ร่วมด้วยช่วยกัน สานฝัน พัฒนาบ้านเรา

5. ตั้งกลุ่มนักสืบน้อยป่าชายเลน29 ธันวาคม 2555
29
ธันวาคม 2555รายงานจากพื้นที่ โดย sahat
circle
วัตถุประสงค์

1.  เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รู้การใช้ประโยชน์ป่าชายเลน
2.  เพื่อร่วมกันจัดทำหนังสือเล่าเรื่องป่าชายเลน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • มีแกนนำเด็ฏและผู้ใหญ่รวม 62 คนร่วมกิจกรรมนี้
  • แกนนำสภาเด็กและเยาวชนได้ลงสัมภาษณ์ผู้เฒ่าาก่อนแล้วเพื่อให้กิจกรรมสามารถเสร็จจในระยะเวลาที่กำหนด
  • แกนนำเล่าเร่ืองราวที่ได้ให้น้องกลุ่มใหญ่ฟัง
  • จัดกระบวนให้น้องๆเด็กและเยาวชนทำหนังสือและมีวิทยากรมาแนะนำวิธีการทำ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้ใหญ่ที่มาให้ความรู้เรื่องป่าชายเลน  คือ นางหยัน อาหน่าย  นางย๊ะ เปรมใจ และนายยำอาด อุมายี ได้เล่าประวัติความเป็นมาของบ้านสายควน อดีตเป็นอย่างไร ปัจุจบันเป็นอย่างไร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเมื่อก่อนเป็นอย่างไร ตอนนี้เป็นอย่างไร และการใช้ชีวิตของคนรุ่นก่อนกับตอนนี้ต่างกันอย่างไร
  • จากนั้นเมื่อน้องๆได้ความรู้และเก็บข้อมูลแล้ว  เริ่มเข้าสู่การทำหนังสือเล่าเรื่องป่าชายเลน คำว่าต้นไม้ชุมชน คืออะไร และได้แบ่งกลุ่มน้องๆออกเป็น ๕ กลุ่มเพื่อผลิตหนังสือเล่มนี้
  • สรุปสาระสำคัญของหนังสือ ต้นไม้ชุมชน ดังนี้ ๑.  ราก ปัจจุบันรากเง้าในหมู่บ้าน กำลังถูกกลืนโดยวัฒนธรรมบริโภค ระบบการศึกษาแบบเมือง และนโยบายการพัฒนาต่างๆ เด็กที่ออกจากบ้านมาเรียนในเมืองมากขึ้น อยากอยู่อย่างสบายและคิดว่าการแข่งขันในระบบจะช่วยให้ชีวิตที่ดีขึ้น ไม่รู้รากเง้าของชุมชน  ของทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน  ทำให้ไม่รู้คุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ  จึงบริโภควัตถุนิยมเพื่อช่วยให้ตัวเองมีคุณค่า
    บ้านสายควน สังคมในอดีต เป็นสังคมที่มีการช่วยเหลือกัน มีการอาศัยอยู่ติดริมคลอง คนมีการศึกษาน้อย การรักษาพยาบาลมีน้อยต้องอาศักการรักษาแบบหมอพื้นบ้าน โดยการใช้ยาสมุนไพร อย่กันแบบพี่น้อง พึ่งพาอาศัยกัน ปัจจุบันสังคมเริ่มเปลี่ยนแปลงต่างคนต่างอยู่ มีการปลูกบ้านเรือนใกล้ถนนเพื่อความสะดวกในการสัญจร การศึกษาสูง ใช้การรักษาตามโรงพยาบาล คนมีความเห็นแก่ตัว ต่างคนตต่างอยู่  ในด้านสิ่งแวดล้อม อดีต ป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์ อาหารหาง่ายกินง่ายรอบๆตัว อากาศบริสุทธิ์ มีแต่ต้นไม้ลำคลอง น้ำมีความสะอาด สัตว์เมื่อก่อนหาได้ตามทุ่งนนา  ปัจจุบันเริ่มมีการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อนายทุนต่างพื้นที่ อาหารอาศัยยความสะดวกออกไปซื้อที่ตลาด อากาศก็ไม่เหมือนอดีต น้ำเริ่มมีการปล่อยน้ำเสียทำให้สัตว์น้ำทะเลหายากกว่าเมื่อก่อน สัตว์ในการประกอบอาหารก็เหลือน้อยเต็มที  ในเรื่องของเศรษฐกิจ อดีตอาชีพส่วนใหญ่ทำการเกษตร เป็นอาชีพหลัก แหล่งที่มาของรายได้มีน้อยเพราะส่วนใหญ่พิ่งพาอาสัยซึ่งกันและกัน ใช้ชีวิตแบบพอเพียง ปัจจุบัน คนมีอาชีพหลากหลาย เช่นรับราชการ รับจ้าง เป็นต้น รายได้หลายช่องทางเพื่อความอยู่รอด มีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย  สิ่งที่ททำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาจากหลายปัจจัย เช่นความเจริญทางวัตถุ คนทีการศึกามากขึ้น การตัดไม้ลำลายป่า ระชากรเพิ่มขึ้น มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในทางผิด มีการอพยพของคนมากขึ้นพฟติกรรมของคนเปลี่ยนแปลงไป
    คำจากวิทยากร ไม่ตัดสินชุมชนด้วยความคิดจากบุคคลภายนนอก จากการกล่าวขาน เพราะเราเข้าใจป่าชายเลน  เข้าใจชุมชนอย่างแท้จริง

๒.กิ่งก้าน ความสัมพันธ์ของคนบ้านสายควน ส่วนใหญ่จะอยู่กันแบบระบบเครือญาติ การตั้งบ้านเรือนก็จะอยู่เป็นกลุ่มพี่น้องเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ เมื่ออดีตดำรงชีวิตโดยการแบ่งปัน ใครมีอะไร ใครหาปูหาปลามาได้ ก็จะแบ่งกันไปกิน  โดยไม่คิดเงินคิดทอง การพึ่งพาอาศัยกันทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน จนถึงปัจจุบัน แม้ว่ากระแสทุนนิยมบริโภคจะพยายามที่จะแตกแยกความสัมพันธ์ขของคน  ในเครือญาติออกจากกันด้วยเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ และความบันเทิงทางวัตถุมากมาย แต่สายใยสัมพันธ์ที่เหนี่ยวแน่นก็ยังถูกยึดโยงกันอยู่โดยเฉพาะความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติ  ความสัมพันธ์ของกลุ่มต่างๆ จากในหมู่บ้าน จากภายนอก ล้วนมีบทบาทมีอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลงของคนในชุมชน ในนามกลุ่มอำนาจ ทำโน่นทำนี่ ทั้งแง่บวกแง่ลบ ในอดีตมีการติดต่อสื่อสารสัมพันธ์กับคนชุมชนอื่นๆตลอด แบบเกลอกัน มีข้าวมีปลาส่งแลกเปลี่ยนกัน
กิ่งก้าน ทำให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ที่มีในบ้านสายควน ทราบถึงบทบาทหน้าที่ และความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างกลุ่มต่างๆ แล้วก็ทำให้เราเข้าใจสภาพสังคมของบ้านเราได้ดีขึ้น  ในสายใยชุมชนบ้านสายควน มีกลุ่มอสม. กลุ่มประมงชายฝั่ง กลุ่มคณะกรรมการหมู่บบ้าน กลุ่มจักรสานเสื่อเตย กลุ่มนำยางสด กลุ่มมหิงสาสายสืบ กลุ่มปุ่ยอินทรีย์น้ำ กลุ่มต้นปาล์ม
๓  ใบ โครงสร้างความรู้ที่มีหลักการ มีเหตุผลในตัวมันเอง น่าศึกษาและควรอนุรักษ์สืบทอดต่อไป ในบ้านสายควนมีภูมิปัญญาหลายอย่างบวกกับทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น  มีทั้งทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรความรู้เกี่ยวกับอาชีพต่างๆในชุมชน การอนุกรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ขาดไม่ได้คือ ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นคนที่สำคัญของชุมชน เป็นแหล่งความรู้ที่เราสามารถเรียรนรู้จากท่านได้ น่าแปลกที่ปัจจุบันคนรุ่นหลังเข้าไม่ถึงผู้รู้ในหมู่บ้าน หรือมองไม่เห็นความสำคัญของความรู้ที่มีเนื่องจากวิถีชีวิตเปลี่ยนไปพึ่งพาระบบตลาด ในบ้านสายควน มีภิปัญญาหลักๆ คืกการสานเสื่อจากต้นเตยปาหนัน การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว การประดิษฐ์ตุดง (หมวดชชาวนา) การทำขนมรังผึ้ง หมอพื้นบ้าน การรัษาโรคตามแบบพื้นบบ้าน การทำอุปกรณืดักจับสัตว์น้ำ การทำน้ำตาลจาก จากต้นจาก เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น การสานเสื่อเตยปาหนันน ขั้นตอนคือ ตัดต้นเตย ยางาดหนาม คูดให้นิ่ม ยางาดให้เป็นเส้น มัด ต้มน้ำประมาณ ๓๐ นามี  แช่น้ำ ตากแดด ย้อมสี ตากแดด และการทำการสาน คำจากวิทยากรความรู้จากผืนดิน  ภูมิปัญญามีคุณค่ามากมาย แต่ในยุคสมัยนี้ คนรุ่นใหม่หรือคนวัยแรงาน มักจะเดินออกไปศึกษาและทำงานนอกพื้นที่ ทำให้การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนรุ่นใหม่ลดน้อยลง  ดังนั้นเราจะรัก และภาคภูมิใจในถิ่นบ้านสายควนบ้านเกิดของเราเพื่อจะได้สืบสานภูมิปัญญาที่ดีไม่ให้สูญหายไปในอนาคต

๔.ลำต้น ลำต้น เชื่อมโยงส่วนอื่นๆ ทำหน้าที่ส่งน้ำหล่อเลี้ยงไปส่วนอื่นๆเวลาเราตัดต้นไม้กันเราตัดที่ลำต้น นั้นคือประเพณี วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ สะท้อนความคิด ความเชื่อ ค่านิยมของคนในชุมชน บ้านสายควน ถือว่าคนในชุมชนนับถือศาสนาอิสลาท ๑๐๐ % เพราะฉะนั้นวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อ จึงอยู่บนพื้นฐานของอิลาม เช่น เดือนมกราคม จะมีการเกี่ยวข้าวเดือนกุมภาพันธ์ เกี่ยวข้าว เดือนมีนาคมเด็กๆจะปิดภาคเรียนกัน และมีการทำบุญกุโบร์ เดือนเมษายน พิธีเข้าสุนัต เดือนพฤษภาคม มีกีฬาสัมพันธ์ชุมชน เดือนมิถุนายนฤดูเก็บเกี่ยวข้าวโพด เดือนกรกฎาคม  ปลูกข้าวไร่ (ตำข่าวม่าม) เดือนสิงหาคม ถือศิลอด จ่ายซะกาต เดือนกันยายน วันฮารีรายาอิดิ้ลฟิตรี เดือนตุลาคม เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ปลูกข้าว เดือนพฤศจิกายน วันฮารีรายาอิดิ้ลอัฎฮา เชือดสัตว์ทำกุรบาน เดือนฮันวาคม กวนอาชูรอ (ต้นเปียดโซรา)  และที่สามมารถทำได้ตลอดคือ อาตัมอุลกรุอ่าน นูรี(ทำบุญ) ซอดาเกาะห์ละหมาดวันศุกร์ ขึ้นบ้านใหม่ ทำเกษตรกรรม ๕.  ผล ปัจจุบันวิถีการทำมาหากินก็ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นการทำมาหาเงิน ง่ายๆคือปัจจุบันการทำให้ได้มาซึ่งเงินทองเท่านั้นก็พอ บางคนถึงขั้นที่ว่า ทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินก็มี จะดทษคนๆเดียวก็ไม่ได้ เพราะระบบเศรษฐกิจและระบบตลาดเข้ามาแทนที่วิถีเศรษฐกิจเดิมของชุมชน
แม้หลายอย่างจะเปลี่ยนไป แต่บ้านสายควรก็มีหลายอย่างคงอยู่ วิถีการผลิตการทำมาหากินยังสอดคล้องกับธรรมชาติอยู่ ด้วยภูมิปัญญาที่สั่งสมจากรุ่นสู่รุ่น  บ้านสายควนมีการทำมาหากิน คือ ทำสวนยางพารา อาชีพประมง ทำสวนเงาะ(บ่อหลวง) ทำสวนปาล์ม อาชีพเลี้ยงปลากระชัง อาชีพประกอบการนากุ้ง ทำไร่ ทำนา ทำไร่อ้อย ทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ (เป็ด ไก่ วัว แมว แพะ นก) ติดตายาง ตัดเย็บเสื้อผ้า รับจ้างก่อสร้าง รับจ้างเย็บปักถักร้อย ค้าขาย (ขายของชำ ขายผลไม้ ขายผัก) รับราชการ (ตำรวจ ครู  หมอ) จักสานเสื่อใบเตย ใบจาก ช่างไฟฟ้า รับซื้อเศษเหล็ก รับซื้อน้ำยางสด รับซื้อขี้ยางแห้ง,เปียก  เพาะเห็ดปาล์มขาย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

วิทยากรบางท่านไม่สะดวกมา แก้ไขโดยการสอบถามล่วงหน้า

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-