อาหารปลอดภัยในนาอินทรีย์

พี่เลี้ยงลงพื้นที่ เพื่อติดตามโครงการ16 ธันวาคม 2555
16
ธันวาคม 2555รายงานจากพี่เลี้ยง โดย parichat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การลงพื้นที่ครั้งนี้มีกิจกรรมหลักๆด้วยกัน 2 กิจกรรม คือ 1. ติดตามการลงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการเขียนรายงาน ส.1 ส.2 และง.1 ซึงจากการตรวจสอบไม่พบปัญหา และใบเสร็จที่ใช้ก็เป็นไปตามข้อกำหนดของสสส. 2. การถอดบทเรียนการทำนาพันธ์ข้าวพื้นบ้าน จากการพูดคุยกับพี่ลลิตาผู้รับผิดชอบโครงการ ได้เล่าถึงที่มาของโครงการนี้ว่า ปัจจุบันชาวบ้านส่วนใหญ่หันมาปลูกข้าวพันธุ์ผสม ข้อเสียของข้าวพันธ์นี เมื่อโดนน้ำท่วมจะไม่มีการฟื้นตัวได้ (โดยสภาพพื้นที่มักมีน้ำท่วมบ่อย) ดังนั้นพี่ลลิตาได้นำแนวคิดการปลูกข้าวพันธ์พื้นเมืองจากกลุ่มคาบสมุทรมาปรับใช้ โดยชักจูงพื้นที่ ได้แก่บริเวณวัดจันทร์/บ่อดานและม่วงงามมาร่วมกันทำนาข้าว พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ได้แก่ พันธุ์ข้าวช่อขิงขาว/ช่อขิงแดง จากเทพา, พันธุ์ข้าวนางพญา/หอมจันทร์ เป็นต้น จากการดำเนินกิจกรรมพบภาคีเข้าร่วม คือ
- รพ.สต. จะช่วยในการให้ความรู้เกี่ยวกับสารพิษของสารเคมีที่ใช้ เพทฃื่อให้ชาวบ้านหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพ - อบต. ให้ความสำคัญต่อการทำนาเกษตรอินทรีย์ กระบวนการทำนาหลักๆประกอบด้วย 1. การไถดะเพื่อให้หญ้าตาย ประมาณ 3 สัปดาห์ เริ่มไถตั้ง จากนั้นไถแปล ให้ดินมีน้ำ 2. เริ่มหว่าน
3. ใสปุ๋ย 4. พอข้าวสุกเต็มที่ ก็มีการลงแขกเกี่ยวข้าว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ดำเนินตามปฏิทินโครงการ ซึ่งอาจมีเลื่อนวันทำกิจกรรมบ้าง เนื่องจากพันธ์ข้าวมีปัญหาเป็นเชื้อรา จำเป็นต้องหาซื้อใหม่ เพื่อแจกจ่ายให้ชาวบ้าน (ไม่ได้แจกฟรี แต่มีข้อกำหนดว่า หลังจากเกี่ยวข้าวได้แล้ว ต้องมีการคืนกลับให้กับชุมชน 5 กิโลต่อปี เพื่อจะได้แจกจ่ายให้ชาวบ้านทำในปีต่อๆไป)
  • ชาวบ้านให้ความสนใจ ร่วมกันทำกิจกรรม เนื่องจากโครงการเอื้อต่อการดำเนินชีวิตของชุมชน อีกทั้งยังช่วยลดรายจ่าย สามารถนำข้าวที่ปลูกไปใช้หุงหาอาหารได้อีกด้วย
  • ข้อดี ของข้าวพันธุ์พื้นบ้าน คือ เมื่อโดนน้ำท่วมสามารถฟื้นคืนได้ ดังนั้นจึงไม่สร้างความเดือนร้อนให้กับชาวบ้านที่ปลูกข้าว