คนสร้างสุข

directions_run

พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

assignment
บันทึกกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มศักยภาพชุมชน 21 ตุลาคม 2561
21
ตุลาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วิธีการดำเนินงาน อบรมเจ้าบ้านที่ดี 1.ออกแบบกิจกรรม 2.ประสานงานวิทยากร 3.ประสานสถานที่ 4.ประสานผู้เข้าร่วมในพื้นที่ 5.จัดซื้ออุปกรณ์ฝึกอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 6.จัดเวที 7.สรุปผลกิจกรรม

สรุปกิจกรรมที่ 2  เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มศักยภาพชุมชน อบรมการเป็นเจ้าบ้านที่ดี

      พิธีกร คุณอัสรา  รัฐการัณย์ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมและเข้าสู่กระบวนการอบรมการเป็นเจ้าบ้านที่ดี และได้กล่าวว่า “เนื่องจากชุมชนที่ติดชายฝั่งสามารถที่จะเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  ซึ่งทางทีมงานได้ดำเนินโครงการนี้เพื่อให้ความรู้ในเรื่องการเป็นเจ้าบ้านที่ดีให้กับนักท่องเที่ยวในการการเตรียมตัว  การต้อนรับ  หรือต้องเพิ่มองค์ประกอบที่ต้องเน้นในจุดไหนบ้าง เพื่อให้เป็นเจ้าบ้านที่ดีให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจ  เพราะความประทับใจจะสร้างให้เกิดอาชีพและรายได้ก็จะเกิดขึ้นในบ้านเราต่อไป” คุณอัสรา  รัฐการัณย์ ได้เชิญอีหม่าม อาซิ  ดาราแม  อิหม่ามมัสยิดอัตตะอาวุนบางปู กล่าวต้อนรับและเปิดด้วยดุอาร์(ขอพร)  ท่านได้กล่าวไว้ว่า “วันนี้โอกาสอยู่กับเราแล้ว เราควรเอาสิ่งที่ดีจากการอบรมนำไปใช้ในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี  อีหม่ามกล่าวขอบคุณทีมงานที่เอากิจกรรมดีๆ และได้ขอบคุณทีมงานที่ได้เชิญประธานสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัด  มาเป็นวิทยากรในการให้ความรู้ในครั้งนี้  ในนามอีหม่ามขออวยพรให้งานในวันนี้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้วางไว้เช่นกัน” หลังจากนั้นคุณอัสรา รัฐการัณย์ ได้เชิญ คุณยะห์  อาลี หัวหน้าโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู  ได้ชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ในการจัดการอบรมในครั้งนี้คุณยะห์ อาลี ได้กล่าวไว้ว่า  “รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เข้ามาเยี่ยมเยียนชุมชนแห่งนี้ และได้มาพบปะ แกนนำชุมชนบางปู  เมื่อก่อนเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี  ทำเรื่องของสื่อ  พัฒนาศักยภาพเยาวชน จัดรายการวิทยุ  ผลิตสื่อ ทำสารคดี แต่ตอนนี้ ทางเครือข่ายวิทยุจะลงพื้นที่  พบปะกับชุมชนเพื่อส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จัก  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนในชุมชนมีความตระหนักและเห็นคุณค่าถึงทรัพยากรในพื้นที่เพื่อให้เยาวชนที่อยู่ในพื้นที่ เอาเรื่องดีๆ  ในพื้นที่นำไปสื่อสาร  สามารถทำคลิปสั้นๆ ได้ โดยจะส่งเสริมให้เยาวชนเป็นนักสื่อสารสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คุณยะห์ อาลีได้กล่าวอีกว่า “สิ่งที่เราคาดหวัง  คือ  การเกิดสันติภาพในพื้นที่  หากว่าคนในพื้นที่กินอิ่ม  นอนหลับมันก็ทำให้คนเรามีความสุข  ความขัดแย้งในพื้นที่บ้านเราไม่สามารถแก้ไขได้  แต่เราสามารถจัดการตนเองให้เป็นระบบในชุมชนได้  โดยเฉพาะชุมชนท่องเที่ยว  ถ้านักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวบ้านเรา เราควรมีเทคนิคอย่างไรในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี วันนี้วิทยากรจะเป็นคนให้ความรู้แก่พวกเราให้เราเป็น เจ้าบ้านที่ดีได้อย่างไร และช่วงบ่ายจะมีการแบ่งกลุ่ม เรียนรู้ถึงเทคนิคการเป็นเจ้าบ้านที่ดี”             หลังจากนั้นคุณอัสรา  รัฐการัณย์ได้ เชิญ รักษาการประธานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดปัตตานี, ผู้ช่วยประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คุณรดา  จิรานนท์ มาเป็นวิทยากร
คุณรดา จิรานนท์ ได้แนะนำประวัติส่วนตัว  และประวัติการทำงาน เมื่อปี 2542 “ได้รับภารกิจจากผู้ว่าสมพร ใช้บางยาง ให้มีการจัดตั้งชุมชนท่องเที่ยวในจังหวัดปัตตานี จนได้จัดตั้งชุมชนท่องเที่ยวทั้งหมด 12 ชุมชน”
วิทยากรได้กล่าวอีกว่า “ยังส่งเสริมการเป็นมัคคุเทศก์ด้วยซึ่งจะเป็นมัคคุเทศก์ประจำจังหวัดปัตตานี การเรียนเป็นมัคคุเทศก์ เรียนด้านภาษาอังกฤษ ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ  หากเอกอัคราชทูตมาเยี่ยม จะเป็นคนบรีฟหรือแปลภาษาแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดปัตตานีที่เป็นภาษาอังกฤษให้ฟัง ส่วนตัวมีรากเหง้าเป็นคนไทย คนปัตตานี เป็นลูกคุณหมอวิทยา ท่านเป็นคนเรียกร้องให้ตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นแห่งแรกในภาคใต้ในตอนนั้น คุณพ่อเป็นประธานสภาจังหวัดปัตตานี ช่วงนั้นรัฐมนตรีศึกษาธิการมาปัตตานีคุณพ่อได้ทำแผน ให้มีการเดินขบวนเพื่อเรียกร้องให้ตั้งมหาวิทยาลัย  ไทยรัฐมีการตีข่าวแพร่หลาย จนสามารถตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของภาคใต้  อย่างที่เห็นในปัจจุบันได้  และคุณพ่อได้เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล ช่วงนั้นคนไข้จะมีมากกว่าเตียงที่โรงพยาบาล  ทำให้คนไข้ต้องมาพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านและทุกๆ เช้า คุณพ่อจะปั่นจักรยานไปเยี่ยมคนไข้ตามบ้าน วีรกรรมของคุณพ่อทำให้ตัวเองได้เห็นความยากลำบาก  เห็นถึงความสัมพันธ์ของพี่น้องมุสลิม ยิ่งวันฮารีรายอเราจะมีความสุขมากไปเยี่ยมกันทุกบ้านเลย  ไปกินละแซ  กินสะเต๊ะ บ้านโน้นบ้านนี้ แต่สมัยนี้ไม่เห็นบรรยากาศแบบนั้นแล้ว  เราต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ปัตตานีก่อนว่าเป็นอย่างไร ซึ่งตอนนี้ประวัติศาสตร์มันมีหลายเล่ม อย่างมัสยิดกรือเซะไม่ใช่มี 512 ปี ประวัติศาสตร์มีไว้เรียนรู้และดูแลปัจจุบันให้มันดีขึ้น  ประวัติศาสตร์เราต้องรู้ว่าประวัติศาสตร์ใครเป็นคนเขียน อารยธรรม อารยสถาปัตย์
วิทยากรได้พูดถึง “คุณค่าของทรัพยากร เช่น ต้นของลูกหยี ที่คนเอามาผลิตทำเป็นโต๊ะ เมื่อทราบว่าไม้นั้นอายุ 100 กว่าปี ตัวเองน้ำตาร่วง มันมีคุณค่าทางด้านจิตใจ มันเป็นผลไม้ของจังหวัดปัตตานี  มันสร้างเศรษฐกิจกับคนยะลา  คนสะดาวา คนสายบุรีมากมาย ปัจจุบันกำลังทำผลิตภัณฑ์ของปัตตานี เอาเกลือไปใส่กลิ่น และให้ทีมงานสปา เอาไปขัดตัว และเอาดอกเกลือใส่กลิ่นไว้โรยกาแฟ เพื่อให้ได้กลิ่น ทำไก่อบบูดี ไก่ย่างบูดี ไก่ต้มบูดี โดยให้อาจารย์ทาง ม.อ.ทำสเตอรีไรส์  ทำผ้าโดยการพิมพ์ผ้าจากลายช่องลมของบ้าน มาใส่ลงบนผ้า รวมไปถึงผ้าปาเต๊ะ เป็นบอร์ดประธานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  มีหน้าที่ตรวจแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ” วิทยากรได้เข้าสู่เนื้อหา  เริ่มจากพูดถึง “เมืองโบราณยะรังเจอสี่เหลี่ยมยาวถึง  9 กิโลเมตร นั่นคือเมืองเก่าลังกาสุกะ  เรารู้จักลังกาสุกะครั้งแรกจากเอกสารของประเทศจีน  จะเจอคำว่าลังกาสุกะ  เราไม่รู้เลยจนกระทั่งสมเด็จพระเทพ พระองค์ท่านเสด็จไปต่างประเทศ  ไปพิพิธภัณฑ์ที่ ฮอลแลนด์ เนเธอแลนด์  ฝรั่งเศส อังกฤษ  พระองค์ท่านไปเจอพิกัดละติจูดที่ 6.432 และละติจูดนี้ในเอเชียอาคเนย์ มันคือจังหวัดปัตตานี แล้วให้กรมศิลปากรไปสำรวจก็ไม่เจอ แต่คนที่เจอ คือชาวบ้านที่ไปขุดดินจะทำสวนส้มโอ
มันคือส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามนครศรีธรรมราช แต่สายพันธุ์เป็นของยะรังบ้านเรา สมัยท่านผู้ว่าวีรพงศ์  ตั้งชื่อส้มโอสายพันธุ์นี้ว่า “เพชรยะรัง” ถ้าพูดถึงลังกาสุกะ ต้องท้าวความประมาณกว่า 1,800 ปี ประวัติศาสตร์ของปัตตานีไม่ได้อยู่แค่กรือเซะๆ อยู่ในยุคที่ 3 แล้ว
ยุคแรกของปัตตานีจะเป็น ซันซาเซมัตอาสลี คนอัสลี พวกนี้เก่งจะที่ใช้หินขวานฟ้า เราไปเจอหินขวานฟ้าที่เป็นอาวุธ และตรวจสอบหินขวานฟ้ามีอายุมากกว่า 2,000 กว่าปี เจอที่ปัตตานี เจอที่ยะลาตรงท่าสาปเจอเยอะมาก ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ที่เชื่อมกัน เจอภาพวาดในถ้ำศิลปะมีอายุมากกว่า 2,000 กว่าปี ซึ่งมันอยู่ในพื้นที่เรา สมัยก่อนในพื้นที่นี้นับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผีสางเทวดา เป็นการสืบทอดทางด้านจิตวิญญาณของคนจนถึงปัจจุบัน แต่ก่อนชุมชนบางปู  ชุมชนบราโหมจะมีคนจีนมาอยู่เยอะมาก จนวันหนึ่งสุลต่านอิสมาแอลชาร์หรือว่าพระยาอินทิรา ได้รับอิสลาม คนจีนก็อพยพไปอยู่อาเนาะรู  คนจีนชุดแรกเข้ามาที่สายบุรีมีหลักฐานที่ว่าเก่าแก่ที่สุด บริษัทพิธานเศรษฐีใหญ่ข้ามเรือจากจีนขึ้นจากสายบุรี  เมืองสายบุรีจะมีแม่น้ำสองสายมาบรรจบกันเป็นเมืองท่า เป็นเมืองใหญ่ ที่มีความเจริญมาก สมัย ร.5 เสด็จพระพาสมาสายบุรีท่ านเลยตั้งเมืองสายบุรีเป็นจังหวัดสายบุรี แต่ก่อนสายบุรีดูแล นราธิวาส ต่อมาพอมี ตำบล  อำเภอขึ้นมา สายบุรีถูกยุบมาอยู่กับจังหวัด ซึ่งถูกแบ่งด้วยเส้นภูมิศาสตร์ยุคที่พระยาอินทิราย้ายไปอยู่ที่เมืองกรือเซะ  ช่วงนี้จะมีตำนานเยอะมาก เช่น ซีตีคอดีเยาะ ลูกของเจ้าเมืองสายบุรีนั่งช้างจะมาหาเมือง และหยุดตรงนี้จะสร้างเมืองตรงนี้ คือตรงวัดช้างไห้ในปัจจุบันแต่ลูกสาวไม่เอา ลูกสาวอยากได้ริมทะเล  และไปเดินเล่นใกล้ ทะเล  จากนั้นเห็นกระจงเผือก (เป็นตราของปัตตานี) แล้วให้ทหารวิ่งตามไปเอากระจงเผือก และถามว่าไหนละกระจงเผือก หายที่ไหน ทหารบอกว่า “ปาตาอีนีง” และอีกกรณีหนึ่ง สมัยกรือเซะที่ปาตานีเป็นเพื่อนกับอยุธยา  ด้วยความเป็นเพื่อนกันปาตานีนั่งเรือไปช่วยรบพม่า คนหนุ่มถูกเกณฑ์ไปหมดเลย  เหลือแต่คนแก่ที่อยู่เฝ้าเมืองปัตตานี  ใคร? ปะ -ตานี (ปะ ที่หมายถึง คนแก่) แล้วคนหนุ่มก็ไปช่วยอยุธยาในการรบกับพม่า ซึ่งมันคือความผูกพันระหว่างกัน แต่สิ่งเหล่านี้ไม่มีใครพูดถึง ศาลจังหวัดปัตตานี แต่ก่อนมันจะล้อมไปด้วยกระบอกปืนใหญ่ล้อมด้วยที่ถูกล่ามโซ่ ฝังไว้ในดินแล้วก็เชื่อมต่อกัน ตอนนี้หายหมดเลยท่านผู้ว่าวีรนันท์ เพ่งจันทร์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัตตานี  พยายามที่จะอนุรักษ์สิ่งดีไว้ พยายามจะสร้างพิพิธภัณฑ์ในปัตตานีให้เกิดขึ้น  ต้องติดตามกันต่อไปเรื่องประวัติศาสตร์ที่เล่ามานั้น วิทยากรได้เล่าจากหลักฐานที่เจอและเก็บได้  ยังมีความภาคภูมิใจกับ 4 ราชินีของเรา  และอารยธรรมของเราคือโครงโดมที่มัสยิดกรือเซะ สร้างไว้เป็นสัญลักษณ์ของนักรบจากญี่ปุ่นที่แพ้ปัตตานี
ส่วนเรื่องปัจจุบันที่อยู่ใกล้เคียงในบ้านเรา จะมีกรือเซะ บานา  ตันหยงลูโละ ดาโต๊ะ ตะโละสะมิแล บูดี แหลมตาชี บราโหม  วังยะหริ่ง ตะโละกาโปร์  มันไม่ใช่คู่แข่ง เป็นเครือข่าย สามารถจะพึ่งพาอาศัยได้  กรณีการบริการใช้เรือ ถ้าที่ไหนเรือไม่ว่าง เราสามารถจะใช้เรือจากเครือข่ายได้ สิ่งที่เราจะต้องทำและคุยกันให้จบ สมมุติว่า ค่าเรือ 500 บาท หักไว้เลย 50 บาท หรือ 100 บาท ไว้เป็นกองกลาง ค่าเดินเรือเท่าไหร่ ค่าอาหารต่อหัวเท่าไร สิ่งเหล่านี้เราต้องเราต้องเปิดใจ ในการทำข้อตกลงไว้ให้เกิดการยอมรับกัน เคยทำเรือซีคายัค เที่ยวบางปู แต่ตอนนี้เรือใช้ไม่ได้แล้ว อีก 4 ลำอยู่ที่ป่าไม้ ให้คนปะเสยะวอเขียนลายลงในเรือ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ว่ามันเป็นของคนปัตตานี   เรามีนักกีฬายิ่งธนู ที่ติดทีมชาติ จากจังหวัดปัตตานี  และเอาวัฒนธรรมของปัตตานีที่เป็นสัญลักษณ์ปัตตานี มาแกะสลักบนธนูเพื่อให้คนทั่วโลกได้เห็นเวลานักกีฬาไปแข่งตามชาติต่างๆ ว่ามาจากปัตตานี ตอนนี้ปัตตานีกำลังผลิตแพะสายพันธุ์พื้นเมืองแท้ของปัตตานี เพราะวิถีมุสลิมของปัตตานีจะผูกพันกับแพะมาตั้งแต่เกิด ทำเป็นฟาร์ม และให้นักท่องเที่ยวซื้อผักร้านที่สะอาดป้อนแพะ เพื่อให้นักท่องเที่ยวเก็บรูปไว้เป็นสิ่งที่ประทับใจ ซึ่งกิจกรรมแบบนี้กำลังจะเกิดขึ้นในจังหวัดปัตตานี 40 กว่าปีเศรษฐกิจของปัตตานีไม่ฟื้น  แต่จะไปฟื้นอยู่ใต้ดิน เช่นคนบ้านเราไปของทางอินเตอร์เน็ต ขายออนไลน์ ขายหมวกกะปิเยาะไปโลกตะวันออก เดือนหนึ่ง 2 ตัน เป็นอุตสาหกรรมที่ส่งออกต่างประเทศ  ซึ่งก็ได้เงินมานิ่งๆ ไม่สามารถตรวจสอบได้ เพราะไม่สามารถเก็บภาษีได้อย่างคนทำอาชีพประมงในบ้านเรา คนทำประมงหลังจากที่ออกเรือเสร็จก็ไม่มีอาชีพเสริมทำ เราควรส่งเสริมการท่องเที่ยว การเป็นเจ้าบ้านที่ดีในการต้อนรับเพื่อให้เกิดความประทับใจ  และเป็นการสร้างรายได้เสริมให้เกิดขึ้น  เพราะทรัพยากร 3 จังหวัดอุดมสมบูรณ์ • ยะลา จะมีป่าบาลาฮาลา ป่าดิบชื้น • นราธิวาส จะมีป่าพรุโต๊ะแดงชุ่มน้ำ • ปัตตานี ที่น้ำตกทรายขาว จะมีป่าสันกาลาคีรี เป็นป่าดิบ • บ้านเรามีป่าชายเลน • หิ่งห้อย เป็นตัวบอกความสมบูรณ์ของป่า • ปู เรามีปูดำ ปูทะเล  แถวบางปูเราเห็นคือธนาคารปู กรณีปูดำเป็นไปไม่ได้ เพราะชีวิตของปู เวลาไข่แก่จะไปปล่อยที่ปากอ่าว แต่ถ้าปูม้าไม่เป็นเช่นนั้น • ครั้งหนึ่งบ้านเรามีหอยแครงเยอะมาก แต่ตอนนี้ต้องไปซื้อจากข้างนอก • ปลาที่เข้ามาอนุบาลในทะเลบ้านเรา ที่มีมากที่สุด ส่วนใหญ่จะมีปลากระบอก  ปลาขี้ตัง  สามารถเอามาใช้เป็นเมนูอาหาร • รู้จักชนิดของป่าโกงกาง ยางจากตะปูนดำ เป็นยาพิษ  สมัยก่อนใช้อาบหัวธนู • ขลู สามารถทำชา ช่วยในเรื่องของผิวพรรณ การลดน้ำหนักได้ขลู จะช่วยในการขับเลือดลม  ผิวพรรณ
          ลดน้ำหนัก ริดสีดวง ต้นถอบแถบ • ลิงแสม คนบ้านเรามักให้อาหารทั้งถุงพลาสติก  เป็นการให้ของแปลกปลอมเข้าไป และการที่ให้อาหารมัน แบบนั้นบ่อยๆ ส่งผลให้ลิงไม่สามารถหาอาหารกินเองได้  และจะทำให้ลิงเกิดอาการก้าวร้าวถ้าไม่ได้อาหาร • ลำพู ลำแพน • ต้นตาตุ่มทะเล ปัตตานีบ้านเรามีเยอะตะปูนดำ ชะคราม  ทานได้ ลวกสัก 2 – 3 ครั้ง จิ้มน้ำพริก • หลาวชะโอน บ้านเรายังน้อยอยู่ • โกงกางใบเล็ก บ้านเรามีเยอะมาก • เหงือกปลาหมอเครือ เป็นยาสมุนไพร  ทาแผล เป็นหนองได้  สกัดทำเป็นครีมได้ • นกกินปลา  จะมีสีสันสวยงามมาก  เพราะแคลเซี่ยมจากปลาทำให้นกมีสีสวยงาม • แม่หอบ ตัวจะเหมือน ก้าง • เมนูที่กินได้  จาก ปลาทะเล ผักหวานทะเล การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  จะพยายามทำลายสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดเพื่อไม่ให้รบกวนสัตว์ตัวอื่น  เช่น เรื่องเสียง กลิ่น(การสูบบุหรี่) การท่องเที่ยวอุโมงค์โกงกาง  จะต้องมีผู้นำ

ความสำคัญของ และประโยชน์ของป่าชายเลน 1. เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ 2. ช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ทะเล 3. ช่วยป้องกันดินทลายชายฝั่ง 4. ดูดสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งปฏิกูล 5. ช่วยปกป้องจากอุทุกภัย ภาคบ่าย เวลา 13.00 น. วิทยากร คุณรดา  จิรานนท์  รักษาการประธานอุตสาหกรมท่องเที่ยว จ.ปัตตานี  ให้ผู้เข้าร่วมดูคลิปสั้นหนัง เกี่ยวกับการท่องเที่ยวของฝรั่งที่มาเที่ยวในประเทศไทย แล้วกระเป๋าเงินหาย  จนมีสาวชาวไทยมาให้ความช่วยเหลือจนเกิดความประทับใจ  จนสามารถลบความอคติที่อยู่ในใจออกมาทั้งหมด  และนักท่องเที่ยวต่างชาติมีความประทับใจในหลวงรัชกาลที่ 9

หลังจากดูคลิปสั้นจบ  มีกิจกรรมแบ่งกลุ่ม  โดยมีหัวข้อดังนี้ 1. บ้านเกิดของฉัน มีอะไรบ้าง? แพะ, ป่าชายเลน, นก,  ปู,  กุ้ง(กุ้งแม่น้ำ), หอย, ปลา (ปลากะพงในกระชัง), เรือ(ใน ม.3 มี 33 ลำ),  ปลาแห้ง, ข้าวเกรียบ, สาหร่ายผมนาง,  มัสยิดที่สวยงาม, ขนมพื้นบ้านที่อร่อย ขนมบาดา, ขนมมาดูกาตง, ใส้อั่ว, หอยจาน 2. ถ้านักท่องเที่ยวมา จะดูแลอย่างไรบ้าง? - นำเสนอตัวเองให้เขารู้จัก - ทำความรู้จักเขาเช่นกัน - แนะนำสิ่งดีๆ ที่มีในชุมชน  เช่น  วิถีชีวิต  ความเป็นอยู่ - แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน - พาไปกินของอร่อยๆ  เช่น อาหารพื้นบ้าน - เยี่ยมชมสถานที่สำคัญในชุมชน - มีห้องน้ำสะอาดไว้บริการ ชาย 15 ห้อง  หญิง 15 ห้อง - พาไปซื้อของฝาก/ของที่ระลึก 3. บ้านเรามีกิจกรรมอะไรให้นักท่องเที่ยวบ้าง? - เล่นน้ำ - หาหอย - เก็บขยะในอ่าวปัตตานี - ชมวีถีอาชีพประมงพื้นบ้าน - ชมวิถีชีวิตพื้นบ้าน (ปลาแห้ง) - ปลูกต้นโกงกาง - ชมเกาะนกหลากหลายชนิด - ลอดอุโมงค์ป่าโกงกางธรรมชาติ

4.ลักษณะของผู้ประกอบการเรือ 1. แต่งกายสะอาดเรียบร้อย 2. กิริยาวาจาสุภาพนุ่มนวล 3. ใจเย็น  อดทน  อดกลั้น 4. ยิ้มแย้มแจ่มใส 5. มีมิตรไมตรี 6. ทักทายถูกต้องเหมาะสม 7. เอาใจใส่  และจริงใจ 8. พร้อมตอบคำถาม 9. ช่วยแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดกับขัดข้อง 10. มีบุคลิกภาพดี

กติกาการลงเรือ 1. สวมใส่เสื้อชูชีพ  ทุกครั้งทุกคน 2. กวดขันดูแลเรื่องการขึ้นลงเรือ  ไม่กระโดดขึ้นก่อนเรือจอด 3. เตือนและใส่ใจ  การวางมือที่กราบเรือของนักท่องเที่ยว 4. ห้ามทิ้งขยะลงในน้ำให้เก็บกลับมาทิ้งบนฝั่งทั้งหมด 5. ห้ามเด็ด  ตัด  หรือทำลายทรัพยากร  หรือนำมาเป็นสมบัติของตัวเอง 6. แจ้งนักท่องเที่ยวให้ทราบอัตราค่าใช้จ่ายให้ชัดเจนทุกครั้ง 7. ตรงต่อเวลา 8. พูดจาด้วยความสุภาพ 9. มีรอยยิ้ม 10. กระตือรือร้นในการให้คำอธิบาย 11. เปิดทัวร์ให้น่าสนใจ  เพื่อให้นักท่องเที่ยวกลับมาอีก 12. ความปลอดภัยของผู้โดยสาร

ข้อเสนอแนะ 1. จัดทำเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยในการสัญจรทางน้ำ  รวมทั้งการช่วยเหลือตัวเองในยามฉุกเฉินและการรักษาสิ่งแวดล้อมทางน้ำ 2. จัดการสัมมนา  บรรยาย  ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยในการสัญจรทางน้ำ และผลกระทบต่อการทิ้งของเสียหรือน้ำมัน และการรักษาสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำสาธารณะแก่ประชาชนผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง 3. จัดเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวในการเดินทางทางเรือ 4. จัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครเข้าร่วมในโครงการรณรงค์เพื่อความปลอดภัยทางน้ำ 5. จัดเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์รับแจ้งเหตุทางน้ำ 6. รณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแลพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเจ้าของกิจการบนเรือ  คนประจำเรือ  และเจ้าหน้าที่ของรัฐ  หรือมูลนิธิเอกชนในกิจการเดินเรือโดยสารหรือท่าเทียบ.

หลังจากนั้นเวลา16.30 น ท่านอิหม่ามอาชิ  ดาราแม  อิหม่ามมัสยิดอัตตะอาวุน บางปู  กล่าวปิดการอบรม  “การเป็นเจ้าบ้านที่ดี”

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลคาดว่าจะได้รับและตัวชี้วัด ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. แกนนำชุมชนบางปูได้รับความรู้ความเข้าใจการเป็นเจ้าบ้านที่ดี 2. แกนนำชุมชนบางปูได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องป่าชายเลน 3. แกนนำชุมชนบางปูได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชนบางปู 4. ทำให้ชุมชนเกิดความร่วมมือ เกิดความสามัคคี ทำงานร่วมกันอย่างแข็งขันและเป็นเอกภาพ

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. แกนนำชุมชนบางปู ผู้ประกอบการ แกนนำเยาวชนได้เรียนรู้การเป็นเจ้าบ้านที่ดี 100% 2. แกนนำชุมชนบางปูเกิดความร่วมมือ เกิดความสามัคคี ทำงานร่วมกันอย่างแข็งขันและเป็นเอกภาพ100%

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 28 คน จากที่ตั้งไว้ 29 คน
ประกอบด้วย

ผู้เข้าร่วมจากชุมชนบางปู 17  คน ชุมชนบ้านบาลาดูวอ 2 คน จากชุมชนบ้านตะโล๊ะกาโปร์ 3 คน คณะทำงาน 6 คน วิทยากร 1 คน รวมทั้งสิ้น 28 คน

การอบรมบันทึกข้อมูล โครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต.ปี 256014 กรกฎาคม 2561
14
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การอบรมบันทึกข้อมูล โครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้บันทึกข้อมูลกิจกรรมโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต.ปี 2560

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 111 คน จากที่ตั้งไว้ 111 คน
ประกอบด้วย

องค์กรภาคประชาสังคมที่ได้รับงบประมาณ 50 ล้านบาท

สรุปผลการดำเนินงาน30 ธันวาคม 2560
30
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สรุปผลการดำเนินงาน รายงานรายละเอียดข้อมูลกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน (เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานในปีต่อๆ ไป รวมถึงจะได้สรุปเป็นข้อเสนอต่อรัฐบาลในภาพรวมโครงการ) 1. ศอ.บต.ควรสนับสนุน ต่อยอดโครงการแนวนี้ หรือโครงการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชน เพื่อสนับสนุนชุมชนที่ต้องการการส่งเสริมการท่องเที่ยวและยังขาดโอกาสอยู่ และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีอาชีพและรายได้เพิ่มมากขึ้น
2. ศอ.บต.ควรสนับสนุน โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชน เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนใต้ และยังเป็นการส่งเสริมสันติภาพเชิงบวกให้กับพื้นที่ชายแดนใต้อีกด้วย

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 6 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

ผลิตรายการวิทยุ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนมีส่วนร่วม 6 ตอนตอนที่ 6 มัสยิดศูนย์กลางการพัฒนา และประวัติศาสตร์บางปู 26 ธันวาคม 2560
26
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

จิงเกิ้ลนำเข้ารายการ “บางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว”

เกริ่นนำรายการ ผู้ดำเนินรายการ คุณยะห์ อาลี
สวัสดีค่ะคุณผู้ฟัง ขอความสันติจงมีแด่คุณผู้ฟังทุกท่าน ขอต้อนรับคุณผู้ฟังเข้าสู่รายการ “บางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว” โดยมี ดิฉัน ยะห์ อาลี เป็นผู้ดำเนินรายการ
ซูเฮ็ง สวัสดีครับ อัสลามูอาลัยกุมฯ ผม อิบรอเฮ็ง มาเละ หรือ ซูเฮ็ง ผู้ร่วมดำเนินรายการครับ
กะยะห์
คุณผู้ฟังคะ รายการ “บางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว” ออกอากาศทางสถานีวิทยุ 4 สถานี โดยมีสถานีตะอาวุนเรดิโอ 100.5 MHz เป็นแม่ข่าย และอีก 3 สถานี คือ สถานีวิทยุ ม.อ. ปัตตานี 107.25mhz สถานีอัตตัรเรดิโอ 104 MHz และสถานีวิทยุมัสยิดกลาง จ.ยะลา 105.75 MHz

ช่วงเข้าสู่เนื้อหา
คุณผู้ฟังคะ เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี ได้ดำเนินโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ภายใต้โครงการการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ชุมชนบ้านบางปูเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สามารถจัดการตนเองด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเพื่อให้สื่อมวลชนได้นําเรื่องราวของชุมชนบ้านบางปูเผยแพร่สู่สาธารณะ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ชุมชนและจังหวัดชายแดนใต้ โครงการนี้สนับสนุนโดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) คุณผู้ฟังคะ วันนี้ “รายการอะเมซิ่งบางปู ชุมชนท่องเที่ยว” มีแขกรับเชิญ 2 ท่าน ที่ให้เกียรติมาร่วมรายการกับเรา คะ 1.อิหม่ามอาชิ  ดือราแม อิหม่ามมัสยิดอัตตะอาวุน บางปู 2.อาจารย์กามาสูดิน ฮะยียามา อาจารย์จากโรงเรียนบำรุงอิสลาม ผู้สนใจและศึกษาประวัติศาสตร์บางปู
ประเด็นคำถามอิหม่ามอาชิ  ดือราแม 1. แนะนำตัวความรู้สึก 2. ดำเนินการกิจกรรมด้านการพัฒนามัสยิดเพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชนอย่างไรบ้าง 3. พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว ชุมชนบางปูอย่างไรบ้าง 4. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานมัสยิดอย่างไรบ้าง 5. การส่งเสริมสถานีวิทยุอัตตะอาวุนบางปู 6. ข้อเสนอแนะ ฝากทิ้งท้ายความคาดหวัง

ประเด็นคำถาม อ.กามาสูดิน ฮะยียามา 1. แนะนำตัวความรู้สึก 2. เล่าประวัติศาสตร์บางปู 3. ข้อเสนอแนะ ฝากทิ้งท้ายความคาดหวัง คำถามต่อต้องฟังวิทยากรทั้งสองพูด และนำมาสรุปตอนท้าย

ดีเจซูเฮ็งสรุป และกะยะห์ สรุป  ขอบคุณผู้เข้าร่วม สำหรับวันนี้ รายการบางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว หมดเวลาลงแล้ว คุณผู้ฟังสามารถติดตามรับฟังรายการบางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว ได้ใหม่ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งนี้ ออกอากาศทางสถานีวิทยุ 4 สถานี โดยมีสถานีตะอาวุนเรดิโอ 100.5 MHz เป็นแม่ข่าย และอีก 3 สถานี คือ สถานีวิทยุ ม.อ. ปัตตานี 107.25mhz สถานีอัตตัรเรดิโอ 104 MHz และสถานีวิทยุมัสยิดกลาง จ.ยะลา 105.75 MHz
ซูเฮ็ง สำหรับวันนี้ เราทั้ง 4 คน ต้องลาไปก่อน ผม อิบรอเฮ็ง มาเละ ดิฉัน ยะห์ อาลี ขอความสันติจงมีแด่ทุกท่าน อัสลามูอาลัยกุมฯ สวัสดีค่ะ จิ้งเกิลปิดรายการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนบ้านบางปูเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สามารถจัดการตนเองด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเพื่อให้สื่อมวลชนได้นําเรื่องราวของชุมชนบ้านบางปูเผยแพร่สู่สาธารณะ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ชุมชนและจังหวัดชายแดนใต้

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 7 คน จากที่ตั้งไว้ 6 คน
ประกอบด้วย

1.อิหม่ามอาชิ  ดือราแม อิหม่ามมัสยิดอัตตะอาวุน บางปู 2.อาจารย์กามาสูดิน ฮะยียามา อาจารย์จากโรงเรียนบำรุงอิสลาม ผู้สนใจและศึกษาประวัติศาสตร์บางปู
3.ผู้ดำเนินรายการ
4.คณะทำงาน

ประชุมทีม เพื่อจัดทำบทวิทยุ ครั้งที่ 626 ธันวาคม 2560
26
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ครั้งที่ 6  เตรียมเนื้อหาและบทวิทยุรายการ บางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว ตอนที่ 6 มัสยิดศูนย์กลางการพัฒนาและประวัติศาสตร์บางปู  ณ สำนักงานเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้กำหนดเนื้อหาและบทวิทยุรายการ บางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว ตอนที่ 6 มัสยิดศูนย์กลางการพัฒนาและประวัติศาสตร์บางปู

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

ประชุมทีม เพื่อจัดทำบทวิทยุ ครั้งที่ 517 ธันวาคม 2560
17
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ครั้งที่ 5  เตรียมเนื้อหาและบทวิทยุรายการบางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว ตอนที่ 5 บทบาทเยาวชนหญิงชะบ้าบ กับการทำงานเพื่อสังคม สัมภาษณ์เยาวชนชะบ๊าบหญิง และเยาวชนหญิงจากคณะทำงานเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี กับการทำงานช่วยเหลือสังคม ณ สำนักงานเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้กำหนดเนื้อหาและบทวิทยุรายการบางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว ตอนที่ 5 บทบาทเยาวชนหญิงชะบ้าบ กับการทำงานเพื่อสังคม สัมภาษณ์เยาวชนชะบ๊าบหญิง และเยาวชนหญิงจากคณะทำงานเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี กับการทำงานช่วยเหลือสังคม ณ สำนักงานเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

"ผลิตรายการวิทยุ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนมีส่วนร่วม 6 ตอน ตอนที่ 5 บทบาทเยาวชนหญิงชะบ้าบ กับการทำงานเพื่อสังคม 16 ธันวาคม 2560
16
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วันที่ 17  ธันวาคม 2560 จิงเกิ้ลนำเข้ารายการ “บางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว”

เกริ่นนำรายการ

ผู้ดำเนินรายการ คุณยะห์ อาลี สวัสดีค่ะคุณผู้ฟัง ขอความสันติจงมีแด่คุณผู้ฟังทุกท่าน ขอต้อนรับคุณผู้ฟังเข้าสู่รายการ “บางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว” โดยมี ดิฉัน ยะห์ อาลี เป็นผู้ดำเนินรายการ ซูเฮ็ง สวัสดีครับ อัสลามูอาลัยกุมฯ ผม อิบรอเฮ็ง มาเละ หรือ ซูเฮ็ง ผู้ร่วมดำเนินรายการครับ กะยะห์ คุณผู้ฟังคะ รายการ “บางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว” ออกอากาศทางสถานีวิทยุ 4 สถานี โดยมีสถานีตะอาวุนเรดิโอ 100.5 MHz เป็นแม่ข่าย และอีก 3 สถานี คือ สถานีวิทยุ ม.อ. ปัตตานี 107.25mhz สถานีอัตตัรเรดิโอ 104 MHz และสถานีวิทยุมัสยิดกลาง จ.ยะลา 105.75 MHz

ช่วงเข้าสู่เนื้อหา<br />

คุณผู้ฟังคะ เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี ได้ดำเนินโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ภายใต้โครงการการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ชุมชนบ้านบางปูเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สามารถจัดการตนเองด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเพื่อให้สื่อมวลชนได้นําเรื่องราวของชุมชนบ้านบางปูเผยแพร่สู่สาธารณะ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ชุมชนและจังหวัดชายแดนใต้ โครงการนี้สนับสนุนโดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) คุณยะห์ อาลี
คุณผู้ฟังคะ วันนี้ “รายการอะเมซิ่งบางปู ชุมชนท่องเที่ยว” มีแขกรับเชิญ 2 ท่าน ที่ให้เกียรติมาร่วมรายการกับเรา คะ 1. คุณตัสนีม  แวและ 2. คุณนูรโซเฟีย มูดอ 3. คุณวาซีนีย์ แวโต ประเด็นคำถาม 1. แนะนำตัวความรู้สึก 2. เยาวชนหญิงกลุ่มชะบ๊าบ  และคณะทำงานเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานีกับการทำงานช่วยเหลือสังคม 3. กิจกรรมของกลุ่มเยาวชนชะบ๊าบหญิงดำเนินการการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว ชุมชนบางปูอย่างไรบ้าง 4. กลุ่มเยาวชนชะบ๊าบหญิงมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนและมัสยิดอย่างไรบ้าง 5. ข้อเสนอแนะ ฝากทิ้งท้ายความคาดหวัง คำถามต้องฟัง กลุ่มพูด และนำมาสรุปตอนท้าย

คุณผู้ฟังคะ ดีเจซูเฮ็งสรุป และกะยะห์ สรุป&nbsp; ขอบคุณผู้เข้าร่วม

สำหรับวันนี้ รายการบางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว หมดเวลาลงแล้ว คุณผู้ฟังสามารถติดตามรับฟังรายการบางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว ได้ใหม่ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งนี้ ออกอากาศทางสถานีวิทยุ 4 สถานี โดยมีสถานีตะอาวุนเรดิโอ 100.5 MHz เป็นแม่ข่าย และอีก 3 สถานี คือ สถานีวิทยุ ม.อ. ปัตตานี 107.25mhz สถานีอัตตัรเรดิโอ 104 MHz และสถานีวิทยุมัสยิดกลาง จ.ยะลา 105.75 MHz
สำหรับวันนี้ เราทั้ง 4 คน ต้องลาไปก่อน ผม อิบรอเฮ็ง มาเละ ดิฉัน ยะห์ อาลี ขอความสันติจงมีแด่ทุกท่าน อัสลามูอาลัยกุมฯ สวัสดีค่ะ จิ้งเกิลปิดรายการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนบ้านบางปูเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สามารถจัดการตนเองด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเพื่อให้สื่อมวลชนได้นําเรื่องราวของชุมชนบ้านบางปูเผยแพร่สู่สาธารณะ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ชุมชนและจังหวัดชายแดนใต้

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 7 คน จากที่ตั้งไว้ 7 คน
ประกอบด้วย

เยาวชนหญิงชะบ้าบและดำเนินรายการ

ผลิตรายการวิทยุ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนมีส่วนร่วม 6 ตอนตอนที่ 4 เยาวชนชะบ๊าบบางปูกับการทำงานเพื่อชุมชน 16 ธันวาคม 2560
16
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วันที่ 16 ธันวาคม 2560 จิงเกิ้ลนำเข้ารายการ “บางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว”

เกริ่นนำรายการ

ผู้ดำเนินรายการ คุณยะห์ อาลี สวัสดีค่ะคุณผู้ฟัง ขอความสันติจงมีแด่คุณผู้ฟังทุกท่าน ขอต้อนรับคุณผู้ฟังเข้าสู่รายการ “บางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว” โดยมี ดิฉัน ยะห์ อาลี เป็นผู้ดำเนินรายการ ซูเฮ็ง สวัสดีครับ อัสลามูอาลัยกุมฯ ผม อิบรอเฮ็ง มาเละ หรือ ซูเฮ็ง ผู้ร่วมดำเนินรายการครับ กะยะห์ คุณผู้ฟังคะ รายการ “บางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว” ออกอากาศทางสถานีวิทยุ 4 สถานี โดยมีสถานีตะอาวุนเรดิโอ 100.5 MHz เป็นแม่ข่าย และอีก 3 สถานี คือ สถานีวิทยุ ม.อ. ปัตตานี 107.25mhz สถานีอัตตัรเรดิโอ 104 MHz และสถานีวิทยุมัสยิดกลาง จ.ยะลา 105.75 MHz
ช่วงเข้าสู่เนื้อหา
คุณผู้ฟังคะ เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี ได้ดำเนินโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ภายใต้โครงการการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ชุมชนบ้านบางปูเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สามารถจัดการตนเองด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเพื่อให้สื่อมวลชนได้นําเรื่องราวของชุมชนบ้านบางปูเผยแพร่สู่สาธารณะ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ชุมชนและจังหวัดชายแดนใต้ โครงการนี้สนับสนุนโดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) คุณยะห์ อาลี คุณผู้ฟังคะ วันนี้ “รายการอะเมซิ่งบางปู ชุมชนท่องเที่ยว” มีแขกรับเชิญ 2 ท่าน ที่ให้เกียรติมาร่วมรายการกับเรา คะ 1.คุณฟาเดล หะยีสือแม 2.คุณริดวาน  แวและ ประเด็นคำถามกลุ่มบูนาดารา 1. แนะนำตัวความรู้สึก 2. กิจกรรมของกลุ่มชะบ้าบดำเนินการการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว ชุมชนบางปูอย่างไรบ้าง 3. กลุ่มชะบ้าบมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนและมัสยิดอย่างไรบ้าง 4. กลุ่มชะบ้าบกับการส่งเสริมสถานีวิทยุอัตตะอาวุนบางปูอย่างไรบ้าง 5. ข้อเสนอแนะ ฝากทิ้งท้ายความคาดหวัง คำถามต้องฟังกลุ่มชะบ้าบพูด และนำมาสรุปตอนท้าย

คุณผู้ฟังคะ ดีเจซูเฮ็งสรุป และกะยะห์ สรุป&nbsp; ขอบคุณผู้เข้าร่วม

สำหรับวันนี้ รายการบางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว หมดเวลาลงแล้ว คุณผู้ฟังสามารถติดตามรับฟังรายการบางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว ได้ใหม่ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งนี้ ออกอากาศทางสถานีวิทยุ 4 สถานี โดยมีสถานีตะอาวุนเรดิโอ 100.5 MHz เป็นแม่ข่าย และอีก 3 สถานี คือ สถานีวิทยุ ม.อ. ปัตตานี 107.25mhz สถานีอัตตัรเรดิโอ 104 MHz และสถานีวิทยุมัสยิดกลาง จ.ยะลา 105.75 MHz
สำหรับวันนี้ เราทั้ง 4 คน ต้องลาไปก่อน ผม อิบรอเฮ็ง มาเละ ดิฉัน ยะห์ อาลี ขอความสันติจงมีแด่ทุกท่าน อัสลามูอาลัยกุมฯ สวัสดีค่ะ จิ้งเกิลปิดรายการ บทวิทยุ รายการบางปูอเมซซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ให้ชุมชนบ้านบางปูเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สามารถจัดการตนเองด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเพื่อให้สื่อมวลชนได้นําเรื่องราวของชุมชนบ้านบางปูเผยแพร่สู่สาธารณะ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ชุมชนและจังหวัดชายแดนใต้

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 6 คน จากที่ตั้งไว้ 7 คน
ประกอบด้วย

เยาวชนชะบ้าบร่วมกับผู้ดำเนินรายการ

ประชุมทีม เพื่อจัดทำบทวิทยุ ครั้งที่ 416 ธันวาคม 2560
16
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ครั้งที่ 4  เตรียมเนื้อหาและบทวิทยุรายการบางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว ตอนที่ 4 เยาวชนชะบ๊าบบางปูกับการทำงานเพื่อชุมชน ทั้งเรื่องการบริการล่องเรือนำเที่ยวป่าชายเลน ลอดอุโมงค์ป่าโกงกาง และการดูแลสถานีวิทยุตะอาวุน ของชุมชน ณ สำนักงานเครือข่ายวิทยุชุมชน จังหวัดปัตตานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้กำหนดเนื้อหาและบทวิทยุรายการบางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว ตอนที่ 4 เยาวชนชะบ๊าบบางปูกับการทำงานเพื่อชุมชน ทั้งเรื่องการบริการล่องเรือนำเที่ยวป่าชายเลน ลอดอุโมงค์ป่าโกงกาง

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

เวทีประเมินและถอดบทเรียนกิจกรรมโครงการ 14 ธันวาคม 2560
14
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วิธีการดำเนินงาน 1.ประสานวิทยากร 2.ประสานสถานที่ 3.ประสานผู้เข้าร่วมในพื้นที่ 4.จัดซื้ออุปกรณ์/เตรียมเอกสาร 5.จัดเวทีประเมินและถอดบทเรียนกิจกรรมโครงการ
6.สรุปผลกิจกรรม

สรุปกิจกรรมที่ 6 เวทีประเมินและถอดบทเรียนกิจกรรมโครงการ
ผู้ดำเนินการประชุม ได้เกริ่นนำกิจกรรมโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู และเรียนเชิญกำนันอับดุลมาหน๊ะ  สาและ กำนันตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี กล่าวเปิดการประชุมกิจกรรมประเมินและถอดบทเรียนกิจกรรมโครงการ       กำนันอับดุลมาหน๊ะ  สาและ  กำนันตำบลบางปู ได้กล่าวว่า ประสบการณ์การไปศึกษาดูงานกับกลุ่มชุมชนท่องเที่ยวจังหวัดปัตตานี ที่จังหวัดสมุทรสงคราม สถานที่ๆ ไปดู  คือ ไปดูหิ่งห้อยที่อัมพวา ท่านกำนันได้เปรียบเทียบ ว่าพื้นที่ ตำบลบางปูสภาพแวดล้อมอุดมสมบูรณ์มากกว่า และหิ่งห้อยมีมากกว่าหลายเท่าตัว หลังจากกลับจากศึกษาดูงานเสร็จได้มีการประชุมทีมงาน  จนเกิดโครงการที่ทางชุมชนท่องเที่ยวอยากให้เกิด และได้นำเสนอให้กับจังหวัดถึงการจะส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ         และกำนันได้กล่าวว่า  นายโอฬาร บิลสัน นายอำเภอรับผิดชอบอำเภอยะหริ่ง และท่านเป็นผู้บุกเบิกพยายามผลักดันส่งเสริมสนับสนุนเรื่อง หิ่งห้อยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว  และได้บอกว่าวันนี้ช่วงบ่ายกำนัน  นายอำเภอ  และเจ้าหน้าที่จากการท่องเที่ยวจังหวัดจะลงเรือไปสำรวจดูเกาะกามเทพ  เพราะเกาะนี้จะเป็นจุดประชาสัมพันธ์ในตำบลบางปู  อีกหนึ่งจุดเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว  ต่อไปอาจมีการจัดเทศกาลการแต่งงานและมีการจดทะเบียนที่เกาะกามเทพแห่งนี้  หลังจากนันกำนันได้กล่าวเปิดการประชุมเป็นทางการ





คุณยะห์  อาลี  หัวหน้าโครงการฯ  ได้กล่าวแนะนำตัวและคณะทำงาน พร้อมทั้งได้ชี้แจงความเป็นมาของโครงการฯ และได้กล่าวว่า “เครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี ได้จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก  ศอ.บต.  ในการทำงานในระดับพื้นที่  ซึ่งเครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเรื่องการมีส่วนร่วมและชุมชนจัดการตนเองด้านการท่องเที่ยว เพื่อให้ชุมชนบ้านบางปูเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สามารถจัดการตนเองด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้เพิ่มมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนรู้เรียนระหว่างสื่อมวลชนกับชุมชน เพื่อให้สื่อมวลชนได้นำเรื่องราวของชุมชนบ้านบางปูเผยแพร่สู่สาธารณะ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ชุมชน และจังหวัดชายแดนใต้  ตลอดจนสร้างเยาวชนให้เป็นนักสื่อสารชุมชน อบรมผลิตคลิบวีดีโอสั้นด้วยมือถือให้กับเยาวชนในชุมชน และผลิตรายการวิทยุ ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องของวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของชุมชน และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สู่สาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ”           คุณยะห์  อาลี ได้กล่าวอีกว่า “แต่ด้วยงบประมาณที่มีจำกัด จึงเลือกพื้นที่ตำบลบางปูนำร่อง เพราะก่อนหน้านี้ เรามีการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชนที่ทำเรื่องท่องเที่ยว  และได้ไปพบปะแกนนำชุมชนในพื้นที่เพื่อสร้างความเข้าใจต่อโครงการฯ  หลังจากนั้นได้จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการเป็นเจ้าบ้านที่ดี  และมีการอบรมศักยภาพเยาวชนในการทำคลิปสั้นในพื้นที่  ตามด้วยกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสื่อมวลชน/สื่อชุมชน  และต่อด้วยกิจกรรมการจัดรายการวิทยุ  การดำเนินกิจกรรมทั้งโครงการเรามีการสรุปว่า ชุมชนได้อะไรบ้าง  และชุมชนเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในการดำเนินกิจกรรม

เวลา 10.30 น.
คุณมูฮำมัดอายุบ  ปาทาน  ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้  /บรรณาธิการอาวุโสศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ บรรยายใน เรื่อง “ชุมชนกับการพัฒนาและการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน”     คุณมูฮำหมัดอายุบ  ปาทาน  ได้กล่าวว่า  มีประเด็นให้ชวนคิดเพื่อให้ชุมชนเกิดการคิดต่อ อยู่ 2 ประเด็น  ด้วยกันคือ 1. เรื่องของชุมชน  กล่าวคือถ้ามองเรื่องชุมชนในรอบ 4-5 ปี ที่ผ่านมา  มันมีการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างเยอะมาก เพราะการสื่อสารมันไปไกลและเร็วมาก ฉะนั้นเทรนการสื่อสาร  เทรนการท่องเที่ยว มันไปข้างหน้า  อาจจะชอบหรือไม่นั้นมันต้องมีการปรับในบางเรื่อ งเพราะการสื่อสารมันทำให้การท่องเที่ยวเติบโตขึ้น ดังนั้นการท่องเที่ยวกับการสื่อสารต้องไปด้วยกัน  ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เพราะมันมีความสัมพันธ์กันในชุมชน  คุณมูฮำหมัดอายุบ  ปาทาน ได้เน้นประโยคสำคัญ  คือ “ถ้าไม่พูดเรื่องการสื่อสาร  การท่องเที่ยวก็ไปไม่ได้  กลับกันถ้าไม่พูดเรื่องการท่องเที่ยวการสื่อสารก็ไปไม่ได้ด้วยเช่นกัน” แต่ในอดีตคนบ้านเราไม่กล้าที่จะเรียนรู้ทักษะเรื่องการสื่อสาร  เพราะว่า  ไม่มีความรู้ในเรื่องคอนเทนต์(เนื้อหา) ว่าต้องสื่อสารแบบไหน  ทำให้คุณอัสรา  รัฐการัณย์ กับ คุณยะห์  อาลี เข้ามาช่วยสอนคนในชุมชน การท่องเที่ยวต้องการคนเพิ่ม  ต้องการคนมาดู  ต้องการคนใหม่ๆ มาเที่ยว  มาเยี่ยม  มาดูสิ่งดีๆ ในชุมชน เป็นเทรนที่เปลี่ยนไปและน่าสนใจ
 ผู้หญิง ถือว่าสำคัญเพราะผู้หญิงมักจะเป็นคนสื่อสารได้ดี  และมักเป็นคนที่พูดต่อได้ดี ดังนั้นถ้าจะมีการขยายการสื่อสารต้องมี target กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้หญิงที่มีจำนวนมากกว่าผู้ชาย  การสื่อสารเป็นการตลาดชนิดหนึ่ง ถ้าผู้หญิงพูดถึงบางปูมากเท่าไร  การตลาดการท่องเที่ยวก็จะขยายมากขึ้นเท่านั้น เพราะถ้ามองการท่องเที่ยวเชิงนิเวศผู้หญิงมักชอบไปที่แบบนี้  และชอบมาแบบกลุ่มใหญ่ จะเห็นได้ว่าผู้หญิงจะมาเป็นอันดับหนึ่ง ฉะนั้นต้องมุ่งเป้าไปที่ผู้หญิงให้คนรู้จักบางปู  จะทำอย่างไรนั้น และจะขยายการสื่อสารในกลุ่มผู้หญิงแบบไหน คือโจทย์ที่ต้องคิดต่อ  เยาวชน  เป็นกลุ่มคนที่มีความกล้าหาญ เป็นคนที่นำทางขบวนการท่องเที่ยวเยอะที่สุด  เพราะมีเครื่องมือที่หลากหลายกว่า  และมีพรรคพวก มีเครือข่าย ถ้าดูความเคลื่อนไหวทาง Social Media เช่น facebook  กลุ่มนี้จะเป็นผู้ที่นำทางในเรื่องการท่องเที่ยว มีการสื่อสารอย่างรวดเร็ว  เป็นคนชอบแชร์  ชอบโพสต์  ทำให้สามารถช่วยสื่อสารเรื่องการท่องเที่ยวได้เยอะ การที่คนมาท่องเที่ยวในชุมชนบางปูมาก สิ่งที่ได้มากกว่าที่เห็นคือผลบุญที่จะได้รับในโลกหน้า  การบูรณาการ การสื่อสารเรื่องสภาวะแวดล้อม  เพราะการสื่อสารบ่อยๆ จะเห็นสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ  การสื่อสารจะทำให้เปลี่ยนวิธีคิดของคน เพราะถ้าไม่มีการสื่อสารก็จะมีแต่คนใน  คนเดิมๆ เท่านั้นที่วนเวียนมาเที่ยว ไม่มีคนต่างจังหวัด ไม่มีคนต่างอำเภอ  ประโยชน์ของคนที่อยู่พื้นที่รอบข้างเราสามารถที่จะเป็นคนที่คอยช่วยเหลือแวดล้อมรอบข้างในเรื่องต่างๆ ได้  ต้องทราบว่าพื้นที่ใกล้เคียงมีอะไรดีๆ เด่นๆ บ้าง  เพราะมันจะคาบเกี่ยวให้เห็นบรรยากาศรอบข้างด้วย  ไม่ใช่เห็นเฉพาะ มัสยิดอัตตะอาวุลบางปู
 การท่องเที่ยวต้องอยู่ในระบบในกรอบ  ประเพณี  วัฒนธรรมของพื้นที่  เช่น  เกาะกามเทพ ไม่ควรจะไปจัดให้อยู่ใน  เดือนกุมภาพันธ์ เพราะมันคาบเกี่ยวกับวันวาเลนไทน์ที่เป็นความเชื่อของคนมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลาม  ต้องเขียนให้ดีถ้าเขียนไม่ดี  จะเกิดความผิดพลาดตามมา ที่กล่าวมาข้างต้น  ถือเป็นองค์ประกอบในเรื่องการตลาดเพื่อการท่องเที่ยว  แต่ที่ต้องเน้นหนักและให้ถือเป็นหลักยุทธศาสตร์สำหรับชุมชน  คือ ชุมชนต้องมีการเตรียมความพร้อมกับการประสบพบเจอเรื่องการเปลี่ยนแปลง และอย่าคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้  เพราะการสื่อสารเปลี่ยนวิธีคิดของคน การสื่อสารกับการท่องเที่ยวมันแยกไม่ออก 2. เรื่องการสื่อสาร
ประเด็นนี้คุณมูฮำมัดอายุบ  ปาทาน เน้นว่า  “ชุมชนต้องเน้นหนัก”  เพราะสถานการณ์ถูกเปลี่ยนแน่นอนการสื่อสารเรื่องการท่องเที่ยวต้องคิดแบบใหม่ ชุมชนสู่การท่องเที่ยว  ถ้า 2 อย่างนี้ไปได้ทุกอย่างก็ไปได้ ข้อควรคำนึงยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชน และต้องมีการสื่อสารทุกรูปแบบ  เช่น
1. การสื่อสารปากต่อปากแบบอานาล๊อค  คนในชุมชนต้องช่วยกันไม่ใช่เฉพาะอิหม่าม 2. การสื่อสาร Social Media ในมือถือในทุก Application เพราะมันเป็นต้นทุนที่ไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องเช่า ไมต้องลงทุน ไม่ต้องเสียงบประมาณอะไรใดๆ  เพราะถ้ารอจะให้ออกสื่อทีวี  ไม่มีทาง  และการสื่อสารต้องสื่อสารในที่อื่นๆ ด้วย  เช่น  ควรพูดคุยกับคนขับเรือด้วยว่า  เขาขับเรือดูแลนักท่องเที่ยวตลอดรอดฝั่งไปถึงจุดหมาย  เขารู้สึกอย่างไรบ้าง  มีความสุขขนาดไหนที่ได้พานักท่องเที่ยวแล้วเกิดความประทับใจ สิ่งเหล่านี้ มันอาจจะไม่สำคัญ  แต่มันคือความรู้สึกเล็กๆ ที่ถ้าคนนอกได้รับรู้ ได้อ่านมันจะยิ่งใหญ่  และคนข้างนอกเขาอยากจะรู้ เพราะมันเป็นเรื่องของความรู้สึกจริงที่ทำให้คนข้างนอกอยากมา การล่องเรือสัมพันธ์กับคนขับเรือ และมันเป็นหัวใจหลักที่สำคัญของการท่องเที่ยวของบางปู  จะเห็นได้ว่าการสื่อสาร 2 ทางเป็นสิ่งสำคัญ  ทั้งคนในและคนนอกจะช่วยขยายเอง 3. เยาวชนคนรุ่นใหม่  ต้องรู้จักเขียนบทความให้คนข้างนอกได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น  เขียนแผนที่ท่องเที่ยวให้เป็นโครงสร้างทั้งหมด  ทำเป็นแพคเก็จการท่องเที่ยวเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวจากที่อื่น 4. ต้องคำนึงว่าพื้นที่  มีจุดขายที่เด่น  และน่าสนใจ ว่าหน้าหนาว  หน้าร้อน  หน้าฝน จะต้องเที่ยวจุดไหนอย่างไร บูรณาการทุกสิ่งให้คนรู้จักว่าบางปูมีอะไรบ้าง  เพื่อสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว  ในอนาคต ไม่แน่บางปู  อาจจะมีการทำ Sky walk  แต่ทั้งหมดพื้นที่ต้องเตรียมความพร้อมทั้งในทางดีและสิ่งที่ไม่ดี (เช่น สิ่งเสพติด การผิดประเวณี) เกิดขึ้นมาในชุมชนให้ดี





คุณมูฮำหมัดอายุบ  ปาทาน ได้คำแนะนำเพิ่มเติม - อนาคตอาจจะต้องมีศูนย์การประชาสัมพันธ์ชุมชน
- ต้องมีโครงสร้างการท่องเที่ยว
- ต้องมีรายละเอียดและสร้างเป็นแพคเก็จการท่องเที่ยว - ต้องมีทีม Sale  การท่องเที่ยวต้องมีทีม Sale สื่อสาร คือ การขายอย่างหนึ่ง  และสิ่งที่ได้มามากกว่าที่เป็นรูปธรรมคือผลบุญ  และไม่ค่อยเห็นมีคนทำ  แต่การขายแบบนี้จะช่วยเราช่างน้ำหนักในการทำความดีในวันปรโลกได้ - ต้องประเมินตัวเองว่า  เรามีศักยภาพขนาดไหน  อย่าทำอะไรที่เป็นการเกินตัว  ทำในสิ่งที่เราทำได้ การท่องเที่ยวจะทำอย่างเกินตัวไม่ได้ และค่อยๆ ขยับไปเรื่อยๆ - การท่องเที่ยวต้องมีการสื่อสารซ้ำๆ เรื่อยๆ  ต่อเนื่อง  เรียนรู้ไป  ปรับไป มันถึงจะมีความยั่งยืน

การถอดบทเรียนต้อง มี 4 อย่างที่เป็นสูตรสำเร็จในการทำงานกับพื้นที่ 1. ต้องหาพื้นที่
2. เชื่อมต่อ 3. บอกต่อ 4. เครือข่าย การมีพื้นที่สามารถเชื่อมคนได้  เมื่อไรที่เชื่อมคนได้เราจะมีการสื่อสาร/บอกต่อ  และจะมีเครือข่ายเพิ่มขึ้น

คุณมูฮำมัดอายุบ  ปาทาน ได้ให้ข้อสังเกตอนาคตได้อย่างน่าสนใจ  ดังนี้ - ถ้าความรุนแรงลดลง  การท่องเที่ยวจะมีคนพูดถึงขึ้นมาก พร้อมกับปัญหาสังคมที่มีความสัมพันธ์และคาบเกี่ยวกัน  แต่ถือว่ามันเป็นประโยชน์  ถือเป็นจังหวะที่ดี และต้องมีการช่วงชิง - หากว่าการท่องเที่ยวเฟื่องฟูในอนาคตรับรองว่าจะโดดเด่นกว่าการเมือง

หลังจากนั้นได้เปิดโอกาสให้ถามวิทยากร 1. เยาวชนจะเพิ่มทักษะการเรียนรู้เรื่องการสื่อสารอย่างไรได้บ้าง? ตอบ ส่วนหนึ่งอาจเป็นหน้าที่ของทีมงานที่ต้องมีการต่อยอด และส่งต่ออาจต้องหาแหล่งเครือข่ายในการทำเรื่องนี้  เช่น กลุ่ม mojo  อาจจะเอาไปไม่ทั้งหมด  ตรงนี้ต้องมีการคัดสรรและเลือกเฉพาะคนที่มีความสนใจและมีแววในเรื่องนี้  ทีมงานอาจจะต้องมีฐานข้อมูลสักหน่อย เยาวชนต้องอ่านเพิ่มความรู้มากขึ้น  และต้องมีความกล้าเพราะความกล้า คือ หัวใจในการขยับตัวเองไปข้างหน้า  ต้องทำระบบเทรนนิ่ง  ต้องเรียนรู้ Application ใหม่ๆ  เพิ่มมากขึ้น  ต้องมีฐานข้อมูลของชุมชน  ต้องมีเว็บไซต์ที่เป็นของกลุ่มเองที่สร้างเอง  และต้องมีข้อมูลของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชม ต้องมีการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการขยับและเปลี่ยนแปลง  ถ้ามีการสร้างข้อมูลในโลก Social ต้องมีช่องทางการโต้ตอบ ในการตอบคำถามหรือข้อสงสัยของลูกค้า, นักท่องเที่ยว 2. การที่จะสร้างร้านค้าภายในชุมชนต้องใช้งบประมาณเท่าไร? ตอบ เบื้องต้นสามารถสร้างเพจได้เอง  เพราะไม่มีค่าใช้จ่าย  แต่ต้องมีการสื่อสารเรื่องของชุมชน ต้องมีเรื่องที่สร้างสรรค์ 3. หัวใจหลักของการสื่อสาร  อยู่ที่ไหน? ตอบ ทำยังไงก็ได้ให้คนรู้สึกว่าน่าสนใจ การเชิญชวนให้คนอื่นทำสิ่งที่ดี  อย่าเพิ่งเบื่อง่าย  และท้อแท้  ต้องทำอย่างต่อเนื่อง  สม่ำเสมอและมีเครือข่าย             คุณมูฮำหมัดอายุบ  ปาทาน  ได้พูดถึงคนขับเรือในบางปู  ที่เป็นชีวิตเล็กๆ ของคนในชุมชน สำหรับคนขับเรือถือเป็นคนต้นทางจนถึงปลายทางที่สำคัญมาก ต้องมีการพูดถึงและนำเสนอถึงคนเหล่านี้ด้วยเช่นกัน คนให้บริการถ้าพูดด้วยใจใครๆ ก็รับได้  และเชื่อว่าคนบางปูทำงานด้วยใจบริการ  ถ้าทำด้วยใจก็จะได้ความจริงใจกลับมา เพราะคนอ่านออกว่าจริงใจหรือไม่จริงใจ  จิตใจดี  ทำด้วยใจ  ผลบุญก็ตามมาและจะเกิดความประทับใจให้กับผู้มาท่องเที่ยว การท่องเที่ยวจะไปด้วยดีได้ต้องมีการเชื่อมต่อ ผู้นำชุมชน  ผู้นำศาสนา  ควรให้ความสำคัญและต้องมีการบอกต่อให้เกิดการรับรู้ร่วมกัน  เพราะบางเรื่องมันเป็นเรื่องใหญ่กว่าคนอย่างเราจะทำได้ หลังจากนั้นคุณยะห์  อาลี  ได้สรุปทิ้งท้ายว่า  “เราจะต้องทำฐานข้อมูลเด็ก  เยาวชนในพื้นที่ การทำเว็ปไซต์  การขยายกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างเครือข่าย  ต้องเป็นเจ้าบ้านที่ดี คนขับเรือต้องมีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส  และมีใจที่จะบริการ  มีความจริงใจต่อกัน  การสื่อสารแหล่งท่องเที่ยวทำหรือโพสต์ในสิ่งดีๆ เพื่อให้เป็นที่รู้จักแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนมากขึ้น”
กิจกรรมแบ่งกลุ่มย่อย คุณอัสรา รัฐการัณย์ ได้ดำเนินการอธิบายให้กับผู้เข้าร่วม มีหัวข้อของการหารือโดยให้ผู้เข้าร่วมเขียนเป็นภาพ แล้วบรรยายภาพที่เขียนในกระดาษ วาด ระบายสี (แล้วแต่กลุ่ม) โดยได้แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประเด็นคำถาม ดังนี้
1. ได้อะไรจากกิจกรรมต่างๆ  ที่ผ่านมาในโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู  (อบรมการเป็นเจ้าบ้านที่ดี, อบรมการทำคลิปสั้น)
สรุปได้ข้อคิดเห็น ดังนี้
- ได้ทำวีดีโอเรื่องราวภายในชุมชนเพื่อไปเสนอต่อผู้คนนอกชุมชนหรือคนนอกพื้นที่ - ได้เรียนรู้การทำ video ที่แปลกใหม่ - ได้ทำสารคดี  คลิปสั้นของชุมชนบางปู แล้วนำไปเผยแพร่ใน Social Media  ทำให้มีผู้คนรู้จักบางปูมากขึ้น  ทำให้บางปูเป็นสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ที่ทำให้ผู้คนเข้ามาและเป็นที่สนใจของผู้คนอีกหลายๆ คน - ทำให้ชุมชนได้มีการพัฒนา  และดึงดูดผู้คน ได้รู้จักชุมชนบางปูเพิ่มขึ้น - คนต่างถิ่นมองเห็นพื้นที่สีขาว  ลบคำสบประมาทว่าเป็นพื้นที่สีแดง

  1. ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

- ทำให้รู้จักวิธีการวางตัวต่อคนที่มาเยือนถิ่น - ผู้คนเข้ามาเที่ยวเพิ่มขึ้น จากการที่ได้เรียนอบรมจากโครงการฯ - ผู้คนเริ่มสนใจในการท่องเที่ยวชุมชนบางปูมากขึ้น  ทำให้ได้กระแสตอบรับอย่างดี - มีคนในและคนต่างถิ่นมาท่องเที่ยวที่นี่มากขึ้น - ทำให้คนต่างถิ่นได้รู้จักชุมชนมากขึ้น - เป็นชุมชนสะอาด  น่าอยู่  ทำให้ดึงดูดผู้คนได้มากขึ้น - ในเรื่องการท่องเที่ยว  มีผู้คนมากมายมาท่องเที่ยวภายในชุมชน  มาแต่ละครั้งเป็นทีมมากกว่าเป็นรายคน

  1. วาดฝันร่วมกัน (เขียนแผนที่ชุมชน) อาจจะคิดต่อว่าถ้าเราอยากทำการท่องเที่ยวในชุมชน  ใคร/หน่วยงาน/องค์กรไหนบ้างที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จะต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ เราต้องอาศัยใครบ้าง








แต่ละกลุ่มนำเสนอ





กลุ่มที่ 1
- นำเสนอมัสยิดโดยมีทางเข้าและทางออก  โดยมีสินค้าของบางปู  มีศูนย์ประชาสัมพันธ์  มีฟิตเนส มีสนามหญ้าเทียม
- มีที่จอดรถสำหรับนักท่องเที่ยว
- มีสถานพยาบาล - ฝั่งชุมชนเทศบาลจะทำเป็นฟาร์มแพะ  ให้นักท่องเที่ยวได้มีกิจกรรมการให้หญ้าแพะ  ฝั่งจอดเรือจะเป็นจุดพักเรือทั้งหมดให้เป็นพื้นที่กลาง  ข้างที่จอดเรือจะเป็นร้านค้าพื้นเมืองที่เป็นของดีชุมชน - มีจุดขายเอาใจวัยรุ่น  แบบแฮนแมด - มีจุดร้านขายอาหาร  ปลาแห้งแปรรูป  เครื่องข้าวยำ - จุดดูดาว  มีการขึ้นเรือดูหิ่งห่อย  มีบังกะโลให้นักท่องเที่ยวเช่า  บังกะโลจะมีการสร้างสะพานผ่านน้ำ - มีฟาร์มสัตว์ต่างๆ เช่น ปลา ฟาร์มปู  ได้เห็นถึงวิธีการเลี้ยง  มี แพะ  แกะ กระต่าย  อนาคตอาจจะเอาขนมาทำผลิตภัณฑ์ - มีสวนมะพร้าว จะมีสินค้าต่างๆ จากมะพร้าว  เช่นเยลลี่มะพร้าว  เค้ก คุกกี้ มะพร้าวแห้ง สินค้าประเภทของกินจะวางไว้ที่ปั้มน้ำมันด้วย
- มีจุดประชาสัมพันธ์ คุณอัสรา  รัฐการัณย์ ได้ตั้งคำถามกลุ่มว่า ถ้าอยากทำให้โครงการที่วาดฝันไว้ได้เกิดขึ้นจริง จะเริ่มเฟสไหนก่อน? แล้วคิดว่าควรจะมีใครเข้ามามีส่วนร่วมบ้าง? กลุ่มที่ 1 ตอบ - จะเริ่มแถบมัสยิดก่อน และทำส่วนที่อยู่โซนทะเล
- คุยกับอิหม่าม  และกรรมการ  ก่อนอันดับแรก  และไปที่กับเทศบาล, อบต














กลุ่มที่ 2





กลุ่มบูนาดารา ตะโละกาโปร์
ข้อดีของตะโละกาโปร์  ตะโละกาโปร์เป็นทางผ่านที่จะไป  ตำบลแหลมโพธิ์  และถือว่าเป็นจุดเด่นของชุมชน เพราะถ้าประเมินจำนวนรถผ่านในแต่ละวัน  เคยนับได้ว่า 1 วันมีรถผ่านไป 1,000 คัน เมื่อมีนักเดินทางมากกลุ่มบูนาดาราต้องการให้เกิดตลาดน้ำ  วันนี้ได้คุยกับกรมทรัพยากรและกรมป่าไม้ ถือว่าสามารถทำได้แต่ตอนนี้ยังไม่มีงบประมาณ  แต่ก่อนตลาดน้ำปัตตานีเกิดได้แค่ 2 ปี ก็ดับลง เพราะว่าไม่ได้เกิดจากคนในชุมชน ไม่ใช่เกิดในชุมชน  และไม่ใช่คนในชุมชนบริหารเอง เวลาทำจึงไม่ใช่เกิดด้วยใจ แต่ถ้าชุมชนร่วมกันทำ จะทำให้คนในชุมชนต่างทำด้วยใจ
- อยากให้เกิดวัฒนธรรมชุมชนมากกว่าขายสิ่งของ
- อยากให้เกิดความสามัคคีด้วยการบูรณาการกับผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา
- อยากให้มีเวทีการแสดงพื้นบ้าน  อนาชีด  การแสดงซีละ  คนมาซื้อของซื้อน้ำ เสร็จก็สามารถไปชมการแสดง

การจัดการเราต้องให้โอกาสกับเด็กเพื่อเสริมความกล้าแก่เด็กให้เพิ่มมากขึ้น  ถ้าเด็กได้ทำในสิ่งดีๆ  ผู้ปกครองจะมีความภาคภูมิใจมาก  อยากฝากให้หน่วยงานช่วยหนุนโอกาสให้เด็กได้แสดงศักยภาพ

คุณมูฮำหมัดอายุบ  ปาทาน ได้เพิ่มเติมเสนอแนะ ว่า ถ้าคนข้างในเป็นคนพูดเอง  ถือว่ามีความน่าสนใจ  เพราะมันจะเห็นทิศทาง  มองไกล  เห็นภาพใหม่ไม่ใช่ภาพเดิม  ถ้ามีความกล้านำเสนอสิ่งใหม่ เราจะมีการเปลี่ยนแปลง จินตนาการสำคัญเพราะคนข้างในจะมีข้อมูล  โดยสภาวะแวดล้อม  ถ้าสังคมเปลี่ยนแต่เราไม่เปลี่ยน  เราจะต้องถูกปรับออกจากสังคม 

















กลุ่มที่ 3
อย่างแรกจะทำให้มีโฮมสเตย์  เพราะที่ผ่านมานักท่องเที่ยวมักจะโทรมาถามว่าที่พักมีไหม จะทำโฮมสเตย์และรายได้บางส่วนจะมีการบริหารจัดการในการทำกิจกรรมต่างๆ ในหมู่บ้าน  มีการทำตลาดน้ำเพราะบางปูจะติดกับถนนใหญ่ทำให้สะดวกในการเข้าถึง  ในตลาดน้ำจะมีการขายขนมพื้นบ้านที่คนในชุมชนทำกันสดใหม่ทุกวัน  และส่งเสริมให้คนที่ทำปลาแห้ง  นำมาขายที่ตลาดน้ำ ให้นักท่องเที่ยวแถวรอบอ่าว ซึ่งเป็นพื้นที่ในส่วนของกรมป่าไม้  ถ้าจะทำเราต้องเข้าไปคุยเพื่อขออนุญาตเขาก่อน งบประมาณไม่ใช้เยอะ  เพราะโฮมสเตย์เราจะทำกับวัสดุธรรมชาติ  หลังหนึ่งใช้งบประมาณ 4 – 5 หมื่นบาท ถ้าให้เสนอ หน่วยแรกที่ต้องเสนอคือเทศบาล คุณอัสรา รัฐการัณย์ แนะนำในว่าช่วงระหว่างนี้ ในเบื้องต้นอยากให้ทางกลุ่มร่างโครงการขึ้นมาก่อน








กลุ่มที่ 4 เยาวชนหญิง





ตำบลบางปูมีพื้นที่กว้าง
- จะเจาะจงไปที่ป่าชายเลน  โดยทำรีสอร์ท  และแคร่  เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้แวะชมบรรยากาศ - ทำ Sky walk เพื่อชมนกและวีถีชุมชนประมง  มีท่าเทียบเรือ  ในอุโมงค์จะมีร้านอาหารบุฟเฟ่  และขากลับจะมีจุดขายสินค้าให้นักท่องเที่ยวได้เลือกชมและซื้อ - มีของกินของชุมชนบางปู  เช่น ขนมบาดูกาตง  ไส้อั่ว  ก๋วยเตี๋ยวแฝดที่เป็นร้านนิยมของคนในชุมชนชอบแวะไปกิน - เฟสแรกที่คิดว่าเป็นไปได้  คือสินค้าโอท๊อป ซึ่งจะต้องไปคุยกับเทศบาล


คุณยะห์  อาลี  ได้กล่าวมีแนะนำว่า ทั้ง 4 กลุ่มที่นำเสนอ ถ้าร่างโครงการจะได้ 4 โครงการ  หากมีหน่วยงานใดเปิดโครงการให้เสนอโครงการ เราสามารถเอาโครงการที่ร่างนี้ไปนำเสนอได้เลย
คุณยะโกะ เวาะแห  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  กล่าวปิดเวทีประเมินและถอดบทเรียนกิจกรรมโครงการ       “รู้สึกขอบคุณอัลลอฮฺ  ที่ได้ทำให้บางปูเป็นที่รู้จักจนถึงทุกวันนี้  โดยส่วนตัวเป็นคนที่ใช้เครื่องมือสื่อสารแค่โทรออกและรับสาย ยอมรับว่าไม่ค่อยมีความรู้มาก แต่มีความรู้สึกดีใจมากที่ได้รับทราบและเรียนรู้เรื่องการสื่อสารจาก ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้” ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ได้ฝากทิ้งท้ายก่อนทำการปิดพิธี  “อยากให้เยาวชนได้เรียนรู้เพิ่มเติมให้มากขึ้น และบรรลุเป้าหมายตามที่ได้วางไว้  โอกาสนี้ขอให้อ่านดุอาขอพร และปิดกิจกรรมประเมินและถอดบทเรียน โครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู  อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี  ขอบคุณครับ”

ปัญหาอุปสรรค -  แกนนำชุมชนบางคนไม่กล้าที่จะพูดในเวทีประเมิน -  ผู้เข้าร่วมมาช้าทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการ ข้อเสนอแนะ - มีศูนย์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน  มีสินค้าของชุมชนบ้านบางปูจำหน่ายให้นักท่องเที่ยว  มีสถานที่ออกกำลังกาย ฟิตเนส สนามหญ้าเทียม มีสถานพยาบาล และ มีที่จอดรถสำหรับนักท่องเที่ยว
- ทำฟาร์มแพะ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีกิจกรรมการให้หญ้าแพะ
- มีจุดพักเรือทั้งหมดให้เป็นพื้นที่กลาง  มีร้านค้าพื้นบ้านที่เป็นของดี จะมีจุดขายเอาใจวัยรุ่น  แบบแฮนด์เมด มีจุดร้านขายอาหาร  ปลาแห้งแปรรูป  เครื่องข้าวยำ - มีบังกะโลให้นักท่องเที่ยวให้เช่า  มีการสร้างสะพานผ่านน้ำจุดดูดาว  มีการขึ้นเรือดูหิ่งห้อย
- มีฟาร์มสัตว์ต่างๆ เช่นปลา ฟาร์มปู  ได้เห็นถึงวิธีการเลี้ยง  มีแพะ  แกะ กระต่าย  อนาคตอาจจะเอาขนมาทำผลิตภัณฑ์ - สินค้าโอท๊อป มีสวนมะพร้าว จะมีสินค้าต่างๆ จากมะพร้าว  เช่นเยลลี่มะพร้าว  เค้ก คุกกี้ มะพร้าวแห้ง สินค้าประเภทของกินจะวางไว้ที่ปั้มน้ำมัน
      -  อยากให้เกิดวัฒนธรรมชุมชน มีเวทีการแสดงพื้นบ้าน  การแสดงอนาชีด  การแสดงซีละ
      -  อยากให้มีตลาดน้ำเพราะบางปูจะติดกับถนนใหญ่ทำให้สะดวกในการเข้าถึง  ในตลาดน้ำจะมีการขาย     ขนมพื้นบ้านที่คนในชุมชนทำกันสดใหม่ทุกวัน  นำมาขายที่ตลาดน้ำให้นักท่องเที่ยว
- ทำรีสอร์ท  และแคร่  เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้แวะชมบรรยากาศ - ทำ Sky walk เพื่อชมนกและวีถีชุมชนประมง  มีท่าเทียบเรือ  ในอุโมงค์มีร้านอาหารบุฟเฟ่  และขากลับจะมีจุดขายสินค้าให้นักท่องเที่ยวได้เลือกชม เลือกซื้อ

  1. ข้อเสนอต่อพื้นที่

- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรสนับสนุนและต่อยอดกิจกรรมของชุมชนที่ได้มาร่วมรายการ เช่น สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของตำบลบางปู เพื่อทำให้คนในชุมชนมีรายได้ นักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือนก็เกิดความรักและหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

2. ข้อเสนอต่อหน่วยงาน - หน่วยงานรัฐควรสนับสนุนและต่อยอดกิจกรรมของชุมชนเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนในชุมชนมากยิ่งขึ้น - รัฐควรเข้าไปส่งเสริมสนับสนุน เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชน ทั้งเรื่องการดูแลทรัพยากร สิ่งแวดล้อม การพัฒนาสินค้าโอท้อป





ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรมได้บรรลุผลตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ ผลสรุปตามตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ที่วางไว้ ลำดับ ชื่อตัวชี้วัด/เป้าหมาย 1. ชุมชนบ้านบางปูเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
2. ชุมชนบ้านบางปูสามารถจัดการตนเองด้านการท่องเที่ยว สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพิ่มมากขึ้น 3. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยชุมชน ด้วยการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 4 คนในชุมชนบ้านบางปูเกิดความสามัคคี และทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็ง

สรุปผลตัวชี้วัดด้านคุณภาพ - ผู้เข้าร่วมแกนนำชุมชน 4 เสาหลัก กลุ่มเยาวชน ชายและหญิง กลุ่มผู้ประกอบการเรือ ในตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ได้เรียนรู้และเข้าใจ  การบริหารจัดการตนเองด้านการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศ, เห็นคุณค่าของการหวงแหนและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลนให้คงอยู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน, ได้เรียนรู้การเป็นเจ้าบ้านที่ดี ทำให้รู้จักวิธีการวางตัวต่อคนที่มาเยือนถิ่น มาท่องเที่ยว, ผู้คนเริ่มสนใจการท่องเที่ยวชุมชนบางปูมากขึ้น  ทำให้เกิดกระแสตอบรับอย่างดีมีทั้งคนในและคนต่างถิ่นมาท่องเที่ยวที่นี่มากขึ้น
- การพัฒนาศักยภาพของเยาวชนด้านการสื่อสารการผลิตสารคดีคลิปสั้น Mojo Mobile Journalism เล่าเรื่องราวของชุมชนบางปูแล้วนำไปเผยแพร่สู่สาธารณะ  ทำให้มีผู้คนรู้จักชุมชนบางปูมากยิ่งขึ้น  สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพิ่มมากขึ้น ทำให้คนในชุมชนบ้านบางปูเกิดการพัฒนา ด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น และทำให้ชุมชนบ้านบางปูเป็นสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ที่ทำให้ผู้คนเข้ามาและเป็นที่สนใจมากขึ้น ทำให้คนในชุมชนบ้านบางปูเกิดความสามัคคี และทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็ง  และสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดขึ้นในจังหวัดปัตตานี และพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ ที่วางไว้ ลำดับ ชื่อตัวชี้วัด เป้าหมาย/จำนวน
หน่วยนับ

  1. เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นนักสื่อสารชุมชน 80% คน
  2. สื่อมวลชนได้นำเรื่องราวของชุมชนบ้านบางปูเผยแพร่สู่สาธารณะ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ชุมชน  90% คน
  3. เกิดชิ้นงานคลิปวีดีโอสั้น เพื่อส่งเสริมวิถีชีวิต/การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ชุมชนบ้านบางปู             10           ชิ้น

สรุปผลตัวชี้วัดด้านปริมาณ 1. เยาวชนเข้าร่วมโครงการผลิตคลิปจากชุมชนบางปู จำนวน 23  คน สามารถเป็นนักสื่อสารชุมชน ได้ 20 คน คิดเป็น 86% 2. สื่อมวลชนได้นำเรื่องราวของชุมชนบ้านบางปูเผยแพร่สู่สาธารณะ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ชุมชน
โดยมีสื่อมวลชนเข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนบางปู จำนวน 15 คน ทั้งหมดได้นำเรื่องราวไปถ่ายทอดต่อ ในรายการวิทยุ, Live สด ผ่าน Facebook , Line กลุ่ม และ สื่อสารผ่าน Facebook ของทุกคน คิดเป็น 100%

สื่อมวลชนได้นำเรื่องราวในเวทีไปนำเสนอผ่าน รายการวิทยุ และ Facebook live ดังนี้
• รายการวิทยุร่วมแรงร่วมใจชายแดนใต้ ออกอากาศทางสถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี เวลา 15.00. - 17.00 น. โดย คุณเสาวณีย์ ดาโอ๊ะ และ คุณพัชรา ยิ่งดำนุ่น
• รายการ อสมท.เพื่อชุมชน ออกอากาศทางสถานีวิทยุ อสมท. เวลา 13.10 – 14.00 น. โดย คุณญารัชนี คงจันทร์ • รายการวิทยุเพื่อชุมชน ออกอากศทางสถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี วันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 19.30 – 20.00 น. โดยดีเจซูเฮ็ง
• รายการ Sinarpetang คุยสบายๆ ยามเย็น  ออกอากาศทางสถานีวิทยุ อสมท. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 16.00-17.00 น. จัดโดยดีเจซูเฮ็ง
• รายการเสียงวานีตา ออกอากาศทางสถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี วันพุธ-พฤหัสบดี เวลา 19.30-20.00 น. จัดโดย คุณยะห์ อาลี ,  คุณหายาตี บูสะมัน ,  คุณวาซินีย์ แวโต • คุณยะห์ อาลี Live สด เวทีแลกเปลี่ยนกับสื่อมวลชน ทาง Facebook Live ช่วงที่ ดร.สว่าง ทองไพ บรรยายพิเศษ
• คุณญารัชนี คงจันทร์ Live สด เวทีแลกเปลี่ยนกับสื่อมวลชน ทาง Facebook Live บรรยากาศในเวที และสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมงาน
• สื่อมวลชนที่เข้าร่วมงานทั้ง

  1. เกิดชิ้นงานคลิปวีดีโอสั้น เพื่อส่งเสริมวิถีชีวิต/การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ชุมชนบ้านบางปู 14 ชิ้น
    เกินเป้าหมายที่วางไว้ โดยวางไว้ 10 ชิ้น


ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน (เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานในปีต่อๆ ไป รวมถึงจะได้สรุปเป็นข้อเสนอต่อรัฐบาลในภาพรวมโครงการ) 1. ศอ.บต.ควรสนับสนุน ต่อยอดโครงการแนวนี้ หรือโครงการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชน เพื่อสนับสนุนชุมชนที่ต้องการการส่งเสริมการท่องเที่ยวและยังขาดโอกาสอยู่ และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีอาชีพและรายได้เพิ่มมากขึ้น
2. ศอ.บต.ควรสนับสนุน โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชน เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนใต้ และยังเป็นการส่งเสริมสันติภาพเชิงบวกให้กับพื้นที่ชายแดนใต้อีกด้วย

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 34 คน จากที่ตั้งไว้ 34 คน
ประกอบด้วย

ผู้เข้าร่วมจากชุมชน  27 คน  คน  วิทยากร  1 คน  และคณะทำงาน 6 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 34    คน

ผลิตรายการวิทยุ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนมีส่วนร่วม 6 ตอนที่ 3 บางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว 11 ธันวาคม 2560
11
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

จิงเกิ้ลนำเข้ารายการ “บางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว”

เกริ่นนำรายการ ผู้ดำเนินรายการ คุณยะห์ อาลี สวัสดีค่ะคุณผู้ฟัง ขอความสันติจงมีแด่คุณผู้ฟังทุกท่าน ขอต้อนรับคุณผู้ฟังเข้าสู่รายการ “บางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว” โดยมี ดิฉัน ยะห์ อาลี เป็นผู้ดำเนินรายการ ซูเฮ็ง สวัสดีครับ อัสลามูอาลัยกุมฯ ผม อิบรอเฮ็ง มาเละ หรือ ซูเฮ็ง ผู้ร่วมดำเนินรายการครับ กะยะห์ คุณผู้ฟังคะ รายการ “บางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว” ออกอากาศทางสถานีวิทยุ 4 สถานี โดยมีสถานีตะอาวุนเรดิโอ 100.5 MHz เป็นแม่ข่าย และอีก 3 สถานี คือ สถานีวิทยุ ม.อ. ปัตตานี 107.25mhz สถานีอัตตัรเรดิโอ 104 MHz และสถานีวิทยุมัสยิดกลาง จ.ยะลา 105.75 MHz
ช่วงเข้าสู่เนื้อหา
คุณผู้ฟังคะ เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี ได้ดำเนินโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ภายใต้โครงการการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ชุมชนบ้านบางปูเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สามารถจัดการตนเองด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเพื่อให้สื่อมวลชนได้นําเรื่องราวของชุมชนบ้านบางปูเผยแพร่สู่สาธารณะ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ชุมชนและจังหวัดชายแดนใต้ โครงการนี้สนับสนุนโดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) คุณยะห์ อาลี คุณผู้ฟังคะ วันนี้ “รายการอะเมซิ่งบางปู ชุมชนท่องเที่ยว” มีแขกรับเชิญ 2 ท่าน ที่ให้เกียรติมาร่วมรายการกับเรา คะ 1.นายมะเยะ  แดมอ 2.นายอิบรอฮีม อาแว ประเด็นคำถาม - แนะนำตัวความรู้สึก - กิจกรรมของกลุ่มบูนาดาราดำเนินการอย่างไรบ้าง - กลุ่มบุนาดารามีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนอย่างไรบ้าง
- กลุ่มบูนาดารามีส่วนร่วมในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวป่าชายเลนตะโล๊ะกาโปร์ และอ่าวปัตตานี อย่างไรบ้าง - ข้อเสนอแนะ ฝากทิ้งท้าย คำถามต้องฟังกลุ่มบูนาดาราพูด และนำมาสรุปตอนท้าย คุณผู้ฟังคะ ดีเจซูเฮ็งสรุป และกะยะห์ สรุป  ขอบคุณผู้เข้าร่วม สำหรับวันนี้ รายการบางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว หมดเวลาลงแล้ว คุณผู้ฟังสามารถติดตามรับฟังรายการบางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว ได้ใหม่ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งนี้ ออกอากาศทางสถานีวิทยุ 4 สถานี โดยมีสถานีตะอาวุนเรดิโอ 100.5 MHz เป็นแม่ข่าย
และอีก 3 สถานี คือ สถานีวิทยุ ม.อ. ปัตตานี 107.25mhz สถานีอัตตัรเรดิโอ 104 MHz และสถานีวิทยุมัสยิดกลาง จ.ยะลา 105.75 MHz
สำหรับวันนี้ เราทั้ง 4 คน ต้องลาไปก่อน ผม อิบรอเฮ็ง มาเละ ดิฉัน ยะห์ อาลี ขอความสันติจงมีแด่ทุกท่าน อัสลามูอาลัยกุมฯ สวัสดีค่ะ จิ้งเกิลปิดรายการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนบ้านบางปูเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สามารถจัดการตนเองด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเพื่อให้สื่อมวลชนได้นําเรื่องราวของชุมชนบ้านบางปูเผยแพร่สู่สาธารณะ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ชุมชนและจังหวัดชายแดนใต้

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 7 คน จากที่ตั้งไว้ 7 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มบุนาดารา/กลุ่มอเมซิ่งบางปู และผู้ดำเนินรายการ

ประชุมทีม เพื่อจัดทำบทวิทยุ ครั้งที่ 311 ธันวาคม 2560
11
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ครั้งที่ 3 ประชุมเตรียมเนื้อหาประเด็นคำถาม การสัมภาษณ์ ตอนที่ 3  กลุ่มบูนาดารา กิจกรรมล่องเรือ บริการท่องเที่ยว  ตะโล๊ะกาโปร์  การบริการแหล่งท่องเที่ยวให้น่าสนใจ ณ สำนักงานเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้เนื้อหาประเด็นคำถาม การสัมภาษณ์ ตอนที่ 3  กลุ่มบูนาดารา กิจกรรมล่องเรือ บริการท่องเที่ยว  ตะโล๊ะกาโปร์  การบริการแหล่งท่องเที่ยวให้น่าสนใจ

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 49 ธันวาคม 2560
9
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ขั้นตอนการดำเนินงาน 1.ประสานงานคณะทำงานเพื่อประชุมเตรียมจัดเวทีประเมินและถอดบทเรียนและ ออกแบบกิจกรรม
2.ประชุมวางแผนงานการจัดกิจกรรมในการดำเนินโครงการ สรุปการประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนกิจกรรมครั้งที่ 4  โครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่อเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี วาระที่ 1 แจ้งเพื่อทราบ

คุณยะห์ อาลี หัวหน้าโครงการฯ ได้เปิดการประชุมและชี้แจงให้คณะทำงานได้ทราบ การเข้าร่วมงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 10  วันที่ 20-22 ธันวาคม  2560 ที่อิมแพคเมืองทองธานี


วาระที่ 2  รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 3
          ทุกคนมีมติรับรองรับรองรายงานการประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนกิจกรรม ครั้งที่ 3 วันที่ 22พฤศจิกายน 2560

วาระที่  3  พิจารณาเตรียมงานเวทีประเมินและถอดบทเรียนกิจกรรมโครงการฯ
คุณยะห์  อาลี
ได้กล่าวถึงการดำเนินงานและขั้นตอนที่จะต้องออกแบบกิจกรรมการจัดเวที ประเมินและถอดบทเรียนกิจกรรมโครงการฯ ได้กำหนด ในวันที่ 14 ธันวาคม 2560  ณ  มัสยิดอัตตะอาวุน บางปู  มี คุณฟาเดล หะยีสือแม  และคุณอาชิ  ดือราแม อิหม่ามมัสยิดอัตตะอาวุน  เป็นผู้ประสานงานในพื้นที่ หมู่ที่ 3 หมู่บ้านบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย แกนนำชุมชน 5 คน แกนนำเยาวชนชาย 10 คน แกนนำเยาวชนหญิง 10 คน ผู้ประกอบการเรือท่องเที่ยว 5 คน คณะทำงาน 6 คน รวมทั้งสิ้น  36 คน

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 1. ประสานวิทยากร คูณมูฮำมัดอายุบ ปาทาน  คุณยะห์  อาลี  เป็นผู้ประสาน
2. ประสานฟาเดล หะยีสือแม  คุณอัสรา รัฐการัณย์ ประสาน 3. ประสานสถานที่  ณ. มัสยิดอัตตะอาวุน คุณยะห์ อาลี ประสาน 4. ประสานผู้เข้าร่วมในพื้นที่  คุณฟาเดล หะยีสือแม ประสาน 5. ประสานกำนันตำบลบางปู คุณหายาตี บูสะมัน ประสาน

วาระที่  4  ดำเนินการจัดทำกำหนดการ ร่วมออกแบบจัดทำกำหนดการสรุป ดังนี้ กำหนดการจัดเวทีประเมินและถอดบทเรียนกิจกรรมในโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี จัดวันพฤหัสบดีที่  14 ธันวาคม 2560 ณ  มัสยิดอัตตะอาวุน บางปู
เริ่มด้วยกล่าวต้อนรับ โดยกำนันอับดุลมานะห์ สาและ  กำนันตำบลบางปู ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดเวทีประเมินและถอดบทเรียนโครงการฯโดย คุณยะห์  อาลี หัวหน้าโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
บรรยายพิเศษเรื่อง “ชุมชนกับการพัฒนาและการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน”
โดย คุณมูฮํามัดอายุบ ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้,  บรรณาธิการอาวุโสศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
พักรับประทานอาหารว่าง
แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็น โดยให้ผู้เข้าร่วมระดมสมองวาดฝันอนาคตโดยใช้การวาดรูปบนกระดาษ และนำเสนอ โดยระดมความคิดเห็น 3 ข้อ ดังนี้
1. ชุมชนได้อะไรจากโครงการฯ 2. เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนอย่างไร 3. การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวชุมชนที่อยากเห็นและต้องการในอนาคต

นำเสนอสู่กลุ่มใหญ่
หัวหน้าโครงการสรุป และกล่าวปิดการประชุม โดยผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ยะโกะ เวาะแห ตำบลบางปู  อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

วาระที่ 4  เรื่องอื่นๆ
ประธานมอบหมายงาน  จัดซื้ออุปกรณ์การประชุมโดยให้ คุณหายาตี บูสะมัน และคุณวาซินีย์  แวโต รับผิดชอบ


ขั้นตอนการดำเนินงาน 1.ประสานงานคณะทำงานเพื่อประชุมเตรียมจัดเวทีประเมินและถอดบทเรียนและ ออกแบบกิจกรรม
2.ประชุมวางแผนงานการจัดกิจกรรมในการดำเนินโครงการ สรุปการประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนกิจกรรมครั้งที่ 4  โครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่อเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี วาระที่ 1 แจ้งเพื่อทราบ

คุณยะห์ อาลี หัวหน้าโครงการฯ ได้เปิดการประชุมและชี้แจงให้คณะทำงานได้ทราบ การเข้าร่วมงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 10  วันที่ 20-22 ธันวาคม  2560 ที่อิมแพคเมืองทองธานี


วาระที่ 2  รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 3
          ทุกคนมีมติรับรองรับรองรายงานการประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนกิจกรรม ครั้งที่ 3 วันที่ 22พฤศจิกายน 2560

วาระที่  3  พิจารณาเตรียมงานเวทีประเมินและถอดบทเรียนกิจกรรมโครงการฯ
คุณยะห์  อาลี
ได้กล่าวถึงการดำเนินงานและขั้นตอนที่จะต้องออกแบบกิจกรรมการจัดเวที ประเมินและถอดบทเรียนกิจกรรมโครงการฯ ได้กำหนด ในวันที่ 14 ธันวาคม 2560  ณ  มัสยิดอัตตะอาวุน บางปู  มี คุณฟาเดล หะยีสือแม  และคุณอาชิ  ดือราแม อิหม่ามมัสยิดอัตตะอาวุน  เป็นผู้ประสานงานในพื้นที่ หมู่ที่ 3 หมู่บ้านบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย แกนนำชุมชน 5 คน แกนนำเยาวชนชาย 10 คน แกนนำเยาวชนหญิง 10 คน ผู้ประกอบการเรือท่องเที่ยว 5 คน คณะทำงาน 6 คน รวมทั้งสิ้น  36 คน

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 1. ประสานวิทยากร คูณมูฮำมัดอายุบ ปาทาน  คุณยะห์  อาลี  เป็นผู้ประสาน
2. ประสานฟาเดล หะยีสือแม  คุณอัสรา รัฐการัณย์ ประสาน 3. ประสานสถานที่  ณ. มัสยิดอัตตะอาวุน คุณยะห์ อาลี ประสาน 4. ประสานผู้เข้าร่วมในพื้นที่  คุณฟาเดล หะยีสือแม ประสาน 5. ประสานกำนันตำบลบางปู คุณหายาตี บูสะมัน ประสาน

วาระที่  4  ดำเนินการจัดทำกำหนดการ ร่วมออกแบบจัดทำกำหนดการสรุป ดังนี้ กำหนดการจัดเวทีประเมินและถอดบทเรียนกิจกรรมในโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี จัดวันพฤหัสบดีที่  14 ธันวาคม 2560 ณ  มัสยิดอัตตะอาวุน บางปู
เริ่มด้วยกล่าวต้อนรับ โดยกำนันอับดุลมานะห์ สาและ  กำนันตำบลบางปู ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดเวทีประเมินและถอดบทเรียนโครงการฯโดย คุณยะห์  อาลี หัวหน้าโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
บรรยายพิเศษเรื่อง “ชุมชนกับการพัฒนาและการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน”
โดย คุณมูฮํามัดอายุบ ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้,  บรรณาธิการอาวุโสศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
พักรับประทานอาหารว่าง
แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็น โดยให้ผู้เข้าร่วมระดมสมองวาดฝันอนาคตโดยใช้การวาดรูปบนกระดาษ และนำเสนอ โดยระดมความคิดเห็น 3 ข้อ ดังนี้
1. ชุมชนได้อะไรจากโครงการฯ 2. เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนอย่างไร 3. การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวชุมชนที่อยากเห็นและต้องการในอนาคต

นำเสนอสู่กลุ่มใหญ่
หัวหน้าโครงการสรุป และกล่าวปิดการประชุม โดยผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ยะโกะ เวาะแห ตำบลบางปู  อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

วาระที่ 4  เรื่องอื่นๆ
ประธานมอบหมายงาน  จัดซื้ออุปกรณ์การประชุมโดยให้ คุณหายาตี บูสะมัน และคุณวาซินีย์  แวโต รับผิดชอบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประธานมอบหมายงาน  และกำหนดกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ บรรลุวัตถุประสงค์

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 6 คน จากที่ตั้งไว้ 6 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

สรุปเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสื่อมวลชน/สื่อชุมชนกับชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านบางปู28 พฤศจิกายน 2560
28
พฤศจิกายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วิธีการดำเนินงาน 1.ประสานวิทยากร 2.ประสานสถานที่ 3.ประสานผู้เข้าร่วมในพื้นที่ 4.ประสานสื่อมวลชน/สื่อวิทยุ/นักข่าว/สื่อออนไลน์
5.จัดซื้ออุปกรณ์และของที่ระลึก 6.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ลงดูงานพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชนบ้านบางปู 7.สรุปผลกิจกรรม

สรุปกิจกรรมที่ 4 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสื่อมวลชน/สื่อชุมชนกับชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านบางปู เริ่มประชุมเวลา 9.00 น. พิธีกร คุณอิบรอเฮง  มาเละ  พูดคุยทักทายผู้เข้าร่วมและเข้าสู่กระบวนเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสื่อมวลชน/สื่อชุมชน ด้วยการ ชม คลิปสารคดีมัสยิดอัตตะอาวุน  อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ชุมชนมีส่วนร่วม
คุณอาซิ ดาราแม อิหม่ามมัสยิดตะอาวุนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี กล่าวต้อนรับนายกสมาคมสื่อมวลชนเพื่อการท่องเที่ยว  สื่อมวลชน และแกนนำชุมชนบางปูที่ได้เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสื่อมวลชน/สื่อชุมชน ท่านได้กล่าวว่า  “มีความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ต้อนรับวิทยากร และสื่อมวลชน เนื่องด้วยสถานที่มัสยิดอัตตะอาวุนแห่งนี้มีสถานีวิทยุที่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน รู้สึกดีที่คณะผู้จัดเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานีได้จัดกิจกรรมแบบนี้ที่มัสยิด  สถานที่แห่งนี้ไม่ใช่เป็นเพียงที่นมัสการทางศาสนาเพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นสถานที่ๆ  ได้หลอมรวมชุมชนอย่างหลากหลาย  มีกลุ่มเยาวชน  มีสถานีวิทยุ สามารถจัดการชุมชนได้อย่างเป็นระบบ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชนบางปู  นำสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดี หวังว่าอนาคตจะเป็นพื้นที่ต้นแบบหรือแบบอย่างให้กับชุมชนอื่นๆ ได้
            หลังจากนั้น  พิธีกรได้กล่าวขอบคุณอิหม่าม  และได้เชิญคุณยะห์  อาลี  หัวหน้าโครงการกล่าวแนะนำตัวพร้อมชี้แจงความเป็นมาของโครงการ
คุณยะห์ อาลี กล่าวว่า “โครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี จัดขึ้นมา โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก  ศอ.บต.  ให้กับคนทำงานภาคประชาสังคม  ในการทำงานในระดับพื้นที่  ซึ่งเครือข่ายวิทยุจังหวัดปัตตานี  ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเรื่องชุมชนจัดการตนเองด้านการท่องเที่ยว แต่ด้วยงบประมาณที่มีจำกัดจึงจำเป็นต้องเลือกพื้นที่เดียว โดยก่อนหน้านี้มีการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล พบปะแกนนำในพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อโครงการฯ  หลังจากนั้นได้จัดอบรมความรู้เรื่องของการเป็นเจ้าบ้านที่ดี  และมีการอบรมศักยภาพเยาวชนในการทำคลิปสั้นในพื้นที่  ตามด้วยกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสื่อมวลชน/สื่อชุมชน  ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้  และหลังจากนี้จะมีกิจกรรมการจัดรายการวิทยุ  รายการบางปูอเมซซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว โดยตอนแรก ได้เชิญ คุณมูฮำมัดอายุบ  ปาทาน และท่านอีหม่ามตะอาวุน  มาพูดคุยเรื่องบทบาทสื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างไรบ้าง?  และกิจกรรมสุดท้ายจะมีกิจกรรมการถอดบทเรียน  โดยจะจัดกิจกรรมทั้งหมดภายในเดือนธันวาคมนี้”           หลังนั้นทีมงานแจกกระดาษ  2 แผ่น  เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเขียนความคาดหวัง กับ ความรู้สึกที่ได้ร่วมงานวันนี้ แผ่นที่ 1 (สีเขียว) ความคาดหวังในฐานะสื่อเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของชุมชนบางปู - ยินดีที่จะนำสิ่งดีๆ ของบางปูนำเสนอต่อไป - อยากให้พื้นที่บางปูเป็น  ตัวอย่างการท่องเที่ยวเพื่อคนในสามจังหวัดชายแดนใต้ - ค้นพบคุณค่าในชุมชน  ศักยภาพชุมชนในการจัดการด้านการท่องเที่ยว
- เปิดภาพลักษณ์ใหม่ด้านการท่องเที่ยว - การสร้าง  story  telling  เรื่องราวของชุมชนบางปูที่น่าสนใจ  สามารถจูงใจให้ทุกคนมาเที่ยวได้ - ความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายไม่หยุดนิ่ง - อยากให้มีการจัดกิจกรรมในลักษณะแบบนี้อีกครั้ง ที่ รีสอร์ทตะโละสะมิแล - อยากให้ชุมชนท่องเที่ยวบางปูเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่ครบวงจรและเป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศ - อยากเห็นความเข้มแข็งของชุมชนในการต่อยอด  สร้างสรรค์งานพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้เป็นที่รู้จัก  ประชาชนอยากมาสัมผัสต่อไป - อยากเห็นมุมมอง  ภาพลักษณ์ใหม่ของชุมชนบางปู  เพราะบางปูมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์หลายอย่าง
- อยากให้ต่อยอดกิจกรรมแบบนี้อย่างต่อเนื่อง  โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลายส่วน - อยากให้มีสื่อเชื่อมโยงบางปูกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์  วิถีชีวิต  วัฒนธรรม  ทรัพยากรธรรมชาติ  พหุวัฒนธรรม  และการเยียวยาผ่านการสื่อสาร - การประชาสัมพันธ์เชิงรุก - พัฒนาร้านอาหาร - แต่งกายย้อนยุคเน้นตามอัตลักษณ์ของจังหวัดปัตตานี

แผ่นที่ 2 (สีชมพู) เขียนถึงความรู้สึกในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ - เห็นความตื่นตัวของสื่อท้องถิ่นต่อการนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่  เพื่อสร้างสมดุลกับข่าวความรุนแรง - หายจากการเครียด  ชาวบ้านต้อนรับเป็นอย่างดี - มีความรู้สึกซาบซึ้งอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติมาร่วมประชุม  พี่ๆ น้องๆ ทุกท่านน่ารักมากเป็นกันเอง  มีความรู้สึกอบอุ่น โอบอ้อมอารี  ไม่เหมือนอย่างที่ทุกคนคิดว่าดุร้าย  ไม่จริงอย่างที่คิดเลยค่ะ - รู้สึกดีใจ  มีความสุข  ตื่นเต้น  กระตือรือร้น - เป็นกิจกรรมที่ดี  จัดแบบเป็นกันเองมาก  ได้ใกล้ชิดสื่อมากขึ้น  พูดคุย  ถ่ายทอดประสบการณ์ที่ดีต่อกัน  อยากให้จัดต่อเนื่อง  เพราะสื่อไม่ค่อยได้มีโอกาส  ร่วมกิจกรรมแบบนี้ - ยินดีมากที่ได้มาร่วมงานครั้งนี้  และ  ขอขอบคุณทีมงานทุกท่าน  กับการต้อนรับในครั้งนี้ - ยินดีที่ได้รับเชิญมาร่วมงาน  ได้มารู้จักชุมชนบางปู  แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มาจากศักยภาพของชุมชนได้อย่างแท้จริง - รู้สึกดีที่มีการพบปะกับพี่น้องสื่อมวลชนและได้ทำกิจกรรมร่วมกัน - ขอบคุณการต้อนรับที่อบอุ่นจากผู้จัดงาน  และอิหม่ามมัสยิดอัตตะอาวุนบางปู  ขอให้ร่วมกันส่งเสริมกิจกรรมดีๆ  แบบนี้ต่อๆ ไป - รู้สึกดีที่มาร่วมกิจกรรมวันนี้  เพราะที่นี่เป็นมิตร  มีความเป็นกันเองมาก  มีขนมพื้นบ้านที่หาทานได้ยาก  อร่อยมาก  ขอบคุณที่เปิดโอกาสให้ร่วมงานวันนี้

บรรยายพิเศษโดย ดร.สว่าง  ทองไพ  “บทบาทสื่อมวลชนและชุมชนกับการนำเสนอและการมีส่วนร่วมด้านการท่องเที่ยว”
ดร.สว่าง  ทองไพ  หรือที่เรียกว่า  อาจารย์โต ท่านเป็นนายกสมาคมสื่อมวลชนเพื่อการท่องเที่ยว ท่านได้แนะนำทีมงานที่มาด้วย คุณพัฒนพงค์ จารุลักขณา  คุณแวมาแซหรือพี่ต่วน อดีตช่างเทคนิค สวท.ปัตตานี  และคุณจงรัตน์  คงเพชรภักดี ดร.สว่าง ทองไพ  ได้กล่าวว่า “เมื่อวันที่ 23-24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา  ได้เปิดตัวสมาคมสื่อมวลชนเพื่อการท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการ  ซึ่งได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ต้องตามถูกกฎหมาย  มีสมาชิค 47 จังหวัดทั่วประเทศ  กำลังจะเพิ่มสมาชิก อีก 2 จังหวัด  คือ จ.บึงกาฬ  กับ  จ. ลำพูน  สมาคมจะมีบัตรประจำตัวซึ่งบ่งบอกถึงสังกัดของทางสมาคมฯ โดยที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นคนเซนต์ ดังนั้นถ้าทางสมาคมร่วมงานแถลงข่าวหรืองานอื่นๆ หมายถึงว่าผู้ว่าฯ หรือส่วนราชการรับรู้รับทราบว่ามาจากสมาคมสื่อสารมวลชนเพื่อการท่องเที่ยว  หากว่าสมาคมลงพื้นที่ใดก็ตามสมาคมต้องแจ้งไปยังจังหวัดทุกๆ  ครั้ง  ตอนนี้มีสื่อในสังกัด  5 สถานีเป็นเชิงธุรกิจทั้งหมด เช่น การโฆษณา  ขายของต่างๆ ดร.สว่าง ทองไพ  ได้เปรียบเทียบภารกิจงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กับ ท่องเที่ยวการกีฬาจังหวัด(ทกจ.) ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เหมือนกันแต่ต่างเนื้องานกัน ททท.จะรับผิดชอบด้านการตลาด รับผิดชอบเชิงนโยบายและงานใหญ่ๆ  ด้านการกีฬา  ไม่ว่าจะเป็นสนามกีฬาซึ่งปัจจุบัน  ททท.ได้เอาสมาคมเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นสมาชิกในงานของ ททท. เพราะสมาคมสื่อมวลชนเพื่อการท่องเที่ยว  เป็นสมาคมแรกที่ยังไม่มีใครจัดตั้งมาก่อน  สมาคมจะเน้นสื่อที่สร้างสรรค์ นำเสนอสิ่งดีๆ  ที่เอาข้อเท็จจริง ไม่ได้เน้นการเสนอสื่อในเชิงลบหรือโต้ตอบด่าทอกัน  สื่อ  คือ มีหน้าที่ มีบทบาทการนำเสนอ ปลายทางของสื่อ  คือ  การนำเสนอข้อเท็จจริงให้เป็นจริง  โทรศัพท์มือถือเป็นสื่อที่ทำให้ประเทศไทยตอนนี้มีสื่อ 60 กว่าล้านคน  แต่สื่อแบบนี้ไม่มีมวลชน  สื่อมวลชน  กับ คำว่าสื่อ  กับคำว่า มวลชน  หลายคนไม่สามารถแยกความหมายออกได้  ซึ่งเราต้องแยกก่อน  แต่เวลาทำงานเราต้องทำด้วยกัน  เรามีสื่อ  คณะเดียวกันเราก็มีมวลชนภายในตัวด้วยเช่นกัน บางคนมีสื่อในมืออยู่แต่ไม่มีมวลชน ซึ่งปลายทางของการนำเสนอ  คือ  เราต้องมีกระแสที่อยู่บนข้อเท็จจริง
          ท่านดร.สว่าง ทองไพ ได้กล่าวว่า  หากการนำเสนอแล้วไม่มีกระแส  เสมือนการพูดอยู่คนเดียว  ไม่มีการเคลื่อนไหวต่อการรับรู้ของประชาชน เราต้องตั้งคำถามว่าทุกวันนี้  เรามีสื่อแต่เรามีมวลชนไหม  การขยายมวลชนจะทำได้อย่างไร การรวมสื่อที่มีความหลากหลายที่จะเป็นสื่อในสมาคมเดียวกันนั้นมันยาก  ไม่ได้ง่าย  เพราะมีหลากหลายของสื่อ  ที่มีสื่อสิ่งพิมพ์  สื่อวิทยุ  เคเบิ้ลทีวี  และทีวี  และวันเปิดตัวสมาคมฯ  เรามี
1. ATPM  การท่องเที่ยวและการตลาด  ซึ่งเป็นเจ้าของเอเชียที่หัวหิน  ที่จะมาขับเคลื่อนร่วมกับเรา  ซึ่งเขาจะมีตลาดอีกหลายๆ แห่ง 2. แอตต้า  สมาคมการโรงแรมเพื่อการท่องเที่ยวไทย ซึ่งมีโรงแรมอยู่ทั่วประเทศ  เกือบ  10,000 กว่าแห่ง 3. มีสมาคมเคเบิ้ลทีวี 4. มีอีต้า  คือสื่ออิเล็คทรอนิคเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์

แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังไม่เพียงพอในระยะยาว เพราะเราต้องการกระแสและเกิดการเรียนรู้ให้ได้  สมาคมฯ ตั้งมา  เมื่อวันที่  3 กุมภาพันธ์ 2560  อายุ 10 เดือน การท่องเที่ยว  คือการทำเส้นเลือดของประเทศ  เพราะการท่องเที่ยวสร้างรายได้ที่อยู่อันดับ  3  ของประเทศ  การท่องเที่ยวนำเป็นยุทธศาสตร์ในการทำเป็นรายได้เข้าประเทศ  เช่น  ประเทศลาว  เวียดนาม  เขมร  พม่า ถ้าดูการท่องเที่ยวในบ้านเราถือเป็นการลงทุนที่ต่ำมาก  แต่สิ่งที่จะเข้ามาในพื้นที่มีมาก  และสามารถทำรายได้ที่ยั่งยืนให้เราได้  เพราะฉะนั้นเราต้องคิดว่า  บ้านเรามีอะไรดี  ที่เป็นที่สร้างสรรค์  ซึ่งถ้าใครจะมาทำงานทางนี้  เราต้องตอบตัวเองก่อนว่าเรามาทำอะไร แต่ถ้าเราคิดว่าจะเป็นสื่อด้วยจิตวิญญาณ  คุณก็สามารถเอาข้อเท็จจริงมานำเสนอ ถ้าตัวเองคิดว่าพร้อมสามารถทำได้  แต่ถ้าไม่พร้อมคุณควรถอยตัวเอง  เพราะถ้าความไม่พร้อมนำเสนอสื่อ  สิ่งที่ตามมาจะมีความเสียหายตามมา เกลือหวาน  นำเสนอวันแรก  นาย ก.ท้องเสียอย่างรุนแรงเพราะกินเกลือหวาน  แต่ถ้าการนำเสนอข่าวออกมามุมนั้น  ทำให้คนทั่วประเทศจะมีความตื่นกลัวและไม่ยอมกินเกลือภาคใต้  มองว่าเป็นสัญญาที่ดี
อนาคตอันใกล้นี้ทางสมาคมฯ จะเอาสื่อมวลชยเชียงรายลงมาปัตตานี  และให้เจ้าบ้านต้อนรับ  3 วัน 3 คืน
การเป็นเจ้าบ้านที่ดีไม่ต้องเตรียมอะไรเยอะ เช่น เจอนักท่องเที่ยวต่างประเทศแค่ยิ้ม คำพูด  และมีความจริงใจ  อัธยาศัยที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ถือว่าเป็นเจ้าบ้านที่ดีแล้ว  การสำรวจพบว่านักท่องเที่ยวต่างประเทศมีความประทับใจในการเทศไทย  คือ  การยิ้ม  เป็นอันดับต้น การท่องเที่ยวในบทบาทของสื่อมีความสำคัญมาก สื่อในบ้านเรา  เช่น ทีวี  วิทยุ หนังสือพิมพ์  โซเชียล  ที่นี่เราคุ้นเคยแค่สื่อ  วิทยุ  กับ  โซเชียล เท่านั้นเอง การทำดีไม่มีที่ไป  เหมือนกับเราถ่ายรูปไม่มีที่ลง แต่ต่อไปนี้ช่องทางในการนำเสนอที่สามารถส่งให้ทางสมาคมฯได้เลย เราเคยพูดอยู่ตลอดเวลาว่า  เรามีทางไป  ทำคลิปได้  ถ่ายภาพได้  แล้ว  ส่งมาทางสมาคมฯได้  ตอนนี้เรามีอนุกรรมการของจังหวัดปัตตานี ท่านสามารถเป็นตัวแทนของจังหวัดปัตตานีของทางสมาคมได้  มีหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมในพื้นที่  ซึ่งในหนึ่งจังหวัดเราจะมีแค่ชุดเดียว  ไม่มีการตั้งเพิ่ม  แต่พวกเราสามารถเป็นสมาชิกได้  เพราะสมาชิกเป็นตัวสำคัญที่จะส่งข่าวเข้ามา • สื่อสิ่งพิมพ์ ส่งไปทาง  Email ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วย  ของสมาคม ไม่ออกไทยรัฐก็ออกไทยเรานี่แหล่ะ  ทางสิ่งพิมพ์ของสมาคม
• ช่องของเคเบิ้ล  คือทางทีวี  ส่งให้สมาคมในการออกสื่อได้ แต่ก่อนส่งต้องมีการตัดต่อก่อน  อาจจะออกในรูปของ อินทลูต
• วิทยุ  ออกเป็นสปอร์ตสั้น  เชิญชวนคนมาเที่ยวจังหวัดปัตตานี  ซึ่งจะออกวิทยุที่จังหวัดไหนก็ได้เพราะถือเป็นการประชาสัมพันธ์และเป็นการหาเครือข่าย

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับวิทยุ บัตรผู้ประกาศ เปรียบเสมือนใบขับขี่ของสื่อวิทยุ  ซึ่งเป็นตัวการันตีอาชีพ  สื่อวิทยุมีข้อเสีย 1 อย่าง  คือ  เรามักจะนำเสนอบางอย่างโดยใช้ทัศนคติของตัวเอง  อันนี้ต้องระวัง เพราะมันไม่ได้มาจากข้อมูลหรือข้อเท็จจริง  คือไม่ได้เอามุมอื่นมานำเสนอ  เราต้องคำนึงว่าคนฟังวิทยุคือคนที่มีจินตนาการเพราะคนฟังจะได้ยินแค่เสียง  แต่ไม่ได้เห็นหน้าคนจัด ทำให้คนฟังมักจินตนาการความเป็นคนพูดหลากหลายรูปแบบ แต่เอาความรู้สึกของตัวเองมานำเสนอ  ความเป็นสื่อเป็นเรื่องที่สำคัญมาก บทบาทที่ 2 การส่งเสริม  สมาคมจะอยู่ในฐานะผู้ส่งเสริมด้วย  เช่น  คุณมีกิจกรรมดีๆ เอาของ  ททท.  เอาของเจ้าบ้านที่ดีลงมาทำกันไหม  แล้วเอามาขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ และมาตรวจสอบความถูกต้องได้  ชี้วัดได้  ในการประมวลผล  ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบทบาทของสื่อที่ไม่มีใครทำมาก่อน  เพราะแต่ก่อนสื่อจะเป็นเหมือนพ่อค้า  คือ  ส่งข่าวเสร็จ ได้ค่าตอบแทนก็จบ สื่อสร้างสรรค์ต้องนำเสนอข้อเท็จจริง และที่สำคัญอะไรที่มันเป็นการบั่นทอนต้องงดการนำเสนอ  แต่ใช้วิธีการบอกต่อ  สิ่งที่ได้  คือมิตรภาพ  ได้ภาพลักษณ์ที่ดี  ในฐานะสื่อ เราคือทำการรักษาผลประโยชน์ของชาติ  รักษาภาพลักษณ์ที่ดี  ได้ช่วยให้ธุรกิจของเขาไปต่อได้ ต่อไปนี้ใต้กับเหนือ  ใต้กับอีสาน  จะใกล้ชิดกัน  โดยพวกเราที่จะเป็นสะพานคอยเชื่อมด้วยสื่อของพวกเรานี่แหละ เริ่มที่พวกเราก่อน แต่จะเริ่มแบบไหนนั้น ทางสมาคมฯ จะเป็นผู้ขับเคลื่อนร่วมกับพวกเรา ตอนนี้ทางสมาคมฯ ได้มีการเชื่อมโยงกับพม่า  ลาว  ต่อไปเรามีโอกาสในการรับฟังลาว  เราได้เป็นภาคีกัน  โลกก็จะแคบด้วย  เพียงสร้างทีละนิด  สร้างเวลา  แต่อย่าท้อ

ดร.สว่าง ทองไพ ได้  เปิดโอกาสในการตั้งคำถาม คำถามจาก คุณมูฮำมัด ดือราแม อดีต บก. DSJ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้
1.    ในเรื่องของการส่งเสริมและสนับสนุน  อยากทราบว่าทางสมาคมจะสนับสนุนอย่างไร? ท่านดร.สว่าง ทองไพ ได้ตอบคำถาม การสนับสนุนมันมีหลายทางอาจไม่ใช่ในรูปแบบงบประมาณเสมอไป  สนับสนุนโดยการนำมวลชนก็ถือเป็นการสนับสนุนพื้นที่ให้ได้เห็นว่าพื้นที่มีอะไรดี  แต่ถ้าโอกาสที่เราเอางบประมาณของสื่อปลอดภัย  ร้อยลงมาในเรื่องมิติของการท่องเที่ยว สมาคมฯจะเขียนโครงการใหญ่แล้วให้พวกเราได้ขับเคลื่อน  แต่จะไม่ทำงานแบบกองทุนของ  สสส.  หรือประชารัฐ เพราะทางสมาคมฯจะมีการประเมินผลการทำงานอย่างมีหลัก  สมาคมฯจะทำให้เห็นว่าเป็นการทำงานอย่างมีคุณภาพ  สมาคมฯจะพยายามแสวงหาแหล่งทุนทำโครงการเพื่อให้พวกเราได้เอาตั้งสมมุติฐาน  เอาความรู้ที่เรามีลองมาพิสูจน์ดูซิว่าเราจะทำเหมือนอย่างที่เราวางไว้ไหม? ตอนนี้ทางสมาคมกำลังทำโพสเตอร์  รณรงค์เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ชาติด้านการท่องเที่ยว  เพราะการท่องเที่ยวเป็นเส้นเลือดใหญ่ของประเทศ  เนื่องจากเราเป็นสมาคมใหม่แต่เรามีแนวร่วมเยอะ  มีแหล่งทุน  ความรู้  ตัวบุคคลของสมาคมมีนักวิชาการผ่านสมาคม  ผ่านตัวบุคคลนำเขามาสนับสนุน  สมาคมเองมีนักวิชาการด้านการท่องเที่ยว  ซึ่งอยู่ในกลุ่มงานทางวิชาการของสมาคมฯ  มีงบของกองทุนหมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งเป็นกองทุนใหญ่ เพื่อส่งเสริมชุมชน  วิถีชุมชนอาจจะมาแบ่งให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่  ในมุมนี้อาจเป็นทางหนึ่งที่สมาคมจะช่วยท่านได้

  1. ถ้ามีการรวมกลุ่มสื่อที่อยู่ที่นี่  แล้วผลิตสื่อด้านการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ ประสานสมาคมในการสนับสนุน สมาคมสามารถทำได้ไหม  เพราะถ้าดูสถานการณ์ในพื้นที่ตัวต้นทุนหรือตัวทรัพยากรที่จะมาทำในเรื่องของการท่องเที่ยว  สามารถทำได้หลายอย่าง ถ้าเริ่มจากบางปูโดยเริ่มจากการเชื่อมโยง  เช่น  ด้านประวัติศาตร์  ธรรมชาติ  วิถีชีวิต  พหุวัฒนธรรม หรือเชื่อมโยงในเรื่องของการช่วยเหลือ  เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอาจเป็นในเรื่องของผลิตภัณฑ์ของผู้ได้รับผลกระทบ  ทั้งหมดนี้ทำเป็นเพ็กเก็จได้ ดร.สว่าง ทองไพ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ต้องคิดอย่างมีหลักว่าสิ่งที่เราเสนอมันตอบโจทย์และทำให้มันเกิดกระแสได้ไหม ตอนนี้เราตั้งให้สมาคมมาเป็นหัว แล้วเอาภาคประชาชนเป็นฐานราก  อันนี้ต้องปรับแนวคิดนี้ก่อน เพราะต่อให้เปลี่ยนรัฐบาลโครงสร้างที่สมาคมวางไว้ก็จะยังคงเดิม เพราะสื่อจะอยู่ในวัตถุประสงค์ที่ 2  ในเรื่องส่งเสริมบทบาท
    สมาคมยังขาดศูนย์เรียนรู้ของข้อมูลที่เรียนรู้วิถีชุมชน  หรือศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชน  เพราะการท่องเที่ยวเป็น story  ซึ่งการท่องเที่ยวจะไม่จบที่จุดเดียวแน่นอน แนะนำให้แต่งตั้งทีมบริหารชุมชนท่องเที่ยว  และต้องคุมเส้นทางการทำเดินงานให้ชัด

คุณพัชรา ยิ่งดำนุ่น จากวิทยุ  ม.อ. ได้เสนอแนะ 3.  โดยส่วนตัวชอบสนใจกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว  เคยเข้าร่วมกับอาจารย์  ม.อ. พานักศึกษามาสำรวจเส้นทางการท่องเที่ยวในพื้นที่อ แต่ยังผิวเผินอยู่ เวทีวันนี้สามารถทำให้เห็นประเด็นที่จะเชื่อมโยง อย่างที่ ท่าน ดร.สว่าง ทองไพ  ได้หยิบยกในเรื่องของวิถี อาจจะประเด็นเดียวแต่นำเสนอให้ได้หลายช่องทาง content ออกไป  คิดว่าอาจมีทิศทางในการขับเคลื่อนเพื่อขยายผลจากข้อมูลที่เราได้ลงพื้นที่ คิดว่าเพื่อนนักสื่อสารอาจจะใช้เวทีนี้ในการร่วมกันนำเสนอ  เช่น  เสียงของชุมชน  คุณค่าของชุมชน

  1. สื่อกับสมาคมสื่อมวชชนเพื่อการท่องเที่ยวมีบทบาทในการทำงานเฉพาะเรื่องใช่ไหมคะ ท่านดร.สว่าง ทองไพ  ตอบว่า การเอาราชการ  เพื่อมาวิเคราะห์จุดอ่อน  จุดแข็งเพื่อวางกรอบนักวิชาการ สามารถมาช่วยด้วยได้  อาจเขียนหนังสือส่งมาที่สมาคมได้  เราต้องพยายามมองว่าการสร้างการรับรู้มันไม่ได้จำกัด  ใครมีเรื่องส่งมา เพราะมันเป็นวิธีการสร้างกระแสคือถ้าเห็นช่องทางควรไปให้หมด  พยายามสร้างเครือข่ายให้ได้  เพราะเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญของสื่อมวลชน สิ่งที่ต้องคำนึง  คือ  ข้อความกับรูปภาพต้องมีความสมดุลกัน  อย่าเขียนเยอะไป  เช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์ที่เป็นสี คือไม่ต้องเขียนมาก

คำถามจาก อาจารย์อาทิตยา สมโลก  (จากคณะวิทยาการสื่อสาร)  ม.อ.ปัตตานี 5. เรื่องของการป้องกันในการดูแล  เรื่องของจริยธรมในการดูแล  ทางสมาคมมีแนวทางอย่างไร? ท่านดร.สว่าง ทองไพ  จริงๆ แล้วเป็นวัตถุประสงค์ของสมาคมข้อที่ 1 ถ้าหากทำมากเกินกว่านั้นสมาชิกต้องรับผิดชอบเอง  หลายกรณีก็เป็นคดีความและได้ปลดจากการเป็นอนุกรรมการไป  จริยธรรมของสมาชิกมีกรอบว่าอะไรทำได้  อะไรทำไม่ได้  แต่ถ้าทำได้แล้วมีปัญหา  ทางสมาคมจะมีการดูแล  แต่ถ้าคุณมีเจตนา  ทางสมาคมจะทำการเตือนก่อน 3 ครั้ง ถ้ามีการกระทำอีกจะต้องจัดในลำดับต่อไป    ตอนนี้ทางสมาคมมีการมอบอำนาจให้กับสมาชิกเกือบทุกจังหวัด  เพื่อให้พวกเราประหยัดค่าใช้จ่ายของสมาคม
พัฒนพงค์ จารุลักขณา เรื่องการใช้สื่อวิทยุ  สะท้อนปัญหาของชุมชนเป็นสื่อทางสงขลา  สื่อสารของภาคใต้  สื่อทางสงขลา  มีประมาณ 15 ความคิด  กลุ่มที่เราทำเป็นของธุรกิจส่วนตัว  ล่าสุดเรื่องของน้ำท่วมที่ผ่านมา  แต่  ณ เวลานั้นมีแค่คลื่นเดียว  ทางเราถือว่าถ้าเป็นเรื่องการช่วยเหลือเราจะทำทันที  เพราะสื่อกระแสหลักเข้าถึงช้าเรามองว่าสื่อกระแสหลักนั้นเอาภาษีของประชาชน แต่ไม่ค่อยเห็นในการมาช่วยเหลือ  สื่อของเราลงพื้นที่  5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในกลุ่ม  ศอ.บต.  ทำมาได้ 3-4 ปี เป็นสื่อสัญจร  เช่น จังหวัดสตูลทางเราเอาของไปช่วยเหลือที่มัสยิดต่างๆ  การทำงานแบบนี้ถือว่าดี  เพราะเรามีฐานล่างที่เป็นนักศึกษา มอ.  หรือเยาวชน ศอ.บต.ช่วยเหลือจากข้างล่างได้ดี

สรุปจาก ท่านดร.สว่าง ทองไพ  “  บทบาทของการเป็นสื่อ สามารถทำได้หลากหลาย  ซึ่งการช่วยเหลือในระดับประเทศมีผลมาก  เพราะสามารถเสนอข้อเท็จจริงให้เป็นปัจจุบันได้  และยังสามารถช่วยกันเป็นหูเป็นตา  หรือบำเพ็ญตน  ท่องเที่ยวถือเป็นเส้นเลือดของประเทศไทย ปัตตานีอยู่ปลายด้ามขวาน  ไม่ต้องรอให้เขามาหาเรา  ขอให้เอาความรู้ที่เราได้รับไปใช้ ผมเชื่อว่าสื่อสร้างสรรค์มันมีจริง” หลังจากนั้นนายอาชิ ดือราแม  อิหม่ามมัสยิดอัตตะอาวุน ได้มอบของที่ระลึกแทนคำขอบคุณจากจังหวัดปัตตานีให้  ดร.สว่าง  ทองไพ  และทีมงาน 





มอบของที่ระลึกแก่สื่อมวลชน

เวลา13.00 น อ.กามาสูดิน  หะยียามา  นักประวัติศาสตร์ชุมชน/อาจารย์โรงเรียนบำรุงอิสลาม  ได้ให้ความรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนบางปูย้อนรอยประวัติศาสตร์บางปู








ประวัติการตั้งถิ่นฐานของชุมชนบางปูตะอาวุนนักเรียนตามันฟัรดูอีน สุเหร่าบางปู ปี พ.ศ.2507 ที่ตั้งของตำบลบางปู  ในเขตอำเภอยะหริ่ง  ที่ตั้งของตำบลบางปูจะเป็นทะเล  ที่เรียกว่าอ่าวบางปูเป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ทะเล  มีโกงกางอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย  ส่วนทางทิศใต้ก็เป็นที่ทำนา มีพืชผักที่อุดมสมบูรณ์และกว้างใหญ่  และตรงข้ามที่พวกเราอยู่  ณ  ตอนนี้จะเป็นที่นาอันกว้างใหญ่มาก  บางปูจึงเป็นดินแดนที่มีคนมาอยู่อาศัยกันเป็นเวลานาน  นอกจากนั้นบางปูยังอยู่ใกล้กับเมืองปาตานีในอดีต  คือตันหยงลูโล๊ะ  กรือแซะในตอนนี้ มีอาณาเขตติดต่อกัน  การขยายตัวของชุมชนและความเจริญต่างๆ  จึงขยายมายังบางปูโดยปริยาย  บางปูจึงน่าจะเป็นชุมชนเก่าแก่มาแต่สมัยอาณาจักรมลายู  ฉะนั้นความเจริญของอาณาจักรของปัตตานีในสมัยก่อนแน่นอนน่าจะมาทางบางปูด้วยเช่นกัน เพราะมีพื้นที่ๆ ติดชายทะเลเหมือนกัน ใกล้ๆ กัน
มีการสันนิฐานว่า  บางปู  น่าจะเป็นชุมชนโบราณตั้งแต่ยุคสมัยของอาณาจักรของมลายูปาตานี  บางท่านบอกว่าสมัยราชินีฮีเยา  หรือราชินีบีรู ก่อนหน้านั้น  มีการปกครองปี  2159 – 2167  ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์สุโขทัยและอาณาจักรอยุธยา  หรือก่อนหน้านั้นในสมัยราชินีฮีเยา ที่ถือเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุด  มีเรือสินค้าจากจีน  ยุโรปและอาหรับที่มาเทียบท่าที่ปัตตานีดารุสสาลาม  ที่กรือเซะกับชายแดนที่ติดกับบางปู








อุสตาซ แวอาลี หะยีอาวัง หน้าสุเหร่าบางปู กับบรรยากาศเก่าๆ

หลักฐานที่สำคัญที่สุดที่สามารถยืนยันได้ว่าบางปูเป็นเมืองโบราณ  คือ  มีโบราณสถาน มีมัสยิดหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าสุเหร่าบางปู  เป็นสุเหร่าที่เก่าแก่มาก  สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง  สร้างด้วยสถาปัตยกรรมพื้นเมืองที่เก่าแก่มาก  บางคนบอกว่าเป็นสถาปัตยกรรมสมัยลังกาสุกะ ตัวอักษรจะเป็นมลายู  และมีนักโบราณคดีจากรัฐกลันตันประมาณ  25 ปี  มาสำรวจมัสยิดแห่งนี้ว่า  เขาสันนิฐานว่า  น่าจะมีอายุมากกว่ามัสยิดตะโล๊ะมาเนาะ  เพราะสังเกตุจากเสาของสุเหร่าที่สลักจากหินและเสาไม้บนสุเหร่าที่ขรุขระ  ไม่ราบเรียบ  เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นเครื่องมือพื้นฐานสมัยก่อน  เช่น  ขวาน  และผึ่ง เป็นต้น  ซึ่งมัสยิดตะโล๊ะมาเนาะในตอนนี้ก็มีน่าจะมีอายุประมาณ 393 ปี เพราะตะโละมาเนาะสร้างขึ้นในปี  2167  ถ้าเป็นจริงตามที่นักโบราณคดีกลันตันกล่าวไว้  แสดงว่าที่บางปูแห่งนี้ก็มีชุมชนมาตั้งรกรากมากกว่า 393 ปีแล้วเช่นกัน
แต่อย่างไรก็ตามที่กล่าวมาเป็นเพียงการสันนิฐานจากหลักฐานที่พอจะเป็นไปได้เท่านั้น  เราไม่สามารถจะยืนยันถึงข้อเท็จจริงจากการสันนิฐานนั้นได้จนกว่าจะมีนักโบราณคดีมาพิสูจน์หลักฐานการสร้างสุเหร่าบางปูแห่งนี้อย่างจริงจัง รอบๆ สุเหร่า จากการสัมภาษณ์ผู้อาวุโสของชุมชนบางปู หมู่ที่ 3  จำนวนสิบท่านที่มีอายุ  ระหว่าง  70  ปีขึ้นไป  จนถึง ปี พ.ศ. 2559  ซึ่งปัจจุบันทุกคนยังมีชีวิตอยู่  โดยทีมงาน Bangpoo  Story พอจะสรุปเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชุมชนบางปู
หมู่ที่ 3  (ชุมชนบางปูตะอาวุน)  ย้อนหลังได้ถึงเพียง  พ.ศ. 2440 เป็นต้นมาเท่านั้น  ส่วนก่อนหน้านั้นไม่มีใครสามารถให้ข้อมูลได้ดังนี้


<br />



คำว่าบางปู  ไม่มีใครทราบถึงที่มาได้  บางคนบอกว่าชื่อเดิมคือ  กือลอ  บางปูนั้นใช้เรียกตามราชการในตอนหลัง ซึ่งอาจจะเรียกตามสภาพที่เด่นของบางปูที่เขาเห็น  กล่าวคือ  หน้าโรงเรียโรงเรียนบ้านบางปูปัจจุบัน  สมัยก่อนมีปูเปลือกแข็ง  ชาวบ้านเรียกว่า  “กือแตบาตู (ปูหิน)”  และ  “ปูม้า”  ที่ชาวบ้านเรียกว่า “กือแตแป”  จำนวนมาก  ซึ่งชาวบ้านไม่นิยมกินปูชนิดนี้  พวกมันขึ้นมาขุดรูทำเป็นรังมาอาศัยอยู่  ทำให้เกิดเป็นจอมปลวก (ปูซู)  ขึ้นเต็มไปหมด  คนไทยและทางราชการจึงเรียกที่นี่ว่า  บางปู  คนท้องถิ่นเรียกว่า  บาปู จากการเล่าของลูกหลานอดีตเจ้าเมืองยะหริ่งคนหนึ่ง  เขาบอกว่า  เมืองยามู(ยะหริ่ง)สมัยก่อน  มีอาณาเขตจากบ้านตันหยงไปถึงบางปู  บางปูจะรวมอยู่ในยามู  เรียกชื่อรวมกับยามู  ส่วนที่ชื่อ บางปู  นั้นเป็นชื่อที่ทางการตั้งให้ภายหลัง  แต่คนในท้องถิ่นสมัยก่อนจะรู้จักและเรียกชื่อบางปูว่า  กาลอหรือกือลอ  สุเหร่าบางปู  คือมัสยิดประจำเมืองยามู  และคนที่เป็นมุฟตีหรือกอฏี (ที่ปรึกษาฝ่ายศาสนาอิสลาม) จะพำนักอยู่ใกล้มัสยิด  ส่วนแดนประหารนักโทษสมัยก่อนจะอยู่ระหว่างสะพานบางปูเชื่อมต่อกับยามู (สะพานอาแวเบ๊าะ)  และจือแร ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับคำบอกเล่าของ นางฮัจยะฮฺตีเยาะ  ฮะยียาม  ว่าบิดาของท่านคือ นายฮะยีมะแซ  ฮะยียามา เคยเป็นอีหม่ามสุเหร่าบางปู  เป็นโต๊ะครูสอนกีตาบยาวี ที่บ้านท่านใกล้มัสยิด  และเคยเป็นมุฟตีของเจ้าเมืองยะหริ่ง  บ้านท่านอยู่ติดกับสุเหร่าบางปู (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของบ้านนางสามีฮะ หะยียามะ)  และสอดคล้องกับคำบอกเล่า  ของนายอิบรอฮิม  หะยีสือแม  (สัมภาษณ์เมื่อ  26/2/59)  อายุ 84 ปี  เล่าว่า นายนิเดร์และนิหะ เคยเป็นฮูลูบาแล(อำมาตย์/ทหารเจ้าเมือง)  ของเจ้าเมืองยะหริ่ง  ท่านทั้งสองไม่ยอมให้ชาวบ้านเสียภาษีแก่เจ้าเมือง  ท่านทั้งสองจึงถูกประหารชีวิต  ศพของท่านถูกฝังไว้ที่ตำบลบานา  ท่านคือต้นตระกูลนิเดร์หะในปัจจุบัน
และจากการสัมภาษณ์ นายสือแม  หะยีสือแม  อายุ  81 ปี  ใน  พ.ศ. 2559  ท่านเล่าว่าเจ้าเมืองยะหริ่งเป็นผู้แต่งตั้งนายหะยีนิมะ  นิเดร์หะ  เป็นอีหม่ามสุเหร่าบางปูในสมัยก่อน จากหลักฐานและข้อมูลดังกล่าว  แสดงว่าบางปูสมัยก่อนรวมอยู่กับยามู  มีความสัมพันธ์และเกี่ยวโยงกับเจ้าเมืองยะหริ่ง  และอยู่ใต้การปกครองของเจ้าเมืองยะหริ่ง  เหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะอยู่ในสมัยพระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรสงคราม  ซึ่งอยู่ในสมัยตอนปลายรัชการที่  5 สุเหร่าบางปูตั้งอยู่  ม. 3  ตำบลบางปู  อำเภอยะหริ่ง  จังหวัดปัตตานี  เป็นสุเหร่าที่เก่าแก่ของอาณาจักรมลายูปตานี  สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง  ยกพื้นเตี้ย  อาคารสุเหร่าใช้สลักไม้ยึดแทนตะปูและเหล็ก  สร้างด้วยศิลปะมลายูลังกาสุกะ  เสาของสุเหร่าสลักจากหินภูเขา(หินแกรนิต) นำมาจากตรังกานูประเทศมาเลเซียโดยทางเรือสำเภา  ลำเลียงมาขึ้นปกที่ท่าเรือบางปู  ซึ่งอยู่หลังสุเหร่าบางปู  เป็นสุเหร่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์  งดงามและโดดเด่นทางสถาปัตยกรรม  เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชนชาวมลายูในจังหวัดชายแดนใต้
นอกจากเสาสุเหร่าที่สลักจากหินแล้ว  ส่วนประกอบอื่นๆ  ของสุเหร่า  เช่นผนังที่กั้นระหว่างข้างในและข้างนอกสุเหร่า  ฝาผนัง  ประตู  หน้าต่างจะเป็นงานแกะสลัก  ฉลุลายกลึง  ประดับประดาเป็นสถาบัตยกรรมหลากหลายรูปแบบ  ผสมผสานกันอย่างลงตัวสวยงามและประณีตบรรจง  ทาเป็นสีสันสวยงามสดใสด้วยสีที่สกัดมาจากเปลือกไม้  มีมิมบัร(ที่แสดงธรรมเทศนา) ที่แกะสลัก  กรงและฉลุลายเป็นศิลปะสมัยลังกาสุกะที่งดงามทาด้วยสีขาว  มีไม้คทาสำหรับคอเต็บถือขณะอ่านคุตบะห์ ที่สลักด้วยอัญมณีสีขาวแวววาวคล้ายเพชร  ส่วนหัวของคทาทำเป็นรูปจันทร์เสี้ยว  มีกลองสำหรับตีเชิญชวนคนมาละหมาดทั้งห้าเวลาที่ชาวบ้านเรียกว่า  ฆือแนรายอ  ซึ่งแปลว่ากลองใหญ่ทำด้วยลำต้นตาลขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  3 ฟุตและยาวประมาณ 6 ฟุต บุด้วยหนังวัว ตอกด้วยลิ่มไม้โอน  มีกอเลาะ(อ่างอาบน้ำละหมาดขนาดใหญ่) สร้างด้วยไม้แผ่นใหญ่ประกบกันเป็นอ่างสี่เหลี่ยม  มีบ่อสร้างด้วยหินรอบๆ  มัสยิด  3  บ่อ  เป็นบ่อ 6 เหลี่ยมหนึ่งบ่อและบ่อกลมอีกสองบ่อ ปัจจุบันสุเหร่าบางปูแห่งนี้ถูกรื้อและเคลื่อนย้ายจากที่เดิมไปทางทิศใต้นิดหน่อยและถูกยกให้สูงขึ้น  ต่อเติมเป็นสองชั้น  เพื่อเป็นที่สอนศาสนาฟัรดูอีนให้แก่เด็กๆ ในหมู่บ้าน (ตาดีกา) คงเหลือแต่อาคารหลักบางส่วน  สมบัติล้ำค่าอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและศาสนา  โบราณสถานและโบราณวัตถุอันเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานและความเจริญรุ่งเรืองของบรรพบุรุษชุมชนบาวบางปูในอดีตได้สูญหายไป  คงเหลือแต่ความทรงจำของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคยคลุกคลีและใช้สุเหร่าแห่งนี้ในการประกอบศาสนกิจต่างๆ  อย่างเช่น ละหมาดฟัรดูห้าเวลา  ละหมาดญุมอัต  ละหมาดตะรอวีหฺ  ละศีลอด  อิอฺติกาฟ  กียาม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลคาดว่าจะได้รับและตัวชี้วัด ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1.สื่อมวลชน, แกนนำชุมชนบางปู, กลุ่มเยาวชน, ผู้ประกอบการเรือ ได้รับความรู้ความเข้าใจ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน 2.สื่อมวลชน, แกนนำชุมชนบางปู, กลุ่มเยาวชน,  ผู้ประกอบการเรือ ได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องป่าชายเลน และประวัติศาสตร์ชุมชนบางปูมากยิ่งขึ้น
3.สื่อมวลชนได้นำเรื่องราวในเวทีแลกเปลี่ยนฯ ไปนำเสนอต่อ ผ่านรายการวิทยุ  และผ่านโซเซียลมีเดีย
          4.ทำให้ชุมชนเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศ การอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่         5.  เกิดความร่วมมือ เกิดความสามัคคี ทำงานร่วมกันอย่างแข็งขันและเป็นเอกภาพ

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ สื่อมวลชนได้นำเรื่องราวในเวทีไปนำเสนอผ่าน รายการวิทยุ และ Facebook live ดังนี้
1.รายการวิทยุร่วมแรงร่วมใจชายแดนใต้ ออกอากาศทางสถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี เวลา 15.00. - 17.00 น. โดย คุณเสาวณีย์ ดาโอ๊ะ และ คุณพัชรา ยิ่งดำนุ่น
2.รายการ อสมท.เพื่อชุมชน ออกอากาศทางสถานีวิทยุ อสมท. เวลา 13.10 – 14.00 น. โดย คุณญารัชนี คงจันทร์ 3.รายการวิทยุเพื่อชุมชน ออกอากศทางสถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี วันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 19.30 – 20.00 น. โดยดีเจซูเฮ็ง
4.รายการ Sinarpetang คุยสบายๆ ยามเย็น  ออกอากาศทางสถานีวิทยุ อสมท. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 16.00-17.00 น. จัดโดยดีเจซูเฮ็ง
5.รายการเสียงวานีตา ออกอากาศทางสถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี วันพุธ-พฤหัสบดี เวลา 19.30-20.00 น.จัดโดย คุณยะห์ อาลี ,  คุณหายาตี บูสะมัน ,  คุณวาซินีย์ แวโต 6.คุณยะห์ อาลี Live สด เวทีแลกเปลี่ยนกับสื่อมวลชน ทาง Facebook Live ช่วงที่ ดร.สว่าง ทองไพ บรรยายพิเศษ
7.คุณญารัชนี คงจันทร์ Live สด เวทีแลกเปลี่ยนกับสื่อมวลชน ทาง Facebook Live บรรยากาศในเวที และสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมงาน

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

สื่อมวลชน 15 คน จากชุมชน 19 คน คณะทำงาน 6 คน

ผลิตรายการวิทยุ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนมีส่วนร่วม 6 ตอนตอนที่ 2 เยาวชนชะบ้าบกับการท่องเที่ยวชุมชนบางปู24 พฤศจิกายน 2560
24
พฤศจิกายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วันที่ 24พฤศจิกายน 2560 จิงเกิ้ลนำเข้ารายการ “บางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว”

เกริ่นนำรายการ ผู้ดำเนินรายการ คุณยะห์ อาลี<br />

สวัสดีค่ะคุณผู้ฟัง ขอความสันติจงมีแด่คุณผู้ฟังทุกท่าน ขอต้อนรับคุณผู้ฟังเข้าสู่รายการ “บางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว” โดยมี ดิฉัน ยะห์ อาลี เป็นผู้ดำเนินรายการ ซูเฮ็ง สวัสดีครับ อัสลามูอาลัยกุมฯ ผม อิบรอเฮ็ง มาเละ หรือ ซูเฮ็ง ผู้ร่วมดำเนินรายการครับ กะยะห์ คุณผู้ฟังคะ รายการ “บางปูอเมซซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว” ออกอากาศทางสถานีวิทยุ 4 สถานี โดยมีสถานีตะอาวุนเรดิโอ 100.5 MHz เป็นแม่ข่าย และอีก 3 สถานี คือ สถานีวิทยุ ม.อ. ปัตตานี 107.25mhz สถานีอัตตัรเรดิโอ 104 MHz และสถานีวิทยุมัสยิดกลาง จ.ยะลา 105.75 MHz
ช่วงเข้าสู่เนื้อหา
คุณผู้ฟังคะ เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี ได้ดำเนินโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ภายใต้โครงการการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ชุมชนบ้านบางปูเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สามารถจัดการตนเองด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเพื่อให้สื่อมวลชนได้นําเรื่องราวของชุมชนบ้านบางปูเผยแพร่สู่สาธารณะ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ชุมชนและจังหวัดชายแดนใต้ โครงการนี้สนับสนุนโดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) ยะห์ อาลี  คุณผู้ฟังคะ วันนี้ “รายการอะเมซิ่งบางปู ชุมชนท่องเที่ยว” มีแขกรับเชิญ 3 ท่าน ที่ให้เกียรติมาร่วมรายการกับเรา ค่ะ 1. คุณฟุรกอน วันสุไลมาน
2. คุณซอลาฮูดิน แวและ 3. คุณฟารุก แวและ ประเด็นคำถาม 1. แนะนำตัวความรู้สึก 2. กิจกรรมของกลุ่มเยาวชนชะบ้าบ ดำเนินการอย่างไรบ้าง 3. กลุ่มเยาวชนชะบ้าบมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนหรือมัสยิดอัตตะอาวุนอย่างไรบ้าง 4. กลุ่มเยาวชนชะบ้าบมีส่วนร่วมในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างไรบ้าง 5. ข้อเสนอแนะ ฝากทิ้งท้าย คำถามเพิ่มเติมต้องฟังเยาวชนชะบ้าบพูด และนำมาสรุปตอนท้าย

คุณผู้ฟังคะ ดีเจซูเฮ็งสรุป และกะยะห์ สรุป

สำหรับวันนี้ รายการบางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว หมดเวลาลงแล้ว คุณผู้ฟังสามารถติดตามรับฟังรายการบางปูอะเมซซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว ได้ใหม่ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งนี้ ออกอากาศทางสถานีวิทยุ 4 สถานี โดยมีสถานีตะอาวุนเรดิโอ 100.5 MHz เป็นแม่ข่าย
และอีก 3 สถานี คือ สถานีวิทยุ ม.อ. ปัตตานี 107.25mhz  สถานีอัตตัรเรดิโอ 104 MHz และสถานีวิทยุมัสยิดกลาง จ.ยะลา 105.75 MHz
ซูเฮ็ง สำหรับวันนี้ เราทั้ง 4 คน ต้องลาไปก่อน ผม อิบรอเฮ็ง มาเละ ดิฉัน ยะห์ อาลี ขอความสันติจงมีแด่ทุกท่าน อัสลามูอาลัยกุมฯ สวัสดีค่ะ จิ้งเกิลปิด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนบ้านบางปูเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สามารถจัดการตนเองด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเพื่อให้สื่อมวลชนได้นําเรื่องราวของชุมชนบ้านบางปูเผยแพร่สู่สาธารณะ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ชุมชนและจังหวัดชายแดนใต้

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 6 คน จากที่ตั้งไว้ 6 คน
ประกอบด้วย

เยาวชนชะบ้าบและผู้ดำเนินรายการ

ประชุมทีม เพื่อจัดทำบทวิทยุ ครั้งที่ 224 พฤศจิกายน 2560
24
พฤศจิกายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ครั้งที่ 2 ประชุมวางแผนเพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูล ทำรายการวิทยุ ตอนที่ 2 ประเด็นเยาวชนชะบ้าบชายกับการท่องเที่ยวชุมชนบางปู  ณ สำนักงานเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผลผลิตหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

- ได้ความพร้อมในการผลิตรายการวิทยุ - ได้บทวิทยุและประเด็นคำถามเนื้อหาของรายการวิทยุแต่ละตอน - ได้จิงเกิ้ลเปิดรายการและปิดรายการ

  1. รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามแผน     -เป็นไปตามแผน
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

ผลิตรายการวิทยุ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนมีส่วนร่วม 6 ตอน ตอนที่ 1 บทบาทสื่อมวลชนกับการนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวชุมชน23 พฤศจิกายน 2560
23
พฤศจิกายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 จิงเกิ้ลนำเข้ารายการ “บางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว”

เกริ่นนำรายการ

ผู้ดำเนินรายการ คุณยะห์ อาลี สวัสดีค่ะคุณผู้ฟัง ขอความสันติจงมีแด่คุณผู้ฟังทุกท่าน ขอต้อนรับคุณผู้ฟังเข้าสู่รายการ “บางปูอเมซซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว” โดยมี ดิฉัน ยะห์ อาลี เป็นผู้ดำเนินรายการ ซูเฮ็ง สวัสดีครับ อัสลามูอาลัยกุมฯ ผม อิบรอเฮ็ง มาเละ หรือ ซูเฮ็ง ผู้ร่วมดำเนินรายการครับ กะยะห์ คุณผู้ฟังคะ รายการ “บางปูอเมซซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว” ออกอากาศทางสถานีวิทยุ 4 สถานี โดยมีสถานีตะอาวุนเรดิโอ 100.5 MHz เป็นแม่ข่าย และอีก 3 สถานี คือ สถานีวิทยุ ม.อ. ปัตตานี 107.25mhz สถานีอัตตัรเรดิโอ 104 MHz และสถานีวิทยุมัสยิดกลาง จ.ยะลา 105.75 MHz

ช่วงเข้าสู่เนื้อหา<br />

คุณยะห์ อาลี คุณผู้ฟังคะ เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี ได้ดำเนินโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ภายใต้โครงการการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ชุมชนบ้านบางปูเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สามารถจัดการตนเองด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเพื่อให้สื่อมวลชนได้นําเรื่องราวของชุมชนบ้านบางปูเผยแพร่สู่สาธารณะ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ชุมชนและจังหวัดชายแดนใต้ โครงการนี้สนับสนุนโดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) คุณผู้ฟังคะ วันนี้ “รายการอะเมซิ่งบางปู ชุมชนท่องเที่ยว” มีแขกรับเชิญ 2 ท่าน ที่ให้เกียรติมาร่วมรายการกับเรา คะท่านแรก ท่านอีหม่านอาชิ  ดือราแม ท่านที่สอง คุณมูฮำมัดอายุบ ปาทาน หรือ หรือที่คนในพื้นที่รู้จักในนาม บังยุบ บังยุบเป็นประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ และเป็นบรรณาธิการอาวุโสศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ประเด็นคำถามคุณมูฮำมัดอายุบ 1.แนะนำตัวความรู้สึก 2 บทบาทสื่อมวลชนกับการนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศมีความสำคัญอย่างไร 3. การสื่อสารกับการท่องเที่ยวมีความสำคัญอย่างไร 4.ชุมชนควรมีส่วนร่วมอย่างไรบ้าง 5. ข้อเสนอแนะ

ประเด็นคำถามอิหม่ามอาซิ ดาราแม อิหม่ามมัสยิดอัตตะอาวุน
1.แนะนำตัวความรู้สึก 2.บทบาทอีหม่ามกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว อย่างไรบ้าง 3.ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างไรบ้างกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 4.ข้อเสนอแนะ 5.คำถามต้องฟังวิทยากรพูด และนำมาสรุปตอนท้าย

คุณผู้ฟังคะ ดีเจซูเฮงสรุป และกะยะห์ สรุป

สำหรับวันนี้ รายการบางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว หมดเวลาลงแล้ว คุณผู้ฟังสามารถติดตามรับฟังรายการบางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว ได้ใหม่ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งนี้ ออกอากาศทางสถานีวิทยุ 4 สถานี โดยมีสถานีตะอาวุนเรดิโอ 100.5 MHz เป็นแม่ข่าย และอีก 3 สถานี คือ สถานีวิทยุ ม.อ. ปัตตานี 107.25mhz สถานีอัตตัรเรดิโอ 104 MHz และสถานีวิทยุมัสยิดกลาง จ.ยะลา 105.75 MHz
    ซูเฮ็ง สำหรับวันนี้ เราทั้ง 4 คน ต้องลาไปก่อน ผม อิบรอเฮ็ง มาเละ ดิฉัน ยะห์ อาลี   ขอความสันติจงมีแด่ทุกท่าน อัสลามูอาลัยกุมฯ สวัสดีค่ะ

จิ้งเกิลปิดรายการ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นำเสนอแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศมีความสำคัญอย่างไร 3. การสื่อสารกับการท่องเที่ยวมีความสำคัญอย่างไร 4.ชุมชนควรมีส่วนร่วมอย่างไรบ้าง

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 6 คน จากที่ตั้งไว้ 6 คน
ประกอบด้วย

อีหม่านอาชิ  ดือราแม ท่านที่สอง คุณมูฮำมัดอายุบ ปาทาน และ คนในพื้นที่และผู้ดำเนินรายการ

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 22 พฤศจิกายน 2560
22
พฤศจิกายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ขั้นตอนการดำเนินงาน 1.ประสานงานคณะทำงานเพื่อประชุมเตรียมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสื่อมวลชน/สื่อชุมชนกับแกนนำชุมชนบางปูที่ทำด้านการท่องเที่ยว และ ออกแบบกิจกรรม
2.ประชุมวางแผนงานการจัดกิจกรรมในการดำเนินโครงการฯ สรุปการประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนกิจกรรม ครั้งที่ 3
โครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

วาระที่ 1 แจ้งเพื่อทราบ

คุณยะห์ อาลี หัวหน้าโครงการฯ ได้เปิดการประชุมและแจ้งให้คณะทำงานได้ทราบเรื่อง การเข้าร่วมเวทีสมัชชาเพื่อนสื่อสาธารณะที่ ไทยพีบีเอส กทม.วันที่ 1-2 ธันวาคม 2560 จัดโดยสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ ไทยพีบีเอส ให้คณะทำงานทุกคนเข้าร่วม
และเล่าถึงการเข้าได้ร่วมงานโครงการนานาชาติที่บางแสนศึกษาดูงานที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติม้าบเอื้อง จังหวัดชลบุรี


วาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2
              ทุกคนมีมติรับรองรับรองรายงานการประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 วันที่ 16 ตุลาคม 2560

วาระที่ 3 พิจารณาเตรียมงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พบปะ ระหว่างสื่อมวลชน/สื่อชุมชนกับแกนนำชุมชนบางปูที่ทำด้านการท่องเที่ยว ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
การดำเนินงานและขั้นตอนที่จะต้องออกแบบกิจกรรมการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสื่อมวลชน/สื่อชุมชนกับแกนนำชุมชนบางปูที่ทำด้านการท่องเที่ยว ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
กำหนดจัดเวทีแลกเปลี่ยนกับสื่อมวลชน ในวันที่ 28-29  พฤศจิกายน  2560 ณ มัสยิดอัตตะอาวุนบางปู โดยคุณฟาเดล หะยีสือแม  จะเป็นผู้ประสานงานในพื้นที่ หมู่ที่ 3 หมู่บ้านบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี  โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย สื่อมวลชน 20 คน แกนนำชุมชนบางปู 10 คน คณะทำงาน 6 คน รวม  36 คน   ได้ติดต่อวิทยากรจากสมาคมสื่อมวลชนเพื่อการท่องเที่ยว ดร.สว่าง ทองไพ มาให้ความรู้บทบาทสื่อมวลชนกับการมีส่วนร่วมด้านการท่องเที่ยว
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 1. ประสานวิทยากร
ดร. สว่าง ทองไพ คุณยะห์  อาลี  เป็นผู้ประสาน
อ.กามาสูดิน หะยียามา นักประวัติศาสตร์ชุมชน    อัสรา รัฐการัณย์ เป็นผู้ประสาน อ.วรวุฒิ พิทักษ์ สันติกุล หัวหน้าสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน อัสรา รัฐการัณย์ประสาน 2. ประสานสถานที่  ณ มัสยิดอัตตะอาวุนบางปู คุณยะห์ อาลี และคุณฟาเดล หะยีสือแม ประสาน
3. ประสานผู้เข้าร่วมในพื้นที่  คุณฟาเดล หะยีสือแม ได้จัดทำกำหนดการดังนี้ วันอังคารที่  28  พฤศจิกายน  2560 ช่วงเช้า กล่าวต้อนรับ โดย อิหม่ามอาซิ  ดาราแม อิหม่ามมัสยิดอัตตะอาวุน บางปู
ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดงาน โดย คุณยะห์  อาลี หัวหน้าโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
กล่าวเปิดงาน และบรรยายพิเศษ “บทบาทสื่อมวลชนและชุมชน กับการนำเสนอและการมีส่วนร่วมด้านการท่องเที่ยว”  โดย ดร.สว่าง ทองไพ  นายกสมาคมสื่อมวลชนเพื่อการท่องเที่ยวร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสื่อมวลชนและแกนนำชุมชน มอบของที่ระลึกแก่สื่อมวลชน รับประทานอาหารเที่ยง/ละหมาด ช่วงบ่าย บรรยาย “ย้อนประวัติศาสตร์ชุมชนบางปู”โดย  อ.กามาสูดิน หะยียามา นักประวัติศาสตร์ชุมชน/ อาจารย์โรงเรียนบำรุงอิสลาม
บรรยายเรื่อง “ป่าชายเลนอ่าวปัตตานี”โดยคุณวรวุฒิ พิทักษ์สันติกุลหัวหน้าสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 39 (ปัตตานี)
ล่องเรือ/เก็บหอย/ดูนก/ลอดอุโมงค์ป่าโกงกางรับประทานอาหาร ณ จุดชมวิวลานไม้ไผ่ ละหมาด/พักผ่อนตามอัธยาศัย


วันพุธที่ 29พฤศจิกายน 2560   รับประทานอาหารเช้า ลงพื้นที่เยี่ยมชุมชนบางปู/ ชมมัสยิดเก่าอายุ 300 ปี อิหม่ามอาซิ ดาราแม แนะนำมัสยิดอัตตะอาวุน บางปู รับประทานอาหารว่างเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
วาระที่ 4  อื่นๆ
ประธานมอบหมายงานจัดซื้ออุปกรณ์เวทีแลกเปลี่ยนสื่อมวลชนให้ คุณหายาตี บูสะมัน, คุณวาซินีย์  แวโต และคุณซัมซัม นาคชูวงค์ รับผิดชอบ ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนกิจกรรมครั้งต่อไป เดือนธันวาคม 2560

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เพื่อวางแผนกิจกรรม  ได้จัดทำกำหนดการ มอบหมายงาน

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 6 คน จากที่ตั้งไว้ 6 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

ประชุมทีม เพื่อจัดทำบทวิทยุ ครั้งที่ 121 พฤศจิกายน 2560
21
พฤศจิกายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

รายละเอียดการดำเนินงาน ดังนี้
1. ชื่อกิจกรรม ประชุมทีมงานเพื่อเตรียมข้อมูลผลิตสื่อการจัดรายการ 2. วัตถุประสงค์ 2.1. เพื่อเตรียมข้อมูลและความพร้อมในการผลิตรายการวิทยุ 2.2. เพื่อร่วมกำหนดเนื้อหารายการวิทยุจำนวน 6 ตอน 2.3. เพื่อเตรียมสคริปรายการบางปูอะเมซิ่งชุมชนท่องเที่ยว 2.4. เพื่อจัดทำจิงเกิ้ลเปิด ปิดรายการ 3. รายละเอียดกิจกรรมตามแผนงานที่วางไว้           -ประชุมทีมงานเตรียมผลิตรายการ 6 ครั้ง

ครั้งที่ 1 ประชุมการเขียนบทวิทยุ บทสัมภาษณ์ ตอนที่ 1 ประเด็นคำถาม เพื่อผลิต รายการบางปูอะเมซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว ในเดือนพฤศจิกายน 2560 ประเด็นบทบาทสื่อมวลชนกับการนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศ ณ สำนักงานเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ความพร้อมในการผลิตรายการวิทยุ
  • ได้บทวิทยุและประเด็นคำถามเนื้อหาของรายการวิทยุแต่ละตอน
  • ได้จิงเกิ้ลเปิดรายการและปิดรายการ
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

กิจกรรมอบรมเยาวชนผลิตคลิปสั้น ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 23 ตุลาคม 2560
23
ตุลาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วิธีการดำเนินงาน ประชุมเตรียมเพื่อวางแผนการจัดเวทีดังนี้ 1. ประสานวิทยากรสอนคลิปสั้นด้วยมือถือกลุ่มเฌอบูโด 2. ประสานสถานที่ บ้านไม้ริมแล บ้านตะโล๊ะสะมีแล อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 3. เชิญกลุ่มเป้าหมาย เยาวชนจากชุมชนบางปูหมู่ที่  3
4. ซื้ออุปกรณ์การฝึกอบรม

สรุปกิจกรรมที่ 3 อบรมเยาวชนผลิตคลิปสั้น ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อบรมวันที่ 1 วันที่ 23 ตุลาคม 2560 เมื่อเวลา 9.00 น. วันที่ 23 ตุลาคม 2560 ณ บ้านไม้ริมเล ชุมชนตะโล๊ะสะมีแล ตำบลแหลมโพธิ์  อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี  เยาวชนจากชุมชนบางปู  23 คน คณะทำงาน 9 คน วิทยากร 2 จำนวนทั้งสิ้น 34  คน คุณยะห์  อาลี หัวหน้าโครงการฯ ”ได้กล่าวเปิดและต้อนรับผู้เข้าร่วมอบม โดยเล่าความเป็นมาขององค์กรเครือข่ายวิทยุชุมชน เช่น การพัฒนาศักยภาพนักจัดรายการวิทยุเยาวชนแกนนำชุมชน, การเชื่อมโยงเครือข่ายวิทยุ, การผลิตรายการวิทยุและสารคดี และการพัฒนาพื้นที่ชุมชนจะรัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี และเล่าความเป็นมาโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานีว่า “ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้” ได้ให้การสนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคม เป็นเงินทั้งสิ้น 50 ล้านบาท ให้ภาคประชาสังคมเสนอโครงการมา ทางเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานีช่วยการระดมความเห็นและเขียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี  ให้กับชุมชนโดยเลือกพื้นที่ ชุมชนบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี นำร่อง วัตถุประสงค์ เพื่อให้ชุมชนบ้านบางปูเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเพื่อให้ชุมชนบ้านบางปูสามารถจัดการตนเองด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้เพิ่มมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนรู้เรียนระหว่างสื่อมวลชนกับชุมชน เพื่อให้สื่อมวลชนได้นำเรื่องราวของชุมชนบ้านบางปูเผยแพร่สู่สาธารณะ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ชุมชนและจังหวัดชายแดนใต้  ตลอดจนสร้างเยาวชนให้เป็นนักสื่อสารชุมชน อบรมผลิตคลิบวีดีโอสั้นด้วยมือถือให้กับเยาวชนในชุมชน และผลิตรายการวิทยุ ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องของวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของชุมชน และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สู่สาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ และทางเครือข่ายวิทยุเล็งเห็นว่า น่าจะเอาเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่ที่ทำแหล่งท่องเที่ยวด้วย มาเข้าอบรมในครั้งนี้ด้วย เพื่อจะได้ขยายพื้นที่ชุมชนเพิ่มอีก 5 ชุมชน
กิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว มีการสำรวจข้อมูลชุมชน การอบรมแกนนำการท่องเที่ยวการเป็น เจ้าบ้านที่ดีและ อบรมเยาวชนคลิปสั้นในครั้งนี้ แล้วยังมีกิจกรรมพบปะกับสื่อมวลชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การจัดรายการวิทยุเรื่องการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศ และสุดท้ายเวทีประเมินและถอดบทเรียน สิ้นสุดโครงการนี้ ในเดือนธันวาคมนี้ หลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมแนะนำตัว และเขียนความรู้สึกความคาดหวังที่ได้เข้าร่วมในครั้งนี้ ความรู้สึกความคาหวังของผู้เข้าร่วม ความคาดหวัง 1. อยากให้ลงพื้นที่หลากหลายในชุมชนหรือต่างชุมชน  อยากให้สอนแบบง่ายๆ ไม่ยากเกินไป ไม่ง่ายเกินไปพอดีๆ หวังว่าโครงการในการอบรมครั้งนี้จะเป็นการพัฒนาสื่อสำหรับเยาวชนเป็นอย่างมาก 2. เยาวชนรุ่นใหม่อยากให้มีการพัฒนาชุมชน สะท้อนภาพลักษณ์ที่สวยงามที่มีอยู่ตามธรรมชาติ โดยการนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ 3. ได้วิธีการตัดต่อวีดีโอและเทคนิคถ่ายภาพที่ออกมาอย่างสวยงาม ต้องการให้สอนการแต่งภาพ การตัดต่อด้วยยกระดับเป็นมืออาชีพ เผยแพร่แล้วมียอดไลค์มาก 4. อยากให้พลังเยาวชนในพื้นที่ในการนำเสนอเรื่องราวดีดีจากพื้นที่ อยากให้สื่อน้อยๆ ที่ได้สร้างในครั้งนี้ไปสู่สายตาของคนที่อยู่นอกพื้นที่จริงๆ 5. อยากให้เพิ่มเติมความรู้เพื่อให้ได้ประสบการณ์ที่ดี 6. มีความรู้มากแนวทางนำมาปฏิบัติ เกี่ยวกับตัดต่อด้วยโทรศัพท์ ด้วยมือถือ พร้อมด้วยพี่ๆ น้องๆ ทำความรู้จักกันอย่างจริงๆ จังๆ 7. อยากถ่ายรูปเป็น ตัดต่อวีดีโอเป็นแบบคนอื่น 8. เนื่องด้วยทางศูนย์พัฒนาของบางปูมีโครงการล่องเรือ ชมป่าโกงกาง แล้วเราจะเป็นส่วนหนึ่งในการโฆษณาแหล่งท่องเที่ยว การถ่ายวีดีโอต่างๆ ลงโซเซียล ทำให้คนดูรู้จักแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนของเรา 9. สิ่งที่คาดหวังกับกิจกรรมนี้ได้การตัดต่อและถ่ายรูปสวยๆ เพื่อลงในเรื่องราวชีวิตของตัวเองและแบ่งปันให้ผู้อื่นได้ 10. อยากเอาเรื่องราวลงยูทูป การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  ประสบการณ์ การถ่ายวีดีโอ การถ่ายภาพนิ่งให้สวยงามมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม 11. จะได้ความรู้ใหม่ๆ ในการใช้สื่อออนไลน์ เพื่อจะได้นำเสนอชุมชนของเราสู่อินเตอร์เน็ต และอยากให้พื้นที่ของเราได้รู้จักกันในมุมกว้างไปอีก 12. อยากให้เป็นที่รู้จัก มีคนอยากมาท่องเที่ยว และหวังให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการสื่อสารให้ผู้อื่นได้    สนใจในสิ่งที่เราต้องการจะสื่อ 13. อยากเห็นสื่อเป็นสื่อสร้างสรรค์มากขึ้นลดความรุนแรงของสามจังหวัดมากขึ้น

ความรู้สึก 1. ดีใจที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เข้าใจในเรื่องการถ่ายรูปมากขึ้น 2. ขอบคุณเครือข่ายวิทยุและกลุ่มเฌอบูโดเป็นอย่างมาก ที่มาให้ความรู้ในด้านการสื่อสาร ตอนแรกไม่ชอบการตัดต่อ พอได้มาอบรม Mojo ก็ทำให้รู้สึกเปลี่ยนจากที่ไม่ชอบกลายเป็นชอบ เพราะการตัดต่อเป็นงานที่เพลิดเพลิน มีความสุข และจะนำความรู้ไปฝึก และนำไปพัฒนาต่อไป 3. ดีใจที่ได้เข้าร่วมเป็นโครงการแรกที่ท้าทายตัวเองด้วยการคิดสารคดีแล้วลงพื้นที่ด้วย เป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม และเราสามารถตัดต่อด้วยตนเอง และมีรูปภาพ ขอบคุณทีมงานที่สอนตัดต่อทำให้ได้เป็นแล้วมีความสุข 4. ดีใจที่มาวันนี้ ได้ความรู้กระบวนการในการทำคลิป ทักษะ ความเป็นเครือข่าย มิตรภาพ และมีผลงานออกมา 5. รู้สึกดี เสมือนตัวเองได้ค้นพบในสิ่งที่ขาดหายไป เหมือนได้มาเติมเต็มให้กับชีวิต ได้เห็นในสิ่งที่แตกต่าง 6. เป็นโครงการที่ดีมากและเกิดประโยนช์แก่น้องๆ ที่มาอบรมในครั้งนี้ สามารถนำไปทำต่อหรือเผยแพร่ต่อลงในโลกออนไลน์ 7. ความรู้สึกความเป็นกันเองที่เปรียบเสมือน พ่อแม่ พี่น้องเดียวกันถึงสีหน้าที่สื่อถึงความจริงใจ สอนรู้จักการอดทน จงมองความสำเร็จ สิ่งที่คิดว่ายากเมื่อเราลองทำเรารู้สึกว่าง่าย 8. ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง และขอบคุณโครงการอบรมครั้งนี้ได้ได้ให้ความรู้ การตัดต่อวีดีโอ ถึงแม้เวลาอันสั้นเพียงน้อยนิดก็สามารถทำให้พวกเราเชื่อมความสัมพันธ์กันได้ ถึงจะมาคนละท้องที่ก็ตาม หวังว่าพวกเราจะได้รับโอกาสในการอบรมครั้งหน้าและครั้งต่อไปอีก 9. ขอบคุณมากๆ ที่มอบความรู้ดีดี บริการเครื่องดื่ม และอาหาร ในการอบรมมีความสุขสนุกสนานมากๆ อาจารย์พี่ๆ ทุกคนใจดีมาก 10. ขอบคุณที่เราเข้าร่วมโครงการสื่อสาร การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งจากสังคมปัจจุบันเป็นเรื่องดีดีที่ เราจะได้นำเสนอเรื่องของเราในโลกออนไลน์ เพื่อให้สังคมโลกภายนอกได้เรียนรู้สิ่งที่เราอยากบอก ถ้าเป็นได้อยากให้เพิ่มวันอีก สัก 2 หรือ3 วัน สำหรับเยาวชนตัดต่อถ่ายภาพเป็นสิ่งที่เยาวชนชอบ 11. เป็นโครงการที่ดีมากและเกิดประโยนช์แก่เด็กๆ ในสังคมยุคใหม่ อยากให้มีโครงการแบบนี้อีกในรุ่นที่ 2 12. ความประทับใจในการอบรมครั้งนี้มีมากมาย สามารถ เปลี่ยนความคิด คนที่ไม่ชอบด้านไอทีกลายเป็นชอบ ชอบทีมงานเครือข่ายวิทยุและวิทยากรทุกคนเลย ทุกคนเป็นกันเองคุยแล้วรู้สึกดี อยากให้มีโครงการแบบนี้อีกต่อไปหลายๆ รุ่น 13. สิ่งที่ได้รับจากโครงการนี้ได้รับประสบการณ์และความรู้ที่ไม่เคยได้รับรู้มาก่อนเป็นความรู้ที่ดีและมีประโยชน์ ได้รู้จักพี่ๆ น้องๆ อยู่ร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นความรู้สึกที่จะอธิบายออกมาเป็นคำพูด มันยากมาก ชอบมากเลยชอบจริงๆ สำหรับโครงการนี้ 14. จากการที่ได้เข้าอบรมในครั้งนี้รู้สึกขอบคุณมากๆ ที่มีโอกาสอยู่ร่วมกัน และผลิตสื่อที่ได้สอนให้มีความรู้แบบใหม่ๆ เกี่ยวกับทำวีดีโอด้วยมือถือ เพื่อกลับมาทำประโยชน์แก่สังคม 15. ได้ความรู้และประสบการณ์แบบหลากหลาย ทั้งจากการตัดต่อ การลงพื้นที่และประสบการณ์ของพี่ที่ผ่านมา จึงทำให้รู้ว่าชีวิตเราไม่จำเป็นต้องอยู่ที่เดิมใช้ชีวิตแบบเดิมหรือตามรสนิยมในการหาความรู้
หลังจากนั้น คุณเพาซี ยะซิง วิทยากรหัวหน้าโครงการค่ายฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพองค์กรภาคประชาสังคมระดับตำบลและการสื่อสารชุมชน ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมและได้แนะนำทีมวิทยากรที่จะมาสอนการผลิตสารคดีคลิปสั้นด้วยมือถือ MOJO mobile journalism
    คุณเพาซี ยะซิง วิทยากรการฝึกอบรมให้ความรู้ เรื่องการเรียนรู้สื่อใหม่และการรู้เท่าทันสื่อ “สถานการณ์ปัจจุบันโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เราสามารถติดตามข่าวย้อนหลังได้ ก้าวสู่การสื่อสารยุค 4.0 ทุกคนสามารถสื่อสารเรื่องราวของตัวเองได้ เพราะการสื่อสารอยู่ในมือเรา และเผยแพร่สู่สาธารณะโลกภายนอกอย่างง่ายดายและรวดเร็ว การสื่อสารมวลชนบนมือถือเป็นรูปแบบใหม่ของการเล่าเรื่องเกี่ยวกับสื่อใหม่ๆ ที่ผู้สื่อข่าวในปัจจุบันใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาที่มีการเชื่อมต่อด้านเทคนิค กระบวนการคิด ติดปีกความคิด เข้าโปรแกรม  เราได้เห็นพลังของสื่อ” วิทยากรได้เปิดคลิปสารคดีวีดีโอที่ไปถ่ายวิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้านที่ไปจับปลา ตัวใหญ่ๆ ทำให้ได้สื่อมาว่าทรัพยากรในทะเลที่ปะนาเระและสายบุรี ยังคงอุดมสมบูรณ์ และความสวยงามของท้องทะเล คุณเพาซี ยะซิง ได้กล่าวอีกว่า “ถ้ามานำเสนอสารคดีในมุมลบ จะไม่มีใครมาท่องเที่ยวในพื้นที่อีก และตัวอย่างที่นำเสนอสารคดีที่ตันหยงเปา  อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี กับการถนอมอาหาร เช่น การทำปลากุเลาแห้ง ปลาชนิดนี้มีราคาแพง จะต้องรักษาไว้โดยมาถนอมเก็บไว้ขาย ตอนมรสุมที่ไม่สามารถออกทะเลได้ เป็นการนำเสนอมุมบวก
หัวใจหลักของสื่อใหม่ ถึงแม้ไม่มีเสียง แต่เข้าใจทุกรายการ รู้เท่าทันสื่อ วิเคราะห์ได้ เข้าใจ เขาสื่ออะไร ต้องมีคอนเทนต์(เนื้อหา)  มีประเด็น มาสื่อสาร เช่น มะแอปอแนทำเรื่องของชุมชน น้องนาเดียที่บูกิตใช้เครื่องมือง่ายๆเช่น ทำกับโทรศัพท์ เยอะมาก มีเรื่องเล่า ที่พื้นที่มากมายให้เราเห็น เช่น ไส้กรอกข้าวที่บางปูมีหลายเจ้า การเผยแพร่ข่าวจากชุมชนของตนเป็นนักสื่อสารเรื่องราวชุมชน เพราะพลังของการสื่อสารอยู่ในมือเรา หากเราใช้เป็นและมีทักษะในการผลิตสื่อ และสามารถเพิ่มศักยภาพพัฒนากลุ่ม องค์กร ชุมชน และสังคมต่อไป สื่อใหม่คือการเข้าถึง ข้อมูล เนื้อหา ความต้องการ ทุกที่ ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์ดิจิทัล ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลป้อนกลับของผู้ใช้ที่โต้ตอบระหว่างกัน การมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ และการรวมตัวเป็นชุมชนที่แวดล้อมเนื้อหาสื่อนั้น คำมั่นของสื่อใหม่อย่างหนึ่งที่สำคัญ คือทำให้เกิดการสร้างสรรค์ การเผยแพร่ การกระจาย และการบริโภคเนื้อหาสื่อ เป็นประชาธิปไตย ความคาดหวังของสื่อใหม่อีกอย่างหนึ่ง คือการสร้างเนื้อหาที่สดใหม่ และไร้ข้อจำกัดในเวลาจริง  ในภาวะเทคโนโลยีสารสนเทศ ก้าวกระโดดเช่นนี้ไม่มีใครเรียกตนเองเป็น มืออาชีพ ได้อย่างแท้จริง หากไม่ฝึกฝนตนเองเป็น Mobile journalism หรือที่เราเรียกว่า MOJO “ พลังการสื่อสารอยู่ในมือคุณ”   การผลิตสื่อ MOJO คือการลองประกอบสื่อเอง มีผลสูงสุดต่อความรู้สึกเท่าทันสื่อ ในอดีตการจะสอนการทำสื่อต้องใช้อุปกรณ์มากมาย ใช้ลักษณะการบรรยายว่าสื่อเขาทำกันอย่างไร มากกว่าการเปิดโอกาสให้ลงมือทำสื่อเอง ในรูปแบบประสบการณ์ตรง Mobile journalism  คือ การสื่อสารมวลชนบนมือถือ การสื่อสารยุค 4.0 ยุคที่ใครๆ ก็ผลิตสื่อได้ ทุกอย่างวัดที่ Content หรือประเด็นนั่นเอง ประเด็นก็คือ 1. สาระสำคัญ 2. ใจความสำคัญ
3. แก่นของเรื่อง หลังจากนั้นวิทยากรได้แนะนำอุปกรณ์ MOJO คือมี 1. โทรศัพท์มือถือ 2. ขาตั้งกล้อง 3. ไมค์ 4. ไฟ

วิทยากรได้แนะนำมาว่าการสื่อสารด้วยภาพวีดีโอๆ ต้องถ่ายแนวนอน ต้องถ่ายเป็นช้อตๆ การบันทึกเป็นช้อต ช้อตหมายถึงการเริ่มบันทึก เพื่อเริ่มเทปเดิน และเริ่มบันทึกจนกระทั่งกดปุ่ม Rec อีกครั้ง เพื่อเลิกการบันทึกแบบนี้เขาเรียกว่า 1 ช้อต ไม่ควรเกิน 10 วินาที ต่อ 1 ช้อต ส่วนใหญ่ใช้กับภาพ Insert รูปแบบการบันทึกเป็นช้อต
Long Shot มุมกล้อง เป็นการถ่ายภาพในระยะไกล เพื่อให้เห็นบรรยากาศ และส่วนประกอบในฉากแต่จะเน้นตัวแบบมากยิ่งขึ้นโดยลักษณะจะเป็นภาพขนาดเต็มตัว ตั้งแต่ศีรษะจนถึงส่วนเท้าเพื่อแสดงให้เห็นกิริยาท่าทางของตัวแบบในสภาพแวดล้อมนั้นๆ ภาพระยะปานกลาง Medium Shot หรือ MS ภาพระยะปานกลางเป็นขนาดภาพที่ให้รายละเอียดของตัวแบบมากขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นภาพครึ่งตัวประมาณตั้งแต่หัวถึงเอว และจะเน้นที่ตัวแบบ ไม่เน้นฉากหลัง และรายละเอียดอื่นๆ ที่ไม่จำเป็น  ภาพขนาดนี้นิยมใช้กัน เราสามารถให้รายละเอียดได้มากไม่น้อยเกินไป จะได้เห็นท่าทาง และอารมณ์ สีหน้าของตัวแบบไปพร้อมๆกัน ภาพระยะใกล้ Close- Up หรือCU ภาพถ่ายระยะใกล้เพื่อเน้นวัตถุหรือบางส่วนของวัตถุขยายให้เห็นรายละเอียดเฉพาะของวัตถุให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ขจัดสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ต้องการออกไปในการถ่ายภาพบุคคล จะเป็นภาพที่เห็นบริเวณศีรษะและใบหน้าของแบบ มีรายละเอียดชัดเจนมากขึ้น เช่น ริ้วรอยบนใบหน้า แววตา ส่วนใหญ่เน้นอารมณ์ ความรู้สึกของผู้เป็นแบบ ที่สายตาและแววตา เทคนิคการถ่ายภาพวีดีโอ มุมกล้องบอกถึงความรู้สึก  มุมกล้อง การถ่ายภาพในมุมที่ต่างกัน มีผลต่อความคิดความรู้สึก สื่อความหมายไปยังผู้ดูได้ มุมกล้องแบ่งได้สามระดับ 1. ภาพระดับสายตา เป็นมุมที่มีความหมายตรงตามชื่อที่เรียก คือคนดู ถูกวางไว้ ในระดับเดียวกันกับสายตาของตัวละครหรือระดับเดียวกับกล้องที่วางไว้บนไหล่ของตากล้อง โดยผู้แสดงไม่เหลือบสายตาเข้าไปในกล้องในระหว่างการถ่ายทำ  มุมระดับสายตานี้ถึงแม้จะเป็นมุมที่เราใช้มองในชีวิตประจำวัน แต่ก็ถือว่าเป็นมุมที่สูงเล็กน้อย เพราะโดยปกติมักใช้กล้องสูงระดับหน้าอกที่เรียกว่า A chest high camera angle ไม่ใช่มุมระดับสายตา ซึ่งเป็นมุมที่คนคุ้นเคยกับการดูหนังบนจอใหญ่ที่ถ่ายดาราภาพยนตร์ให้ดูใหญ่เกินกว่าชีวิตจริง 2. ภาพมุมต่ำ LOW angle shot คือมุมที่ต่ำกว่าระดับสายตาของตัวละคร แล้วเงยกล้องขึ้นประมาณ 70 องศา ทำให้เกิดผลทางด้านความลึกของซับเจตหรือตัวละคร มีลักษณะสามเหลี่ยมรูปทรงเลขาคณิตให้ความมั่นคง น่าเกรงขาม ทรงพลังอำนาจ ความเป็นวีรบุรษ เช่น ช้อตของคิงคองยักษ์ ตึกอาคารสิ่งก่อสร้าง สัตว์ประหลาด พระเอก เป็นต้น 3. การถ่ายภาพมุมสูง High angle shot คือมุมสูงกล้องอยู่ด้านบนหรือวางไว้บนเครน ถ่ายกดมาที่ผู้แสดงแต่ไม่ตั้งฉากเท่า Bird eye view ประมาณ 45 องศาเป็นมุมมองที่เห็นผู้แสดงหรือวัตถุอยู่ต่ำกว่า ใช้แสดงแทนสายตามองไปเบื้องล่างที่พื้น ถ้าใช้กับตัวละครจะให้ความรู้สึกต่ำต้อย ไร้ศักดิ์ศรี ไม่มีความสำคัญ หรือเผยให้เห็นลักษณะภูมิประเทศหรือความกว้างใหญ่ไพศาลของภูมิทัศน์เมื่อใช้กับภาพระยะไกล LS

หลังจากนั้น วิทยากร ได้สาธิต เทคนิคการถ่ายภาพอย่างง่ายๆ แต่สวย ใช้กฎสามส่วนให้เกิดประโยชน์ คือเส้น 4 เส้นที่วางตัดกันเป็น 9 ช่อง มีหลักง่ายๆ คือ วางตำแหน่งของวัตถุหลักที่จะถ่ายไม่ว่าจะเป็นคนหรือสิ่งของโดยไม่ให้สิ่งนั้นอยู่ตรงกลางภาพ เพราะจะทําให้ได้ภาพที่เห็นดูน่าเบื่อ
ขั้นตอนการผลิตสื่อ 1. การเตรียมข้อมูลและวางแผน แหล่งข้อมูลอาจได้จากข้อมูลที่เป็นเอกสาร รูปภาพ หรือวัสดุ หรือข้อมูลจากบุคคลไม่ว่าจะเป็นแหล่งข้อมูลประเภทใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือหาแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องกับเรื่องให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะหาได้ อย่าพอใจแค่หนังสือ 1 เล่ม หรือคนเพียง 1 คน และตั้งคำถามหรือสงสัยในข้อมูลนั้นซักถามให้มากที่สุดจนแน่ใจว่าไม่มีข้อสงสัยใดๆ เพื่อให้มั่นใจว่าได้ข้อมูลที่กว้าง ลึก และถูกต้องที่สุด 2. การคิดประเด็นการสื่อสาร • การจับประเด็น การพิจารณาว่าจะจับประเด็นใดมาใช้ในงานเขียนแต่ละชิ้นควรคำนึงถึง • แนวคิดของรายการหรือของงาน ( concept) ข้อมูลชิ้นเดียวกันอาจทำได้หลายรายการหรือแตกเป็นงานต่างๆ กันได้ ขึ้นอยู่กับแนวคิดของรายการว่ากำหนดว่าอย่างไร • ความสำคัญของประเด็นอะไรเป็นประเด็นหลัก อะไรเป็นประเด็นรอง ข้อมูลที่หามาได้ทั้งหมดสามารถแยกแยะออกมาเป็นประเด็นต่างๆ กัน เมื่อเลือกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับรายการได้แล้วต้องคิดด้วยว่าประเด็นสำคัญใดบ้างที่ต้องใช้ประเด็นรองลงไปข้อใดที่ควรใช้ร่วมด้วยและประเด็นปลีกย่อยใดที่ตัดทิ้งได้ 3. การเขียนโครงเรื่อง การวางโครงเรื่องมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบความคิดในการนำเสนอเพื่อในการวางแผนการผลิตเป็นไปได้อย่างถูกต้องและรอบคอบ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันของทีมงานและเพื่อความสะดวกในการพัฒนาบทสารคดี และการวางโครงเรื่องต้องมีแก่นเรื่อง(Theme)ที่ชัดเจน และเดินเรื่องทั้งหมดไปตามแก่นเรื่องนั้น และเป็นการร้อยเรียงประเด็นหลักกับประเด็นรองเข้าด้วยกันโดยไม่จำเป็นต้องไล่เรียงไปหาหลักหรือรองเสมอ แต่ให้คำนึงความเชื่อมโยง (Link)ของแต่ละประเด็นที่ร้อยเรียงกันให้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ และไม่จำเป็นต้องนำเสนอด้วยการบรรยายเสมอไป ควรนำเสนอด้วยรูปแบบอื่นๆ มาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เรื่องมีมิติน่าติดตาม 4. การเขียนบท การทำสารคดีไม่ว่าจะเป็นรายการหรืองานผลิตทางด้านนี้ต้องเข้าใจว่า การเขียนบทเป็นงานเขียนเพื่อเล่าเรื่องควบคู่ไปกับภาพ เมื่อเขียนบทต้องคิดถึงด้านภาพ (ช้อต) เสมอว่า ภาพสามารถเล่าเรื่องอะไรได้บ้าง ภาพเล่าเรื่องได้ชัดเจนหรือไม่ เมื่อเขียนบทต้องย้อนกลับไปอ่านทวนเป็นระยะเพื่อให้การเล่าเรื่องมีความต่อเนื่องและสละสลวย และการใช้ภาษาและถ้อยคำควรใช้ภาษาที่สื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมาไม่ซับซ้อนสื่ออารมณ์ความรู้สึกและกระตุ้นความสนใจของผู้ชมได้

ช่วงบ่าย
วิทยากรได้แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อให้ไปถ่ายภาพนิ่งโดยแบ่งกลุ่มเป็น 6 กลุ่ม 6 หมู่บ้าน เพื่อนำภาพนิ่งมาเล่าเรื่องก่อนที่จะมาผลิตเป็นสารคดีด้วยมือถือ จนถึง 5 โมงเย็น         หลังจากนั้น เวลา 20.00 น. วิทยากรกระบวนการได้นำผู้เข้าร่วมสันทนาการ เล่นกันสนุกสนาน ใช้ไหวพริบ ให้ความรู้ Production  ของสมอง หลังจากนั้น ทุกกลุ่มก็มาตัดต่อภาพและมานำเสนอ เล่าเรื่องของภาพ ให้ทุกคนดูและวิจารณ์กัน และให้แต่ละกลุ่ม คิดประเด็นเรื่องเพื่อเตรียมข้อมูลและวางแผนที่จะทำสารคดีให้ทุกกลุ่ม วางแผนคร่าวๆ มาว่ากลุ่มตัวเองต้องการทำประเด็นอะไร ทั้ง 6 กลุ่ม มีชุมชนบางปู ชุมชนบ้านบาลาดูวอ  ชุมชนบ้านตะโล๊ะกาโปร์ ชุมชนบ้านบูดี  ชุมชนบ้านดาโต๊ะ  ชุมชนบ้านตะโล๊ะสะมีแล  แล้วมานำเสนอตอนกลางคืน         ทั้ง 6 กลุ่ม ได้ประเด็นดังนี้ 1.เรื่องส่าหร่ายที่บ้านบูดี 2.เรื่องการเดินทางเล่าเรื่องที่ยะหริ่ง 3.ติดตามเบื้องหลังการผลิตคลิปสั้น 4.ล่องป่าชายเลน อเมซิ่งบางปู 5.เรื่องขนมครกที่บางปู 6.เรื่องปลาแห้งที่บางปู


อบรมวันที่ 2 วันที่ 24 ตุลาคม 2560

เวลา 8.30 น.
คุณเฟาซี ยะซิง วิทยากรได้ทบทวนที่ได้ให้ความรู้เมื่อวาน หลังจากนั้นได้ให้ 6 กลุ่ม 6 เรื่อง ลงพื้นที่ถ่ายทำสารคดีคลิปสั้น  ให้ไปเก็บบรรยากาศและถ่ายภาพวีดีโอ สัมภาษณ์ ทุกกลุ่มก็ได้ไปเก็บข้อมูลจนถึง 14.00 น.

14.00 น. ทุกกลุ่มมาดูภาพและเลือกภาพที่ทำ check footage เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนเรียบเรียงและตัดต่อ Post-Production
  หลังจากนั้นวิทยากรให้ทุกกลุ่ม ลองเขียนบทเบื้องต้น การเซพข้อมูล และการลงเสียง เมื่อทุกกลุ่มผลิตเสร็จแล้วให้ลงในไลน์กลุ่มก่อนเพื่อให้ทุกคนได้ดู และมาวิพากย์วิจารณ์กันจนถึงห้าโมงเย็น

18.30 น. ทุกคนละหมาดมัฆริบร่วมกัน หลังจากนั้นเป็นการบรรยาย หรือนาซีฮัตของ คุณมูฮํามัดอายุบ ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้,  บรรณาธิการอาวุโสศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้  ได้นาซีฮัตให้แก่เยาวชนว่า “รู้สึกดีใจมากที่ได้มางานนี้ เป็นโครงการที่ดีมาก และมันสะท้อนให้เห็นว่า เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน เยาวชนอยู่แบบเดิมๆ ไม่ได้แล้ว เอาแต่นอนทำอะไรไม่ได้ไม่เป็นเวลา เราทำงานด้านการสื่อสาร อิสลามสอนให้เราอดทน กว่าจะเป็นนักสื่อสารได้ต้องผ่านปัญหาอุปสรรคอะไรบ้างนั้น เช่น บังเฟาซี กะอัสรา และกะยะห์ ต้องผ่านการอดทน การเรียนรู้  คนเราเกิดมาเป็นมนุษย์ มี 3 อย่าง 1. ต้องมีความอดทน
2. ต้องมีพยายาม 3. ต้องเป็นนักสื่อสาร ที่รู้ทักษะเทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้วยมือถือ และการสื่อสารต้องขยายพื้นที่การสื่อสาร ยิ่งในโลกสมัยใหม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่น่าเชื่อว่าคนในพื้นที่บ้านเราเติบโต ด้านการถ่ายภาพเยอะมาก แสดงว่ามันเติบโต ถ้าเราไม่สนใจ  อัลลอฮได้ตรัสในกุรอ่าน ว่า “อัลลอฮจะไม่เปลี่ยนแปลงประชาชาติใด นอกจากเขาจะเปลี่ยนแปลงตนเอง”  ดังนั้นถ้าเราไม่ปรับเปลี่ยนตนเอง อัลลอฮจะปรับให้คนอื่นมาแทน คนในสามจังหวัดชายแดนใต้ลุกขึ้นมาสื่อสาร วิทยุ โทรทัศน์ มียาตีมทีวี  การสื่อสารมีอิทธิพลมาก การสื่อสารเปลี่ยนวิธีคิด ที่ชุมชนบางปู เยาวชนเติบโตเยอะ ถึงแม้จะมีเยาวชนติดกระท่อมบ้าง แต่จะไม่แยกจากกระบวนการสันติภาพ เช่น เมื่อก่อนโต๊ะครูสอนศาสนาด้วยการบันทึกเทป แต่เดี๋ยวนี้ลงยูทูป ในโซเซียลมีเดีย ไลฟ์สด”     คุณมูฮํามัดอายุบ ได้กล่าวอีกว่า “ การสื่อสารต้องขยายพื้นที่ ไปดูที่อื่นด้วย  ต้องพยายามและอดทน ทุกอย่างไม่ได้มาง่ายๆ  พ่อซื้อโทรศัพท์ให้ กับเราทำงาน แล้วซื้อโทรศัพท์เองมันต่างกัน  รอแต่งงานกับผู้หญิงรวย หรือผู้ชายรวย จะไม่มีการเผชิญหน้าใหม่ๆ การสื่อสารไม่เอาแบบนี้ จะถามก็กลัวเสียฟอร์ม กลัวเสียหน้า
การสื่อสารเป็นเครื่องมือและเป็นประโยชน์ เราต้องเป็นคนกลางๆ อย่าเกินไป มีแต่พวกเราไม่มีคนอื่น การเป็นกลางคุยได้หลากหลาย พูดได้หมดเป็นหลักทั่วไปและจะอยู่ได้นานและที่สำคัญเชื่อมกับคนอื่นได้ คุยได้ มีการบอกต่อได้ เครือข่ายเพิ่มมากขึ้น ได้มีการแลกเปลี่ยน และเชื่อว่าข่าวสารเปลี่ยนคนได้ ไม่น่าเชื่อไปถ่ายทอดสดได้ทุกเรื่องทุกคนมีพื้นที่ เช่น ในโรงเรียน มีมัสยิด บ้าน เวลามีพื้นที่  การสื่อสารต้องไปเชื่อมกับคน  อะไรสำคัญ บอกต่อว่ามีปัญหาอะไรบ้าง และขยายพื้นที่การสื่อสารให้มากขึ้น หลังจากนั้นให้เยาวชนได้ผ่อนคลาย กับการปิ้งย่าง และ นำเสนอชิ้นงานของแต่ละกลุ่ม เพื่อนำปรับปรุงแก้ไข ต่อไปจนถึง 5 ทุ่มจึงได้พักผ่อน


อบรมวันที่ 3 วันที่ 25 ตุลาคม 2560

เวลา 8.30 น.
คุณเฟาซี ยะซิง วิทยากรได้ทบทวนสิ่งที่แต่ละกลุ่มผลิตสารคดี คลิปสั้น เมื่อวาน หลังจากที่แต่ละกลุ่มตัดต่อชิ้นงานและลงเสียง และให้แต่ละกลุ่มมานำเสนอ ชมสารคดีคลิปสั้นผลงานของเยาวชนเพื่อให้วิทยากรเสนอแนะ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอีกครั้ง เพื่อให้สารคดีคลิปสั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เวลา 13.00 น. วิทยากรกระบวนการ นายอัสสาลาม มะแซ คณะผู้จัดจากเครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี ได้เชิญท่านอารี ดิเรกกิจ ผู้อำนวยการประสานนโยบายการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, ท่านขอหลิด แซะอาหลี ผู้อำนวยการส่วนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สวศ.ศอบต. และคุณมูฮำมัดอายุบ ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ บรรณาธิการอาวุโสศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มอบเกียรติบัตรให้แก่เยาวชนที่ได้ร่วมฝึกอบรมเยาวชนผลิตคลิปสั้น โดยมีคุณยะห์  อาลี กล่าวรายงาน       หลังจากนั้นท่านอารี ดิเรกกิจ ผู้อำนวยการประสานนโยบายการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ได้ให้โอวาทแก่เยาวชน ท่านได้กล่าวว่า “รู้สึกดีใจที่เห็นความสำเร็จของเยาวชนในวันนี้ เพราะเด็กและเยาวชนยังขาดโอกาส ในการศึกษาอีกมากในสามจังหวัดชายแดนใต้  เด็กในพื้นที่ 80% จะนิสัยเหมือนผม คือขาดโอกาสการศึกษาและฐานะยากจน และเติบโตมาสังคมไม่ค่อยยอมรับ โดยเฉพาะถ้าเรายากจน ทำให้ผมเกิดแรงบันดาลใจที่จะร่ำเรียนขึ้นมาจนกระทั่งได้สำเร็จการศึกษาจนได้มาสมัครทำงานกับ ศอบต. ทำให้คนและสังคมยอมรับจนทุกวันนี้ และขอขอบคุณท่านบังยุบและกอ.รมน.ที่มุ่งมั่น ตั้งใจ เป็นผู้ให้ในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อัลลอฮ์ให้ผมได้รับใช้สังคม ผลักดันเยาวชนให้ได้รับพัฒนา ได้เป็นผู้นำ
ที่ผ่านมา ผมได้ดูแล โครงการสานใจไทย สู่ใจใต้ ของท่านพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งเป็นโครงการที่ดีมาก เห็นประโยชน์ที่คุ้มค่ามาก เพาะเมล็ดพันธ์ทุกเม็ดให้เจริญงอกงาม และเติมเต็มสิ่งที่ขาด ฝากให้เยาวชนตั้งใจเรียน เพื่ออนาคตวันข้างหน้า”           หลังนั้นคุณยะห์  อาลี หัวหน้าโครงการฯ ได้มอบของที่ระลึกให้กับท่านอารี ดิเรกกิจ ผู้อำนวยการประสานนโยบายการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ปิดการฝึกอบรมเยาวชนผลิตคลิปสั้นด้วยมือถือ  และเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
ข้อดี
1. ได้ร่วมกันทำงานระหว่าง สององค์กร เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี  ร่วมกับ กลุ่มเฌอบูโด ทำให้ได้เพื่อนมากขึ้น มีคณะทำงานที่มากขึ้น ทำให้การอบรมราบรื่นไปได้ด้วยดี
2. เด็กและเยาวชนให้ความร่วมมือดี 3. สถานที่เหมาะสมเอื้อต่อการจัดเวทีอบรม 4. ระยะเวลาเหมาะสม 3 วัน 5. อบรมเด็กเยาวชนในพื้นที่ มีที่พักควบคุมง่าย 6. รูปแบบการจัดอบรมไม่ฟิตหรือเนื้อหาแน่นมากเกินไป สามารถเข้าถึงเด็กเยาวชนได้ดี

ปัญหาที่พบ 1.สันทนาการคนจัดกังวลเพราะมีเยาวชนหญิงมุสลิมที่เคร่งครัด 2 เยาวชนบางคนไม่มีมือถือ ทำให้ไม่ได้เรียนถ่ายภาพ และตัดต่อ บางคนยังเข้าใจเนื้อหาบทสารคดี หรือเข้าใจไม่มากนัก 3.เยาวชนบางกลุ่มข้อมูลในพื้นที่ล้น มีเนื้อหาเยอะ ทำให้จับประเด็นไม่ได้ ข้อมูลกว้าง 4.เยาวชนบางคนไม่กล้าพูดว่าไม่เข้าใจ ต่อไปเราจึงต้องสอนเริ่มจากขั้นพื้นฐานจริงๆ 5.วิทยากรบางครั้งสอนทฤษฏีเร็วเกินไป ทำให้ผู้เรียนฟังไม่ทัน ข้อเสนอแนะ 1.ไม่มีเยาวชนที่เป็นคนพุทธเข้าร่วมฝึกอบรม อยากให้มีคนพุทธมาฝึกอบรมด้วย 2.ต้องการให้มีการสัญจรพบกันอีกครั้ง และควรมีการอบรมหลายๆ รุ่น และพัฒนาต่อยอดงานด้วย
3.ต้องการให้แจกอุปกรณ์ถ่ายภาพ หรือขากล้องเพื่อช่วยเติมเต็มให้กับผู้เข้าอบรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลคาดว่าจะได้รับและตัวชี้วัด ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. เยาวชนตำบลบ้านบางปูสามารถผลิตคลิปสั้นด้วยมือถือได้และ 2. เป็นนักสื่อสารชุมชนได้นำเรื่องราวของชุมชน ด้านการท่องเที่ยว  จำนวน 23 คน เผยแพร่สู่สาธารณะ 3. เกิดชิ้นงานคลิปวีดีโอสั้น 10 ตอน เพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศ

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. เยาวชนเกิดความตระหนักหวงแหนและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2. เกิดกระแสในโซเซียลมีเดียด้านการท่องเที่ยวทำให้คนมาท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น 3. เกิดการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4. เกิดการมีส่วนร่วมของเยาวชนในตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี มีความร่วมมือกัน เกิดความสามัคคี ทำงานร่วมกันอย่างแข็งขันและเป็นหนึ่งเดียว

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 34 คน จากที่ตั้งไว้ 34 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย
เยาวชนจากชุมชนบางปู 23  คน  คณะทำงาน 9 คน และวิทยากร 2 คน รวมทั้งสิ้น 34  คน

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 216 ตุลาคม 2560
16
ตุลาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ขั้นตอนการดำเนินงาน 1.ประสานงานคณะทำงานเพื่อประชุมเตรียมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชนและอบรมเยาวชนผลิตคลิปสั้นส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  ออกแบบกิจกรรม
2.ประชุมวางแผนงานการจัดกิจกรรมในการดำเนินโครงการ

วาระที่ 1 แจ้งเพื่อทราบ

    คุณยะห์ อาลี หัวหน้าโครงการฯ
เปิดการประชุมและชี้แจงให้คณะทำงานได้ทราบถึงการดำเนินงาน และขั้นตอนที่จะต้องออกแบบกิจกรรมการจัดเวทีอบรมให้ความรู้แก่แกนนำชุมชนบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี โดยได้ให้คุณหายาตี บูสะมัน และคุณอัสรา รัฐการัณย์ ประสานวิทยากรคุณรดา จิรานนท์ รักษาการแทนประธานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดปัตตานี และเป็นผู้ช่วยประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่จะให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเป็นเจ้าบ้านที่ดี และได้นัดเจอทีมงานเครือข่ายวิทยุเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันและกำหนดวัน จัดเวทีอบรมในวันที่ 21 ตุลาคม 2560
และได้เชิญกลุ่มเฌอบูโดเพื่อวางแผนการสอนและจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมผลิตคลิปสั้นให้กับเยาวชน ในวันที่ 23-25 ตุลาคม 2560

วาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 1

              ทุกคนมีมติรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 1 วันที่ 30 กันยายน 2560

วาระที่ 3  ประชุมกำหนดวางแผนการจัดอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มศักยภาพชุมชน
ที่ประชุมได้กำหนดจัดอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มศักยภาพชุมชน “การเป็นเจ้าบ้านที่ดี”  ในวันเสาร์ที่  21  ตุลาคม 2560 ณ  มัสยิดอัตตะอาวุน บางปู  โดยมี คุณฟาเดล หะยีสือแม  เป็นผู้ประสานงานในพื้นที่  หมู่ที่ 3  บ้านบางปู  อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เจ้าของเรือนำเที่ยวจากบางปูจำนวน 16 คน จากชุมชนบาลาดูวอ 2 คน จากกลุ่มบูนาดารา 2 คน คณะทำงาน 6 คน คนสรุปรายงาน 1 คน ช่างถ่ายภาพ 1 คน วิทยากร 1 คน รวมทั้งสิ้น 29 ตน ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ช่วงเช้า
เชิญอิหม่ามอาซิ  ดาราแม อิหม่ามมัสยิดอัตตะอาวุน บางปู กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วม คุณยะห์  อาลี หัวหน้าโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี มาชี้แจงความเป็นมาและวัตถุประสงค์โครงการฯ
คุณรดา  จิรานนท์ รักษาการประธานอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ.ปัตตานี วิทยากร “การเป็นเจ้าบ้านที่ดี” เข้าสู่เนื้อหา การให้ความรู้เกี่ยวกับป่าต่างๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้  และประโยชน์ของป่าชายเลน ป่าโกงกางหลังจากนั้นให้ความรู้ ย้อนประวัติศาสตร์ปัตตานี 1,800 ปี จนถึงเที่ยง ในส่วนภาคบ่ายให้ความรู้อบรม“เทคนิคการเป็นเจ้าบ้านที่ดี
ช่วงบ่าย
แบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม  ให้แสดงความคิดเห็น ในหัวข้อประเด็น                     กลุ่มที่ 1 บ้านเกิดฉันมีอะไรบ้าง
          กลุ่มที่ 2 ถ้านักท่องเที่ยวมาจะดูแลอย่างไร           กลุ่มที่ 3 บ้านเรามีกิจกรรมอะไรบ้าง
หลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วม นำเสนอและ แลกเปลี่ยนกัน เพิ่มเติม วิทยากรสรุป พิธีกรกล่าวขอบคุณ  และปิดพิธีโดย ท่านอิหม่ามอาซิ  ดาราแม อิหม่ามมัสยิดอัตตะอาวุน วาระที่ 4 ประชุมกำหนดวางแผนอบรมเยาวชนผลิตคลิปสั้นส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวันเสาร์ที่  23-25  ตุลาคม 2560 ได้ข้อสรุป เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี จะจัดอบรมร่วมกับกลุ่มเฌอบูโด โดยได้ประชุมวางแผนร่วมกันและร่วมจัดทำกำหนดเนื้อหาและประเด็นต่างๆ เพื่อจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมดังนี้ อบรมเยาวชนการผลิตสื่อสารคดีคลิปสั้นด้วยโทรศัพท์มือถือ MOJO mobile journalism คุณเฟาซี  ยะซิง ได้กล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงเร็วมากก้าวสู่การสื่อสารยุค 4.0 ทุกคนสามารถสื่อสารเรื่องราวของตัวเองได้ และเผยแพร่สู่สาธารณะโลกภายนอกอย่างง่ายดายและรวดเร็ว  การสื่อสารมวลชนบนมือถือเป็นรูปแบบใหม่ของการเล่าเรื่องเกี่ยวกับสื่อใหม่ๆที่ผู้สื่อข่าวในปัจจุบันใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาที่มีการเชื่อมต่อเครือข่ายเพื่อเผยแพร่ข่าวจากชุมชนของตนเป็นนักสื่อสารเรื่องราวชุมชนเพราะพลังของการสื่อสารอยู่ในมือเรา หากเราใช้เป็นและมีทักษะในการผลิตสื่อ และสามารถเพิ่มศักยภาพพัฒนากลุ่ม องค์กร ชุมชน และสังคมต่อไป MOJO mobile journalism คือ การผลิตสื่อด้วยโทรศัพท์มือถือ ทั้งสื่อเสียง ภาพนิ่ง ภาพวีดีโอ การตัดต่อ ตลอดจนการส่งสารเผยแพร่ต่อสาธารณะบนโลกออนไลน์ เป็นการสื่อสารแนวในยุค 4.0 การสื่อสารที่ไร้พรมแดน หลักสูตรการผลิตสื่อด้วยโทรศัพท์มือถือ MOJO mobile journalism คุณอัสรา รัฐการัณย์ ได้กล่าวว่า การอบรมใช้เวลา 3 วันเริ่มวันที่ 23-25 ตุลาคม 2560 พื้นที่เป้าหมาย เริ่มแรก ชุมชนบางปู จำนวน 23 คน คณะทำงาน 9 คน วิทยากร 2 คน รวมเป็น 34 คน คุณยะห์ อาลี ได้กล่าวว่า” ในส่วนการจัดเวทีร่วมกัน ของเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานีกับกลุ่มเฌอบูโด ต่างใช้งบในส่วนที่โครงการทั้งสองโครงการได้วางไว้  และเพิ่มในหลักสูตรก็คือเชิญคุณมูฮำมัดอายุบ ปาทาน มาเป็นวิทยากรมาให้ความรู้ในด้านการสร้างจิตสำนึกของเยาวชนในพื้นที่  ให้รักบ้านเกิดตนเอง ให้เยาวชนรู้ตระหนักและเห็นคุณค่าของหวงแหนทรัพยากรที่มีในพื้นที่ และกระตุ้นพลังการสื่อสารในตัวเยาวชน
คุณรอฮานะ ได้กล่าวว่า หลักสูตรที่เราจะเรียนคือ การเรียนรู้การใช้สื่อใหม่ การรู้เท่าทันสื่อ การรู้จักอุปกรณ์ เครื่องมือการใช้งาน การถ่ายภาพนิ่ง ภาพวีดีโอ และเทคนิคต่างๆ การอัดเสียง การตัดต่อ ตลอดจนการคิดประเด็น การเล่าเรื่อง การเขียนบทเบื้องต้นและการบันทึกไฟล์เพื่อเผยแพร่ชิ้นงานต่อไป
ในระยะเวลา 3 วัน ผู้เข้าอบรมสามารถใช้เครื่องมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ่ายภาพอย่างถูกต้องตามหลักการ สามารถคิดประเด็นในการนำเสนอ วางแผนลงพื้นที่เพื่อถ่ายทำ เขียนบทลงเสียง ตัดต่อเบื้องต้น และเผยแพร่สู่โลกออนไลน์ พัฒนาตนเองเพื่อเป็นนักสื่อสารชุมชนต่อไปได้ โดยได้ร่วมกำหนดหลักสูตร ดังนี้ วัน เนื้อหา หมายเหตุ วันที่ 23 ตุลาคม 2560 Pre- Production  ขั้นตอนการเตรียมงาน - การเรียนรู้สื่อใหม่ - รู้เท่าทันสื่อ - การรู้จักเครื่องมือและอุปกรณ์ - การถ่ายภาพเบื้องต้น และเทคนิคต่างๆ - การใช้โปรแกรมเพื่อการสื่อสาร - ทดลอง ลงมือปฏิบัติเบื้องต้น วันที่ 24 ตุลาคม 2560 Production    ขั้นตอนการผลิตสื่อ - การเตรียมข้อมูล และการวางแผน - การคิดประเด็นการสื่อสาร - การเขียนโครงเรื่อง - ลงพื้นที่ถ่ายทำ วันที่ 25 ตุลาคม 2560 Post-Production  ขั้นตอนเรียบเรียงและการตัดต่อ - การเขียนบทเบื้องต้น - การลงเสียง - การตัดต่อ - การเซฟข้อมูล - การเผยแพร่

ปิดประชุม นัดประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนกิจกรรมครั้งต่อไป เดือนพฤศจิการยน 2560

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้บทสรุปในการออกแบบกิจกรรม
ได้แผนงานการจัดกิจกรรมในการดำเนินโครงการ

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 8 คน จากที่ตั้งไว้ 8 คน
ประกอบด้วย

ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนกิจกรรม ครั้งที่ 2 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนกิจกรรมครั้งที่ 2  คณะทำงานโครงการฯ จำนวน 6 คน  และคณะทำงานกลุ่มเฌอบูโด 2 คน รวมเป็น 8 คน  1. นางสาวยะห์ อาลี          หัวหน้าโครงการ 2. นางสาวอัสรา  รัฐการัณย์  เลขานุการโครงการ 3. นางสาวหายาตี  บูสะมัน    เจ้าหน้าที่ การเงิน 4. นางสาวซัมซัม  นาคชูวงค์ คณะทำงาน 5. นางซารียะห์  ปูเต๊ะ คณะทำงาน 6. นางสาววาซีนีย์  แวโต        คณะทำงาน 7. นายเฟาซี          ยะซิง              วิทยากร 8. นางสาวรอฮานะ สิเดะ              วิทยากร

สำรวจข้อมูลชุมชนแหล่งท่องเที่ยว4 ตุลาคม 2560
4
ตุลาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วิธีการดำเนินงาน  สำรวจข้อมูลชุมชนแหล่งท่องเที่ยว 1.ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน 2.สำรวจข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและสินค้าชุมชน
3.สรุปและออกแบบกิจกรรม สรุปกิจกรรมสำรวจข้อมูลชุมชนแหล่งท่องเที่ยว         ทีมเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี ได้ลงพื้นที่ไปพบกับ นายอำเภอ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้นำเยาวชน และครู กศน. ยะหริ่ง เพื่อชี้แจงโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานีให้ได้ทราบ ประชุมหารือ และร่วมวางแผนในการที่จะจัดกิจกรรมต่างๆ
      คุณยะห์  อาลี หัวหน้าโครงการได้กล่าวเปิดโดยเล่าความเป็นมาของโครงการว่า” ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) ได้สนับสนุนโครงการให้กับชุมชน/ภาคประชาสังคม เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี ได้เลือกพื้นที่ ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ดำเนินงาน เหตุผลที่เลือกชุมชนบางปู เพราะเป็นชุมชนที่น่าสนใจ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและอุดมสมบูรณ์ แต่ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดีให้สังคมได้รู้จัก และจะเป็นพื้นที่นำร่องเพื่อเป็นต้นแบบชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศของการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านการท่องเที่ยว และเพื่อให้ชุมชนบ้านบางปูเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สามารถจัดการตนเองด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ สร้างอาชีพ สร้างรายได้  และในโครงการจะเชิญชวนสื่อมวลชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับคนในพื้นที่ เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ชุมชนมีส่วนร่วม อีกทั้งจะนำเรื่องราวของชุมชนบ้านบางปู ผลิตเป็นรายการวิทยุ เผยแพร่การท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศ โดยมีการจัดรายการวิทยุ 6 ตอน ออกอากาศทางสถานีวิทยุ 4 สถานี ลิงค์สัญญาณร่วมกัน เพื่อให้เรื่องราวของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ชุมชนมีส่วนร่วม ของบ้านบางปู เผยแพร่สู่สาธาณะให้เป็นที่รู้จักและ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้จังหวัดชายแดนใต้
    หลังจากนั้น คุณอัสรา รัฐการัณย์ ได้ชี้แจงกิจกรรมที่จะดำเนินงานในพื้นที่มีกิจกรรมหลักทั้งหมด 6 กิจกรรม และได้ร่วมกำหนดวันที่ เพื่อจัดอบรม จัดประชุม เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้นดังนี้ 1. สำรวจข้อมูลชุมชนแหล่งท่องเที่ยวเพื่อพบปะกับผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้นำเยาวชน ครูกศน. เพื่อสร้างความเข้าใจโครงการ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย วันที่ 4 กันยายน 2560 2. อบรมเยาวชนผลิตคลิปสั้น ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จะจัดวันที่ 23-25 ตุลาคม 2560 สถานที่อบรม มัสยิดตะอาวุน  อาวุน ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี      และบ้านไม้ริมแล ตำบลตะโล๊ะสะมิแล อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 3. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มศักยภาพชุมชน จะจัดวันที่ 5 พฤศจิกายน 2560 สถานที่อบรม ณ. มัสยิดตะอาวุน ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 4. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสื่อมวลชน/สื่อชุมชนกับชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านบางปูสถานที่อบรม มัสยิดตะอาวุน  อาวุน ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี      และบ้านไม้ริมแล ตำบลตะโล๊ะสะมิแล อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี วันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2560 5. ผลิตรายการวิทยุ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนมีส่วนร่วม 6 ตอน เริ่ม วันที่ 1 พฤศจิกายน จนถีง วันที่ 15 ธันวาคม 2560 6. เวทีประเมินและถอดบทเรียนกิจกรรมโครงการ วันที่ 15 ธันวาคม 2560 7. จัดทำรายงานส่ง ศอบต. ในการนี้ การประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน       หลังจากนั้น เวลา  13.30 น.ทีมงานได้เดินทางไปพบปะกับนายอดุลย์ หมีดเส็น นายอำเภอยะหริ่ง  เพื่อชี้แจงโครงการที่จะขับเคลื่อนให้ท่านนายอำเภอทราบ ท่านนายอำเภอได้ให้โอวาทแก่คณะทำงานเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี และแสดงความยินดีในการที่ทีมเครือข่ายวิทยุชุมชนปัตตานีเป็นภาคประชาสังคมได้ร่วมกับอำเภอยะหริ่งในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางประชารัฐ และให้โอวาทแก่คณะทำงานฯ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่คณะทำงานฯ และเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวของอำเภอยะหริ่งสู่ความเป็นเลิศในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่อไป
หลังจากนั้น ทีมเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานีได้เดินทางต่อไปที่ ชุมชนตะโล๊ะสะมิแล อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เพื่อไปสำรวจสถานที่ที่จะจัดฝึกอบรมเยาวชนบางปู เพื่อเป็นนักสื่อสารชุมชน(ผลิตคลิปสั้น) ได้กำหนดจัดอบรมที่บ้านไม้ริมแล ในวันที่ 23 -25 ตุลาคม 2560
    ปัญหาอุปสรรคที่พบ • ไม่มีเครื่องถ่ายเอกสารเพื่อดำเนินงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประโยชน์ที่ได้รับ • ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้นำเยาวชน และครูกศน. ได้เข้าใจความเป็นมาและกิจกรรมต่างๆ ของโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
• เกิดความร่วมมือกันระหว่างเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี กับ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้นำเยาวชน และครูกศน. ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ได้ระดมความคิดเห็น พูดคุย หารือเพื่อทำงานร่วมกัน • เกิดแนวคิดและกระบวนการสร้างเสริมในการพัฒนาผู้นำชุมชน เยาวชนและคนในชุมชน ในด้านการใช้สื่อให้เป็นประโยชน์ • ได้ร่วมหารือกับนายอำเภอยะหริ่งในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางประชารัฐ และสนับสนุนการท่องเที่ยวของอำเภอยะหริ่งสู่ความเป็นเลิศในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่อไป

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 16 คน
ประกอบด้วย

วันที่ 4  ตุลาคม 2560 เวลา 9.00-12.30 น. ณ.มัสยิดตะอาวุน ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี มีผู้เข้าร่วม ได้แก่ คณะทำงานจำนวน  6 คน  ผู้นำศาสนา อีหม่านมัสยิดตะอาวุนจำนวน 1 คน ผู้นำชุมชนผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 จำนวน 1 คน  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 2 คน แกนนำเยาวชน 1 คน และ ครูกศน. ยะหริ่ง 1 คน รวมทั้งสิ้น 12  คน  โดยมีรายชื่อดังนี้

  1. นางสาวยะห์ อาลี          หัวหน้าโครงการ
  2. นางสาวอัสรา  รัฐการัณย์  เลขานุการโครงการ
  3. นางสาวหายาตี  บูสะมัน    เจ้าหน้าที่ การเงิน
  4. นางสาวซัมซัม  นาคชูวงค์ คณะทำงาน
  5. นางซารียะห์  ปูเต๊ะ คณะทำงาน
  6. นางสาววาซีนีย์ แวโต        คณะทำงาน
  7. นางสาวรุสนีย์  กาเซ็ง            ครู กศน.
  8. นายนิอาลี      นิเดร์หะ          ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  9. นายซาการียา  กาเดร์            ผู้ใหญ่บ้าน
  10. นายยะโกะ  เวาะแห        ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  11. นายอาซิ ดือราแม        อีหม่ามมัสยิด
  12. นายฟาเดล  หะยีสือแม      แกนนำเยาวชน
ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 130 กันยายน 2560
30
กันยายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วิธีการดำเนินงาน 1.ประสานงานคณะทำงานเพื่อชี้แจงโครงการที่ได้รับงบประมาณ 2.ประชุมวางแผนงานการจัดกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงาน ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนกิจกรรม ครั้งที่ 1 1. ประธานโครงการชี้แจงโครงการที่ได้รับงบประมาณ 2. ออกแบบวางแผนงานและกำหนดวันที่ในการจัดกิจกรรม
แผนการดำเนินการโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ลำดับที่                         กิจกรรม ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค ผู้รับผิดชอบ 1. ประชุมคณะทำงาน 6 คน จำนวน 4 ครั้ง 30 11 1 3 คณะทำงาน 2. สำรวจข้อมูลชุมชนแหล่งท่องเที่ยว 4 คณะทำงาน 3. อบรมเยาวชนผลิตคลิปสั้น ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 3 วัน 23 -25 คณะทำงาน 4. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มศักยภาพชุมชน 5 คณะทำงาน 5. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสื่อมวลชน/สื่อชุมชนกับชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านบางปู 11-12 คณะทำงาน 6. ผลิตรายการวิทยุ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนมีส่วนร่วม 6 ตอน ทางสถานีวิทยุ 4  สถานี (ลิงค์สัญญาณ)

        สัปดาห์ละ 1 ตอน<br />
สัปดาห์ละ 1 ตอน คณะทำงาน

7. เวทีประเมินและถอดบทเรียนกิจกรรมโครงการ
17 คณะทำงาน

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 8 คน จากที่ตั้งไว้ 8 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการฯ จำนวน 6 คน

บริหารจัดการ28 กันยายน 2560
28
กันยายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

บริหารโครงการทุกกิจกรรม วิธีการดำเนินงาน 1.ประสานงานคณะทำงานเพื่อชี้แจงโครงการที่ได้รับงบประมาณ 2.ประชุมวางแผนงานการจัดกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กำหนดแผนการดำเนินการโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ทำให้โครงการสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีระบบ ได้เครือข่ายเพิ่มขึ้นจากเดิม

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย

หัวหน้าโครงการ