directions_run

การขับเคลื่อนองค์ความรู้เพื่อความเข้าใจนโยบายการพัฒนาของรัฐสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในกลุ่มผู้เลี้ยงนกเขาชวารายย่อย สนามแข่งขันนกเขาชวา บ้านนาแม ม.2 ต.คลองมานิง อ.เมือง จ.ปัตตานี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การขับเคลื่อนองค์ความรู้เพื่อความเข้าใจนโยบายการพัฒนาของรัฐสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในกลุ่มผู้เลี้ยงนกเขาชวารายย่อย สนามแข่งขันนกเขาชวา บ้านนาแม ม.2 ต.คลองมานิง อ.เมือง จ.ปัตตานี
ภายใต้โครงการ ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมประชาภาคสังคม ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้
ภายใต้องค์กร องค์กร???
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 17 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 กันยายน 2560 - 31 มีนาคม 2561
งบประมาณ 210,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มผู้นิยมเลี้ยงนกเขาชวา สนามแข่งขันนกเขาชวา บ้านนาแม ม.2 ต.คลองมานิง อ.เมืองจ.ปัตตานี
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแวยูโซะ สิเดะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ บ้านนาแม ต. คลองมานิง อฺ เมือง จฺ ปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 ก.ย. 2560 31 มี.ค. 2561 210,000.00
รวมงบประมาณ 210,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วถึง 18 ฉบับ ทุกฉบับมีหลักการที่ตรงกันประการหนึ่งคือ ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย แม้ว่าในอดีตที่ผ่านมา ประชาชนไทยจะมิได้มีส่วนร่วมในการเมืองการปกครองเท่าที่ควร แต่เมื่อกระแสการเป็นประชาธิปไตยของโลกได้เข้าสู่ประเทศไทยก็ทำให้ประชาชนรู้ถึงการที่ตนควรมีสิทธิ เสรีภาพ และมีส่วนร่วมในทางการเมืองมากขึ้น นำมาสู่การปฏิรูประบบการเมืองไทยที่เห็นได้ชัดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ต่อเนื่องมาจนถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นอย่างมาก (http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title) การมีส่วนร่วมของประชาชน คือ การให้โอกาสประชาชนเป็นฝ่ายตัดสินใจกำหนดปัญหาความต้องการของตนเองอย่างแท้จริง เป็นการเสริมพลังอำนาจให้แก่ประชาชน/กลุ่มองค์กรชุมชนให้สามารถระดมขีดความสามารถในการจัดการทรัพยากร การตัดสินใจ และการควบคุมดูแลกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนมากกว่าที่จะเป็นฝ่ายตั้งรับ สามารถกำหนดการดำรงชีวิตได้ด้วยตนเอง ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามความจำเป็นอย่างมีศักดิ์ศรีและสามารถพัฒนาศักยภาพของประชาชน/ชุมชนในด้านภูมิปัญญา ทักษะ ความรู้ ความสามารถ และการจัดการและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ และประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการอย่างมีอิสระ การทำงานต้องเน้นในรูปกลุ่มหรือองค์กรชุมชนที่มีวัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมอย่างชัดเจน เนื่องจากพลังกลุ่มจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานพัฒนาต่างๆ บรรลุสำเร็จตามความมุ่งหมายได้(https://www.gotoknow.org/posts) เกี่ยวกับความไม่เข้าใจของประชาชนในพื้นที่ต่อกิจกรรมหรือนโยบายของรัฐทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ และเกิดความรุนแรงยาวนานที่ไม่สามารถสิ้นสุดได้ ท่านศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ให้ความว่า ความจริงที่น่าลำบากใจก็คือความรุนแรงและความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงดำรงอยู่ ความขัดแย้งที่ว่านี้เป็นผลมาจากปัจจัยแห่งความแตกต่างโดยเฉพาะในด้านการเมืองแห่งอัตลักษณ์ในลักษณะที่บางอัตลักษณ์อ้างอำนาจเหนืออัตลักษณ์อื่น ทั้งในเชิงเชื้อชาติ ศาสนา หรือภาษา แม้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัฐไทยได้พยายามปรับรื้อและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในทางการเมืองและโครงสร้างชนชั้นนำของปาตานีไปเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในแง่การปกครอง ระบบการศึกษาในแบบศาสนาอิสลาม และระบบกฎหมายโดยเปลี่ยนให้มีลักษณะแบบโลกนิยม ความทันสมัยและเน้นความเป็นไทยมากยิ่งขึ้น แต่ความรุนแรงที่ยืดเยื้อเรื้อรังก็ยังคงดำรงอยู่ ในครั้งนี้ก็เป็นการหวนกลับคืนมาของการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 1960 และ 1970 ในทางวิชาการ ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่ากลุ่มเคลื่อนไหวในปัจจุบันได้มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มก่อความไม่สงบในอดีตมากน้อยเพียงใด แต่รากเหง้าที่แท้จริงของความขัดแย้งก็มีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก กล่าวคือเป็นการปะทะกันระหว่างรัฐที่รวมศูนย์อำนาจ กับขบวนการต่อต้านซึ่งเป็นตัวแทนผลประโยชน์และความทุกข์ยากของชนกลุ่มน้อยด้านชาติพันธุ์มลายูในพื้นที่ จนปรากฏกลายเป็นรูปความขัดแย้งที่ชัดเจนระหว่างรัฐกับชนกลุ่มน้อยที่มีความต่างในมิติทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ (คัดข้อมูลจากศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ DeepSouthWatch) นอกจากนี้ ลักษณะสำคัญของความขัดแย้งในชายแดนใต้หรือในอีกแง่หนึ่งคือปาตานีนี้ยังเป็นความขัดแย้งที่ละเอียดอ่อนในระดับอนุภูมิภาค ซึ่งแสดงออกเป็นการขัดกันด้วยอาวุธ เพื่อช่วงชิงการควบคุมพื้นที่โดยในสถานการณ์ความขัดแย้งที่รุนแรง ขบวนการต่อต้านติดอาวุธซึ่งอาจมีเพียงกลุ่มเดียวหรือหลายกลุ่มได้ใช้ความรุนแรงเพื่อพยายามจะเอาชนะอำนาจทางการเมืองและหาทางเปลี่ยนจากระบอบปกครองของรัฐไปเป็นระบอบปกครองตนเองกล่าวใน อีกแง่หนึ่ง แกนกลางของสถานการณ์ที่วุ่นวายคือสิ่งที่เรียกว่า “การขาดดุลด้านความชอบธรรม” ของรัฐบาลไทยในภูมิภาคแห่งนี้ ซึ่งแนวทางแก้ปัญหาในชายแดนใต้จะยังไม่เกิดขึ้น ตราบใดที่ยังไม่มีความไว้วางใจระหว่างประชาชนกับฝ่ายผู้มีอำนาจ ดังที่ผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า เราคงไม่สามารถใช้ความรุนแรง หรือใช้กำลังทหารเพื่อบีบบังคับให้ประชาชนยอมรับความชอบธรรมของรัฐได้ แนวทางแก้ปัญหาการเมืองที่ซับซ้อนในแบบนี้จึงมีเพียงอย่างเดียวคือการที่รัฐไทยหรือประเทศไทยต้องหาทางเอาชนะใจประชาชน ทำให้ประชาชนรู้สึกมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้น และนี่คือกระบวนการสร้าง “พื้นที่ทางการเมือง” นั่นเอง
จากข้อมูลดังกล่าว เกิดความคิดจากทีมงานเพื่อนบ้านของผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ต.คลองมานิง ทำอย่างไรเพื่อสื่อความรู้เกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาของรัฐให้แก่ประชาชนให้เกิดการมีส่วนร่วมในด้านการพัฒนา ลืมในทุกสิ่งที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการบอกเล่าต่างๆ จึงเล็งเห็นศักยภาพของพื้นที่น่าจะเป็นไปได้ที่จะต้องมีปัจจัยรองรับกระบวนการเพื่อสื่อความรู้นโยบายการพัฒนาของรัฐให้เข้าใจ จึงมีความคิดว่า ในพื้นที่มีสนามการแข่งขันนกเขาชวา ซึ่งสามารถเริ่มต้นด้วยกับกลุ่มผู้นิยมเลี้ยงนกเขาชวารายย่อย เพื่อมาหารือทำความเข้าใจโดยใช้สนามการแข่งนกเขาชวาบ้านนาแม เป็นเวทีเพื่อหารือ เกี่ยวกับข้อมูลการพัฒนาของรัฐที่มีต่อชาวบ้านให้เข้าอย่างลึกซึ้ง อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญที่ต้องทำโครงการนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจของประชาชนระหว่างนโยบายของรัฐ ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งอันยาวนาน และเป็นแนวทางหนึ่งในการเข้าถึงประชาชน ในพื้นที่และยังเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการพัฒนาในด้านต่างๆ
ด้วยเหตุนี้ทีมงานเพื่อนบ้านของผู้ใหญ่หมู่ที่ 2 บ้านนาแม มีแนวทางการแก้ไขปัญหาผ่านการขับเคลื่อนองค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาของรัฐสู่กลุ่มผู้นิยมเลี้ยงนกเขาชวารายย่อย ที่เป็นผู้เข้ามาแข่งขันนกเขาของตนเองที่สนามแข่งขันบ้านนาแม ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นมิใช่คนในพื้นทั้งหมด พวกเขามาจากหลายพื้นที่ ในพื้นที่จังหวัดปัตตานีที่ทำการแข่งขันเป็นประจำ การแข่งขันจะมีเป็นประจำสับดาห์ สับดาห์ละ 2 ครั้ง และบางครั้งสนามแห่งนี้จะมีผู้เข้าร่วมของกลุ่มรายย่อยจากต่างจังหวัด และบางครั้งจะผู้เข้าร่วมจากมาเลเซีย แต่ขอบเขตของกลุ่มเป้าหมายจะเจาะจงสำหรับผู้เลี้ยงนกเขาชวารายย่อยที่มาทำแข่งขันเป็นประจำเท่านั้นและจะเจาะสำหรับชาวบ้านและหมู่บ้านใกล้เคีย สำหรับวิธีการแก้ปัญหาเกิดการชวนคิดร่วมกัน จะมีนักวิชาการที่ชำนาญมาร่วมบรรยายให้มีวิธีการที่ให้เกิดความเข้าใจ และเรียกร้องไม่เป็นผู้ร่วมกับแนวร่วมในพื้นที่ และพยายามสื่อข้อมูลทางวิชาการมุมมองอิสลามที่ถูกต้อง เพื่อเกิดการยึดหลักสันติในอิสลาม และพยายามใช้หลักการสันติในอิสลาม โดยใช้เวทีการประชุมร่วมกัน หารือแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกัน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 210,000.00 1 0.00
20 ก.ย. 60 ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง 0 12,500.00 -
20 ก.ย. 60 เวทีให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ (1) 0 0.00 -
11 ต.ค. 60 - 11 ก.ค. 61 พิธีเปิด ผู้บรรยายพิเศษในหัวข้อแตกต่างไม่แตกแยก 0 40,000.00 -
17 ต.ค. 60 - 17 ก.ค. 61 ประชุมคณะทำงาน 0 12,500.00 -
25 ต.ค. 60 - 25 ก.ค. 61 กิจกรรมขับเคลื่อนองค์ความรู้เพื่อความเข้าใจนโยบายการพัฒนาของรัฐ (3) 0 40,000.00 -
7 พ.ย. 60 - 7 ก.ค. 61 ประชุมคณะทำงาน 0 12,500.00 -
8 พ.ย. 60 - 8 ก.ค. 61 กิจกรรมขับเคลื่อนองค์ความรู้เพื่อความเข้าใจนโยบายการพัฒนาของรัฐ (4) 0 40,000.00 -
14 พ.ย. 60 - 14 ก.ค. 61 ประชุมคณะทำงาน 0 12,500.00 -
6 ธ.ค. 60 - 6 ก.ค. 61 จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการและนำเสนอสู่สาธารณชน 0 40,000.00 -
15 ก.ค. 61 อบรมการบันทึกข้อมูล 0 0.00 0.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2561 13:45 น.