โครงการชีวินทรีย์ เพื่อสุขภาวะชุมชนคนอ่าวลึกน้อย

เวทีนำเสนอตรวจสอบคุณภาพดินผลการตรวจสอบคุณภาพดินและวิเคราะห์แนวทางแก้ไข28 มิถุนายน 2556
28
มิถุนายน 2556รายงานจากพื้นที่ โดย k-zem
circle
วัตถุประสงค์

1 เกษตรกรได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในลักษณะคุณภาพดิน 2 เห็นความต่างของเกษตรอินทรีย์กับเกษตรเคมีสืบเนื่องไปถึงต้นทุนและพิษของสารเคมี ทั้งระบบหากใช้ไปนานๆ ทางรอดสำหรับอนาคต แทบไม่มี

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดเวทีขนานย่อมในลักษณะประชุม  เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเชิญวิทยากรจากสำนักพัฒนาที่ดิน จ.กระบี่ และเกษตรอำเภออ่าวลึกมาเป็นวิยากรให้กับเกษตรกรปาล์มน้ำมัน ต.อ่าวลึกน้อย 75 คน แจ้งผลการตรวจสอบคุณภาพดินและเปรียบเทียบให้เห็นถึงคุณลักษณะที่ต่าง –ทั้งคุณภาพดิน -ต้นทุนการผลิต ข้อดีของการใช้เกษตรอินทรีย์ 1 ดินมีความโปรง 2 ระยะเวลาการปลดปล่อยธาตุอาหารแก่พืชยาวกว่า 3 ตอบสนองปุ๋ยเคมีจากการกำหนดใช้ดีกว่า ตามความเป็นจริง 4 ลดต้นทุนการผลิตได้ถึง25% 5 ดินมีจุลินทรีย์ที่ควบคุมระบบต่างๆในรากและต้นพืชมีผลต่อการให้ผลผลิต ข้อเสีย 1 ต้องเตรียมการเสียเวลาสำหรับทุนนิยม เวลาในปัจจุบันรีบเร่งตลอดแรงงานมีราคา/วันสูง 2 ธาตุอาหารทดแทนตามต้องการไม่ครบร้อยเปอร์เซ็นต์กับวัตถุดิบชีวภาพ(มูลสัตว์) ข้อดีของเคมี 1 โครงสร้างดินเสีย 2 ต้นทุน1 กระสอบสูง 3 มีพิษค้างในผลผลิต เช่นยาฆ่าหญ้าและปุ๋ยเคมีบางตัว 4 จุลินทรีย์และสัตว์หน้าดินโดยเฉพาะไส้เดือนดินจะตายหมดเทื่อใช้ไปนานๆ 5 ผิวดินไม่อุ้มน้ำรักษาความชื้นในยามวิกฤตหรือภาวะแล้งปริมานน้ำน้อย ไม่ได้ผลการตรวจคุณภาพดีในแปลงตัวอย่าง 10 แปลง ไม่เกิดความแตกต่างมากนักเมื่อรวมทั้งพื้นที่ แต่พื้นที่หรือจดจำเพราะเปรียบเทียบที่ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพจากการใช้วัสดุ หรือใช้ในแปลงดีมาก PH ดินอยู่ที่6.5 เหมาะแก่การเจริญเติบโตให้ผลผลิตของปาล์ม N.O.62P.O.60K.O.44C.15.51. อินทรีย์ วัตถุ 29.93 ความชื้น 37.06 สรุปเป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่งหากแม้ได้ทำเต็มพื้นที่จะดีมาก แต่ต้นทุนสูง ผลจากการวิเคราะห์ตรวจสอบดินในแปลงเกษตรของยุวเกษตรกรโรงเรียนบ้านอ่าวลึกน้อยจากการตรวจสอบคุณภาพดิน PHดิน6.5 NO.72 P.O.72KO.44C16.51ซากพืช7.34อินทรีย์ วัตถุ29.93 ความชื้น38.64 นับว่าดีมากสำหรับการปลูกผักใบ/ผักสวนครัวและทุกกลุ่มมีกองปุ๋ยหมักเป็นของตัวเองทั้ง5 กลุ่ม หลีกเลี้ยงการใช้สารเคมีทุกชนิด

ประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมาย ได้ให้ความสำคัญตลอดจนครัวเรือน โรงเรียน ชุมชน หน่วยงาน อื่นๆ ได้สำเร็จ -ที่ประชุมสภาเกษตร -ที่ประชุม กม. ศาลาประชาคม อ.อ่าวลึก อ.เกาะลันตา อ.คลองท่อม โดยกรมส่งเสริมการเกษตรเสียงตามสาย อ.บ.ต. อ่าวลึกน้อย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

หลายท่านเข้าใจ หลายท่านคำนึงถึงแรงงานและเวลาในการปฏิบัติเป็นหลักเพราะพื้นที่มาก ไม่สามารถปฏิบัติได้ในเวลาเดียวแปลงเกษตร โรงเรียนบ้านอ่าวลึกน้อย ผลตรวจเช็คคุณภาพดิน ดีมากเหมาะแก่การปลูกผักและยุวเกษตรกรสนใจมาก และปฏิบัติได้ ทุกกลุ่มมีกองปุ๋ยของตัวเองงและไม่ใช้เคมีทุกชนิด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1 ค่อยๆทยอยทำในแปลงที่มีพื้นที่มาก 2 ทำบัญชีควบคุมต้นทุนเปรียบเทียบระยะยาว กับการผลิตที่ได้กับต้นทุน 3 แสดงให้เห็นทางรอดโดยอ้าง AEC หากไม่ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตในพื้นที่เกษตรของตนเอง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายทวีชัย อ่อนวน
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ตามที่ได้รายงายผลดังกล่าว กิจกรรมบางขั้นตอนสลับซับซ้อน ต้องใช้กระบวนการ และสลับขั้นตอนและช่วงของเวลาเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดของกลุ่มเป้าหมายและประสิทธิภาพของโครงการ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-