directions_run

VCDแกะรอยการจัดการปัญหาการจัดการเรียนการสอนอัลกุรอาน ระบบกีรออาตีและการบริหารจัดการศูนย์กีรออาตีที่ผ่านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เพื่อการเรียนรู้และเผยแพร่สู่สังคมสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ VCDแกะรอยการจัดการปัญหาการจัดการเรียนการสอนอัลกุรอาน ระบบกีรออาตีและการบริหารจัดการศูนย์กีรออาตีที่ผ่านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เพื่อการเรียนรู้และเผยแพร่สู่สังคมสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ภายใต้โครงการ ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมประชาภาคสังคม ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้
ภายใต้องค์กร องค์กร???
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 17 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 กันยายน 2560 - 31 มกราคม 2561
งบประมาณ 241,330.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นอิสลามศึกษาและวัฒนธรรม
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวตูแวคอลีเย๊าะ กาแบ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.6844788571736,101.35045662543place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 ก.ย. 2560 31 ม.ค. 2561 241,330.00
รวมงบประมาณ 241,330.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในทัศนะของศาสนาอิสลาม อัลกุรอานถือเป็นคำภีร์อันสูงส่งของศาสนาที่มวลมุสลิมต้องมีการศึกษาและใช้ชีวิตตามแบบหลักคำสอนของศาสนาอิสลามและมุสลิมทุกคนต้องมีการศึกษาและอ่านอัลกุรอานให้ได้การจัดการเรียนรู้การอ่านอัล-กุรอานที่ผ่านมาของชุมชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่จะใช้ระบบที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป คือ ระบบบัฆดาดียะฮฺ(Baghdadiyah) เป็นระบบการฝึกการอ่านอัล-กุรอานแบบสะกดคำ ต่อมามีการคิดค้นระบบการอ่านแบบใหม่โดยผู้รู้จากประเทศอินโดเซียจึงเกิดแบบฝึกอ่านกีรออาตี (Qiraati) จำนวนห้าเล่มซึ่งผลการอ่านเป็นที่น่าพอใจต่อมาจึงมีการขยายชุดความรู้ต่างๆเหล่านี้เข้ามาสู่ประเทศมาเลเซียและไทยได้นำมาทดลองใช้ด้วยโดยการจัดการเรียนการสอนกีรออาตีในประเทศไทยโดยเฉพาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีการนำระบบการสอนแบบกีรออาตีซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเด็กที่เรียนอัลกุรอานแบบกีรออาตี ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่อยู่ช่วงอายุ 5 -15ปีซึ่งเป็นเด็กที่กำลังเรียนระดับอนุบาลประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดของรัฐและเอกชนซึ่งจากผลการประชุมของตัวแทนครูผู้สอนกีรออาตีในประเทศไทย พบว่า ศูนย์และโรงเรียนที่นำระบบกีรออาตีมาใช้ยังคงพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคของโรงเรียนสอนกีรออาตีกล่าว คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากครูผู้สอนไม่มีความเข้าใจในหลักการจัดการสอนตามมาตรฐานของครูผู้สอนระบบกีรออาตีและส่วนหนึ่งที่เกิดจากผู้เรียนเช่นเล่นในเวลาเรียนพัฒนาการในการอ่านช้าเด็กขาดความกระตือรือร้นในการเรียนเป็นต้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการบริหารจัดการของโรงเรียน ทั้งหมดล้วนแต่มีความเชื่อมโยงกัน ดังนั้นเพื่อสร้างกระบวนการสร้างการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและการแก้ปัญหาของศูนย์กีรออาตีแต่ละแห่งอย่างเป็นรูปธรรมจึงมีดำเนินการโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหาเป็นชุดโครงการกีรออาตีจังหวัดปัตตานีที่ครอบคลุมเรื่องการบริหารจัดการการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนการพัฒนาผู้สอนการยกระดับความสามารถในการอ่านอัลกุรอานระบบท่องจำครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กผู้ใหญ่ผู้สอนและผู้ปกครองที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นอิสลามศึกษาและวัฒนธรรมเป็นผู้พัฒนาโครงการวิจัยร่วมกับกลุ่มต่างๆในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องกีรออาตีรวมจำนวน10 โครงการ ผลการวิจัยโดยรวมสามารถสร้างปรากฏการณ์เชิงบวกสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้และทุกพื้นที่กลายเป็นแหล่งศึกษาดูงานของชุมชนใกล้เคียงโดยเฉพาะเรื่องที่ศูนย์กีรออาตีอื่นๆให้ความสำคัญและมีปัญหาอย่างมากคือเทคนิค วิธีการ การจัดการเรียนการสอนที่ได้ผลทำให้เด็กสามารถอ่านได้อย่างรวดเร็วและจำได้แม่นยำการบริหารจัดการโดยชุมชนมีส่วนร่วมและการพัฒนาครูผู้สอน ซึ่งที่ผ่านมาชุมชนมีการนำเสนอด้วยปากเปล่าเพื่อบอกเล่าประสบการณ์การดำเนินการและแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วยตนเองซึ่งผู้มาศึกษาดูงานรวมทั้งหน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชนองค์กรต่างประเทศที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้ในพื้นที่โครงการวิจัยต่างเรียกร้องให้มีการผลิตสื่อและเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านสื่อที่ทันยุคสมัยด้วย เพื่อสามารถนำไปศึกษาและสร้างความเข้าใจในวงกว้างมากขึ้นและสามารถนำไปใช้ในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะต้องการให้มีการจัดทำvcdเพื่อการเผยแพร่
ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนกีรออาตีได้ขยายในทุกพื้นที่ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีทั้งหมด1491 หมู่บ้าน 249 ตำบล 33อำเภอ ประกอบกับระบบการสอนแนวนี้ก็มีความพยายามโดยหน่วยงานรัฐหลายแห่งโดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส รวมทั้ง อบต.ในพื้นที่บางแห่งได้มีโครงการจัดฝึกอบรมครูสอนอัลกุรอานให้มีความเข้าใจในระบบการจัดการเรียนรู้การอ่านอัล-กุรอานโดยใช้ระบบกีรออาตีอย่างต่อเนื่องแต่เมื่อภายหลังการอบรมแล้วในหลายๆพื้นที่ประสบปัญหาทั้งด้านคุณภาพครูนักเรียนระบบการบริหารจัดการ การทำงานที่ขาดชุมชนมาสนับสนุนซึ่งมีความจำเป็นต้องมีการเติมเต็มและเรียนรู้เทคนิค วิธีการทั้งจากประสบการณ์ตรง และต้องได้รับจากสื่อในลักษณะvcdด้วย ในขณะสื่อเผยแพร่การจัดการปัญหาดังกล่าวนี้ยังไม่มีผู้ใดและหน่วยงานไหนเป็นผู้ดำเนินการมาก่อน เพื่อ ดังนั้นการดำเนินโครงการในครั้งนี้จึงต้องการแก้ปัญหาและเผยแพร่องค์ความรู้ในด้านการพัฒนาการเรียนการสอนการพัฒนาครูผู้สอนและการบริหารจัดการในรูปแบบ VCDแกะรอยการจัดการปัญหาการจัดการเรียนการสอนอัลกุรอานระบบกีรออาตีและการบริหารจัดการศูนย์กีรออาตีที่ผ่านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เพื่อการเรียนรู้และเผยแพร่สู่สังคมสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้สมควรยิ่งที่ต้องเผยแพร่เพื่อให้กลุ่มชุมชน สังคมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และชุมชนอื่นๆนำไปปรับใช้ในพื้นที่เพื่อก้าวสู่สังคมสันติสุขพร้อมๆกันด้วยซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของ ศอ.บต. ที่ยึดหลักยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจเข้าถึง พัฒนาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งสนับสนุนแนวทางการทำให้สังคมไทยและสังคมในพื้นที่ยอมรับและเห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมและรับผิดชอบร่วมกันในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงเป็นที่มาของการเสนอโครงการในครั้งนี้

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 241,330.00 9 241,330.00
15 ก.ย. 60 - 31 ธ.ค. 60 ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง 0 11,800.00 11,800.00
17 ก.ย. 60 ประชุมตัวแทนแต่ละโครงการเพื่อชี้แจงโครงการ 0 11,490.00 11,490.00
18 ก.ย. 60 - 31 ม.ค. 61 บริหารจัดการโครงการ 0 3,790.00 3,790.00
14 ต.ค. 60 - 15 ธ.ค. 60 จัดเวทีถอดบทเรียน 3 ประเด็น (การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการ และการพัฒนาครูผู้สอน) 0 35,000.00 35,000.00
17 พ.ย. 60 - 31 ธ.ค. 60 ปฏิบัติการทำ VCD จำนวน 3 เรื่อง 0 121,250.00 121,250.00
31 ธ.ค. 60 - 31 ก.ค. 61 จัดเวทีพิจารณาและเพิ่มเติมข้อมูล VCD เพื่อปรับปรุง 0 8,600.00 8,600.00
31 ธ.ค. 60 จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการและนำเสนอสู่สาธารณชน 0 40,500.00 40,500.00
29 - 30 ม.ค. 61 จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน 0 8,900.00 8,900.00
14 ก.ค. 61 อบรมการบันทึกข้อมูลโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต.ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 0 0.00 0.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2561 16:55 น.