ร่วมด้วยช่วยกัน สานฝัน พัฒนาบ้านเรา

10. คนเฒ่าเปิดโรงเรียนสอนภูมิปัญญา28 เมษายน 2556
28
เมษายน 2556รายงานจากพื้นที่ โดย sahat
circle
วัตถุประสงค์

ให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ได้เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันแรกละลายพฤติกรรมเด็กและเยาวชนพร้อมเรียนรู้ที่มาของภุิปัญญาและขั้นตอนการผลิตเส้้ตเตย วันที่ 2 เริ่มจักรสาร วันสุดท้ายก็สานต่อจนเสร็จสิ้นกระบวนการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมคนเฒ่าเปิดโรงเรียนสอนภูมิปัญญา
ระหว่างวันที่  28  -  30  เมษายน  2556 เวลา  08.30 – 17.00 น. ณ บ้านเลขที่  ซอยหัวพาน  บ้านสายควน

ผู้รับผิดชอบโครงการได้ประสานกับประธานกลุ่มจักรสานเพื่อมาเป็นวิทยากรให้เด็กและเยาวชนในชุมชน ที่สนใจเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
โดยวันแรกวิทยากรได้การนำเสนอข้อมูลและวิธีการได้มาของภูมิปัญญาท้องถิ่น ว่ามีการสืบสานภูมิปัญญานี้มารุ่นต่อรุ่น จนมาถึงรุ่นของวิทยากร แต่มีคนให้ความสำคัญน้อย สมัยก่อนชาวบ้านจักเตยปาหนัน  หลังจากนั้นก็เริ่มกระบวนการที่ 2 ก่อนเนื่องจากแดดร้อยไปตัดเตยไม่ได้กลัวน้องๆจะไม่สบาย
กระบวนการที่ 2 คืดการย้อมสีเตยปาหนัน วิธีการคือ 1. ต้มน้ำให้เดือด
2.ใส่สี (เคมี) ประมาณ 1 กำมือหรือ เศษ 1/3
3. ม้วนเตย 1 กำมือ 4. ใส่เตยลงในหม้อ
5. คนให้สีเข้าเส้นเตย
6.ต้มประมาณ 30 นาที
7. เมื่อต้มเสร็จนำเตยมาตากแดด ให้เวลาประมาณ 30 นาที จนกว่าสีจะแห้งไม่ติดมือ
ได้เคล็ดลับด้วยน้ำสีที่เหลือเราสามารถนำไปย้อมเสื้อได้ด้วย เสร็จกระบวนก็เย็นแล้ว

จึงได้เวลาย้อนกลับไปกระบวนที่ 1 คือการตัดเตย
วิธีการคือ  1.คัดเลือกเตยตามขนาดที่เราต้องการ
2.เสร็จตัดกลางต้นนำมารวมกัน
3.หาเชือกสำหรับมัดรวมเตย
4. ตัดปลายเตยเลือกเฉพาะส้นที่ไม่แก่เกินไปไม่อ่อนเกินไปและไม่ขาด
5. รวมเป็นชั้นๆเพื่อให้มัดรวมสะดวก
6.ตัดปลายเตยที่ไม่ต้องการออก
7.มัดรวมเตย  ก็จะสิ้นสุดกระบวนที่ 1 ในการเตรียมเตย

วันที่สอง วิทยากรได้จัดกระบวนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่น จักรสานเสื่อใบเตยปาหนัน แต่ว่าไม่มีใครทำเสร็จสักคนเลยอะ จึงมาทำต่อในวันสุดท้าย ในที่สุดความพยายามของน้องๆก็สำเร็จ ทุกคนได้ผลงานเป็นของตัวเองจากฝีมือของตัวเอง และเสียงสะท้องว่าอยากเรียนต่ออีกเพราะได้ความรู้ความ มีความอดทน บางเพราะขั้นตอนยากมาก สนุกและทำให้จิตใจสงบ ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีความสุข มีความรับผิดชอบมากขึ้น  ปิดท้ายด้วยการกล่าวขอบคุณวิทยากรจากตัวแทนสภาเด็กและเยาวชนในการเสียสละเวลามาให้ความรู้ในการสืบสานภูมิปัญญาในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่เราจะ นัดวันกันอีกครั้ง  ในส่วนของคู่มือเราทำไม่ทันและจะนัดกันทำเป็นคู่มืออีกครั้ง ขั้นตอนการก่อและปิดท้ายยากที่สุดเลย  ส่วนที่ชอบก็ขั้นตอนหลังจาก่อแล้วเพราะสานไม่ยาก  และวิทยากรก็อยากให้น้องๆนำความรู้ที่ได้ไปใช้เพราะหากไม่ได้ใช้ประโยชน์เราก็จะลืมและดีใจที่น้องๆสนใจในการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น สุดท้ายด้วยการจัดกระบวนการนิทรรศการผลงานของหนูและมอบรางวัลจากผู้รับผิดชอบโครงการนั่นคือรางวัลแห่งความภูมิใจอันดับ 1 -2
รางวัลขวัญใจภูมิปัญญา  และรางวัลขวัญใจวิทยากร 1 รางวัล ผู้รับผิดชอบโครงการฝากในเรื่องของความตั้งใจของน้องๆ อยากให้รักษา เอาไว้ และที่สำคัญคือการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เราได้เรียนรู้ไป ขอบคุณน้องๆทุกคนที่ให้ความสำคัญของการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และยังมีหลายกิจกรรมที่เราต้องทำไปด้วยกัน ขอบคุณอีกครั้งที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-เวลาไม่พอทำให้น้องๆต้องนำผลงานกลับไปทำที่บ้านระหว่างระยะเวลาโครงการ บางคนที่ทำไม่เป็นก็จะไปทำที่บ้านเพื่อนที่แม่ทำจักสารเป็น - งบประมาณในการจัดซื้อเตยปาหนันไม่เพียงพอเพราะต้องใช้มาก แก้โดยการให้คณะกรรมการจ่าย

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-