stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สืบสานวัฒนธรรมไทย รายอสัมพันธ์ ชุมชนละเมาะบก
ภายใต้โครงการ ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมประชาภาคสังคม ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้
ภายใต้องค์กร องค์กร???
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 17 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 ธันวาคม 2560
งบประมาณ 158,750.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ จิตอาสา เรารักละเมาะ
ผู้รับผิดชอบโครงการ วันนูเรีย มะแซ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ชุมชนละเมาะบก ต.ตะลุบัน อ.สายบุรั จ.ปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 158,750.00
รวมงบประมาณ 158,750.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากอดีตจนถึงปัจจุบันสังคมไทยเป็นสังคมที่ประกอบไปด้วยการอยู่ร่วมกันของคนหลายกลุ่ม หลายภาษา หลายวัฒนธรรม และสังคมไทยส่วนใหญ่ก็เป็นสังคมที่เกิดจากสถาบันหลัก คือสถาบันครอบครัว และลักษณะของครอบครัวไทยก็เป็นครอบครัวขนาดใหญ่อันประกอบด้วย ญาติผู้ใหญ่ บิดา มารดา ลูก หลาน จึงทำให้เกิดความผูกพัน และปลูกฝังให้เคารพในผู้อาวุโส หรือผู้สูงอายุ แม้ว่าในสมัยปัจจุบัน ความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลในครอบครัวจะเป็นความสัมพันธ์แบบสมัยใหม่เพราะเหตุปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคมได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิต หรือแม้แต่สภาพสังคมที่เปลี่ยนไปแต่ในด้านของความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ยังมีความผูกพันกันเช่นเดิม หรือในบางครั้งความจำเป็นด้านสังคมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย เช่น การศึกษา การประกอบอาชีพ ส่งผลให้มีเปลี่ยนแปลงที่อาศัยอยู่ก็จริงแต่ในด้านจิตใต้สำนึกหรือการถูกปลูกฝัง จากบรรพชนในเรื่องความกตัญญูรู้คุณ การเคารพนับถือปู่ย่า ตายาย บิดามารดา หรือผู้อาวุโส ในการแสดงออก ทางสังคม บางเวลาหรือโอกาสก็ไม่เอื้ออำนวยส่งผลให้ครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตาของลูกหลาน การคืนสู่ภูมิลำเนาเพื่อแสดงความกตัญญูต่อบุคคลหรือสถานที่ถิ่นเกิดและเพื่อพบปะญาติมิตร หรือบุพการีต้องมีเวลา ที่จำกัด ภาวะทางสังคมทำให้เร่งรีบ หรือแม้กระทั่งในสังคมที่มีการแข่งขันด้านเศรษฐกิจก็ไม่เอื้ออำนวยในการ กลับคืนสู่ภูมิลำเนา ประกอบกับรัฐบาลได้กำหนดให้วันอีดของทุกปี เป็นวันหยุด ในช่วงเทศกาล “วันอีด” จึงถือเป็นวันรวมญาติครั้งยิ่งใหญ่ของพี่น้องมุสลิม เป็นโอกาสที่ให้ผู้คนว่างเว้นจากภาระงานเพื่อจะได้วางแผนประกอบกิจกรรม ด้านครอบครัวได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับภาระงานของจังหวัดในด้านการรณรงค์รักษาและอนุรักษ์ ประเพณีของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป เพื่ออนุชนรุ่นหลังจะได้รู้ เข้าใจ และปฏิบัติได้อย่างถูกต้องซึ่งตามความเชื่อของคนมุสลิม เชื่อว่าถ้าปฏิบัติก็จะได้รับผลบุญ ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่มีความผิดบาป เป็นการละหมาดในช่วงเช้าของวันอีด เพื่อขอพรให้พระองค์อัลลอฮฺประทานความจำเริญแก่ชีวิต พร้อมทั้งขออภัยโทษในความผิดบาปต่างๆ นานาด้วย ทั้งนี้มุสลิมส่วนใหญ่มักจะนิยมเดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเองเพื่อเฉลิมฉลองวันอีดร่วมกับครอบครัว และญาติพี่น้อง รวมทั้งเพื่อขอขมาลาโทษซึ่งกันและกัน และแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดใหม่หรือที่สะอาดสวยงาม จึงเป็นช่วงที่ญาติพี่น้องที่ไปทำงานอยู่ต่างถิ่นก็จะกลับบ้านหรือกลับภูมิลำเนาเพื่อพบปะญาติๆและ ถือโอกาสขอพรผู้หลักผู้ใหญ่ เพราะถือว่าเป็นปีใหม่ของมุสลิมในขณะเดียวกันพิธีกรรมที่แสดงออกถึงความปรารถนาดี ที่จะให้อยู่เย็นเป็นสุข คือ การละหมาดร่วมกันการรสลาม(ขออภัยซึ่งกันและกัน) การขอพรจากญาติผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ เป็น การแสดงออกถึงความกตัญญู กตเวทิตาและเป็นการรวมญาติไปในตัวเพราะในหนึ่งปีส่วนใหญ่จะกลับภูมิลำเนาเพียงครั้งเดียว
ชุมชนละเมาะบก ตำบลตะลุบัน อ.สายบุรี จ.ปัตตานีเป็นชุมชนมุสลิมร้อยละ100 นับถือศาสนาอิสลาม มีจำนวน 136 หลังคาเรือน ประชากรทั้งหมด 615 คนทำงานต่างประเทศ(มาเลเซีย) 28 คนและอื่นทำงานในพื้นที่และชุมชนใกล้เคียง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และวัยรุ่น ส่วนใหญ่ไปศึกษาต่างจังหวัด ความสัมพันธ์ในชุมชุมเริ่มมีช่องว่าง และค่านิยมครอบครัวสมัยใหม่ อีกทั้งเหตุการณ์ความไม่สงบที่เรื้อรังมาต่อเนื่อง มีเยาวชนในชุมชนที่ถูกจับในคดีความมั่นคงต่างคนต่างระแวงต่อกัน ชุมชนเริ่มมีการแบ่งชนชั้น วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียนที่ดีเริ่มลดบทบาทลง ในชุมชนจะมีวันอีด มีการละหมาดร่วมกัน แต่ปัจจุบันพบว่ากิจกรรมอีดเริ่มเงียบ วัยรุ่นไม่ได้กลับ เด็กไม่มีความสัมพันธ์ ประเพณีดีงามเริ่มจางไป หลังละหมาดวันอีด จะได้พบปะขอขมาลาโทษเพียงในกลุ่มที่ไปละหมาดวันอีด แต่ผู้สูงอายุอยู่กับบ้านไม่มีโอกาสได้ออกมาพบปะ วัยรุ่นนิยมไปเที่ยวกับกลุ่มวัยรุ่นคนรวยจัดเลี้ยงในครอบครัวตนเอง คนจนอยู่กับบ้าน ไม่มีกิจกรรมเสริมสัมพันธ์ระหว่างกัน จึงเกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มจิตอาสา เรารักละเมาะ จัดกิจกรรมตามกำลัง ด้วยใจที่มุ่งมั่น จากการดำเนินงานที่ผ่านมาของจิตอาสา เรารักละเมาะพบว่าการมีส่วนร่วมในกิจกรรมวันอีด (วันรายอ)เพิ่มจำนวนประชากรมากขึ้นก้าวกระโดดอย่างน่าแปลกใจ ปี 2557, 2558,2559 จำนวน 40 ,60 และ 150 คนตามลำดับ ร้อยละ100 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมวันอีดมีความพึงพอใจในกิจกรรมและเมื่อได้ทำการสำรวจความต้องการของชุมชนอย่างต่อเนื่องผ่านเวทีประชาคมของชุมชน พบว่าร้อยละ 78 ของประชากรทั้งชุมชน ต้องการให้มีการจัดกิจกรรมวันอีด(วันรายอ)ขึ้นทุกๆปี
ดังนั้นกลุ่มจิตอาสา รักละเมาะจึงเห็นความสำคัญของการโครงการสืบสานวัฒนธรรมไทย รายอสัมพันธ์ ชุมชนละเมาะบก เพื่อการมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น จากกิจกรรมที่เป็นประเพณีของไทย เชื้อสายมลายู ที่ควรมีการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีวันอีด(วันรายอ)ที่ดีงามกิจกรรมขอพรผู้เป็นเจ้าและขอขมา ขอพรผู้สูงอายุในชุมชน คนป่วย กิจกรรมให้เด็กกำพร้า และกลุ่มจิตอาสา เรารักละเมาะขอเป็นจุดเล็กๆที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างภูมิ ให้ชุมชนมีความสุขท่ามกลางสถาณการความไม่สงบ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีสืบสานวัฒนธรรมไทยต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 1 0.00
14 ก.ค. 61 อบรมเรื่องการบริหารจัดการ 0 0.00 -
14 ก.ค. 61 กีฬาสัมพันธ์ 0 0.00 -
14 ก.ค. 61 เวทีนำเสนอ การแสดงวัฒนธรรมชุมชน 0 0.00 -
14 ก.ค. 61 จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการและนำเสนอสู่สาธารณชน 0 0.00 -
14 ก.ค. 61 การอบรมบันทึกข้อมูล โครงการขับเคลื่นการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต. 2560 0 0.00 0.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2561 16:37 น.