directions_run

พัฒนาศักยภาพเยาวชนด้วยหลักศาสนธรรมบำบัดห่างไกลยาเสพติดหมู่บ้าน บ้านตะโละ ต.ยะต๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาศักยภาพเยาวชนด้วยหลักศาสนธรรมบำบัดห่างไกลยาเสพติดหมู่บ้าน บ้านตะโละ ต.ยะต๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา
ภายใต้โครงการ ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมประชาภาคสังคม ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้
ภายใต้องค์กร องค์กร???
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 17 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 กันยายน 2560 - 31 มีนาคม 2561
งบประมาณ 118,180.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ มัสยิดดารุนนาอีม บ้านตะโละ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหะรง สะกะแย
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่หมู่บ้านและชุมชนบ้านตะโละ หมู่ที่ 3 ต.ยะต๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 ก.ย. 2560 31 มี.ค. 2561 118,180.00
รวมงบประมาณ 118,180.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

1.1 สถานการณ์/แนวโน้มปัญหา (โปรดระบุสถานการณ์ปัญหาของพื้นที่/กลุ่มเป้าหมายทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพให้ชัดเจน) เยาวชนเป็นบุคคลที่สำคัญที่จะพัฒนาชุมชนในอนาคตถ้าเยาวชนเข้มแข็งมีอีหม่านที่ศรัทธาต่อศาสนาอย่างแท้จริงและไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดแล้วเยาวชนก็จะเป็นบุคคลที่มีคุณภาพสามารถดูแลชุมชนและสังคมให้มีความสุขความเจริญและก้าวหน้าต่อไป
ประชากรในชุมชนบ้านตะโละ ตำบลยะต๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลามีจำนวนประชากรทั้งหมด 1,677 คน แยกเป็นเพศชาย 836 คน เพศหญิง 841 คน และในจำนวนนี้มีเยาวชนทั้งหมด 291 คนมีเยาวชนชาย จำนวน 150คน กำลังศึกษา 70 คน มีงานทำ 30 คน และว่างงาน 50 คน จากการสำรวจพบว่าในเยาวชนชาย 50 คนอยู่ในกลุ่มเสี่ยงยาเสพติด ทำให้เยาวชนมีการไปมั่วสุ่มเกี่ยวกับยาเสพติดเกิดขึ้น ปัญหาวัยรุ่นเกิดผลจากการขาดหลักธรรมศาสนานำชีวิต เกิดปัญหาสถานการณ์ในหมู่บ้าน เยาวชนมีการลักขโมยโดยเฉลี่ยเดือนละ 7 ครั้งเช่น ขี้ยาง มะพร้าว การลักลอบตัดไม้ยางพารา เป็นต้น ชุมชนเกิดความเครียดในการทำงาน เด็กมีนิสัยกระด้างไม่เคารพต่อพ่อแม่ เกิดกลุ่มก่อกวนทะเลาะวิวาทอย่างต่อเนื่อง ไม่เคารพกฎกติกาในหมู่บ้านทำให้คนในหมู่บ้านไม่ปลอดภัย เกิดความหวาดระแวงซึ่งกันและกันระหว่างเยาวชนกับชาวบ้าน
ดังนั้นมัสยิดดารุลนาอิมตำบลยะต๊ะ อำเภอรามันจังหวัดยะลา จึงเห็นความสำคัญของเยาวชนอย่างยิ่ง จึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้วยหลักศาสนธรรมบำบัดห่างไกลยาเสพติดบ้านตะโละ ตำบลยะต๊ะอำเภอรามันจังหวัดยะลาและพัฒนาความเข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเพื่อให้หมู่บ้านปราศจากยาเสพติดและมีความสันติสุขตามนโยบายของรัฐบาล

1.2 สาเหตุของปัญหา - ผู้ปกครองไม่ให้ความสำคัญกับการปลูกฝังจิตใจในด้านศาสนา เนื่องจากครอบครัวมีฐานะยากจนจำเป็นต้องทำงานโดยไม่มีเวลาจะมาศึกษาหาความรู้ในด้านศาสนานำหลักคำสอนมากล่อมจิตใจดูแลครอบครัวเอาใจใส่ที่ถูกต้อง เพื่อสั่งสอนให้เยาวชนห่างไกลจากยาเสพติด -ส่วนเยาวชนเองก็ขาดการศึกษาในด้านคุณธรรม จริยธรรม และด้านศาสนาลดลง เนื่องจากการศึกษาภาคบังคับของศาสนามีจำนวนน้อยคนที่ได้ศึกษาทำให้สภาพสิ่งแวดล้อมนำพาเยาวชนไปนอกศาสนาโดยไม่รู้ตัว และสิ่งที่ตามอีกก็เป็นความเจริญของวัตถุมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทำให้การปรับสภาพของเยาวชนไม่ทันในด้านศาสนา นอกจากนี้การแพร่ระบาดของยาเสพติดมากขึ้นในหมู่บ้านจึงไม่สามารถนำกฎหมายมาบังคับได้ เว้นแต่จะต้องนำหลักธรรมทางศาสนาอิสลามมาแก้ปัญหา
1.3 วิเคราะห์ปัจจัยเอื้อและปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดสำหรับการดำเนินงาน (ปัจจัยที่เอื้อ/ทุนเดิมของพื้นที่/จุดแข็งจุดอ่อน ปัญหาอุปสรรค/ข้อจำกัด)
ปัจจัยเอื้อ ความร่วมมือจากผู้นำในหมู่บ้านที่ประจักษ์มีความตระหนักในด้านการแก้ปัญหาเยาวชนที่เสพยาเสพติดและผู้เสี่ยงกับยาเสพติดให้เยาวชนอยู่ภายใต้การดูแลของหมู่บ้านให้ผู้ติดยาเสพติดลดน้อยลงตามลำดับ ผู้ปกครองให้การสนับสนุนในการการดำเนินงานการแก้ปัญหาของยาเสพติดเพื่อให้การแก้ปัญหาครั้งนี้บรรลุโดยเร็วที่สุด พร้อมนั้นทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ในชุมชนให้การสนใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ปัจจัยจำกัด ผู้ปกครองมีรายได้ลดลงไม่มีเวลาที่จะมาให้การใส่ใจต่อเยาวชนที่มีปัญหาทำให้ความห่างไกลระหว่างผู้ปกครองและเยาวชนมีขึ้น เยาวชนขาดการดูแลที่เหมาะสมท่ามกลางความตกต่ำทางเศรษฐกิจทำให้เยาวชนขาดโอกาสทางการศึกษา ไม่ได้เรียนหนังสือเด็กเหล่านี้ถูกผลักให้เข้าไปสู่วังวนของยาเสพติดหรือชักจูงไปในทางที่ไม่ดี
1.4 โอกาส/แนวทางแก้ไขปัญหา (ควรอธิบายให้เห็นด้วยว่าแนวทางการแก้ปัญหามีลักษณะเป็นนวัตกรรมหรือไม่ อย่างไร) (นวัตกรรม หมายถึง วิธีการแก้ปัญหาที่ใหม่ สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้จริงและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม)

การเปิดโอกาสผู้นำในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการแก้ปัญหาเยาวชนในหมู่บ้านที่มีปัญหากับยาเสพติดมุ่งพัฒนาตัวบุคคล คือ การดำเนินงานให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกัน ปัญหายาเสพติดต้องให้ความสำคัญกับการสร้างศักยภาพ และคุณภาพชีวิตของเยาวชน เพื่อให้ความสามารถในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพภายใต้แวดล้อมทางสังคม ควรเริ่มต้นจากการเตรียมความพร้อมของตัวเองก่อน คือการได้รับความรู้ การให้การศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิต นับเป็นกระบวนการที่สร้างคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 116.00 11 120,910.00
1 ก.ย. 60 - 1 ธ.ค. 60 การเดินทางและติดต่อประสานงาน 0 1.00 1,750.00
15 ก.ย. 60 - 29 ธ.ค. 60 การศึกษาร่วมกลุ่ม (ฮาลาเกาะอัลกุรอาน) ทุกๆสัปดาห์ของกลุ่มเยาวชนทุกคืนวันศุกร์ รวม 16 สัปดาห์ 0 46.00 46,600.00
26 ก.ย. 60 - 15 ม.ค. 61 ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง ทั้งหมด 4 ครั้ง 0 4.00 4,310.00
15 ต.ค. 60 - 23 ธ.ค. 60 กีฬาต้านยาเสพติด จัดกิจกรรมเดือนละครั้ง รวม 4 ครั้ง 0 7.00 7,700.00
30 ธ.ค. 60 จัดทำรายงานการดำเนินการ 0 1.00 1,750.00
15 ก.ค. 61 กิจกรรมประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ปกครองเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย 0 6.00 6,200.00
15 ก.ค. 61 อบรมให้ความรู้ต่อเยาวชนเสี่ยงกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับยาเสพติด 0 16.00 16,900.00
15 ก.ค. 61 บำเพ็ญประโยชน์ 3 ครั้ง 0 21.00 21,200.00
15 ก.ค. 61 พิธีเปิดกิจกรรมโครงการ 0 7.00 7,250.00
15 ก.ค. 61 อบรมการบันทึกข้อมูลการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมฯ 0 0.00 0.00
30 ธ.ค. 61 จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการและนำเสนอสู่สาธารณชน 0 7.00 7,250.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2561 16:52 น.