directions_run

สร้างคน ให้เป็นคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุขชายแดนใต้อย่างยั่งยืน

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

องค์กร???


“ สร้างคน ให้เป็นคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุขชายแดนใต้อย่างยั่งยืน ”

สภาองค์กรชุมชนตำบลสะนอ - สำนักงาน/ ศูนย์ประสานงาน 34/1หมู่ 4 ต.สะนอ อ.ยะรังจ. ปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
- หน่วยงาน/ชื่อองค์กรสภาองค์กรชุมชนตำบลสะนอ- ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลเล๊าะวาแม

ชื่อโครงการ สร้างคน ให้เป็นคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุขชายแดนใต้อย่างยั่งยืน

ที่อยู่ สภาองค์กรชุมชนตำบลสะนอ - สำนักงาน/ ศูนย์ประสานงาน 34/1หมู่ 4 ต.สะนอ อ.ยะรังจ. ปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 17 กันยายน 2561 ถึง 31 มีนาคม 2561


กิตติกรรมประกาศ

"สร้างคน ให้เป็นคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุขชายแดนใต้อย่างยั่งยืน จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน สภาองค์กรชุมชนตำบลสะนอ - สำนักงาน/ ศูนย์ประสานงาน 34/1หมู่ 4 ต.สะนอ อ.ยะรังจ. ปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ องค์กร??? ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
สร้างคน ให้เป็นคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุขชายแดนใต้อย่างยั่งยืน



บทคัดย่อ

โครงการ " สร้างคน ให้เป็นคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุขชายแดนใต้อย่างยั่งยืน " ดำเนินการในพื้นที่ สภาองค์กรชุมชนตำบลสะนอ - สำนักงาน/ ศูนย์ประสานงาน 34/1หมู่ 4 ต.สะนอ อ.ยะรังจ. ปัตตานี รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 17 กันยายน 2561 - 31 มีนาคม 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 250,000.00 บาท จาก องค์กร??? เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 100 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จากการสถานการณ์เศรษฐกิจไม่ดี สินค้าเกษตร มีราคาตกต่ำ ประชาชนมีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย และพ่อแม่อพยพไปทำงานต่างจังหวัดและต่างประเทศ ปล่อยให้ลูกอยู่กับตายาย หรือพ่อแม่แยกทางกัน ทำให้เด็กและเยาวชน ขาดความอบอุ่น ขาดเสาหลักหรือคบเพื่อนและไม่ได้เล่าเรียนชั้นสูงขึ้นไป ที่สามารถประกอบอาชีพได้ เยาวชนตั้งแต่อายุ ๑๕ – ๒๕ ปี เป็นวัยที่อยากลอง/คึกคะนอง ไม่เสียดายต่อการสูญเสีย ทั้งร่างกายและทรัพย์สิน
  ความสำคัญ ยาเสพติดทั้ง บุหรี่ อุดังการัง บุหรี่ซูรียา ใบกระท่อม/น้ำกระท่อมและยาบ้า ที่ระบาดหนัก ทุกๆชุมชนใน จขต. (นับบ้านได้ ที่ไม่มีผู้เสพ) ในสังคมมุสลิม เป็นความไม่เข้าใจหรือกำกึ่งของใบกระท่อมบ้างว่าเป็นยา อันที่จริงการเสพบุหรี่ อุดังการัง บุหรี่ซูรียา ใบกระท่อม/น้ำกระท่อม สี่คูณร้อย เป็นทางผ่านในยกระดับการเสพยาบ้า ต่อไป   สถานการณ์ของปัญหา จากการมีผู้เสพและผู้จำหน่าย มากขึ้นในชุมชน เกิดสังคมที่อ่อนแอ ของผู้นำ ทั้งสายศาสนา ปกครอง ท้องถิ่น(บางผู้ถูกครอบงำจากผู้ค้าหรือค้าเอง เพราะมีกำไรสูง) ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ในการสัมภาษณ์ ผู้ประกอบทำพิธีฮัจย์ ที่นครเมกะ ปีนี้ ว่าพ่อแม่ ขอดุอาร์(ขอพร)อะไรบ้าง เกือบทุกคนดุอาร์(ขอพร)ให้ลูกปลอดจากยาเสพติด(เลิกจากยาเสพติด) ซึ่งแสดงถึงการระบาดของยาเสพติดในชุมชน เกิดการลักขโมย ผลผลิตทางการเกษตร เช่นขี้ยาง มะพร้าว กล้วยและอื่นๆที่สามารถขายได้ แม้กระทั้งการชักนำเยาวชนไปเป็นแนวร่วมในการก่อเหตุรุนแรง ใน จชต.

  - สาเหตุที่ต้องทำโครงการนี้ มาจากปัญหาระบาดการเสพบุหรี่ อุดังการัง บุหรี่ซูรียา ใบกระท่อม/น้ำกระท่อม สี่คูณร้อย เป็นทางผ่านในยกระดับการเสพยาบ้า ระบาดเข้าในพื้นที่หมู่บ้านตำบลสะนอและตำบลข้างเคียง ของอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ซึ่งมีเด็กและเยาวชนในวัยเรียน ในตำบลสะนอมี ๒ โรงเรียนปฐมและ ๑ โรงเรียนมัธยมซึ่งมาจากหลายตำบลข้างเคียง ในภาวะเสี่ยง ที่ต้องป้องกันและมีผู้เสพในตำบล ที่ต้องให้การบำบัดรักษาให้เลิกยาเสพติดและคืนคนดีให้ครอบครัว/สังคม

  - แนวทาง / วิธีการที่จะแก้ปัญหาได้ และวิธีการนั้นจะแก้ปัญหาได้อย่างไร

  ๑.การป้องกัน เด็กเยาวชนในวัยเสี่ยง ในการให้ความรู้ยาเสพติดและจัดค่ายให้การเรียนรู้ศาสนาอย่างต่อเนื่อง

  ๒.การบำบัดรักษาโดยใช้หลักการศาสนา การเรียนรู้ศาสนาและปฏิบัติตามรูก่นอิสลาม ๕ ประการ

  ๓.การใช้หลักการ ดะวะห์ ตับลีร ในการรักษาในการเลิกยาเสพติด และในการติดตาม/ทำกิจกรรมต่อเนื่อง

  ๔.การรวมกลุ่มเรียนรู้การประกอบอาชีพ ระยะสั้น ในการหารายได้ของเยาวชน คืนคนดีสังคม

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

๑ เพื่อส่งเสริมเยาวชน เรียนรู้ โทษภัยของยาเสพติด

๒ เพื่อให้การเรียนรู้ และปฏิบัติ ตามหลักการอิสลาม ๕ ประการ (รูก่นอิสลาม) ที่ถูกต้อง

๓ เพื่อบำบัด/รักษา กายและจิตใจ โดยใช้หลักการอิสลาม ๕ ประการ เลิกยาเสพติด

๔ เพื่อคืนคนดี สู่สังคม สานพลังเยาวชน สู่สันติสุข สันติภาพอย่างยั้งยืน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมคณะกรรมการ โครงการสร้างคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุข ชายแดนใต้อย่างยั่งยืน
  2. เวทีการสร้างความเข้าใจโครงการสร้างคน ให้เป็นคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุข ชายแดนใต้อย่างยั่งยืน
  3. การบำบัดผู้ติดยาเสพติด (ดะวะห์ 3 วัน) ครั้งที่ 1
  4. ฝึกอาชีพช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ระยะสั้น
  5. เวทีการอบรมเรียนรู้พิษภัยของยาเสพติด รุ่นที่ 1
  6. การบำบัดผู้ติดยาเสพติด(ดะวะห์ 7 วัน) ครั้งที่ 2
  7. เวทีการอบรมเรียนรู้พิษภัยของยาเสพติด รุ่นที่ 2
  8. อบรมการบันทึกข้อมูลโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไข้ปัญหาและพัฒนา จชต.
  9. ค่าวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน
  10. เวทีสรุปผลการดำเนินการโครงการและนำเสนอสู่สาธารณชน
  11. ค่าประสานงาน/ค่าเดินทางของคณะกรรมการ
  12. จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ค่าวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน

วันที่ 1 ตุลาคม 2560

กิจกรรมที่ทำ

ซื้อวัสดุสำนักงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วัสดุสำนักงาน เพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการ

 

0 2

2. เวทีการสร้างความเข้าใจโครงการสร้างคน ให้เป็นคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุข ชายแดนใต้อย่างยั่งยืน

วันที่ 14 ตุลาคม 2560

กิจกรรมที่ทำ

สภาองค์กรชุมชนตำบลสะนอ  ได้มีการวางแผนการดำเนินงาน โดยมีการกำหนดการจัดกิจกรรมเวทีการสร้างความเข้าใจโครงการสร้างคน ให้เป็นคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุข ชายแดนใต้อย่างยั่งยืน โดยมีการเตรียมความพร้อม ระหว่างคณะทำงานฯ และภาคีเครือข่าย  ในวันที่ 14 ตุลาคม 2560  ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนองค์กรชุมชนตำบลสะนอ  โดยมีการหารือในประเด็นสำคัญ คือ ที่มาของโครงการ  เนื้อหาและรูปแบบของการจัดกิจกรรมการบำบัดผู้ติดยาเสพติดสถานที่จัดกิจกรรม และวิธีการหากลุ่มเป้าหมายในการร่วมเข้าโครงการ  โดยมีหน่วยงานที่ควรจะประสานเข้าร่วมโครงการเพื่อให้ความรู้และจัดกิจกรรมการบำบัดผู้ติดยาเสพติด (ดะวะห์ 3 วัน) ครั้งที่ 1 โดยมติที่ประชุม กำหนดให้มีการจัดกิจกรรม ในวันที่  21-23 ตุลาคม  2560  ณ รีสอร์ทฎอรีกุลฮาบีบ โดยมอบหมายให้ผู้ประสานงานสภาองค์กรชุมชนตำบลสะนอ ประสานจัดเตรียมสถานที่ในการจัดกิจกรรมสภาองค์กรชุมชนตำบลสะนอประสานงานหน่วยงานเกี่ยวข้องและกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะกรรมการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการสร้างคน ให้เป็นคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุข ชายแดนใต้อย่างยั้งยืน

2.วางแผนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดกิจกรรมในวันที่ 21-23 ตุลาคม 2560

3.กำหนดข้อตกลงและแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน

 

50 50

3. การบำบัดผู้ติดยาเสพติด (ดะวะห์ 3 วัน) ครั้งที่ 1

วันที่ 21 ตุลาคม 2560

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 21-23 ตุลาคม 2560 สนับสนุนจากภาคประชาสังคมตามโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต.ภายใต้กิจกรรมการบำบัดผู้ติดยาเสพติด    (ดะวะห์ ๓ วัน) ครั้งที่ ๑ ณ รีสอร์ทฎอรีกุลฮาบีบ มีผู้เข้าร่วม ประกอบด้วยนายรอสาลี อดุลย์อภิมุข นายกองค์การบริหารตำบลสะนอ นายองอาจ แย้มแตงอ่อนและนายก้องเกียรติ เพชรรัตน์ หน่วยญาลันนันบารู นายมะรอยี ดอเลาะ อีหม่านตำบลปะเสยะวอและ นายมะไทรยูตี ยานยา และผู้แทนเด็กและเยาวชน รวมทั้งหมดจำนวน 30 คน
    การบำบัดผู้ติดยาเสพติด (ดะวะห์ ๓ วัน ) เน้นการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เช่น การละหมาด 5 เวลา , การออกกำลังกายเช้า-เย็น , การรับประทานอาหาร, การทำกิจกรรมริมชายหาด เป็นต้น เพื่อให้เด็กเกิดความรัก ความสามัคคี ระหว่างคนรอบข้าง และสามารถแสดงออกถึงความเป็นตัวเองให้ได้มากที่สุด และที่สำคัญที่สุด คือ เข้าใจถึงปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา และการป้องกันปัญหา เกี่ยวกับยาเสพติด     วันที่ 21 ตุลาคม 2560

    ผู้ที่มีความรู้ด้านหลักศาสนา มาสอนและให้ข้อคิดกับเด็กและเยาวชน ในหัวข้อดังต่อไปนี้

    1. การเรียนรู้ และปฏิบัติ ตามหลักการอิสลาม 5 ประการ (รูก่นอิสลาม) ที่ถูกต้อง

      2. เพื่อบำบัด/รักษา กายและจิตใจ โดยใช้หลักการอิสลาม 5 ประการ เลิกยาเสพติด

    3. การทำความดี ละเว้นความชั่ว

    วันที่ 22 ตุลาคม 2560     หน่วยงานญาลันนันบารู เป็นวิทยากรให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อดังต่อไปนี้     ให้เด็กและเยาวชนทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้เด็กและเยาวชนคุ้นเคย เกิดความสามัคคี และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หลังจากนั้นแบ่งกลุ่ม ร่วมระดมความคิดในประเด็นดังต่อไปนี้ • ประโยชน์และผลกระทบของยาเสพติด ซึ่งจากการระดมความคิดสามารถสรุปได้ดังนี้ ยาเสพติดไม่เคยส่งผลดีกับใคร มีแต่ส่งผลเสียให้กับผู้ติดยาเสพติด ได้แก่ 1.ติดคุกและเป็นมะเร็ง 2.สมองถูกทำลาย 3. พ่อแม่เสียใจ 4.ทำให้ผู้อื่นและชุมชนเดือดร้อน 5.ทำให้เงินไม่พอใช้เป็นต้น • ปัญหาเด็กและเยาวชน ซึ่งจากการระดมความคิดสามารถสรุปได้ดังนี้ 1.ติดยา 2. ขาดความรู้ในการประกอบอาชีพ 3. ไม่เรียนหนังสือหรือเรียนไม่จบ 4. ว่างงาน 5. ท้องก่อนแต่ง 6. ติดเกม 7. ลักขโมย 8. สถานที่เล่นกีฬาขาดแคลนอุปกรณ์ 9. ปัญหาครอบครัว    10. ไม่มีบุคคลต้นแบบ 11. ไม่มีคนสนับสนุนคนทำดี เป็นต้น • แนวทางการพัฒนาเด็กและเยาวชนซึ่งจากการระดมความคิดสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ด้านกีฬา 2. การฝึกอบรมอาชีพ 3. ค่ายอบรมคุณธรรม จริยธรรม 4. ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิต 5. ส่งเสริมครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง เป็นต้น

      จากปัญหาข้างต้น ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ซึ่งจะต้องป้องกันและแก้ปัญหาโดยเร็ว

      วิทยากรจากหน่วยงานญาลันนันบารู สอนให้เด็กและเยาวชน เกี่ยวกับขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพการทำน้ำยาล้างจาน โดยวิทยากรจะอธิบายและสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพและการทำน้ำยาล้างจานให้เด็กและเยาวชนเรียนรู้ขั้นตอนต่างๆ สามารถนำไปฝึกอาชีพ เพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว เมื่อทำน้ำหมักชีวภาพและน้ำยาล้างจานเสร็จแล้ว แจกให้เด็กๆ เพื่อไปทดลองใช้
      วันที่ 23 ตุลาคม 2560

      ผู้ที่มีประสบการณ์มาร่วมแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับการหลงผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และให้ข้อคิดแก่เด็กและเยาวชน เพื่อให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงโทษภัยของยาเสพติด เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เด็กและเยาวชนเข้าใจเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับแนวทางการ ดะวะห์

2.ส่งเสริมเยาวชน เรียนรู้ โทษภัยของยาเสพติด

3.เด็กและเยาวชนเรียนรู้ และปฏิบัติ ตามหลักการอิสลาม 5 ประการ (รูก่นอิสลาม) ที่ถูกต้อง

4.บำบัด/รักษา กายและจิตใจ โดยใช้หลักการอิสลาม 5 ประการ เลิกยาเสพติด

5.เพื่อคืนคนดี สู่สังคม สานพลังเยาวชน สู่สันติสุข สันติภาพอย่างยั้งยืน

6.เรียนรู้บุคคลต้นแบบในการใช้ชีวิต

7.เด็กและเยาวชนที่ผ่านการบำบัดยาเสพติด (ดะวะห์ 3 วัน) เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น

 

30 30

4. ฝึกอาชีพช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ระยะสั้น

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 1-7 พฤศจิกายน 2560 สนับสนุนจาก ภาคประชาสังคมตามโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต. ภายใต้กิจกรรม ฝึกอาชีพช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ระยะสั้น ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนองค์กรชุมชนตำบลสะนอ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาชน จำนวน 30 คน

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับประเด็น ดังต่อไปนี้

1.ความสำคัญของการประกอบอาชีพช่างซ่อมรถจักรยานยนต์

2.ความต้องการของตลาดเกี่ยวกับการประกอบอาชีพช่างซ่อมรถจักรยานยนต์

3.แหล่งเรียนรู้ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 วิทยากรให้ความรู้และฝึกทักษะการประกอบอาชีพช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ซ่อมรถจักยานยนต์

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2560 วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับประเด็น ดังต่อไปนี้

1.โครงสร้างของรถจักรยานยนตร์ ได้แก่ ล้อและยาง โซ่และเสเตอร์ เบรก ระบบไฟ เป็นต้น

2.หลักการทำงานของเครื่องรถจักรยานยนตร์

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2560 วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับประเด็น ดังต่อไปนี้

1.การถอดประกอบเครื่องยนต์ 2.การดูแลรักษารถจักรยานยนต์ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2560 วิทยากรให้ความรู้และสาธิตเกี่ยวกับประเด็น ดังต่อไปนี้ 1.อุปกรณ์การปะรถจักรยานยนต์

2.ขั้นสอนการปะรถจักรยานยนต์

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2560 เด็กและเยาวชนฝึกการปะยางรถจักรยานยนต์ โดยมีวิทยากรคอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำ

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2560 วิทยากรให้ความรู้และเกี่ยวกับประเด็น ดังต่อไปนี้

1.คุณสมบัติของช่างซ่อมรถจักรยานยนต์

2.แนวทางการประกอบอาชีพช่างซ่อมรถจักรยานยนต์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของรถจักรยานยนตร์ 2.เยาวชนสามารถปะรถจักรยานยนต์ได้ 3.สามารถนำความรู้นำไปประกอบอาชีพได้

 

30 30

5. เวทีการอบรมเรียนรู้พิษภัยของยาเสพติด รุ่นที่ 1

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2560

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 สนับสนุนจากภาคประชาสังคมตามโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต.ภายใต้กิจกรรมเวทีการอบรมเรียนรู้พิษภัยของยาเสพติด รุ่นที่ 1 ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนองค์กรชุมชนตำบลสะนอ มีผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย โต๊ะอีหม่าน หมู่ 4 ตำบลสะนอ , นายแวอีซอ หะยีอีซอ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน , หน่วยญาลันนันบารู, ตัวแทนครูของ 3 โรงเรียน และผู้แทนเด็กและเยาวชน รวมทั้งหมดจำนวน 70 คน โดยวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยยาเสพติดและ ให้นักเรียนร่วมกันระดมความเกี่ยวผลกระทบ ด้านต่อไปนี้

  1. ด้านตัวเอง ได้แก่ ร่างกายทรุดโทรม ขาดความรับผิดชอบ ก้าวร้าว เป็นต้น

  2. ด้านครอบครัว ได้แก่ ทำให้พ่อแม่เสียใจ รายจ่ายเพิ่มขึ้น พ่อแม่อับอาย เป็นต้น

  3. ด้านชุมชน ได้แก่ ลักขโมย ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นต้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ส่งเสริมเยาวชน เรียนรู้ โทษภัยของยาเสพติด

2.คืนคนดี สู่สังคม สานพลังเยาวชน สู่สันติสุข สันติภาพอย่างยั้งยืน

 

70 70

6. การบำบัดผู้ติดยาเสพติด(ดะวะห์ 7 วัน) ครั้งที่ 2

วันที่ 1 ธันวาคม 2560

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 1-7 ธันวาคม 2560 สนับสนุนจากภาคประชาสังคมตามโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต.ภายใต้กิจกรรมการบำบัดผู้ติดยาเสพติด (ดะวะห์ 7 วัน) ครั้งที่ 2 ณ รีสอร์ทฎอรีกุลฮาบีบ มีผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย นายรอสาลี อดุลย์อภิมุข นายกองค์การบริหารตำบลสะนอ, โต๊ะอีหม่าน หมู่ 4 ตำบลสะนอ , นายแวอีซอ หะยีอีซอ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน,นายก้องเกียรติ เพชรรัตน์ หน่วยญาลันนันบารู นายมะรอยี ดอเลาะ อีหม่านตำบลปะเสยะวอและนายมะไทรยูตี ยานยา และผู้แทนเด็กและเยาวชน รวมทั้งหมดจำนวน 30 คน
  การบำบัดผู้ติดยาเสพติด (ดะวะห์ 7 วัน ) เน้นการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เช่น การละหมาด 5 เวลา , การออกกำลังกายเช้า-เย็น , การรับประทานอาหาร, การทำกิจกรรมริมชายหาด เป็นต้น เพื่อให้เด็กเกิดความรัก ความสามัคคี ระหว่างคนรอบข้าง และสามารถแสดงออกถึงความเป็นตัวเองให้ได้มากที่สุด และที่สำคัญที่สุด คือ เข้าใจถึงปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา และการป้องกันปัญหา เกี่ยวกับยาเสพติด

วันที่ 1 ธันวาคม 2560 ผู้ที่มีความรู้ด้านหลักศาสนา มาสอนและให้ข้อคิดกับเด็กและเยาวชน ในหัวข้อดังต่อไปนี้ 1. การเรียนรู้ และปฏิบัติ ตามหลักการอิสลาม 5 ประการ  (รูก่นอิสลาม) ที่ถูกต้อง 2. เพื่อบำบัด/รักษา กายและจิตใจ โดยใช้หลักการอิสลาม 5 ประการ เลิกยาเสพติด 3. การทำความดี ละเว้นความชั่ว
วันที่ 2 ธันวาคม 2560 ผู้ที่มีความรู้ด้านหลักศาสนา มาสอนและให้ข้อคิดกับเด็กและเยาวชน ในหัวข้อดังต่อไปนี้ 1. หลักการปฏิบัติเกี่ยวกับแนวทางการดะวะห์ ตามหลักศาสนาอิสลาม 2. ขั้นตอนการดะวะห์ของบรรดานบี   อัลลอฮฺได้ส่งบรรดานบีและเราะสูลด้วยสาเหตุสามประการ 1. ด้วยการเชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ 2. ให้ความกระจ่างและชี้แนะแนวทางที่นำไปสู่อัลลอฮฺ 3. อธิบายถึงความเป็นอยู่หรือสถานภาพของมนุษย์หลังจากที่ได้ถึงสถานที่ที่ต้องไปแล้ว

วันที่ 3 ธันวาคม 2560 ผู้ที่มีประสบการณ์มาร่วมแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับการหลงผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และให้ข้อคิดแก่เด็กและเยาวชน เพื่อให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงโทษภัยของยาเสพติด

วันที่ 4 ธันวาคม 2560 วิทยากรให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อดังต่อไปนี้ ให้เด็กและเยาวชนทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้เด็กและเยาวชนคุ้นเคย เกิดความสามัคคี และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หลังจากนั้นแบ่งกลุ่ม ร่วมระดมความคิด ในประเด็นดังต่อไปนี้ •ประโยชน์และผลกระทบของยาเสพติด ซึ่งจากการระดมความคิดสามารถสรุปได้ดังนี้ ยาเสพติดไม่เคยส่งผลดีกับใคร มีแต่ส่งผลเสียให้กับผู้ติดยาเสพติด ได้แก่ 1. ติดคุก 2.เกิดความขัดแย้งและแตกแยก 3. พ่อแม่เสียใจ 4. ทำลายสุขภาพกายและสุขภาพจิต 5. สิ้นเปลือง 6. เป็นที่น่ารังเกียจของชุมชนและสังคม 7. ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน •ปัญหาเด็กและเยาวชน ซึ่งจากการระดมความคิดสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ติดยาเสพติด 2. ขาดการศึกษา ออกกลางคัน 3.การใช้เวลาว่างของเด็กและเยาวชน 4.ว่างงาน 5. ท้องก่อนแต่ง 6.ติดเกม 7.ลักขโมย 8. การใช้เทคโนโลยี 9.ปัญหาครอบครัว 10.ไม่มีบุคคลต้นแบบ 11. ไม่มีคนสนับสนุนคนทำดี เป็นต้น •แนวทางการพัฒนาเด็กและเยาวชนซึ่งจากการระดมความคิดสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ให้เด็กได้ออกกำลังกาย เล่นกีฬาต่างๆ 2. การฝึกอาชีพ 3. ปลูกฝั่งจิตสำนึกตั้งแต่เด็ก 4. ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิต 5. ส่งเสริมครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง เป็นต้น จากปัญหาข้างต้น ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ซึ่งจะต้องป้องกันและแก้ปัญหาโดยเร็ว

วันที่ 5 ธันวาคม 2560 การวางโครงสร้างจิตอาสาญาลันนันบารู ครอบครัว อามานะห์ ตำบลสะนอ และวางแผนงาน 2560 -2561   วาดความฝันของตนเอง ให้เด็กและเยาวชนวาดความฝันของตนเอง โดยเปิดโอกาสกว้าง ให้เด็กและเยาวชนได้คิด ว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร เป็นคนแบบไหน จะทำอะไร แล้ววาดความฝันของตนเองลงไปในกระดาษที่แจกไว้ เมื่อทำเสร็จแล้ว ให้เด็กมานำเสนอความฝันของตนเอง

วันที่ 6 ธันวาคม 2560 ผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการหลงผิดเกี่ยวกับยาเสพติด มาร่วมแชร์ประสบการณ์ และให้ข้อคิดแก่เด็กและเยาวชน เพื่อให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงโทษภัยของยาเสพติด พร้อมทั้งให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาต่อ สำหรับเด็กและเยาวชนที่ขาดการศึกษา เพื่อให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา และเป็นทางเลือกสำหรับเด็กและเยาวชนที่จะศึกษาต่อ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถ และสามารถพึ่งตนเองได้

วันที่ 7 ธันวาคม 2560 พาเด็กและเยาวชนไปเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์โบราณของเมืองปัตตานีเดิมที่เกี่ยวโยงมาจากเมืองลังกาสุกะ คือ สุสานพญาอินทิรา เป็นผู้ก่อตั้งรัฐปาตานีดารุสลาม (นครแห่งสันติ) นอกจากนั้น ยังเป็นที่ฝังพระศพราชินี 3 องค์ ได้แก่ ราชินีฮิเยา ราชินีบีรู และราชินีอูงู แห่งราชวงศ์ศรีวังษา ผู้ปกครองปัตตานี   เดินทางกลับโดยสันติภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เด็กและเยาวชนเข้าใจเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับแนวทางการ ดะวะห์

2.ส่งเสริมเยาวชน เรียนรู้ โทษภัยของยาเสพติด

3.เด็กและเยาวชนเรียนรู้ และปฏิบัติ ตามหลักการอิสลาม 5 ประการ (รูก่นอิสลาม) ที่ถูกต้อง 4.บำบัด/รักษา กายและจิตใจ โดยใช้หลักการอิสลาม 5 ประการ เลิกยาเสพติด

5.เพื่อคืนคนดี สู่สังคม สานพลังเยาวชน สู่สันติสุข สันติภาพอย่างยั้งยืน

6.เรียนรู้บุคคลต้นแบบในการใช้ชีวิต

7.เด็กและเยาวชนที่ผ่านการบำบัดยาเสพติด (ดะวะห์ 7 วัน) เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น

8.เรียนรู้ประวัติศาสตร์อิสลามสมัยโบราณ

 

30 30

7. เวทีการอบรมเรียนรู้พิษภัยของยาเสพติด รุ่นที่ 2

วันที่ 26 ธันวาคม 2560

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 26 ธันวาคม 2560 สนับสนุนจากภาคประชาสังคมตามโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต.ภายใต้กิจกรรม เวทีการอบรมเรียนรู้พิษภัยของยาเสพติด รุ่นที่ 2 ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนองค์กรชุมชนตำบลสะนอ มีผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย นายรอสาลี อดุลย์อภิมุข นายกองค์การบริหารตำบลสะนอ, โต๊ะอีหม่าน หมู่ 4 ตำบลสะนอ , นายแวอีซอ หะยีอีซอ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน , หน่วยญาลันนันบารู, ตัวแทนครูของ 3 โรงเรียน และผู้แทนเด็กและเยาวชน รวมทั้งหมดจำนวน 70 คน โดยวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยยาเสพติดและ ให้นักเรียนร่วมกันระดมความเกี่ยวผลกระทบ ด้านต่อไปนี้

  1. ด้านตัวเอง ได้แก่ บกพร่องในระบบความคิด ขาดความรับผิดชอบ อ่อนเพลีย เป็นต้น

  2. ด้านครอบครัว ได้แก่ ทำให้พ่อแม่เสียใจ รายจ่ายเพิ่มขึ้น เป็นต้น

  3. ด้านชุมชน ได้แก่ ลักขโมย ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นต้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ส่งเสริมเยาวชน เรียนรู้ โทษภัยของยาเสพติด

2.คืนคนดี สู่สังคม สานพลังเยาวชน สู่สันติสุข สันติภาพอย่างยั้งยืน

 

70 70

8. เวทีสรุปผลการดำเนินการโครงการและนำเสนอสู่สาธารณชน

วันที่ 30 ธันวาคม 2560

กิจกรรมที่ทำ

สภาองค์กรชุมชนตำบลสะนอ จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการและนำเสนอสู่สาธารณชน ระหว่างคณะทำงานฯ และภาคีเครือข่าย ในวันที่ 30 ธันวาคม 2560 ณ สำนักงานกองเลขาจังหวัดปัตตานี โดยมีการหารือในประเด็นงานที่สำคัญโครงการสร้างคน ให้เป็นคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุข ชายแดนใต้อย่างยั้งยืน รายงานผลการดำเนินงานของการจัดกิจกรรมทั้งหมด ได้แก่

  1. ประชุมคณะกรรมสร้างคน ให้เป็นคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุข ชายแดนใต้อย่างยั้งยืน จำนวน 1 ครั้ง
  2. เวทีการสร้างความเข้าใจโครงการฯ
  3. เวทีการอบรมเรียนรู้พิษภัยของยาเสพติด 2 รุ่น
  4. การบำบัดผู้ติดยาเสพติด(ดะวะห์ 3 วัน) ครั้งที่ 1
  5. การบำบัดผู้ติดยาเสพติด(ดะวะห์สัญจร 7 วัน) ครั้งที่ 2
  6. ฝึกอาชีพช่างซ่อมรถจักยานยนต์ระยะสั้น
  7. เวทีสรุปผลการดำเนินการโครงการและนำเสนอสู่สาธารณชน
      พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ พร้อมร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนงานของสภาองค์กรชุมชนตำบลสะนอ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ทราบถึงรายงานผลการดำเนินงานโครงการสร้างคน ให้เป็นคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุข ชายแดนใต้อย่างยั้งยืน ที่ได้รับงบสนับสนุนจาก ภาคประชาสังคมตามโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต.
  2. ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินโครงการทั้งหมด

 

50 50

9. ค่าประสานงาน/ค่าเดินทางของคณะกรรมการ

วันที่ 30 ธันวาคม 2560

กิจกรรมที่ทำ

ประสานงาน/ค่าเดินทางของคณะกรรมการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประสานงาน/ค่าเดินทางของคณะกรรมการ

 

23 23

10. จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน

วันที่ 30 ธันวาคม 2560

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รายงานผลการดำเนินงาน

 

23 23

11. ประชุมคณะกรรมการ โครงการสร้างคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุข ชายแดนใต้อย่างยั่งยืน

วันที่ 25 กรกฎาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานสภาองค์กรชุมชนสะนอ ได้มีการวางแผนการดำเนินงาน โดยมีการกำหนดการประชุมเตรียมระหว่างคณะทำงานฯ ในวันที่ 03 ตุลาคม 2560 ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนองค์กรชุมชนตำบลสะนอ  โดยมีการหารือในประเด็นสำคัญ คือ เนื้อหาและรูปแบบของการของจัดเวทีการสร้างความเข้าใจโครงการสร้างคน ให้เป็นคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุข ชายแดนใต้อย่างยั่งยืน และหน่วยงานที่ควรจะประสานเข้าร่วมเพื่อให้ข้อมูลและเสริมศักยภาพคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนสะนอและผู้เข้าร่วมโครงการ โดยมติที่ประชุมกำหนดการจัดเวทีการสร้างความเข้าใจโครงการสร้างคน ให้เป็นคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุข ชายแดนใต้อย่างยั่งยืน ในวันที่ 14 ตุลาคม  2560 ณ ศูนย์เรียนรู้องค์กรชุมชนตำบลสะนอ โดยมอบหมายให้ผู้ประสานงานสภาองค์กรชุมชนตำบลสะนอ ประสานจัดเตรียมสถานที่ประชุม และประสานงานหน่วยงานเกี่ยวข้องและตำบลเป้าหมาย จำนวน 50 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะกรรมการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการสร้างคน ให้เป็นคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุข ชายแดนใต้อย่างยั่งยืน
  2. วางแผนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดกิจกรรมในวันที่ 14 ตุลาคม 2560

 

23 23

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
๑ เพื่อส่งเสริมเยาวชน เรียนรู้ โทษภัยของยาเสพติด ๒ เพื่อให้การเรียนรู้ และปฏิบัติ ตามหลักการอิสลาม ๕ ประการ (รูก่นอิสลาม) ที่ถูกต้อง ๓ เพื่อบำบัด/รักษา กายและจิตใจ โดยใช้หลักการอิสลาม ๕ ประการ เลิกยาเสพติด ๔ เพื่อคืนคนดี สู่สังคม สานพลังเยาวชน สู่สันติสุข สันติภาพอย่างยั้งยืน

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมคณะกรรมการ โครงการสร้างคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุข ชายแดนใต้อย่างยั่งยืน                                                  (2) เวทีการสร้างความเข้าใจโครงการสร้างคน ให้เป็นคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุข ชายแดนใต้อย่างยั่งยืน (3) การบำบัดผู้ติดยาเสพติด (ดะวะห์ 3 วัน) ครั้งที่ 1  (4) ฝึกอาชีพช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ระยะสั้น (5) เวทีการอบรมเรียนรู้พิษภัยของยาเสพติด รุ่นที่ 1 (6) การบำบัดผู้ติดยาเสพติด(ดะวะห์ 7 วัน) ครั้งที่ 2 (7) เวทีการอบรมเรียนรู้พิษภัยของยาเสพติด รุ่นที่ 2 (8) อบรมการบันทึกข้อมูลโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไข้ปัญหาและพัฒนา จชต. (9) ค่าวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน (10) เวทีสรุปผลการดำเนินการโครงการและนำเสนอสู่สาธารณชน  (11) ค่าประสานงาน/ค่าเดินทางของคณะกรรมการ (12) จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


สร้างคน ให้เป็นคน สานพลังเยาวชน คืนคนดี สานสันติสุขชายแดนใต้อย่างยั่งยืน จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( - หน่วยงาน/ชื่อองค์กรสภาองค์กรชุมชนตำบลสะนอ- ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลเล๊าะวาแม )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด