระดับอำเภอ คณะติดตามความคืบหน้าการจัดการขยะของปอเนาะซีโปร์และร่วมตกลงวางแผนขับเคลื่อนกิจกรรมสร้างแกนนำนักจัดการขยะและจัดการชุมชน(โครงการเสนอ ศอ.บต งบปี 62)
  21. กิจกรรม สร้างแกนนำการจัดการขยะและจัดการชุมชน (ระดับตำบล)ภายในตำบลโฆษิต ครั้งที่ 1
  22. กิจกรรมสร้างเครือข่ายแกนนำนักจัดการขยะและจัดการชุมชน (ระดับตำบล) ภายในตำบลโฆษิต ครั้งที่ 2
  23. ร่วมเป็นผู้นำเสนอต่อคณะกรรมการประเมินคัดเลือกอำเภอสะอาดในโครงการ จังหวัดสะอาด
  24. อบรมให้ความรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษร่วมกับสำนักงานกองทุนฝื้นฟูและพัฒนาเกษตร จังหวัดนราธิวาส
  25. อบรมพัฒนาศักยภาพภาคประชาสังคมรุ่นที่ 2
  26. อบรมการจัดการขยะ ขัดแยกขยะ จัดตังธนาคารขยะในตาดีกา
  27. ร่วมงานประเมินคัดเลือกมัสยิดพอเพียงหรือศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงประจำมัสยิดระดับจังหวัดนราธิวาส
  28. ประชุมประจำเดือน ตุลาคม 2561

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมที่ 3 ค่าเดินทางและติดต่อประสานงาน

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560

กิจกรรมที่ทำ

1-พ.ย-60  ได้เบริกเงินเป็นค่าเดินทางไปประฐมนิเทคโครงการใหม่  ณ  มหาวิทยาลัยราชภัฎ  ยะลา
15-พ ย-60 ได้เบริกเงินค่าเป็นเดินทางซึ่งได้เดินทางไปรับเช็คโครงการ  ณ ศอบต  จ ยะลา
15-พ ย-60 ได้เบริกเงินเป็นเดินทางซึ่งได้เดินทางไปปรับแก้โครงการ  ณ  ศอบต  จ ยะลา 15-พ ย-60 ได้เบริกเงินเป็นค่าเดินทางซึ่งได้เดินทางไปส่งโครงการ  ณ  ศอบต  จ  ยะลา 31-ธ ค-60 ได้เบริกเงินเป็นค่าเดินทางซึ่งได้เดินทางไปส่งรายงานสรุปโครงการจำนวน 3 เล่ม  ณ ศอบต  จ ยะลา
15-พ ย-60 ได้เบริกเงินเป็นค่าประสานงานตอน ปรับปรุงแก้ไขโครงการ 15-พ ย-60 ได้เบริกเงินเป็นค่าติดต่อประสานโครงการ 15-พ ย-60 ได้เบริกเงินเป็นค่าประสานงานปฐมนิเทศโครงการ 30-พ ย-60 ได้เบริกเงินเป็นค่าอินเตอร์เน็ต 17-ธ ค-60 ได้เบริกเงินซึ่งเป็นค่าติดต่อประสานงานและค่าส่งแฟ็กไปทัศนศึกษา ณ ศูนย์พิกุลทอง
30-ธ ค-60 ได้เบริกเงินซึ่งเป็นค่าติดต่อประสานงานส่งรายงานสรุปโครงการ   

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดช่องทางที่สามารถเดินทางไปติดต่องาน ขับเคลื่อนงาน เชื่อมต่อการทำงานระหว่างศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านซีโปร์กับ ศอ.บต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเกิดกระบวนการติดต่อประสานงานระหว่างทีมงานจัดกิจกรรมซึ่งเป็นทีมงานหลักกับ กลุ่มเป้าหมาย หน่วยงานที่เป็นพี่เลี้ยงเป็นที่ปรึกษาเฉพาะด้านหรือระหว่างองค์กรณ์ภาคประชาสังคมที่เป็นเครือข่ายภายในอำเภอ นอกอำเภอ ตลอดจนหน่วยงานหลักหรือแม่งานคือ ศอ.บตในการช่วยผลักดันงานให้ทุกอย่างขับเคลื่อนเข้าสู่กระบวนการต่างๆอันเป็นภาพที่สามารถมองเห็นหนทางแห่งความสำเร็จของผลลัพท์ที่จะเกิดขึ้นเพื่อสนองวัตถุประสงค์และความตั้งใจของโครงการทุกประการ

 

2 2

2. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 การวางแผนการดำเนินงาน

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2560

กิจกรรมที่ทำ

ประธานและรองประธานได้ชี้แจงและทำความเข้าใจรายละเอียดกิจกรรม วัตถุประสุงค์โครงการ งบประมาณ วิธีการและขั้นตอนการเบิรกจ่าย การจดบันทึกและการเตรียมหลักฐานต่างๆเพื่อเตรียมสรุปแต่ละกิจกรรมและสรุปภาพรวมตามลำดับอย่างละเอียด ร่วมวางแผนการทำงาน แบ่งบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน นัดสรุปกิจกรรมรอบนี้หลังจากจัดกิจกรรม หลังจากนั้นให้แต่ละคนกล่าวสะท้อนประเมินความพร้อมของตัวเองในการทำหน้าที่ของตัวเองที่อาสารับผิดชอบ การประชุดครั้งนี้ถือว่าครั้งแรกก่อนเริ่มกิจกรรมเห็นทุกคนมีพลังกันทุกคน อันไหนที่ไม่เข้าใจก็ซักถามแต่ตอบกันอย่างเฮฮาและเป็นกันเอง ทุกคนพร้อมที่จะเดินทางไปในทิศทางเดียวกันครับขอบคุณครับ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทีมงานพร้อมรับหน้าที่ในการดำเนินงานตามบทบาทที่ได้รับมอบหมายเต็มไปด้วยความเข้าใจ เข้าถึงตั้งแต่สภาพปัญหา ที่มาของโครงการ วัตถุประสงค์ รายละเอียด ตลอดจนงบประมาณดำเนินโครงการ ตามข้อตกลงเดินตามตารางแผนการดำเนินงานที่ได้นัดแนะจัดกิจกรรม ถอดบทเรียน แก้ไขปรับปรุง วิเคราะห์ผลลัพท์ตลอดจนสรุปบทเรียนแต่ละกิจกรรมและสรุปภาพรวมทั้งกิจกรรม 

 

15 15

3. กิจกรรมที่ 4 จัดซื้ออุปกรณ์สำนักงาน

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2560

กิจกรรมที่ทำ

จัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์สำนักงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดอบรมและจัดกิจกรรมทุกกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการรวบรวมเอกสารประกอบการสรุปและที่จะใช้ในการนำเสนอ ใช้ในสำนักงานสำนักงานได้เตรียมใว้อย่างครบถ้วนเพื่อความสะดวก รวดเร็วในการทำงานและจัดกิจกรรม ที่สำคัญวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ช่วยให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

1 1

4. กิจกรรมที่ 5 พิธีเปิดกิจกรรมโครงการ

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2560

กิจกรรมที่ทำ

มีการประชาสัมพันธ์ โครงการให้ชุมชนได้รับทราบถึงที่มาของงบประมานและวัตถุประสงค์ของโครงการ  ขอบคุณหัวหน้าศิรพงค์ ที่ท่านได้ให้เกียรต์มาเป็นประธานในพิธี ในงานนี้มีหลายส่วนและหลายหน่วยงาน  เช่นสำนักงานเอกชนอำเภอตากใบ  หน่วยในพื้นที่  อ.บ.ต  กศน. ตากใบ  หน่วยงานปศุสัตว์ในโครงการพระราชดำริ เข้าร่วมเป็นเกียรติและพบปะให้กำลังใจผู้เข้ารวมและคณะทีมงานขับเคลื่อนโครงการและพร้อมเป็นพี่เลียงในการขับเคลีอนโครงการใหั้บรรจุตามเป้าประสงค์ที่วางไว้ ทั้งทางด้านให้คำแนะ ความรู้ และปัจจัยเล็กๆน้อยๆที่สามารถช่วยได้  หลังจากนั้นท่านประธานและแขกผู้มีเกียรติ ตลอดจนผู้เข้าร่วมงานทุกคน เข้าชมฐานเรียนรู้ที่ทางศูนย์เรียนรู้ได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้นบ้างแล้วแต่ยังไม่ได้สมบูรณ์ พร้อมให้คำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไข และให้กำลังใจทุกคน ก่อนกระจายกันกลับบ้านก็ได้ร่วมรับประทานอาหารกันอย่างสนุกสนาน ขอบคูณครับ      

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนตั้งแต่ทีมงานจัดกิจกรรม น้องๆนักเรียนปอเนาะนูรุลฟาลาฮ พ่อแม่ผู้ปกครองตลอดจนแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน เข้าใจที่มาของโครงการ รู้ถึงเจตนารมขององค์กรภาคประชาสังคมร่วมกับ ศอ.บต ที่จะขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และทุกฝ่ายพร้อมใจที่จะขับเคลื่อนงาน ร่วมกันแก้ไขและพัฒนาให้บ้านเมืองเราสงบสุขด้วยแนวทางสันติวิธีโดยการสอดแทรกในทุกกระบวนการ ทุกกิจกรรมเรื่องการเข้าใจตรงกัน การรักใคร่สามัคคีกัน การไม่แบ่งแยกศาสนา การไม่ทะเลาะ ไม่ฆ่ากันตลอดจนการปลูกฝังความเชื่อที่ถูกต้องให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ และร่วมรณรงค์ให้ทุกคนหันมาสร้างอาชีพให้ครอบครัวและบุตรหลานให้มีรายได้พอมี พอกินอันเป็นต้นทุนหลักของความสงบสุขของบ้านเมืองและที่รู้สึกภาคภูมิใจอีกอย่างหนึ่งคือทุกหน่วยงานพร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์พร้อมๆกัน ในขณะเดียวกันผู้เข้าร่วมทุกคนทั้งแขกผู้มีเกียรติตลอดจนประธานในพิธีใด้ชมและได้เห็นถึงความตั้งใจของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านซีโปร์ร่วมกับสถาบันศึกษาปอเนาะนูรุลฟาลาฮบ้านซีโปร์ที่ร่วมกันจัดตั้งฐานเรียนรู้ตั้งแต่การสร้างคนให้เป็นพลเมืองดีคือกระบวนการการเรียนการสอนในสถาบันปอเนาะที่มีทั้งสามัญ ศาสนา และวิชาอาชีพจนถึงขั้นกระบวนการฝึกทักษะการประกอบอาชีพคือฐานเรียนรู้ที่ทางศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านซีโปร์ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเตรียมรองรับเยาวชนและชาวบ้านที่พร้อมจะฝึกอาชีพเน้นการปฏิบัติจริงด้านอาชีพการปลูกผักปลอดสารพิษ การเลี้ยงสัตว์ที่ถูกต้องตามหลักศาสนา การปลูกหญ้า การทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากมูลสัตว์ไว้ใช้เองเพื่อลดต้นทุนการผลิต และฐานเรียนรู้การจัดการชุมชนด้านสุขภาพคือการจัดการขยะอย่างถูกวิธี การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนทุกกระบวนการมีการขับเคลื่อนงานโดยเยาวชนเป็นแกนหลัก

 

87 87

5. กิจกรรมที่8 ปรับฐานเรียนรู้ทั้ง 7 ฐาน

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2560

กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมปรับปรุงฐานเรียนรูนั้นนับว่าเป็นกิจกรรมหลักของโครงการ เพราะทีมงานทุกคนมีเจตนารมที่จะยกระดับฐานเรียนรู้ที่น้องๆได้รวมพลังกันจัดตั้งขึ้นให้เป็นฐานเรียนรู้ที่ได้มาตรฐานซึ่งสามารถเป็นทั้งห้องเรียนวิชาอาชีพต่างๆเช่น วิชาเลี้ยงแพะ วิชาเลี้ยงวัว วิชาเลี้ยงควาย วิชาปลูกหญ้าซิกแนลเลื้อยเป็นต้น และเป็นได้ทั้งศูนย์เรียนรู้ที่สามารถรองรับทุกภาคส่วนที่ประสงค์เข้ามาศึกษาดูงานตามฐานเรียนรู้ต่างๆ
    ขั้นตอนการดำเนินงานกิจกรรมนี้ มีดังนี้ เรามีฐานแปดฐานแต่ฐานที่ต้องปรับปรุงมีแค่เจ็ดฐาน ใช้เวลาฐานละ 3 วันรวม 21 วัน วันแรกของแต่ละฐานเป็นคาบทฤษฎี เช้าสำรวจและคำนวนจุดที่ต้องการปรับปรุง ช่วงบ่ายเรียนรู้วิธีการปรับปรุงแก้ไขแต่ละขั้นตอน ส่วนวันที่ 2 เป็นวันที่ทุกคนลงสนาม มีการแบ่งหน้าที่ทำงานตามสมัครใจและตามถนัดโดยทีมพี่เลี้ยงไม่ได้บังคับให้น้องเลือกเองว่าจะอยู่ในหมวดงานไหนของงาน และมีหัวหน้าทีมเป็นหัวขบวนในการขับเคลื่อนงานแต่ละจุดให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ได้วางไว้ บรรยกาศการทำงานก็มีการร้องเพลง ขับร้องเพลงอานาซีด กล่าวโต้ตอบเฮฮากันอย่างสนุกสนาน  ซึ่งใช้เวลาหนึ่งวันครึ่ง คือวันที่สามอีกครึ่งวัน ตอนเย็นวันที่สามเป็นช่วงเวลาสรุปการทำงานของน้องๆทีมงาน ทุกๆกิจกรรมก็จะหมุนเวียนกันไปจนครบทุกฐาน และวันสุดท้ายคือวันที่ 21 ช่วงบ่ายเราจะแบ่งกลุ่มถอดบทเรียนทั้งกิจกรรมและสรุปกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

          เกิดองค์ความรู้ ทักษาและเทคนิคด้านต่างๆในการวางแผนก่อนทำแต่ละชิ้นงานเช่นการคำนวนขนาดของเล็บหรือเท้าลูกแพะเพื่อเว้นระยะห่างของพื้นคอกแพะเพื่อไม่ให้ติดเท้าลูกแพะแต่ขณะเดียวกันต้องคำนวณขนาดของขี้แพะเพื่อให้จุและหล่นลงไปใต้คอกแพะอัตโนมัตเพื่อไม่ให้ติดอยู่บนคอกแพะโดยไม่จำเป็นต้องกวาด หมายถึงการคำนวณความกว้างของระยะห่างพื้นคอกแพะต้องคำนึงถึงสองอย่างนี้เป็นต้นซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญที่เราได้บ่มเพาะในจิตวิญญาณอันบริสุทธ์ของเยาวชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม นอกจากนี้ยังเกิดองค์ความรู้ในด้านอื่นๆเช่น ทักษะการก่อสร้าง การเก็บรักษาวัสดุอุกรณ์ต่างๆ การใช้อุปกรณ์อย่างถูกวิธี
          เกิดการยึดเหนี่ยวและการเชื่อมต่อกันในทุกๆด้าน ด้านองค์ความรู้กับการปฏิบัติอันเชิงประจัก การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่เป็นเด็กกับผู้ใหญ่ หน่วยงานกับชุมชน ความเป็นกลุ่มเป็นก้อนที่มองเห็นชัดที่บ่งบอกถึงความสมัครสมานสามัคคีระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชนซึ่งเป็นกระบวนการที่ทุกคนเชื่อเหลือเกินว่านี่คือก้าวแรกของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและพัฒนาบ้านเมืองของเราให้มุ่งสู่ความสงบสุขอันยั่งยืน           เกิดฐานเรียนรู้ที่ได้มาตรฐานที่เหมาะกับการเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนชนที่ชุมชนดูแลกันเองหรือที่เรียกกันว่าชุมชนเป็นเจ้าของ
     

 

51 51

6. ประชุมครั้งที่ 2 ติดตามผลการดำเนินงาน

วันที่ 7 ธันวาคม 2560

กิจกรรมที่ทำ

ร่วมกันสรุปบทเรียนกิจกรรมที่ทำแล้วอีกครั้งเพื่อเปรียบเทียบกับกิจกรรมรอบแรกเพื่อหาข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นไปอีกในรอบต่อๆไป ทุกฝ่ายร่วมกันคลี่เอกสารหลักฐานหลังจากจัดกิจกรรมเพื่อให้ประธานและผู้รู้ช่วยกันตรวจดูว่าถูกต้องสมบูรณ์แล้วหรือยัง ปรากกฎว่ามีเอกสารบางส่วนที่ไม่สมบูรณ์และไม่ถูกต้อง จึงร่วมกันศึกษาวิธีการกรอกเอกสารใบสำคัญรับเงินที่จะเบิร์กเงินไปใช้ในการจัดกิจกรรม และร่วมกันแก้ไขเอกสารอื่นๆให้ถูกต้องสมบูรณ์ หลังจากนั้นก่อนปิดประชุมประธานได้เชิญให้ทุกฝ่ายได้นำเสนอและอธิบายแนวทางการดำเนินงานทุกอย่างทั้งที่ถูกต้องแล้วและที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ชัวว่าทุกคนเข้าใจ  การประชุมครั้งที่ทำให้ทุกคนตาสว่างมากยิ่่งขึ้น สุดท้ายประธานปิดประชุมและส่งท้ายด้วยประโยคว่า ผิดเป็นครู ขอบคุณครับ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ได้จัดไปแล้วถูกประเมินความสำเร็จและถูกวิเคราะห์ตลอดจนสะท้อนปัญหา เกิดแนวทางการปรับปรุงกิจกรรมรอบต่อไปเพื่อให้ผลลัพท์ที่จะเกิดขึ้นได้ตอบโจทย์วัตถุประสงค์หรือเกิดความเป็นไปได้ ความใกล้เคียงมากยิ่งขึ้นอีอย่างหนึ่งในเรื่องการจัดเตรียมเอกสารประกอบการสรุปกิจกรรมก็เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วยกระบวนการลองผิดลองถูกของทีมงานภายใต้ปรัญชญา ผิดเป็นครู เป็นแนวทางในการยกระดับงานเนื่องจากเป็นงานชิ้นแรกสำหรับบางท่านและเป็นงานที่ยากสำหรับนักเรียนปอเนาะที่ไม่ได้จบปริญญาแต่อย่างไรก็ตามทุกคนก็ทำงานด้วยความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะช่วยผลักดันงานให้บรรลุเป้า

 

15 15

7. กิจกรรมที่ 6 อบรมเรื่องวิทยากรเศรษฐกิจ

วันที่ 13 ธันวาคม 2560

กิจกรรมที่ทำ

ได้มีการจัดกิจกรรมอบรมการเป็นวิทยากรใช้เวลา 2 วัน  วันที่ 13-14  ธันวาคม  2560  การจัดกิจกรรมไม่ไช่แต่อบรมให้ความรู้อย่างเดียว  มีการแบ่งกลุ่มพรีเซ็นงาน ฝึกพูด ฝึกบรรยาย  เฮฮากันทุกกลุ่ม  และที่สำคัญไม่ไช่ฝึกบรรยายอยางเดียวแต่มันเป็นทั้งกระบวนการคือ ตั้งแต่การต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม การเตรียมพื้นที่  การเตรียมและเสิร์ฟอาหารว่าง  การเตรียมอาหารกลางวัน  การติดตามผู้เข้ารวมอบรมเข้าชมตามฐานเรียนรู้ต่างๆ  ระหว่างเข้าพบวิทยากรประจำฐานเรียนรู้ ฝึกทั้งวิธีกร  วิทยากรกระบวนการ  วิทยากรบรรยาย  ในศาลาอเนกประสงค์  และวิทยากรประจำฐานเรียนรู้  ทุกฐานเรียนรู้ เน้นความสมัครใจตามประสาบ้านๆ  แบบเรียบง่ายสไตย์ปอเนาะซีโปร์  ทุกคนชอบและขอบคุณวิทยากรในครั้งนี้คือ  คุณนูรีศันย์  อูเซ็ง  บัณฑิต ศอบต  ต โตะเด้ง  สุไหงปาดี จ นราธิวาส ขอบคุณหลายๆครับ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดวิทยาอาสาสมัคร นักสาธิต เครือข่ายการต้อนรับ ทีมจัดเตรียมอาหารกลางวัน เสริฟอาหารว่าง ชุดบริการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้าร่วมอบรม เรียนรู้ ฝึกทักษะอาชีพเพื่อวัตถุประสงค์ให้ผู้เข้าร่วมทุกท่านมีความสุขในการเรียนรู้และจบหลักสูตรอย่างมีคุณภาพสามารถนำความรู้และวิชาต่างๆที่ได้รับจากฐานเรียนรู้ทุกฐานภายในศูนย์เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพจริงกับครอบครัวและสามารถเป็นรายได้ให้กับครอบครัว ชุมชนต่อไปและที่สำคัญเพื่อเป็นแรงจูงใจใให้เกษตรกรเดินเข้ามาศึกษาและซักถามปัญหาในการทำงานตลอดจนมาขอรับปัจจัยการผลิตที่ทางศูนย์สามารถอนุเคราะห์ได้ ทุกๆครั้งที่มีปัญหาติดขัดในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังความเป็นจิตอาสาให้กับลูกๆที่จะช่วยบริการให้กับเพื่อนๆ น้องๆ พ่อแม่ผู้ปกครองที่มีความต้องการสร้างอาชีพ  และปลูกฝักความรักใคร่ สามัคคีกันในการทำงานเป็นทีม ลดช่องว่างความหวาดระแวง เพิ่มความเป็นญาติพี่น้องกันให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นโดยมิได้แบ่งแยกศาสนาซึ่งทางศูนย์เรียนรู้ก็ได้เปิดกว้างให้กับชุมชนไทยพุทธเข้ามาเรียนรู้วิถีความเป็นมุสลิมอันแท้จริงและทุกคนได้มีความใฝ่ฝันอยากให้มีกิจกรรมที่จะเชิญพี่น้องในพุธทในและนอกพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมและพี่น้องมุสลิมเราก็ยินดีเข้าร่วมจัดกิจกรรมในชุมชนไทยพุทธด้วยถ้าสะดวกเพื่อสร้างความสบายใจ ความไว้วางใจ ระหว่างสองศาสนาในชุมชนเดียวกัน

 

51 51

8. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 การสือสารข้อมูลข่าวสารกับกลุ่มเป้าหมาย

วันที่ 17 ธันวาคม 2560

กิจกรรมที่ทำ

      ร่วมกันสรุปบทเรียนกิจกรรมที่ทำแล้วครั้งครั้งที่3 เพื่อเปรียบเทียบถึงความก้าวหน้าของผลลัพท์ที่เกิดขึ้นและประเมินความคืบหน้าของการยกระดับพัฒนางาน ขั้นต่อไปก็เป็นการตรวจสอบความพร้อมและความถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดของเอกสารหลักฐานโดยทีมงานที่เข้ารับการอบรมในด้านนี้กับ ศอ.บต เป็นผู้ช่วยกลั่นกรอง สรุปแล้วความใกล้เคียงของความสมบูรณ์ของเอกสารหลักฐานต่างๆตลอดจนความตืบหน้าของการปรับปรุงแก้ไขปัญหาและความก้าวหน้าของผลลัพท์ทุกๆกิจกรรมก็กำลังปรากฏขึ้นเรื่อยๆแล้ว เราเหลืออีกไม่กี่กิจกรรมแล้วก็เป็นอันเสร็จสิ้นกิจกรรมต่างๆซึ่งทุกคนคาดว่าจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ประธานเน้นยำ้ให้ทกคนตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารที่ตนเองรับผิดชอบโดยเฉพาะเหรัญญิกให้ตรวจสอบลายเซ็นให้ถูกต้องด้วย 

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  เกิดความก้าวหน้าของผลลัพท์ที่เกิดขึ้นกับตัวบุคคลกลุ่มเป้าหมายและชุมชนตลอดจนเกิดกับศูนย์เรียนรู์ เกิดความคืบหน้าของการปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดระหว่างจัดกิจกรรมที่ทำให้กิจกรรมเกิดผลลัพท์ที่ไม่สนองต่อวัตถุประสงค์โครงการ ความถูกต้องและสมบูรณ์ของงานเอกสารหลักฐานของแต่ละฝ่ายรับผิดชอบ ความภาคภูมิใจและความมั่นใจของทีมงานที่ร่วมกันขับเคลื่อนงานให้บรรลุตามเป้าประสงค์ที่วางไว้และความสันติสุขที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคตกับบ้านเมืองโดยเฉพาะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือที่เราเรียกกันว่า สุดปลายด้ามขวานของเรา

 

15 15

9. กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมศึกษาดูงาน

วันที่ 18 ธันวาคม 2560

กิจกรรมที่ทำ

  หลังจากที่เราได้ฝึกอบรมวิทยกรแล้ว และ ก่อนที่เราจะมีการเปิดศูนย์เพือรับผู้เข้ารวมหรือ ขึ้นเวทีจริง เราอยากดูศูนย์เรียนรู้ทีเป็นรูปธรรมทีสมบูรณ์แบบเราเลยเลือก ศูนย์ศึกษาการและอยากสัมพัส พัฒนาพิกุลทอง เป็นสถานทีศึกษาดูงาน ในการงานครั้งนี้จะผิด จากรอบทั้วๆไปเพราะเราไม่ใช่จะดูแค่สถานทีหรือวิธีการทำการเกษตรหรือปลูกผักเพียงอยางเดียวแต่สิงทีเราต้องการด้วยก็ได้เทคนิดหรือวิธีการ การให้ความรู้ แก่ผู้มาดูงาน ตั้งแต่ต้นจนจบ คือตั้งแต่ลงจากรถ ถึงกลับบ้าน  เราได้ความรู้มาก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดความมั่นใจมากยิ่งขึ้นกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมสำหรับสิ่งที่เหมือนหรือคล้ายกันระหว่างที่มาดูงานกับที่ศูนย์เรียนรู้ที่เราได้ปรับปรุงไปแล้วทั้งทางด้านปัจจัยที่เป็นวัตถุ การพูดจาของวิทยากร ตลอดจนองค์ความรู้ เกิดการตื่นตัวเมื่อได้พบได้ดูสิ่งใหม่ๆที่ยังไม่ได้เกิดที่ศูนย์เรียนรู้ของเราและเกิดแผนในการพัฒนายกระดับขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง เกิดภาพฝันในใจทุกคนที่จะพัฒนาศุนย์เรียนรู้ของเราให้ดียิ่งกว่าตรงจุดที่เราดูแล้วมันไม่ผ่าน เกิดเครือข่ายขึ้นเป็นพี่เลี้ยง ที่ปรึกษาให้กับเราอีกท่านหนึ่ง เกิดทัศนคติหรือแนวคิดใหม่ๆที่เราได้คิดตามที่วิทยากรแนะนำให้เรา

 

52 52

10. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 เตรียมสรุปบทเรียนภาพรวมโครงการ

วันที่ 20 ธันวาคม 2560

กิจกรรมที่ทำ

  • แบ่งกลุ่มถอดบทเรียนและนำเสนอสะท้อนปัญหาและผลลัพท์ที่เกิดขึ้นให้แต่ละกลุ่มสรุปภาพรวม  หลังจากนั้นได้มีการแบ่งกลุ่มเตรียมซักซ้อมการแสดงผลงาน ประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะชน แบ่งบทบาทหน้าทีจัดเตรียมงานสรุป ตกลงวันเวลาและสถานที่จัดงานสรุป มีผู้ประสานงาน ประชาสัมพันธ์งาน เชิญนักเรียน ครูตาดีกา สถาบันปอเนาะ เยาวชน ผู้หลักผู้ใหญ่ในพื้นที่ หน่วยงานต่างๆ ในละแวกตลอดจนประชาชนในและนอกหมู่บ้านเข้าร่วมชมงาน และการแสดง เพื่อให้สาธรณะชนในรับรู้ รับทราบและเข้าเรียนรู้ในศูนย์เรียนรู้ และร่วมกันสร้างความสามัคคีปรองดองกัน ลดอบายมุข มีหลักความเชื่อที่ถูกต้องและตรงกันอันเป็นแนวทางหนึ่งเพื่อความสันติสุขของพวกเราทุกคน 

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดความพร้อมที่จะประชาสำพันธ์ให้สาธารณชนได้ร่วมกันชม  รับรู้ รับทราบและร่วมกันมารับบริการ มาใช้ประโชน์ และที่สำคัญเพื่อสร้างเครือข่ายในการร่วมกันขับเคลื่อนงานไปในทิศทางที่ถูกต้อง การประชาสัมพันธ์ให้กับเครือข่าย การรับมอบหมายหน้าที่ใหม่เพื่อเตรียมรับมือกับชุมชน เกิดวิธีการหรือเทคนิคที่จะสื่อสารให้กับสังคมที่ไม่เอื้ออำนวยปัจจุบัน

 

15 15

11. กิจกรรมที่ 9 จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการและนำเสนอต่อสาธารณชน

วันที่ 26 ธันวาคม 2560

กิจกรรมที่ทำ

  ช่วงเช้าของวันนี้เป็นช่วงเวลาของการเตรียมงานอย่างเข้ม หลังจากที่ทีมงานช่วยกันเตรียมตั้งแต่สองสามวันก่อนหน้านี้คือการจัดบู๊ทของแต่ละฐาน  งานเริ่มหลังเที่ยงเวลา 13 .00 น กิจกรรมแรกคือการประกวดฐานเรียนรู้เป็นฐานเรียนรู้ต้นแบบเพื่อเป็นการแสดงความพร้อมทั้งในเรื่องของพื้นที่และตัวบุคคลคือทีมวิทยากรเอง ที่จะรองรับนักเรียนนักศึกษาโดยเฉพาะนักเรียนปอเนาะที่จะเข้ามาศึกษาหาความรู้วิชาชีพ ผู้มาศึกษาดูงาน ตลอดจนชาวบ้านเกษตรกรที่จะมาเรียนรู้ วิทยากรเข้าประจำฐานเมื่อทางฐานได้ส่งสัญญานถึงความพร้อมรับการประเมิน คณะกรรมการก็เริ่มเข้าชมฐานและรับฟังการบรรยายจากวิทยากร เราได้รับเกียรติจากทีม ศว.ชต มาเป็นกรรมการ เวทีก็เริ่มคึกคักขึ้นเรื่อยๆร่วมกับบรรยกาศการซักถามของคณะกรรมการ บวกกับผู้เข้าชมฐานก็เริ่มทยอยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานก็เริ่มมีการตอบคำถามของวิยากรหลายคนแล้วหละ ทุกคนมีความสามัคคีกันช่วยกันในทีมตัวเองเต็มที่ พูดผิดบ้าง ทองแดงบ้าง บางทีมมีคำคมฝากด้วย ปลูกหญ้าปีนี้ ปีหน้าเลี้ยงวัว เป็นต้น เฮฮากันอย่างสนุกสนาน เมื่อเวลา 17 .45 น เป็นอันเสร็จสิ้นนภารกิจแรก คะแนนคงอยู่ในมือกรรมการเรียบร้อยแล้วหละ ทุกคนลุ้นๆอยู่       กิจกรรมต่อไปเริ่มประมาณเวลา 18.45 น เริ่มลงทะเบียนกันในเต๊น ไม่นานนักเสียงจากบนเวทีก็เริ่มบรรเลงด้วยการอ่านคำภีอัลกุรอานของนักเรียนปอเนาะ และหลังจากประธานโครงการได้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและได้รายงานถึงความสำเร้จของงานแล้ว เวทีนี้เราได้รับเกียรติจากโต๊ะอีหม่ามประจำมัสยิดบ้านซีโปร์มาเป็นประธานในพิธี ท่านกล่าวชื่นชมและกล่าวให้โอวาสทั้งให้กำลังใจทุกๆคนพร้อมกล่าวนาซีฮัตลูกบ้านของท่านและผู้เข้าร่วมงานถึงปัญหายาเสพติด ปัญหาการศึกษาของลูกหลานและพ่อแม่ผู้ปกครองเอง ปัญหาความเป็นอยู่การทำมาหากิน อันเป็นต้นเหตุของปัญหาความไม่สงบของสามจังหวัดเรา จบท้ายด้วยดุอาห์อันทราบซึ้งที่ท่านได้ขอให้พระเจ้าทรงประทานให้กับพวกเราทุกคน อามีน อามีน  ลำดับต่อไปก็เป็นการประกวดแสดงของทีมงาน ผู้เข้าร่วมงาน และตาดีกาในละแวกใกล้เคียงในหัวข้อ อิสลามสร้างสันติ ทั้งทางด้านการศึกษาก็ดี การสร้างอาชีพกก็ดี หรือที่สำคัญการให้ลูกหลานหลุดพ้นยาเสพติดด้วยกรรมวิธีอันหลากหลาย ในขณะเดียวกันก็ได้มีการประชาสัมพันธ์โครงการ ประชาสัมพันธ์ศูนย์เรียนรู้ ร่วมรณรงค์ให้ประชานชนทุกภาคส่วนร่วมเป็ภาคีเครื่อข่ายในการร่วมมือกับองค์กร ศอ.บต และภาครัฐในการช่วยกันให้บ้านเราสงบสุขด้วยมือเรา หลังจากการแสดงและกรรมการได้ประกาศ มอบรางวัลท่ามกลางเสียงโห่อันก้องกึกแล้ว บรรยกาศเงียบในช่วงประมาณหลังเที่ยงคืน เป้นเวลา 20 นาที อันเป็นสัญญานบ่งบอกถึงการเริ่มต้นชีวิตใหม่ของบ้านซีโปร์ ของอำเภอตากใบ ของจังหวัดนราธิวาส ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ปรากฏขึ้น นั่นก็คือ บรรยากาสการตะมีนดุอาห์ของท่านประธาน งานนี้เราได้รับเกยรติการสวดดุอาห์ปิดงาน เปิดชีวิตใหม่ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกครั้งหนึ่งจากโต๊ะอิหม่ามประจำบ้านซีโปร์ ท่านอยู่ในงานจนเส็รจงานเลยทีเดียว  รู้สึกซาบซึ้ง รู้สึกเป็นเกียรติ รู้สึกดีใจกับการเปลี่ยนแปลง ขอบคุณมากครับ ขอบคุณทุกคน ขอบคุณหลายๆ เสียงขอบคุณของทีมงานเปล่งออกมาพร้อมๆกับจับมือกอดกับก่อนแยกย้ายกันกลับบ้านด่้วยรอยยิ้มอันเต็มใบหน้า 

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

      เกิดการประกาศเจตนารมระหว่างศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านซีโปร์ เยาวชน พ่อแม่ผู้ปกครอง หน่วยงานในพื้นที่ องค์กรเอกชนต่างๆอาทิ ตาดีกา สถาบันปอเนาะ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามตลอดจนประชาชนทุกหมู่เหล่าในหมู่บ้านและหมู่บ้านข้างเคียงในการร่วมกันขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
      เกิดการประชาสัมพันธ์ในการเปิดบริการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านซีโปร์อย่างเป็นทางการและการขับเคลื่อนงานขององค์กรภาคประชาสังคมกับศอ.บต เกิดเครือข่ายทั้งทางด้านเครือข่ายองค์ขับเคลื่อนงานและเครือข่ายผู้เข้าร่วมรับบริการศูนย์เรียนรู้ 

 

120 120

12. กิจกรรมที่ 2 จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน

วันที่ 28 ธันวาคม 2560

กิจกรรมที่ทำ

  1. รวบรวมเอกสารหลักฐานการเงินและใบลงทะเบียนของละกิจกรรมเรียบเรียงตามลำดับกิจกรรม
  2. รวบรวมรูปภาพทุกกิจกรรมแยกเป็นกิจกรรม และคัดเลือกภาพที่สวยๆ ชัดๆมาประกรบสรุปแต่ละกิจกรรม
  3. จัดทำคำนำ สารบันและรายงานกิจกรรมแต่ละกิจกรรม
  4. จัดทำสรุปกิจกรรมแต่ละกิจกรรมและสรุปภาพรวมกิจกรรม
  5. จัดทำเป็นรูปเล่มจำนวน4เล่ม ส่งศอบต3เล่ม เกิบใว้ที่ศูนย์เรียน 1เล่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดองค์ความรู้ หลักวิธีการรวบรวมเอกสารหลักฐานสรุปโครงการให้กับทางราชการ  เกิดการประสานงาน การติดต่องาน การปรึกษากัน การแนะนำวิธีการ ระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนอย่างใกล้ชิดและแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เกิดความรับผิดชอบและกระตือรือร้นของทีมงานที่จะต้องช่วยกันสรุปและรวบรวมเอกสารหลักฐาน เกิดประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมรอบต่อไปในการจัดเตรียมเอกสารให้มีความพร้อมมากยิ่งขึ้นเพื่อสดวกในการรวบรวมสรุปโดยเฉพาะใบเซ็นซื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม และอีกอย่างหนึ่งคือรูภาพแต่ละกิจกรรมต้องแยกให้เรียบร้อย และสุดท้ายได้สรุปรูปเล่มจำนวน4 เล่มจัดส่ง ศอ.บต 3 เล่มเก็บใว้ที่ศูนย์1 เล่ม

 

15 15

13. อบรมการบันทึกข้อมูลการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม

วันที่ 15 กรกฎาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

อบรมการบันทึกข้อมูลรายละเอียดโครงการ บันทึกข้อมูลกิจกรรม บันทึกข้อมูลองค์กร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

            ตัวแทนองค์กรภาคประชาสังคมที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้และแนวทางในการรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ  เกิดความสะดวกในการรายงานความคืบหน้าในการขับเคลื่อนงานขององค์กรและการตรวจสอบของทางศอ.บต เกิดการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างภาคประชาสังคมกับศอ.บตอย่างมั่นคงมากยิ่งขึ้น เกิดความชัดเจนในการทำงานมากขึ้น เกิดการกระตือรือร้นให้องค์กรภาคประชาสังคมก้าวทันกับเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยอาทิ การพิมพ์งาน การคีย์ข้อมูลเป็นต้น 

 

120 200

14. ต้อนรับ ผอ.ปรีชา ชนะกิจคำจร และคณะทีมงานจาก ศอ. บต. ลงพื้นที่เยี่ยม 7 องค์กรภาคประชาสังคมในอำเภอตากใบ

วันที่ 17 กรกฎาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

  ผอ ได้ลงมาเยี่ยมเยียน พบปะ ถามข่าวคราว ปัญหาการดำเนินงานของแต่ละองค์กร ท่านได้เปิดโอกาศให้ตัวแทนแต่ละองค์กรเสนอปัญหา รายงานความคืบหน้า เสนอแผนการพัฒนาในงวดต่อไป ทั้งนี้ทั้งนั้นท่านได้ให้ทุกขั้นตอนการจัดกิจกรรมต้องมีการสอดแทรกเรื่องการรักและสามัคคีกันทุกๆศาสนา ไม่แตกแยกกัน เพื่อให้สามจังหวัดชายแดนภาคใต้คืนความสงบสุขเหมือนแต่ก่อน และทุกองค์กรก็ยืนยัยในการให้ความร่วมมือกัภาครัฐทุกกระบวนการ หลังจากนั้นก่อนลากลับท่านได้เข้าเยี่ยมชมฐานเรียนรูตามจุต่างๆในชุมชนของศูนย์เรียนรู้เศรษบกิจพอเพียงบ้านซีโปร์และให้คำแนะนำพร้อมด้วยกำลังใจทุกคนมีความสุขขอบคุณ ผอ ขอบคุณทุกคนสำหรับการพบปะในครั้งนี้ 

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

      เกิดความรัก ความใกล้ชิดกันที่ทางหน่วยเหนือไม่ได้ทิ้งกัน เกิดความรู้และแนวคิดใหม่ๆเมื่อมีการแลกเปลี่ยนกัน เกิดการเป็นกลุ่มก้อนและใกล้ชิดกันระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมที่ยังไม่รูจักกัน เกิดแนวทางการทำงานและขับเคลื่อนงานในทิศทางเดียวกันที่ชัดมากขึ้นเมื่อทางทีมงาน ศอ.บต ลงมาสัมผัสพื้นที่จริง

 

100 100

15. ประชุมร่างโครงการวิจัยทางเลือกประเด็นอาชีพของเยาวชนปอเนาะซีโป

วันที่ 5 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

ร่วมกันปรึกษาหารือกับอาจารย์และคณะทีมงานจากสำนักงานวิจัย เพื่อหาแนวทางสร้างอาชีพที่มั่นคงพร้อมที่จะเป็นรายได้สร้างครอบครัวแก่เยาวชน กลุ่มสตีที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนระบบกีรออาตีมีคุณภาพทั้งนี้ทั้งนั้นให้มีการสอดแทรกแนวทางการพัฒนาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สงบอย่างสันติวิธี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดการรับฟังปัญหาแต่ละพื้นที่ในแต่ละประเด็นทั้งประเด็นอาชีพ ประเด็นการศึกษา ประเด็นวัฒนธรรมประเพณีเพื่อหาทางแก้ปัญหาและยกระดับด้วยการทำวิจัยท้องถิ่น สามารถยกร่างโครงการวิจัยได้ถูกต้องตามความต้องการของชุมชนและตามหลักการวิจัยที่ถูกต้อง

 

20 20

16. ถอดบทเรียนการดำเนินงานพัมนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอหัวข้อ อำเภอสุขใจ

วันที่ 25 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

ร่วมกันถอดบทเรียนแนวทางการดำเนินงานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตภายใต้หัวข้ออำเภอสุขใจ เริ่มจากโต๊ะครูสถาบันปอเนาะนูรุลฟาลาฮสะท้อนปัญหาและอุปสรรค์ตลอดจนที่มาของการเริ่มคิดในการจัดตั้งกลุ่ม จัดกิจกรรมต่างๆ และร่วมกันแก้ไขปัญหาภายในชุมชนที่เกิดจากชุมชนด้วยชุมชนเองได้สำเร็จ ต่อจากนั้นกำนันตำบลโฆษิตได้สะท้อนถึงบทบาท การให้การสนับสนุน แรงบรรดาลใจ และสะท้อนความรู้สึกที่มีเจตนารมต่อชุมชน  และได้รับการเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลตากใบประเด้นที่ตกไป ต่อจากนั้นได้มีการสัมภาษณ์ อสม ทีมงานตลอดจนน้องๆนักเรียนปอเนาะตามลำดับ และได้พาทีมงานลงเยี่ยมฐานเรียนรู้ต่างทั้งในปอเนาะและนอกสถาบันปอเนาะ ร่วมถ่ายรูปตามจุดต่างๆและสุดท้ายด้วยถ่ายรูปหมู่ ทั้งหมดทั้งปวงที่ทุกคนได้ร่วมกันถอดบทเรียนในวันนี้จะถูกนำไปเขียนเป็นสารคดีจัดทำเป็นพ็อกเก็ตบุกเป็นหนึ่งในต้นแบบแนวทางการพัฒนาชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดการถอดบทเรียนเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติเชิงพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนและบูรณาการ เกิดการมีส่วนร่วมและเพิ่มความใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและประชาชน เกิดการเรียงลำดับขั้นตอนการดำเนินงาน การสะท้อนปัญหา และแนวทางแก้ที่เป็นรูปะรรม เกิดการตื่นตัวของชุมชนมากยิ่งขึ้น และสร้างความมั่นใจให้กับชุมชนในการเดินหน้าต่อไป

 

25 25

17. ประชุมปรึกษาหารือกับผู้ประสานงานแต่ละตำบล(ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขอำเภอตากใบ) เพื่อวางแผนจัดโครงการสร้างเครือข่ายแกนนำจัดการขยะและจัดการชุมชน(โครงการปี62ที่เสนอต่อ ศอ.บต)

วันที่ 27 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมวางแผนงาน รายละเอียดแต่ละกิจกรรม ระยะเวลาดำเนินงาน การวิเคราะห์ผลลัพท์ที่น่าจะเกิดหลังจากจัดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายจะเริ่มที่เด็กนักเรียนร่วมกับคุณครูในโรงเรียน ซึ่งกจกรรมได้แบ่งเป็นสี่กิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมการสร้างแกนนำการอบรมให้ความรู้การตกลงร่วมกัน กิจกรรมการศึกษาดูงานของจริงเพื่อการปฏิบัติ กิจกรรมการติดตามผลการดำเนินงาน กิจกรรมการวิเคราะห์ผลลัพท์การถอดบทเรียนการสรุปผลการสื่อสารข้อมูข่าวสารต่อสาธารณชน แต่อย่างไรก็ตามกิจกรรมทุกขั้นตอนจะขับเคลื่อนพร้อมๆกับหน่วยงานในพื้นที่ตั้งแต่ระดับ รพสต สสอ โรงพยาบาลและอำเภอตากใบ โดยทีมงานชมรมจะขับเคลื่อนงานเป็นผู้ประสานงานเชื่อมต่อหลักระหว่างทีมงานกับโรงเรียนในแต่ละตำบล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดเครือข่ายที่เป็นผู้ประสานงานมีหน้าที่ประสานและเชื่อมต่อระหว่างทีมงานจัดกิจกรรมกับโรงเรียนในแต่ละตำบลที่ร่วมโครงการ เกิดการเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมหลังจากที่ได้อนุมัตโครงการ เกิดการสะท้อนถึงข้อดีหรือการคาดคะเนถึงผลลัพท์ที่จะสร้างความตื่นตัวที่น่าจะเกิดขึ้นกับชาวอำเภอตากใบอำเภอตากใบที่เป็นโครงการของชุมชนคิดเองแก้ไขปัญหาเองและอีกอย่างหนึ่งเป้นโครงการนำร่องที่สามารถต่อยอดหรือขยายผลต่อในปีต่อไป เกิดการสื่อสารระหว่างเครือข่ายผู้ประสานงานที่แน่นแฟ้นมากขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงการเสนอเป้าหมายโรงเรียนนำร่องที่น่าจะเริ่มก่อนโดยยึดข้อมูลทางตำบล

 

18 18

18. ต้อนรับทีมงาน หน่วยงานระดับอำเภอ คณะติดตามความคืบหน้าการจัดการขยะของปอเนาะซีโปร์และร่วมตกลงวางแผนขับเคลื่อนกิจกรรมสร้างแกนนำนักจัดการขยะและจัดการชุมชน(โครงการเสนอ ศอ.บต งบปี 62)

วันที่ 29 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

  ร่วมกันทำความรู้จักกัน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสภาพปัญหาในพื้นที่ของแต่ละพื้นที่และกระบวนการแก้ไข รับฟังแนวทางการจัดการขยะของสถาบันศึกษาปอเนาะนูรุลฟาลาฮบ้านซีโปร์ตั้งแต่ปี 57 จนถึงปัจจุบัน การสะท้อนปัญหาในการดำเนินงาน ปัจจัยแห่งความสำเร็จในแต่ละกิจกรรม การสร้างแกนนำ การทำงานแบบภาคีเครือข่าย การขับเคลื่อนงานตามหลักประชารัฐ  การรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้หลักผู้ใหญ่ และร่วมรับชมฐานเรียนรู้ในการคัดแยกและจัดการขยะ  สุดท้ายสรุปแต่ได้ทำการตกลงร่วมกันที่จะขยายต่อทุกตำบลอย่างน้อยตำบลละหนึ่งเป็นจุดนำร่องแต่ละตำบล (โครงการปี 62 ที่เสนอต่อ ศอ.บต.)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดการรู้จักและใกล้ชิดกัน ได้รับรู้รับทราบปัญหาของแต่ละพื้นที่และแนวทางที่จะแก้ไข เกิดการสนใจกระบวนการจัดการขยะของปอเนาะซีโปร์ พร้อมรับมือกับการเป้นพี่เลี้ยงในการขับเคลื่อนงานในปี 62 โครงการสร้างเครือข่ายแกนนำจัดการขยะและจัดการชุมชน  เกิดข้อตกลงกันที่จะขับเคลื่อนงานไปในทิศทางเดียวกันพร้อมๆกันโดยแนวทางซีโปร์โมเดว 

 

18 18

19. กิจกรรม สร้างแกนนำการจัดการขยะและจัดการชุมชน (ระดับตำบล)ภายในตำบลโฆษิต ครั้งที่ 1

วันที่ 4 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

  หลังจากที่น้องๆนักเรียนได้ลงทะเบียนกันเรียบร้อยแล้ว ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนก็ได้ให้เกยรติเข้ามาเป็นประธานในพิธีเปิดพร้อมให้โอวาสให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพร้อมขอพรให้กิจกรรมได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ หลังจากนั้นพิธีกรก็ได้เชิญคือท่าน ดาราวัลณ์ บั้นบูรณ์ พยาบาลวิชาชีพประจำ รพ.สตบ้านโคกมือบา บรรยายให้ความรู้เรื่องผลกระทบหรือผลเสียที่เกิดจากขยะ ประเภทของขยะต่างๆ สาเหตุของขยะ ต่อด้วยวิทยากรท่านต่อไปบรรยายเรื่อง วิธีการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี พร้อมร่วมกันเรียนรู้ลงมือคัดแยกอย่างจริงจัง ร่วมกับวิทยากรกระบวนการเพื่อให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นอย่างสนุกสนาน คึกคักมาก สุดท้ายด้วยการชมวิดีอาร์ขั้นตอนการจัดการขยะของปอเนาะซีโปร์ และวีดีทัศน์ความสำเร็จของเยาวชนปอเนาะซีโปร์เพื่อเป็นแรงบรรดาลใจ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดเครื่อข่ายการจัดการขยะและจัดการชุมชนทั้งที่เป็นหน่วยงานคือคุณครุ หน่วยงานสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบล และภาคประชานคือ อสม ผู้ปกครอง ทีมงานจากศูนย์เรียนรู้เสรษฐกิจพอเพียงบ้านซีโปร์ และเยาวชนคือเด็กๆนักเรียน เกิดแกนนำที่มีจิตอาสาในการจัดการชุมชนของตนเอง เกิดการกระจายความรู้และแนวคิดใหม่ๆเรื่องการคัดแยกและจัดการขยะด้วยวิธีการเชิงบวก เกิดการทำงานเป็นทีมแบบประชารัฐเพื่อสนองนโยบายของรัฐและเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน

 

40 40

20. กิจกรรมสร้างเครือข่ายแกนนำนักจัดการขยะและจัดการชุมชน (ระดับตำบล) ภายในตำบลโฆษิต ครั้งที่ 2

วันที่ 4 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

หลังจากพิธีเสร็จเรียบร้อยแล้วกิจกรรมหลักๆมี4 คือ การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบ โรคร้ายที่เกิดจากขยะ  การเรียนรู้กันเกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี ชมการสาธิต ลงมือปฏิบัตเพื่อเป็นการทดสอบ การ ร่วมกันออกแบบธนาคารขยะประจำโรงเรียน  ร่วกันศึกษาแนวทางการบริหารจัดการธนาคารขยะให้มีการต่อเนื่องและเกิดผลมาที่สุด ลงท้ายด้วยการชมวีดีทัศน์ขั้นตอนการจัดการขยะของปอเนาะซีโปร์และความคืบหน้าในรอบสี่ปีของความต่อเนื่องในการจัดการขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดเครื่อข่ายการจัดการขยะและจัดการชุมชนทั้งที่เป็นหน่วยงานคือคุณครุ หน่วยงานสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบล และภาคประชานคือ อสม ผู้ปกครอง ทีมงานจากศูนย์เรียนรู้เสรษฐกิจพอเพียงบ้านซีโปร์ และเยาวชนคือเด็กๆนักเรียน เกิดแกนนำที่มีจิตอาสาในการจัดการชุมชนของตนเอง เกิดการกระจายความรู้และแนวคิดใหม่ๆเรื่องการคัดแยกและจัดการขยะด้วยวิธีการเชิงบวก เกิดการทำงานเป็นทีมแบบประชารัฐเพื่อสนองนโยบายของรัฐและเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน

 

40 40

21. ร่วมเป็นผู้นำเสนอต่อคณะกรรมการประเมินคัดเลือกอำเภอสะอาดในโครงการ จังหวัดสะอาด

วันที่ 5 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

555

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

555

 

30 30

22. อบรมให้ความรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษร่วมกับสำนักงานกองทุนฝื้นฟูและพัฒนาเกษตร จังหวัดนราธิวาส

วันที่ 9 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมหลักๆมี 4 กิจกรรมคือ พบปะทำความรู้จักและแนะนำชื่อของแต่ละคน ทีมงานกองทุนฟื้นฟูชี้แจงความเป็นมาของโครงการ รายละเอียดกิจกรรม วัตถุประสงค์ของโครงการ ต่อมามีการสอนวิธีการทำปุ๋ยหมักจากผลไม้
(ฮอร์โมนผลไม้) ชมการสาธิตและร่วมกันปฎิบัติ หลังจากนั้นร่วมกันลงแปลงปลูกผัก เรียนรุ้วิธีการปลูกผักอินทรีย์ ร่วมกันสรุป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดเครือข่ายใหม่อีกเครือข่ายหนึ่งที่เป็นเครือข่ายทั้งภาครัฐคือ ทีมงานกองทุนฟื้นฟูและภาคประชาชนคือกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ
เกิดการให้บริการแก่ชุมชนทางด้านการให้ความรู้ในการทำปุ๋ยหมัก เกิดการขยายการมีส่วนร่วมในการร่วมกันแก้ไขปัญหาความไม่สงบของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้มีการสอดแทรกในช่วงการบรรยายและได้มีการปลูกฝังในเรื่องของหลักความเชื่อ

 

0 50

23. การจัดตั้งชมรมตาดีกาตำบลนานาค

วันที่ 16 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

มีการจัดตั้งชมรมทั้งสีโรง ในตำบลนานาคเพื่อเป็นชมรมตาดีกาของตำบลนานาค เพื่อให้การดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน ร่วมปรึกษาหรือปัญหาร่วมกัน ร่วมกันระดมทุน จัดการแหล่งทุนเพื่อมาจัดกิจกรรมกับนักเรียนตาดีกาในตำบลนานาค ร่วมกันซึ่งก็นับว่าเป็นโอกาศดี ถ้าโอกาศหนึ่งที่ทางทีม ตาดีกาก็ได้เสนอประธานองค์กรภาค ศุนย์เรียนรู้เศษรฐกิจพอเพียงบ้านซีโปร์ให้เป็นหนึ่งในทีมงานชมรมตาดีกา คือเป็นรองประธานชมรมตาดีกาคนที2 เพื่อเป็นหลักคิดในการหาแนวทางซึ่งในเวทีเราได้นำเสนอเกียวกับองค์กรภาคประชาสังคมเครื่อยข่าย ศอ บต แหล่งงบประมาณ เจตนารมในการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ให้สาบสุขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกคนก็เห็นด้วยกับการเขลื่อนงานตรงนี้ ในการประชุมครั้งนี้ นอกจากได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการโดยวิธีการเสนอชื่อและโหวดกันเป็นที่เสร็จสิ้นสมบูนณ์และเราก็ได้มีการร่วมบริจากเงินเข้าชมรมก่อนคนละ100บาททางโตะอีหมาน 50บาท สมาชิก อบต ม1 300บาท รวมทั้งสิน5000บาท และเวทีสุดท้ายได้ทำขอตกลง ต่างๆบางส่วนเกียวกับการใช้จ่ายเงิน การบันทึกการใช้จ่ายและชี้แจ้งในการประชุมการครั้งนี้ จะมีการประชุมเดือนละครั้งและทีสำคัญ การให้ความรวมมือกับทหารหน่วยงาน คือ หน่วยทหารในพื่นที่และสำหนักงาน เอกชน (สช)อำเภอตากใบลงท้ายด้วยดุอาร์ สลามัตปิดประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1เกิดเครื่อยข่ายองค์กรภาคประชาสังคมศูนย์เรียนรู้เศษรฐกิจ 2เกิดแนวทางการเข้าถึงตาดีกาและยกระดับ 3เกิดชมรมตาดีกาการที่มีผู้หลักผู้ใหญ่ร่วมกับเคลื่อนงาน 4เกิดจังหวะการสอดแทรกหลักความเชื่อที่ถูกต้องให้กับเยาวชนตั้งแต่ตาดีกาพร้อมกับการจัดการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและจังหวะปรับเปลียนความคิดให้กับผู้มีความคิดต่างโดยใช้วิธีค่อยๆเป็นค่อยๆไปหลายๆคนสงใส่ว่าอาจมี

 

25 25

24. ร่วมงานประเมินคัดเลือกมัสยิดพอเพียงหรือศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงประจำมัสยิดระดับจังหวัดนราธิวาส

วันที่ 19 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

เนื่องจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียนบ้านซีโปร์ตั้งอยู่ใกล้กกับมัสยิดนูรุลกุรอานและมีหลักเกรณ์เข้าข้ายกับศูนย์โครงการศูนย์เรียนรู้ประจำมัสยิดของหน่วยงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนราธิวาสทางศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านซีโปร์จึงประชุมหารือกันกับสมาชิกเพื่อที่จะยกระดับศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นศูนย์เรียนรู้ประจำมัสยิดนูรุลกุรอานบ้านซีโปร์จึงสมัครเข้าร่วมโครงการตั้งแต่เดือนเมษายน 2561 มีการอบรมให้ความรู้การปลูกผักการสาธิตการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การประชมหารือกัน การฝึกทำบัญชีครัวเรือนและได้ลงมือทำ วันนี้ได้มีการประเมินศูนย์เรียนรู้เพื่อเป็นการติดตามว่าทุกมัสยิดให้ความสำคัญกับโครงการมากแค่ไหน ซึ่งการประเมินในครั้งนี้เป็นการประเมินครั้งที่ 3 แล้วซึ่งคัดเลือกในรอบ 5 มัสยิดสุดท้ายเพื่อคัดเลือกระดับ 1-5 ในการประเมินครั้งนี้มีการนำเสนอโดยรองประธานศูนย์มัสยิดตามเอกสารที่สรุปใว้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เนื่องจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียนบ้านซีโปร์ตั้งอยู่ใกล้กกับมัสยิดนูรุลกุรอานและมีหลักเกรณ์เข้าข้ายกับศูนย์โครงการศูนย์เรียนรู้ประจำมัสยิดของหน่วยงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนราธิวาสทางศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านซีโปร์จึงประชุมหารือกันกับสมาชิกเพื่อที่จะยกระดับศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นศูนย์เรียนรู้ประจำมัสยิดนูรุลกุรอานบ้านซีโปร์จึงสมัครเข้าร่วมโครงการตั้งแต่เดือนเมษายน 2561 มีการอบรมให้ความรู้การปลูกผักการสาธิตการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การประชมหารือกัน การฝึกทำบัญชีครัวเรือนและได้ลงมือทำ วันนี้ได้มีการประเมินศูนย์เรียนรู้เพื่อเป็นการติดตามว่าทุกมัสยิดให้ความสำคัญกับโครงการมากแค่ไหน ซึ่งการประเมินในครั้งนี้เป็นการประเมินครั้งที่ 3 แล้วซึ่งคัดเลือกในรอบ 5 มัสยิดสุดท้ายเพื่อคัดเลือกระดับ 1-5 ในการประเมินครั้งนี้มีการนำเสนอโดยรองประธานศูนย์มัสยิดตามเอกสารที่สรุปใว้

 

42 42

25. บรรยายธรรมแก่เด็กนักเรียนตาดีกา ต้อนรับฮิจรอฮศักราชแห่งอิสลาม

วันที่ 20 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

งานต้อนรับฮิจรอฮศักราชคืองานต้อนรับปีใหม่นันเอง ทางตาดีกามีการจัดงานเลี้ยงสร้างสรรค์ มีการจับฉลากรางวัลเล็กๆน้อยๆที่ผู้หลักผู้ใหญ่ได้ร่วมบริจาก และในคณะเดียวกันก็ได้มีการบรรยายธรรมเกียวกับประวัติท่านนบี แนวทางปฏิบัติของมุสลิม ในช่วงศักราชใหม่ใช้เวลาประมาน2 ชั่วโมง ในการบรรยายดังกล่าวก็ได้มีการสอดแทรก 3 ประการหลักคือ  1 หลักความเชือถือทีถูกต้อง ที่ท่านนบี ได้สังเสียไว้เกียวกับการอยู่ร่วมกันในสังคม 2 การรักใครสมัคคีกัน 3 การไม่ทะเลาะเยาะแว้งสบต่างค่าสนิก ซึ่งท่านนบีก็ได้ร่วมซื่้อขาย จำนายหนังร่วมกับคนต่างสนิก สึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีให้เยาวชนชาวโลกได้เห็นถึงมารยาทอันงดงามของมุสลิม ซึ่งเป็นความโชคดีที่ทางทีมงานศูนย์เรียนรู้เศษรฐกิจพอเพียงบ้านซีโปร์ ได้รับมอบหมายให้เป็นวิทยากรบรรยายเลยให้ฉวยโอกาสตรงนี้ให้เป็นแกนหลักตั้งแต่น้อยๆยังเด็กอายุตั้งแต่6ปี-16ปี เพื่อปลูกฝันให้สิ่งดีงามสดสัยเด็กในหัวใจความเล็กๆอันสะอาดสดใส่อยู

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดแกนฝึกเหนียวในใจของเยาวชนการที่จะยึดหลักความเชื่อนักเรียนมาตั่งแต่เด็ก  เกิดการสอดแทรกความเข้าใจจังหวะไม่ได้ตกใจเพราะไม่ไช้ในเวทีความมั่งคงแต่ในเวทีศาสนา เวที่ฮิจรอฮ ที่ทุกคนเชื่อและผูกมัดกันมา และล่นๆกันอยู่ เกิดเครื่อข่าย องค์กร ร่วมประชาชน ที่จะร่วมกับขับเคลื่อนการแก้ไข้ปัญหาและพัฒนาชายแดนใต้ให้สงค์สุข
เกิดแผนในการที่ร่วมงานกับศูนย์ตาดีกาในละแวกภายในตำบล  และขยายสู่ภายในอำเภอตากใบ โดยผ่านทีมงานเครื่อยข่ายชมรมตาดีกาที่มีอิหมานเป็นประธานและครูตาดีกากรรมการและทีมงาน เพื่อ 1 ดึงเข้าร่วมเป็นการดีเครื่อยข่ายและเข้าถึงตาดีกา 2 สอดแทรกหลักความเชื่อและแนวทางปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันในสังคมทางวัฒนธรรมโดยไม่ได้เน้นเวทีพูดแต่ จะเน้นกิจกรรม ใดกิจกรรมหนึ่งที่เห็นถึ่งการพัฒนาและกิจกรรมตาดีกาเช่นค่ายยาเสพติด ค่ายภาคฤดูร้อน กิจกรรมที่จัดการค่าย ที่ตาดีกา  เป็นต้น เพื่อไม่ให้กลุ่มผู้ต่อต้าน ทันที่อาจอยู่ในเครือยข่ายเกิดการ หมิ่นเวที และไม่มีการร่วมงานที่จะทำให้เกิดการต่อต้าน สุดที่การจะปิดโอกาสกับเยาวชนจะใช้วิธีการสอดแทรกและสร้างแกนความเชื่อใหม่ให้กับ เยาวชนและค่อยๆปรับเปลียนหลักความคิดของคนรุ่นเก่ากับหลากหลายวิธีการ เช่นการดึงดูดให้หันมาสนใจอาชีพ เชิดชูผลงานขององค์กรและการชี้นำแนวทางที่องค์กรในวางไว้เป็นต้น

 

150 150

26. อบรมการจัดการขยะ ขัดแยกขยะ จัดตังธนาคารขยะในตาดีกา

วันที่ 21 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

ความรู้การจัดการขยะ คัดแยกขยะ ธนาคารขยะ ถือวาเป็นความรูใหมๆของทีตาดีกา ถูกถายทอดให้กับนักเรียน ทุกคนมีพลังทีจะทำให้ตาดีกาสะอาด มีแกนนำทีจะกับเคลือนงานกับครูตาดีกานักเรียนชั้นป.6ทั้งด้านการจัดการขยะและจัดการชุมชนในด้านแนวทางสันติ เกิดเครื่อยข่ายการจัดการขยะและจัดการชุมชนอีกที่หนึ่ง เกิดการสอดแทรกหลักความเชื่อที่ถูกต้องให้กับลูกหลานตั้งแต่เยาวชนคือการปลูกฝังและแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นนํ้า

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ความรู้การจัดการขยะ คัดแยกขยะ ธนาคารขยะ ถือวาเป็นความรูใหมๆของทีตาดีกา ถูกถายทอดให้กับนักเรียน ทุกคนมีพลังทีจะทำให้ตาดีกาสะอาด มีแกนนำทีจะกับเคลือนงานกับครูตาดีกานักเรียนชั้นป.6ทั้งด้านการจัดการขยะและจัดการชุมชนในด้านแนวทางสันติ เกิดเครื่อยข่ายการจัดการขยะและจัดการชุมชนอีกที่หนึ่ง เกิดการสอดแทรกหลักความเชื่อที่ถูกต้องให้กับลูกหลานตั้งแต่เยาวชนคือการปลูกฝังและแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นนํ้า

 

60 6

27. อบรมพัฒนาศักยภาพภาคประชาสังคมรุ่นที่ 2

วันที่ 21 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

555

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

5555

 

521 521

28. ประชุมประจำเดือน ตุลาคม 2561

วันที่ 19 ตุลาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

วาระที่ 1 เรื่องแจ้งในที่ประชุม             ประธานแจ้งตัวเลขการเพิ่มมากขึ้นนักศึกษาของปอเนาะนูริลฟาลาฮ บ้านซีโปร์ กิจกรรมเด้นของปอเนาะซีโปร์คือการแก้ปัญหายาเสพติด วาระที่ 2 เรืองเสนอร่วมแก้ปัญหา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ถถถถ

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
เพื่อสร้างอาชีพที่มั่นคงให้แก่เยาวชน เพื่อให้ชุมชนเกิดรายได้ที่แน่นอนในชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างความสามัคคี ปรองดอง อันนำไปสู่ความสงบสุขของบ้านเมือง

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) บรรยายธรรมแก่เด็กนักเรียนตาดีกา ต้อนรับฮิจรอฮศักราชแห่งอิสลาม (2) การจัดธรรมชมรมตาดีกาตำบลนานาค (3) กิจกรรมที่ 5 พิธีเปิดกิจกรรมโครงการ (4) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 การวางแผนการดำเนินงาน (5) กิจกรรมที่ 3 ค่าเดินทางและติดต่อประสานงาน (6) กิจกรรมที่ 4 จัดซื้ออุปกรณ์สำนักงาน (7) กิจกรรมที่8  ปรับฐานเรียนรู้ทั้ง 7 ฐาน (8) ประชุมครั้งที่ 2  ติดตามผลการดำเนินงาน (9) กิจกรรมที่ 6 อบรมเรื่องวิทยากรเศรษฐกิจ (10) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 การสือสารข้อมูลข่าวสารกับกลุ่มเป้าหมาย (11) กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมศึกษาดูงาน (12) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4  เตรียมสรุปบทเรียนภาพรวมโครงการ (13) กิจกรรมที่ 9 จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการและนำเสนอต่อสาธารณชน (14) กิจกรรมที่ 2 จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน (15) อบรมการบันทึกข้อมูลการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม (16) ต้อนรับ ผอ.ปรีชา ชนะกิจคำจร และคณะทีมงานจาก ศอ. บต. ลงพื้นที่เยี่ยม 7 องค์กรภาคประชาสังคมในอำเภอตากใบ (17) ประชุมร่างโครงการวิจัยทางเลือกประเด็นอาชีพของเยาวชนปอเนาะซีโป (18) ถอดบทเรียนการดำเนินงานพัมนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอหัวข้อ อำเภอสุขใจ (19) ประชุมปรึกษาหารือกับผู้ประสานงานแต่ละตำบล(ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขอำเภอตากใบ) เพื่อวางแผนจัดโครงการสร้างเครือข่ายแกนนำจัดการขยะและจัดการชุมชน(โครงการปี62ที่เสนอต่อ ศอ.บต) (20) ต้อนรับทีมงาน หน่วยงานระดับอำเภอ คณะติดตามความคืบหน้าการจัดการขยะของปอเนาะซีโปร์และร่วมตกลงวางแผนขับเคลื่อนกิจกรรมสร้างแกนนำนักจัดการขยะและจัดการชุมชน(โครงการเสนอ ศอ.บต งบปี 62) (21) กิจกรรม สร้างแกนนำการจัดการขยะและจัดการชุมชน (ระดับตำบล)ภายในตำบลโฆษิต ครั้งที่ 1  (22) กิจกรรมสร้างเครือข่ายแกนนำนักจัดการขยะและจัดการชุมชน (ระดับตำบล) ภายในตำบลโฆษิต ครั้งที่ 2 (23) ร่วมเป็นผู้นำเสนอต่อคณะกรรมการประเมินคัดเลือกอำเภอสะอาดในโครงการ จังหวัดสะอาด (24) อบรมให้ความรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษร่วมกับสำนักงานกองทุนฝื้นฟูและพัฒนาเกษตร  จังหวัดนราธิวาส (25) อบรมพัฒนาศักยภาพภาคประชาสังคมรุ่นที่ 2 (26) อบรมการจัดการขยะ ขัดแยกขยะ จัดตังธนาคารขยะในตาดีกา (27) ร่วมงานประเมินคัดเลือกมัสยิดพอเพียงหรือศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงประจำมัสยิดระดับจังหวัดนราธิวาส (28) ประชุมประจำเดือน  ตุลาคม  2561

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านซีโปร์ จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ J9604

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นาย ปักรูเด็น มิง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด