task_alt

โครงการชีวินทรีย์ เพื่อสุขภาวะชุมชนคนอ่าวลึกน้อย

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการชีวินทรีย์ เพื่อสุขภาวะชุมชนคนอ่าวลึกน้อย

ชุมชน บ้านอ่าวลึกน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลอ่าวลึกน้อย อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ รหัสไปรษณีย์ 81110

รหัสโครงการ 55-01783 เลขที่ข้อตกลง 55-00-0945

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 ตุลาคม 2556

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤศจิกายน 2555 ถึงเดือน มกราคม 2556

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เวทีชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการและให้ความรู้เรื่องผลกระทบของสารเคมีต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม (ใช้ข้อมูลและวิธีการสาธิตให้เห็นผลชัดเจน) พร้อมรับสมัครครัวเรือนที่สนในเข้าร่วมโครงการสวนปาล์มปลอดภัย

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อจัดเวทีชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการและให้ความรู้เรื่องผลกระทบของสารเคมีต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
  2. เพื่อรับสมัครครัวเรือนที่สนใจเข้าร่วมโครงการสวนปาล์มปลอดภัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีกลุ่มเป้าหมายหลากหลาย ทั้งกลุ่มแกนนำ ภาคีเครือข่าย และผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจโครงการ สังเกตจากการซักถามของผู้ร่วมประชุม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดเวทีชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการและให้ความรู้เรื่องผลกระทบของสารเคมีต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม (ใช้ข้อมูลและวิธีการสาธิตให้เห็นผลชัดเจน)
  • รับสมัครครัวเรือนที่สนใจเข้าร่วมโครงการสวนปาล์มปลอดภัย

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ
  • ให้ความรู้เรื่องผลกระทบของสารเคมีต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
  • ประชาสัมพันธ์ครัวเรือนที่สนใจเข้าร่วมโครงการสวนปาล์มปลอดภัย

 

0 0

2. สำรวจและรวบรวมข้อมูลวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในชุมชน เช่น ทางปาล์มน้ำมัน มูลสัตว์ เศษอาหาร เพื่อทราบปริมาณที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุตั้งต้นของการสาธิตและปฏิบัติการทำปุ๋ยอินทรีย์ของชุมชน โดยใช้กลไกกลุ่มยุวเกษตรกรของโรงเรียนบ้านอ่าวลึกน้อยเป็นผู้ลงพื้นที่สำรวจ

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2555 เวลา 16:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในชุมชน เพื่อนำมาใช้เป็นวัสดุตั้งต้นของการสาธิตและฏฏิบัติการทำปุ๋ยอินทรีย์ของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กลุ่มยุวเกษตรกรบ้านอ่าวลึกน้อยจำนวน 50 คน มีเอกสารในการลงพื้นที่สำรวจ ผู้ใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีในชุมชน โดยแบ่งการลงพื้นที่ไปสำรวจครอบครัวเกษตรกร 75 ครัวเรือน เนื้อที่ประมาณ 678 ไร่ พบว่า เกษตรกรยังมีการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี ยาฆ่าหญ้า และสารเคมีอื่นๆประมาณ 60% ของจำนวนเกษตรกร และพบว่า เกษตรกรประมาณ 71 ครัวเรือนต้องการลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีอื่นๆ เนื่องจากต้นทุนสูง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สำรวจและรวบรวมข้อมูลวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในชุมชน เช่น ทางปาล์มน้ำมัน มูลสัตว์ เศษอาหาร เพื่อทราบปริมาณที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุตั้งต้นของการสาธิตและปฏิบัติการทำปุ๋ยอินทรีย์ของชุมชน โดยใช้กลไกกลุ่มยุวเกษตรกรของโรงเรียนบ้านอ่าวลึกน้อยเป็นผู้ลงพื้นที่สำรวจ

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มยุวเกษตรกรบ้านอ่าวลึกน้อยจำนวน 50 คนได้ลงพื้นที่สำรวจและรวบรวมข้อมูลวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในชุมชน เช่น ทางปาล์มน้ำมัน มูลสัตว์ เศษอาหาร เพื่อทราบปริมาณที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุตั้งต้นของการสาธิตและปฏิบัติการทำปุ๋ยอินทรีย์ของชุมชน

 

0 0

3. ชี้แจงวิธีการจัดเก็บข้อมูลและบันทึกการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีในครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย โดยกลุ่มยุวเกษตรกรบ้านอ่าวลึกน้อย (สำรวจปริมาณการใช้ และราคาของสารเคมีจากเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายและร้านค้าที่จำหน่าย)

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2555 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงวิธีการจัดเก็บข้อมูลและบันทึกการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีในครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ประชุมชี้แจงวิธีการเก็บข้อมูล

  • มีเอกสารแบบสอบถามในลงพื้นที่เก็บข้อมูล

  • นัดหมายวันที่ในการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดเก็บข้อมูลและบันทึกการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีในครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย โดยกลุ่มยุวเกษตรกรบ้านอ่าวลึกน้อย (สำรวจปริมาณการใช้ และราคาของสารเคมีจากเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายและร้านค้าที่จำหน่าย)

กิจกรรมที่ทำจริง

ได้มีการอบรมนักเรียน50คนซึ่งเป็นยุวเกษตรกรโรงเรียนในชุมชนอ่าวลึกน้อย เพื่อทำความเข้าใจแบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย

 

0 0

4. จัดเก็บรวบรวมเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เศษอาหาร มูลสัตว์ ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำมาสาธิตการทำปุ๋ยอิทรีย์จากวัสดุเหลือใช้ ที่ศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร ด้วยวิธีการขนส่งด้วยรถ 6 ล้อ

วันที่ 3 ธันวาคม 2555 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดเก็บรวบรวมเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เศษอาหาร มูลสัตว์ ของกลุ่มเป้าหมาย มาผ่านกระบวนการผลิตอาหารของไส้เดือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จัดเก็บรวบรวมเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น มูลสัตว์ ทางใบปาล์มน้ำมัน ของกลุ่มเป้าหมายไว้ที่ศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร ด้วยวิธีการขนส่งด้วยรถ 6 ล้อ และมียุวเกษตรกรมาร่วมในการสร้างความเข้าใจในการจัดเก็บเศษวัสดุเหลือใช้ดังกล่าว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

อบรมและสาธิตการขุดดินเพื่อการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์

กิจกรรมที่ทำจริง

เนื่องจากกระบวนการก่อนหน้านี้ในวันที่ 27-30 พ.ย. 2555 นั้นมีการสำรวจและรวบรวมข้อมูลวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในชุมชน จึงทำให้หลังจากกิจกรรมดังกล่าวจึงมีการจัดเก็บรวบรวมเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มูลสัตว์มารวมไว้ที่ศูนย์บริการถ่ายทอด โดยใช้ยุวเกษตรกร ร่วมกับสมาชิกเป้าหมายหลักรวม 75 คน เพื่อรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ให้เรียบร้อย ก่อนการอบรมและสาธิตการขุดตามแผนที่วางไว้

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 29 4                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 197,525.00 90,779.00                  
คุณภาพกิจกรรม 16 12                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน
  1. การดำเนินโครงการบางกิจกรรมไม่สามารถปฏิบัติตามที่ระบุในแผนงานหลักได้ เพราะโครงการมีกระบวนการที่สำคัญ
  2. การทำความเข้าใจกับกลุ่มที่รับหมอบหมายไปเก็บข้อมูล ต้องมีให้ความรู้เพื่อปฏิบัติการต่อไปได้
  3. โครงการนี้เป็นโครงการใหม่ที่เกิดขึ้นโดยเน้นกระบวนการเพื่อไปสู่เป้าหมายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ คณะกรรมการจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับชุมชนหลายครั้ง

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายเหม บุตรหลำ
ผู้รับผิดชอบโครงการ