อาหารปลอดภัยในนาอินทรีย์

จัดงานวันนาวานลงแขกเกี่ยวข้าว2 มีนาคม 2556
2
มีนาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย ลลิตา บุญช่วย
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ร่วมกันเก็บข้าวโดยใช้สมาชิกในเครือข่าย 4 ตำบลเข้าร่วมคือ ตำบลบ่อแดง ตำบลวัดจันทร์ ตำบลบ่อดาน ตำบลม่วงงามและเครือข่ายโรงเรียนที่นำเด็กเข้าร่วมกิจกรรม มีการฝึกให้เด็กเก็บข้าว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-มีการเก็บข้าวแบบซอแรง -สร้างสุขภาวะในชุมชนมีการเล่าถึงการเก็บข้าวสมัยก่อนให้เด็กฟังเช่นถ้าข้าวในนาสุกก่อนที่จะลงเก็บข้าว จะต้องมีพิธีกรรมแรกเก็บข้าวก่อนโดยการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการลงแรกเก็บคือจะต้องดูตำราโหราศาสตร์ประกอบด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ในการแรกเก็บข้าวจะต้องให้ได้ ทั้งธาตุ ดิน และธาตุน้ำ มีการผูกซังข้าวตามด้วการร่ายคาถาเชิญแม่โพสพซึ่งเป็นเทพธิดาข้าวให้มาช่วยปกปักรักษาข้าวในนาซึ่งจะมีอยู่ตอนหนึ่งที่ว่า " มาแม่มา ใครเรียก ใครหา แม่อย่าไป" พอเล่าถึงตอนนี้ทำให้หลายคนที่มีอายุมากแล้วจะนึกขึ้นมาได้ในเรื่องที่ตัวเองรู้ก็จะร่วมกันเล่าเป็นที่สนุกสนานมาก แม้แต่อาหารที่ใช้เลี้งในวันนาวานก็พยายามฟื้นฟูอาหารสมัยโบราณ ซึ่งเด็กในสมัยนี้ไม่รู้จัก เช่นของหวานที่นำมาเลี้ยงชื่อเหนียวละหวะซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้ 1.ข้าวเหนียว 2.สาคู 3.ไข่ไก่หรือไข่เป็ด 4.น้ำกะทิ 5.น้ำผึ้งโตนดหรือน้ำตาลทราย 6.เกลือ วิธีทำข้าวเหนียวแช่น้ำให้นิ่มแล้วนำมานึ่งให้สุก นำน้ำกะทิมาตั้งไฟระวังอย่าให้แตกมันจากนั้นนำส่วนผสมที่กล่าวมาข้างต้นใส่ในหม้อแล้วกวนเข้าด้วยกันให้เป็นน้ำเหลวๆ ชิมรสดูให้มีรสกลมกล่อม หวานมัน วิธีรับประทานตักราดบนข้าวเหนียว อร่อยอย่าบอกใคร ที่นิยมอีกอย่างคือขนมลอดช่องเขียวกะทิสดหรือแถวบ้านเรียกว่า หนมเท่ะดิบ