แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ สำนึกรักบ้านเกิด

ชุมชน ม.2 ต.บางเตย อ.เมือง จ.พังงา

รหัสโครงการ 55-01796 เลขที่ข้อตกลง 55-00-1055

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 ตุลาคม 2556

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน ตุลาคม 2555 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2556

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เตรียมเวทีสู่ความพร้อมการนำเสนอการแลกเปลี่ยนและการศึกษาข้อมูลในพื้นที่เพื่อจัดการการปรับทัศนคติให้กับผู้่ร่วมโครงการให้กับเยาวชนในพื้นที่

วันที่ 6 ตุลาคม 2555 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อศึกษาข้อมูลในพื้นที่และปรับท้ศนคติให้กับผุ้ร่วมโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วันที่ 6 ตุลาคม 2555 เวลา 8.30-16.00 น. เริ่มต้นจากการเข้าลงทะเบียนของกลุ่มเป้าหมายโดยมีชาวบ้าน เยาวชนและผู้ที่สนใจเข้าลงทะเบียน จากนั้นเมื่อลงทะเบียนเรียบร้อย มีประธานโครงการและผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการและกล่าวความเป็นมาของโครงการว่าโครงการที่ได้มาเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนเงินมาจากสำนักงานสสส.ซึ่งได้งบประมาณมาจัดทำโครงการให้กับประชาชนในหมู่บ้านและอธิบายถึงกิจกรรมต่างๆ ที่จะทำตลอดทั้งงบประมาณนี้ ต่อมาได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการในวันนี้ และได้เชิญผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นมากล่าวถึงความเป็นมาของท้องถิ่น โดยมีวิทยากรจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพังงาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในเขตของตำบลบางเตย 3 ท่าน และมีปราชญ์ชาวบ้านที่เป็นผู้รู้เรื่องราวของบ้านบางเตยเป็นอย่างดี เริ่มด้วยการกล่าวของปราชญ์ชาวบ้านที่มากล่าวถึงความเป็นมาของบ้านบางเตยกลาง อาณาเขตเป็นของบ้านบางเตยกลางเป็นอย่างไร อาชีพของคนในท้องถิ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีอาชีพใดที่เป็นอาชีพหลักของคนในท้องถิ่นและยังคงสภาพจนถึงปัจุบัน จากนั้นเวลาเที่ยงตรงได้พักรับประทานอาหารกลางวัน เมื่อเสร็จเรียบร้อยเวลาบ่ายโมงตรง เริ่มเข้าสู่กระบวนการอธิบายต่อจากช่วงเช้าซึ่งมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัดพังงาที่เป็นผู้รับผิดชอบในเขตของบ้านบางเตยกลาง กล่าวถึงสภาพหมู่บ้านของบ้านบางเตยกลางในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร จากนั้นเวลาบ่ายสองโมงครึ่งได้พักเพื่อรับประทานอาหารว่าง หลักจากพักเรียบร้อย ได้สอบถามความคิดเห็นจากเยาวชนและชาวบ้านในพื้นที่เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้านบางเตยกลาง เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติและหาแนวทางแก้ไขปัญหา ต่อมาเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างชาวบ้าน เยาวชน ปราชญ์และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและศึกษาข้อมูลของท้องถิ่น เพื่อปรับทัศนคติให้กับคนในท้องถิ่นเพื่อที่จะดำเนินโครงการนี้ต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมเพื่อทำความเข้าใจและศึกษาข้อมูล เพื่อปรับทัศนคติให้กับประชาชนในหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ศึกษาข้อมูลของท้องถิ่น

 

0 0

2. ประชุมปฐมนิเทศน์แลกเปลี่ยนผู้รับทุนโครงการร่วมสร้างและท้องถิ่นให้น่าอยู่โซนภาีคใต้ตอนบน(จังหวัดชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ืื พังงา และสุราษฎร์ธานี)

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา 12:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เืพื่อเข้ารับการปฐมนิเทศน์และแลกเปลียนผู้รับทุนโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน
  • มีทิศทางในการทำงานที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • มีปฏิทินกำหนดกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้รับผิดชอบโครงการในการบริการจัดการโครงการและรายงานผลการดำเนินงานผ่านเว็บไซด์

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เรียนรู้วิธีการการบันทึกข้อมูลรายละเอียดของโครงการผ่านเว็บไซด์
  2. ทบทวนโครงการ 3.ฝึกปฏิบัติการบันทึกข้อมูล

 

0 0

3. 1.ถอดบทเรียนจากปราชญ์ท้องถิ่น 2.สรุปเป็นบทเรียนและจัดทำเป็นเอกสาร 3.พัฒนาเป็นหลักสูตรสำหรับท้องถิ่นและมีการถ่ายทอดสู่กลุ่มเยาวชน 4.อบรมแต่ละศูนย์เพืิ่้่่่อสร้างความรู้และให้กลุ่มเป้าหมายไปใช้ประโยชน์และใช้ความรู้ในบ้านของตนเองได้

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

นำความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านมาพัฒนาจัดทำเป็นเอกสารเพื่อที่จะให้ผู้ที่สนใจและเยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2555 เวลา 9.00-16.00น. เริ่มต้นจากประธานโครงการได้กล่าวถึงกิจกรรมที่จะทำในวันนี้ จากนั้นได้เชิญปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้มาอธิบายถึงความรู้แต่ละแขนงที่ตนมี เริ่มต้นจากปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องการทำน้ำตาลชก ได้อธิบายวิธีการทำน้ำตาลชาก เนื่องจากพื้นที่ของบ้านบางเตยกลางเป็นพื้นที่ที่มีบริเวณติดกับแนวภูเขาทำให้มีต้นชกจำนวนมาก จึงทำให้เป็นอาชีพของชาวบ้านเริ่มต้นจากการไปเอาน้ำตาลโดยมีกระบอกไม่ไผ่ใส่น้ำตาล โดยปราชญ์จะขึ้นไปบนต้นชก โดยมีบรรไดไม้ไผ่พาดที่ต้นชก จากนั้นก็ใช้มีดปาดก้านของต้นชกเพื่อให้น้ำหวานออกมา น้ำกระบอกไม้ไผ่ที่เตรียมมาไปแขวนไว้กับก้านของต้นชกเพื่อให้น้ำหวานไหลลงในกระบอกไม้ไผ่ จากนั้นรอประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วจึงไปนำกระบอกไม้ไผ่ลงมา จากนั้นนำน้ำหวานที่ได้ไปต้นให้เดือดประมาณ 30 นาที จะได้เป็นน้ำตาลสด เมื่อต้องการทำเป็นน้ำตาลแว่นให้เคี้ยวน้ำหวานให้ข้นและเหนียวประมาณ 40 นาที แล้วค่อยหยอดลงพิมพ์ พิมพ์ของน้ำตาลแว่นทำจากใบเตยใหญ่ นำใบเตยใหญ่มาตากแดดให้แห้งจากนั้นค่อยน้ำมากรีดโดยใช้มีดที่มีลักษณะด้ามยาว หัวของมีดคล้ายช้อนส้อมแต่จะไม่มีตรงกลางมีเฉพาะต้านซ้ายและขาวห่างกันประมาณ2ซม.เมื่อกรีดใบเตยจะได้ใบเตยเป็นเส้น จากนั้นนำมาม้วนให้เป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ2ซม.นำน้ำหวามที่เคี้ยวมาหยอดใส่พิมพ์ โดยภาชนะที่ใส่น้ำตาลก่อนที่จะหยอดมีลักษณะคล้ายกับกระบวยกินน้ำของคนในสมัยโบราณมีไม้พายที่ใช้คนน้ำตาล จากนั้นก็หยอดน้ำตาลลงพิมพ์รอจนน้ำตาลแข็งแล้วจึงแพ็ค วิธีการแพ็คให้ใช้ใบเตยวางเป็นรูปกากบาทแล้ววางน้ำตาลลงตรงกลางแล้วใช้ใบเตยที่เหลือห่อน้ำตาลแล้วใช้ยางรัด พร้อมนำไปจำหน่าย ต่อมาเป็นปราชญ์ที่มีความรู้เรื่องการทำเครื่องแกง เริ่มจากการทำเครื่องแกงส้ม ซึ่งมีส่วนผสม คือ พริกสด พริกแห้ง ตะไคร้ ขมิ้น หอมแดง กระเทียม และเกลือ ผสมให้เข้ากัน จากนั้นจึงนำไปบด ต่อมาเป็นเครื่องผสมของเครื่องแกงกะทิ ประกอบด้วย พริกแห้ง ตะไคร้ พริกไท กระเทียม หอมแดงและเกลือ จากนั้นจึงนำไปบด และสุดท้ายเป็นเครื่องแกงพริก ประกอบด้วย พริกแห้ง ตะไคร้ พริกไท กระเทียม หอมแดงและเกลือ เครื่องแกงพริกจะมีส่วนผสมที่คล้ายกับเครื่องแกงกะทิแต่จะเน้นพริกไทให้มีประมาณมากกว่าเครื่องแกงกะทิ จากนั้นนำไปบดให้ละเอียด ต่อเป็นเป็นปราชญ์ที่มีความรู้ด้านสมุนไพร ซึ่งปกติแล้วหมู่บ้านบางเตยกลาง ทุกครัวเรือนจะมีการปลูกผักสวนครัวและสมุนไพรไว้ใช้ภายในบ้านอยู่แล้ว มีเพียงบางชนิดที่ชาวบ้านอาจไม่ทราบถึงสรรพคุณ ปราชญ์จึงแนะนำเรื่องของสมุนไพรบางอย่างให้ทราบ จากนั้นเวลา12.00น.พักรับประทานอาหารเที่ยง เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วปราชญ์ชาวบ้านและกลุ่มเป้าหมายได้ข้อมูลที่ได้มาสรุปเป็นเอกสาร เพื่อจะนำไปพัฒนาเป็นหลักสูตร เวลาประมาณ 14.30 น.พักรับประทานอาหารว่าง จากนั้นก็ได้ทำการสรุปบทเรียนต่อ เพื่อที่จะจัดทำเป็นหลักสูตรเพื่อแจกจ่ายให้กับศูนย์การเรียนรู้ที่ผู้ที่สนใจต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

มีการนำความรู้จากปราชญ์ในท้องถิ่นมาจัดทำเป็นเอกสารเพื่อที่จะนำหลักสูตรที่ได้มาถ่ายทอดให้เยาวชนต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

นำความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านมาพัฒนาจัดทำเป็นเอกสารเพื่อที่จะให้ผู้ที่สนใจและเยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษา

 

0 0

4. ถ่ายทอดความรู้โดยการสาธิตการทำเครื่องแกง

วันที่ 10 ธันวาคม 2555 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อถ่ายทอดความรู้การทำเครื่องแกงที่มีอยู่ในชุมชนให้กับเยาวชนและผู้ที่สนใจได้ศึกษา และปรับไปทำเป็นอาชีพได้ต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-วันที่ 10 ธันวาคม 2555 เวลา 09.00-16.00น. จากกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ฯที่ผ่านมาได้ทราบถึงวิธีการทำเครื่องแกง กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ให้ชาวบ้านเยาวชนและผู้ที่สนใจได้ทดลองการทำเครื่องแกง เริ่มต้นจากการอธิบายโดยหัวหน้ากลุ่มเครื่องแกงบ้านบางเตยกลาง (นางสาวพันธ์ชุดา ฉิมสุกล)อธิบายถึงวิธีการทำเครื่องแกงเริ่มจากการทำเครื่องแกงส้ม โดยการเตรีมอูปกรณ์ พริกสด พริกแห่งโดยการเลือกสิ่งที่เจือปนมากับพริกจากนั้นนำพริกสดไปล้างให้สะอาด ตั้งเอาไว้ให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นนำตะไคร้ที่รับซื้อจากชาวบ้านในหมู่บ้าน มาหั่นให้ละเอียด นำขมิ้นที่ได้จากการรับซื้อจากชาวบ้านในหมู่บ้านมาล้างให้สะอาด น้ำหอมแดง กระเทียม ไปแช่น้ำเพื่อให้ปอกง่าย ส่วนผสมทุกอย่างจะต้องล้างให้สะอาด นำส่วนผสมที่ได้ทั้งหมดมารวมกันแล้วนำไปบด เมื่อได้เครื่องแกงที่ละเอียดแล้ว ให้ตั้งเครื่องแกงไว้ให้เย็นจากนั้น จึงคลุกเคล้าให้เข้ากันจึงถือว่าเรียบร้อย เครื่องแกงทุกอย่างมีกรรมวิธีทำที่เหมือนกัน ยกเว้นแต่ส่วนผสมที่ต้องใส่ เมื่อได้เครื่องแกงเรียบร้อยแล้วสมาชิกในกลุ่มแม่บ้านจะช่วยกันหาตลาดเพื่อที่จะจำหน่ายเครื่องแกง ทั้งแบบแบ่งขายเป็นกล่อง เป็นถุงครื่งกิโล ทำให้สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนที่ว่างจากการทำอาชีพหลัก -ปราชญ์ชาวบ้านที่ให้ความรู้ในครั้งนี้ คือ นางสาวพันธ์ชุดา ฉิมสุกล และมีผู้ให้ความสนใจร่วมเรียนรู้ในครั้งนี้ จำนวน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สาธิตการทำเครื่องแกงโดยกลุ่มแม่บ้านที่เป็นสมาชิกของกลุ่มทำเครื่องแกง

กิจกรรมที่ทำจริง

มีการสาธิตการทำเครื่องแกง เครื่องแกงกะทิ เครื่องแกงส้ม เครื่องแกงพริก ให้กับชาวบ้านและเยาวชน โดยมีกลุ่มแม่บ้านทำเครื่องแกงเป็นผู้สาธิต

 

0 0

5. กิจกรรมสาธิตการแกะลูกชก

วันที่ 22 ธันวาคม 2555 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสืบสานและสาธิตวิธีการทำแกะลูกชกให้แก่เยาวชนและผู้ที่สนใจ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วันที่ 22 ธันวาคม 255 เริ่มจาก เวลา 08.00-16.00น.เริ่มต้นด้วยการไปตัดลูกชกจากต้น ลักษณะของลูกชกจะเป็นทะลายใหญ่และยาวเป็นพวง มีลักษณะเป็นสีเขียว แต่ละลูกจะมี 3 เม็ด ผู้ตัดจะเลือกทะลายที่มีลูกสีเขียวจัด จากนั้นจะตัดลงมาและนำไปเผา(แต่ปัจจุบันนิยมการนำไปต้มเพื่อให้สะดวกและรวดเร็ว จากนั้นเมื่อเผาเสร็จแล้วจะนำลูกชกที่ได้มาตัดตรงส่วนท้าย จากนั้นจะนำไม้ไผ่มาเหลาให้บางมีลักษณะเหมือนไม้พายเพื่อจะมาแกะลูกชก(แต่ปัจจุบันจะนิยมใช้ปลายช้อนกลาง เพราะมีความแข็งแรงมากกว่า)เมื่อได้ลูกชกออกมาแล้วต้องนำไปล้างน้ำให้สะอาด เอาเปลีอกที่ติดออกมากับลูกชกออกให้หมด เพื่อไม่ให้เกิดอาการคันเมื่อรับประทาน จากนั้นเวาลาประมาณ12.00น.พักรับประทานอาหารเที่ยง เมื่อเรียบร้อยแล้วเป็นการให้เยาวชนและผู้ที่สนใจร่วมกันสาธิตการแกะลูกชก โดยมีปราชญ์ที่มีความรู้ทางด้านลูกชก คือนายบัณฑิต เพชรเล็ก มาให้คำแนะนำและสาธิต จากนั้นเวลาประมาณ 14.30น.พักรับประทานอาหารว่าง และต่อด้วยการบรรยายการแกะลูกชก กิจกรรมดังกล่าวดำเนินไปได้ด้วยดีด้วยความร่วมมือจากปราชญ์ชาวบ้าน เยาวชนในหมู่บ้านและกลุ่มผู้ที่สนใจ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

มีการสาธิตการแกะลูกชก ตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ลูกชกตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นกระบวนการผลิต

กิจกรรมที่ทำจริง

วีธีการเอาลูกชกจากต้นและมีการบรรยายถึงวิธีการทำลูกชกโดยปราชญ์ชาวบ้าน

 

0 0

6. เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.ติดตามผลการดำเนินงานครั้งที่1

วันที่ 13 มกราคม 2556 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.มาติดตามผลงานกิจกรรมของโครงการครั้งที่1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ได้รับคำแนะนำในด้านการจัดเก็บเอกสารเป็นไปตามที่ระเบียบ สสส.กำหนด -มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น แต่ก็ได้มีการจัดเก็บและรวบรวมไว้ได้ค่อนข้างครบตามกิจกรรมที่ได้จัดกิจกรรมไปแล้ว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.มาติดตาม เช่น การจัดเก็บเอกสารทางการเงิน กิจกรรมที่ปฏิบัติ การเลื่อนวันปฏิบัติงาน และการอัพโหลดข้อมูลลงบนอินเตอร์เน็ต

กิจกรรมที่ทำจริง

เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและติดตามผลการดำเนินโครงการ

 

0 0

7. กิจกรรมสาธิตการทำน้ำตาลสด น้ำตาลเหลว

วันที่ 18 มกราคม 2556 เวลา 09.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่สนใจและเยาวชน 2.ส่งเสริมอาชีพไม่ให้สูญหายไปจากชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เยาวชนรุ่นหลังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และสามารถนำไปปรับเป็นอาชีพ ทั้งยังเป็นการสืบสานอาชีพดั้งเดิมได้อย่างดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สาธิตการทำน้ำตาลสด น้ำตาลเหลว จากต้นชก

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มต้นจากการลงทะเบียนของกลุ่มป้าหมาย จากน้ันผู้รับผิดชอบโครงการได้อธิบายถึงจุดประสงค์ของการจัดกิจจกรรมในวันนี้ขึ้น ต่อมาได้มีปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องการทำน้ำตาลสด น้ำตาลเหลวอธิบายถึงขั้นตอนการทำ และวิธีการทำจะนำน้ำตาลออกมาจากต้น ขั้นแรกต้องไปนำน้ำตาลที่ได้จากต้นมาต้มให้เดือดทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ตั้งไว้ให้เย็น นำใส่ขวดสามารถรับประทานได้เลย ส่วนน้ำตาลเหลวต้องเขี้ยวให้น้ำตาลมีความเหนียว น้ำตาลเหลวสามารถนำมารับประทานกับข้าวหลามและอาหารอื่นได้อีกหลายชนิด จากนั้นพักรับประทานอาหาร เมื่อพักรับประทานอาหารเรียบร้อย ก็ได้ลงมือปฎิบัติการทำน้ำตาลเหลว และน้ำตาลสด จากนั้นเวลา 14.00 น. ได้พักรับประทานอาหารว่าง และสาธิตการทำน้ำตาลจนเสร็จสิ้นกระบวนการ

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 17 7                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 197,700.00 74,700.00                  
คุณภาพกิจกรรม 28 21                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน
  1. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการไม่ครบตามจำนวน
  2. มีอุปสรรคจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้ต้องเลื่อนจากแผนในบางกิจกรรม
  3. ในบางกิจกรรมไม่สามารถสาธิตการทำตามที่ที่กำหนดไว้ได้เนื่องจากไม่มีอุปกรในการสาธิตจึงต้องขอความร่วมมือผู้เข้าร่วมโครงการและขอความร่วมมือจากต่างหมู่บ้าน

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นางปราณี ทวีรส
ผู้รับผิดชอบโครงการ