แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ สำนึกรักบ้านเกิด

ชุมชน ม.2 ต.บางเตย อ.เมือง จ.พังงา

รหัสโครงการ 55-01796 เลขที่ข้อตกลง 55-00-1055

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 ตุลาคม 2556

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน กุมภาพันธ์ 2556 ถึงเดือน กันยายน 2556

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมสาธิตการทำน้ำตาลแว่นและน้ำตาลกวน

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เผยแพร่ความรู้เรื่องการทำน้ำตาลแว่นและน้ำตาลสดซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมของคนในท้องถิ่นให้กับผู้ที่สนใจและเยาวชนรุ่นหลังสามารถนำไปประกอบอาชีพได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09.00-16.00น. เริ่มต้นจากการรับลงทะเบียนของผู้เข้าร่วมโครงการ จากนั้นประธานโครงการและหัวหน้าโครงการได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจจกรรมในวันนี้ แนะนำผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งมีที่ปรึกษาโครงการ คือ นางสุทธาทิพย์ ทวีกิจพัฒนภักดี ได้เข้าร่วมโครงการในวันนี้ด้วย เริ่มจากการสาธิตการทำน้ำตาลแว่นซึ่งมีปราชญ์ชาวบ้านคือนายบัณฑิต เพชรเล็กเป็นผู้มีความรู้เรื่องการทำน้ำตาลชกเป็นอย่างดี ได้นำน้ำตาลชกมาต้มตามกรรมวิธีทิ้งไว้ประมาณ40นาที จากนั้นได้นำน้ำตาลที่เคี้ยวจนสามารถมาหยอดเป็นน้ำตาลแว่นได้แล้วมาหยอดลงแว่น โดยให้เยาวชนและผู้ที่สนใจทดลองทำ จากนั้นเมื่อทำน้ำตาลแว่นเรียบร้อยแล้วเราสามารถเคี้ยวน้ำตาลต่อจนน้ำตาลแข็งตัว จะสามารถทำเป็นน้ำตาลกวนได้ เมื่อสาธิตการทำน้ำตาลแว่นและน้ำตาลกวนเสร็จแล้วได้พักรับประทานอาหารเที่ยง จากนั้นได้มีกิจกรรมนันทนาการและทำกิจกรรมการเล่นเกมส์ต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ผู้เข้าร่วมโครงการรู้สึกเบื่อ จากนั้นได้พักรับประทานอาหารว่าง ปราชญ์ชาวบ้านได้กล่าวถึงวิธีการสาธิตการทำน้ำตาลแว่นและน้ำตาลกวนในวันนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนมีความรู้สึกยินดีและดีใจมากที่ได้ทราบถึงอาชีพดั้งเดิมของคนในหมู่บ้าน ต่อไปอาจนำไปปรับเปลี่ยนเป็นอาชีพในอนาคตได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สาธิตการทำน้ำตาลแว่นและน้ำตาลกวน

กิจกรรมที่ทำจริง

สาธิตวิธีการทำน้ำตาลแว่นและน้ำตาลกวน ให้ผู้ที่สนใจและเยาวชนได้ทดลองทำ

 

0 0

2. การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้รับผิดชอบโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ พื้นที่ภาคใต้ โครงการร่วมสร้าวชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ โครงการเปิดรับทั่วไป โครงการผู้สูงอายุ

วันที่ 7 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.เพื่อแลกเปลียนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการร่วมกับโครงการอื่น ๆ 2.ปรับปรุงและแก้ไขเอกสารการดำเนินโครงการ 3.นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีการนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการต่าง ๆ ประเมินคุณค่าของโครงการ ทำให้เกิดจุดเด่นของโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการ ตรวจสอบเอกสารการดำเนินงานโครงการ 2.ตรวจสอบความเรียบร้อยของการบันทึกกิจกรรม 3.ประเมินคุณค่าของกิจกรรมในต้านต่าง ๆ 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ตรวจสอบความเรียบร้อยของโครงการจากเว็บไซด์ พร้อมทั้งปรับแก้ให้มีความสมบรูณ์ 2.จากการประเมินคุุณค่าของโครงการทำให้พบจุดเด่นและกิจกรรมที่มีลักษณะเด่นในหบายจุด ซึ่งเป็นความภูมิใจของผู้ทำโครงการเป็นอย่างยิ่ง 3.มีแนวทางที่จะพัฒนาและต่อยอดโครงการที่จะดำเนินโครงการในปีต่อไป

 

0 0

3. ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธ์ปลาให้กับผู้ที่สนใจ

วันที่ 26 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.เพื่อส่งเสริมการเพาะพันธ์สัตว์น้ำ 2.เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ที่ให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจได้ 3.เพื่อส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ชาวบ้านได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ในการขยายพันธุ์สัตว์น้ำทั้งยังได้รับการสนับสนุนพันธุ์จากเจ้าหน้าที่ ทำให้ชาวบ้านมีความยินดี และจะนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดให้มีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเรื่องการขยายพันธ์ปลาเพื่อเสริมสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมที่ปฏิบัติในวันนี้ เริ่มการการลงทะเบียนของผู้เข้าร่วมโครงการ จากน้ันมีการแนะนำ การให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของการขยายพันธุ์ปลาให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยเจ้าหน้าที่จากกรมปศุสัตว์จังหวัดพังงา และผู้ใหญ่บ้านบางเตยกลาง อธิบายถึงการเพาะพันธ์สัตว์น้ำ เช่น ปลานิล ปลาตะเพียน เพื่อส่งเสริมให้เป็นอาชีพของคนในชุมชน และเพื่อจัดให้เป็นแหล่งการเเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชนผู้ที่สนใจ จากนั้นได้มีการมอบพันธุ์ปลาให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำไปเพาะพันธ์เป็นอาชีพหรือเพื่อรับประทนในครัวเรือนต่อไป

 

0 0

4. จัดมหกรรมอาหารพื้นบ้านและพืชสมุนไพร

วันที่ 15 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.ปลูกผักปลอดสารพิษไว้ใช้ในครัวเรือน 2.การแบ่งปันพันธ์พืชจากประชาชนในหมู่บ้าน 3.จัดมหกรรมอาหารพื้นบ้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากกิจกรรมดังกล่าวทำให้เกิดการเรียนรู้ประโยชน์ของสมุนไพรแต่ละชนิด ซึ่งบางคร้ังชาวบ้านรับประทานไปอย่างเดียวแต่ไม่ได้ทราบถึงประโยชน์จากพืชชนิดน้ัน เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ก่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดมหกรรมอาหารและพืชสมุนไพรโดยให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการทำอาหารจากสมุนไพรที่มีอยู่ในบ้านมาครัวเรือนละ1อย่างและให้มีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเตยมาให้ความรู้ของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด

กิจกรรมที่ทำจริง

ในวันนี้เริ่มต้นจากการลงทะเบียนผู้ที่เข้าร่วมโครงการ จากนั้นชาวบ้านและผู้ที่เข้าร่วมโครงการได้มีการนำสมุนไพร อาหารและน้ำที่ทำจากสมุนไพรพื้นบ้านมาจัดแสดง ตัวอย่างอาหารเช่น ข้าวยำสมุนไพรซึ่งจะประกอบด้วย ตะไคร้ ใบมะกรูด ใบพาโหม เครื่องแกงพริก มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน น้ำพริกตะไคร้ น้ำพริกปลาฉิ้งฉ้าง ยำหัวทือ ข้าวที่หุงจากน้ำดอกอัญชัญ ส่วนน้ำสมุนไพรก็จะมี น้ำดอกอัญชัญ น้ำขิง น้ำดาหลา น้ำใบเตย น้ำคลอโรฟิลที่ผลิตจากผักบุ้ง น้ำใบเตยหอม น้ำมะพร้าว เป็นต้น จากน้ันมีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพมาอธิบายถึงประโยชน์ของสมุนไพรแต่ละชนิด และอธิบายถึงอาหารคุณค่าของอาหารที่บริโภคทุกวัน เช่น กาแฟ ควรจะบริโภควันละเท่าไหร่คุณค่าทางอาหารเท่าไหร่ ประโยชน์ของน้ำสมุนไพรแต่ละชนิด 1.น้ำใบเตยหอม   - ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ เพราะใบเตยมีฤทธิ์ลดอัตราการเต้นของหัวใจ จึงช่วยบำรุงหัวใจได้อย่างดี วิธีรับประทานคือ ใช้ใบสดผสมในอาหาร แล้วรับประทาน หรือนำใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง   - ช่วยดับกระหาย เนื่องจากใบเตยมีกลิ่นหอมเย็น หากนำมาผสมน้ำรับประทาน จะช่วยดับกระหาย คลายร้อน ทานแล้วรู้สึกชื่นใจ และชุ่มคอได้เป็นอย่างดี วิธีรับประทานคือ นำใบเตยสดมาล้างให้สะอาด นำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด แล้วเติมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาแต่น้ำดื่ม   - รักษาโรคหัด หรือ โรคผิวหนัง โดยนำใบเตยมาตำแล้วมาพอกบนผิว   - รากและลำต้น     ใช้รักษาโรคเบาหวาน เพราะรากและลำต้นของเตยหอมนั้น มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด วิธีรับประทานก็คือ ใช้ราก 1 กำมือนำไปต้มเป็นน้ำดื่ม ทุกเช้า-เย็น
ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ โดยการนำต้นเตยหอม 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ไปต้มกับน้ำดื่ม 2.น้ำดาหลา   แก้ลมพิษ แก้โรคผิวหนัง ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ดอกดาหลามีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณทางยาคล้ายกับพวก ขิง ข่ามีกลิ่นหอมเฝื่อนๆ และอมเปรี้ยว จึงมักนิยมนำกลีบดอกไปยำ หรือจะนำดอกตูมและหน่ออ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเผ็ดก็ได้
ดาหลาเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า ลำต้นเทียมที่อยู่บนดินเป็นกาบ ใบสีเขียวเข้มเป็นรูปหอก ปลายใบแหลม ดอกสีแดง อมชมพู มีกลีบช้อนกันหลายชั้น โคนกลีบดอกเรียบเป็นมันสีแดง ส่วนปลายของขอบกลีบเป็นสีขาว กลีบนอกใหญ่ กลีบในเล็ก ไม่มีกลิ่น ดอกตูม หน่ออ่อน กินได้ รสชาดเผ็ดเล็กน้อย หน่ออ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเผ็ดแกงกะทิ แกงคั่ว ยำและผสมในข้าวยำ 3. น้ำมะพร้าว   น้ำมะพร้าวเป็นอาหารบริสุทธิ์ และเต็มไปด้วยกลูโคสที่ร่างกายดูดซึมเข้าไปใช้ได้ง่าย นอกจากนั้นมะพร้าวยังเป็นผลไม้ที่มีความเป็นด่างสูง สามารถรักษาโรคที่เกิดจากร่างกายมีความเป็นกรดมากเกินไป หมอพื้นบ้านไทยถือกันว่า มะพร้าวเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น ใช้รักษาโรคกระดูกได้ ส่วนคนจีนเชื่อว่า น้ำมะพร้าวมีฤทธิ์เป็นกลาง ไม่เป็นทั้งหยินและหยาง มีสรรพคุณในการขับพยาธิ สำหรับคนไข้ที่อาเจียนและท้องร่วงในเวลาเดียวกัน สามารถดื่มน้ำมะพร้าวเพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมกลูโคสไปใช้ในเวลาอันรวดเร็วได้..
4. น้ำขิง   ช่วยดับกลิ่นคาวในอาหาร ใช้ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน เพราะในเหง้าขิงแก่ มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย GINGEROL และ SHOGAOL แก้อาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม ลดอาการไอ และระคายคอ จากการมีเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ขับน้ำนม แก้อาการเมารถเมาเรือ แก้บิด บำรุงธาตุ ช่วยในด้านการไหลเวียนของโลหิต ช่วยลดความดัน ช่วยลดคลอเลสเตอ รอล ช่วยลดการอักเสบ ช่วยแก้ปวด ผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่มักมีอาการเมายาสลบให้จิบน้ำขิงเข้มข้นสักครึ่งช้อนชา จะช่วยแก้อาการเมายาได้ 5.น้ำฝาง   แก่นฝาง (Sappan wood) มีสารสีชมพูส้มถึงแดง (ขึ้นกับปริมาณ) ชื่อ Brazilin แก่นฝางมีรสขื่นขม ฝาด ใช้ต้มน้ำกินเป็นยาบำรุงโลหิตสตรี แก้ปอดพิการ ขับหนอง ขับเสมหะ ทำโลหิตให้เย็น แก้โรคหืด แพทย์ชนบทใช้ต้มน้ำกินแก้อาการท้องร่วง ธาตุพิการ ร้อนใน แก้โลหิตออกทางทวารหนักและทวารเบา
เนื้อไม้ใช้แก้ท้องเสีย แก้บิด ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้ไข้ รักษาโรคทั่วไป
นอกจากนี้ส่วนเปลือก ลำต้นและเนื้อไม้สามารถใช้ต้มรับประทานรักษาวัณโรค ท้องเสียและอาการอักเสบในลำไส้ เป็นยาฝาดสมานและรักษาแผล
จากข้อมูลรายงานการทดลองต่างๆ ที่มีอยู่ไม่พบข้อมูลการยับยั้งเชือ้ MRSA ของฝาง ทราบแต่เพียงว่าสาร Brazilin ในแก่นฝางที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น เมื่อผ่านการต้ม สาร Brazilin จะเปลี่ยนเป็นสาร Brazilein ซึ่งมีสีแดงซึ่งสมัยก่อนใช้ในการย้อมผ้า แต่งสีขนมและทำน้ำยาอุทัย 6. หัวกะทือ ลำต้น      ใช้เป็นยาแก้เบื่ออาหาร
ใบ          เป็นยาใช้ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ  วิธีใช้ด้วยการนำมาต้ม  เอาน้ำดื่มกิน
ดอก        เป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง ผอมแห้ง ใช้นำมาต้มเอาน้ำดื่ม
เหง้า        ใช้เป็นยาขับลม  แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด    ปวดท้อง  บำรุงธาตุ
                ขับปัสสาวะ  เสมหะเป็นพิษ
                และบำรุงน้ำนม    วิธีใช้โดยการนำหัวหรือเหง้าสด  ประมาณ  2  หัว  (20  กรัม)
                ปิ้งไฟแล้วนำมาฝนผสมกับ                 น้ำปูนใส ประมาณครึ่งแก้ว  แล้วใช้น้ำดื่ม

 

0 0

5. จัดให้มีแปลงผักปลอดสารพิษในครัวเรือนและในโรงเรียนที่อยู่ในชุมชน

วันที่ 30 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. จัดให้มีแปลงผักปลอดสารพิษในโรงเรียนที่อยู่ในชุมชน 2.เพื่อให้เยาวชนหันมาตระหนักในประโยชน์ของพืชสมุนไพร 3.เผยแพร่ความรู้ให้กับเยาวชนในโรงเรียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.มีแปลงผักปลอดสารพิษในโรงเรียน 2.มีแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดให้มีการสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชนและในโรงเรียน

กิจกรรมที่ทำจริง

จากการจัดทำโครงการในวันนี้ได้จัดกิจกรรมขึ้นที่โรงเรียนบ้านเขาเฒ่า โดยการใช้พื้นที่ภายในโรงเรียนจัดทำแปลงผักปลอดสารพิษ วิธีการปลูกผักและวิธีการดูแลผัก โดยเริ่มต้นจากการลงทะเบียนของผู้เข้าร่วมโครงการและนักเรียนโรงเรียนบ้านเขาเฒ่า จากน้ันได้ให้คุณครูที่สอนวิชาการเกษตรได้อธิบายวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ และได้ให้ปราชญ์ชาวบ้านคือ นายสมนึก โภคผล ที่ทำอาชีพปลูกผักปลอดสารพิษได้พบปะและพูดคุยกับผู้เข้าร่วมโครงการ พูดการการปลูกผักปลอดสารพิษ วิธีการทำแปลงผัก การดูแลผัก จากนั้นได้ให้นักเรียนและผู้เข้าร่วมโครงการร่วมกันขุดแปลงผักและลงมือปฏิบัติจริง จากน้ันทางคณะผู้จัดทำโครงการได้มอบพันธุ์ผักไว้ให้กับโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ใช้สอยต่อไป

 

0 0

6. ถอดบทเรียนจากบุคคลต้นแบบในการทำนาข้าว

วันที่ 6 กรกฎาคม 2556 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.เรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ด้านการทำนาแบบดั้งเดิมให้อยู่คู่กับผู้ที่สนใจได้ 2.รักษาอาชีพท้องถิ่นให้กับชุมชน 3.สร้างความสามัคคีแก่คนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากปราชญ์ท้องถิ่นไปใช้ได้จริง 2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เห็นภาพความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นในอดีต 3.สามารถนำความรู้ไปบอกต่อกับคนรุ่นหลังได้ 4.รักษาความเป็นบ้านบางเตยกลางให้อยู่คู่กับท้องถิ่นต่อไป 5.ได้ร่วมพูดคุยและเปิดประสบการณ์ที่ไม่เคยทราบ จากปราชญ์ในท้องถิ่น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นำปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องการนำนาข้าวมาอธิบายถึงวิธีการทำนาข้าวแบบดั้งเดิม

กิจกรรมที่ทำจริง

ในวันนี้เริ่มต้นจากการลงทะเบียนของผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จากน้ันประธานในงานได้กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดกิจกรรมในวันนี้ ในวันนี้จะมีปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องของการทำนาแบบดั้งเดิมมาให้ความรู้ เพื่อที่จะนำความรู้ในวันนี้ไปปฏิบัติในกิจกรรมต่อไปของโครงการนี้ โดยปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องการทำนา ได้แก่ นายแคล้ว วงศ์แฝด นายสุทัศน์ ทวีรส นางจำปี อินฉ้วน นายสมทรง พุทธรักษา โดยปราชญ์ชาวบ้านทั้งหมด ได้เริ่มต้นจากการอธิบายถึงลักษณะความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นในสมัยโบราณ โดยปราชญ์ได้กล่าวว่า บ้านบางเตยกลางในสมัยก่อนผู้คนในชุมชนมีอาชีพหลักคืออาชีพเกษตรกรรม ทำสวน การสัญจรไปไหนมาไหนค่อนข้างลำบาก คนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะปลูกผักและปลูกข้าวไว้กินเอง พื้นที่ส่วนใหญ่ของบ้านบางเตยกลางเป็นทุ่งนา แต่ในปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีและการคมนาคมเข้าถึงพื้นที่นาในอดีตจึงกลายมาเป็นส่วนยางพาราและส่วนปาล์มน้ำมัน โดยการทำนาของคนในอดีตจะใช้กระบือ (ควาย) เพื่อใช้ในการลากไถ่ ไม่เหมือนกับในปัจจุบันที่โดยเครื่องไถ่นา เพื่อช่วยในการถุ้นแรง การทำนาของคนในสมัยโบราณเริ่มต้นจากหว่านกล้า คือการหว่านต้นกล้า เริ่มต้นจากการเตรียมแปลงนา จากน้ันนำเมล็ดกล้าหรือพันธุ์ข้าวมาหว่าน รอประมาณ 30-40 วัน ในระหว่างที่รอต้นกล้าโตน้ัน ก็ไปเตรียมแปลงนาที่จะใช้ในการลงแขก หรือที่ชาวบ้านบางเตยเรียกว่าการ 'ดำนา'โดยเปิดน้ำเข้าในแปลงนา จากน้ันใช้ควายในการไถ่และคลาด โดยมีอุปกรณ์ที่ผูกติดกับตัวควายที่เรียกว่าคลาดซึ่งทำมาจากไม้ มีคนจูงควายหนึ่งคน จากน้ันให้ควายเดินวนไปรอบๆ แปลงนาจนทั่ว จากน้ันเมื่อเวลาผ่านไป 30-40 วัน ต้นกล้าที่หว่านเตรียมไว้เริ่มโตจนได้ขนาดก็จะทำการถอนต้นกล้าโดยการใช้แรงงานคน การถอนต้นกล้า ถอนให้ได้ประมาณ 1 กำมือ จากน้ันก็นำมามัดและตัดปลายของต้นกล้าให้พอประมาณกับปริมาณน้ำในแปลงข้าว เมื่อได้ต้นกล้าเป็นทีเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านก็จะนัดวันที่จะลงแขก โดยมีคนในหมู่บ้านมาช่วยกัน เจ้าของแปลงนาก็จะเตรียมอาหารและน้ำมาเพื่อบริการให้กับคนที่มาช่วยลงแขก การลงแขกน้ันนา 1 แปลงใช้คนประมาณ 3-4 คน ขึ้นอยู่กับขนาดและความกว้างของแปลงนา ผู้ที่ลงแขกจะยืนเรียงกันเป็นหน้ากระดาน จากน้ันแต่จะคนจะต้องมีต้นกล้าของต้นเอง โดยในสมัยโบราณจะใช้กะละมังพลาสติกเป็นที่ใส่ต้นกล้า ลอยน้ำในแปลงนา เพื่อให้ผู้ที่ลงแขกไม่ต้องถือต้นกล้า (จากประสบการณ์ของผู้บันทึกข้อมูล)จากน้ันชาวบ้านก็จะเริ่มน้ำต้นกล้าประมาณ 2-3 ต้น ปักลงในดินและใช้นิ้วบีบเบาๆ เพื่อให้ต้นกล้าไม่ล้ม เมื่อได้กอที่หนึ่งก็จะถอยหลังลงมาปักให้เป็นแถว เพื่อให้ง่ายแต่การเก็บเกี่ยว เมื่อลงแขกเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการหว่านปุ๋ย จากน้ันรอเวลาประมาณ 2-3 เดือน ให้ข้าวสุกเต็มที่ก็จะเริ่มทำการเก็บเกี่ยว

 

50 52

7. ติดตามโครงการ ตรวจเอกสารทางการเงิน

วันที่ 24 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.ติดตามความก้าวหน้าของโครงการ 2.แก้ไขและปรับปรุงเอกสารทางการเงินของโครงการ 3.แก้ไขและปรับปรุงการรายงานผลทางเว็บไซด์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แก้ไขเอกสารโครงการให้เป็นปัจจุบัน ตรวจสอบความเรียบร้อยของโครงการ ดำเนินการให้โครงการเป็นปัจจุบัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามและประเมินโครงการ ตรวจสอบเอกสารทางการเงิน โดยคณะสจรส. บันทึกและแก้ไขรายงานหน้าเว็บไซด์

กิจกรรมที่ทำจริง

ตรวจสอบเอกสารทางการเงิน เพิ่มเติมรายละเอียดของเอกสาร ตรวจสอบผลการดำเนินงานทางเว็บไซด์

 

2 2

8. จัดกิจกรรมลงแขก ทำนาข้าว

วันที่ 22 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.เพื่อสร้างความสามัคคีให้แก่คนในชุมชน 2.ร่วมสืบสืบสายภูมิปัญญาท้องถิ่น 3.สร้างแกนนำให้แก่ชุมชนเพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่เยาวชนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน ทำให้เยาวชนและคนในหมู่บ้านทราบถึงวิธีการทำนา รักษาอาชีพดั้งเดิมของคนในหมู่บ้านได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรมลงแขก โดยนำผู้ที่เข้าร่วมโครงการและปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ด้านการทำนาข้าว มาช่วยกันลงแขกหรือที่เรียกกันว่า "ดำนา"

กิจกรรมที่ทำจริง

ในวันนี้ได้มีการเตรียมที่นาเพื่อทำการลงแขก โดยการไถ่นาเพื่อ และเตรียมต้นกล้าเพื่อที่จะใช้ลงแขกดำนา ได้รับความรับความร่วมมือจากชาวบ้านและผู้ที่ในใจในการทำนาแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นอาชีพที่มีกันอยู่แล้วในหมู่บ้าน และปัจจุุบันด้วยสภาพความเป็นอยู่และเทคโนยีที่เปลี่ยนไป ทำให้คนในชุมชนไม่สามารถกลับมาทำนาได้เช่นเดิม ที่นาเดิมได้กลับกลายมาเป็นสวนยางพาพา และปาล์มน้ำมันเป็นส่วนใหญ่ การเตรียมที่นาในวันนี้ใช้เวลาไปค่อนข้างมาก เนื่องจากการเตรียมที่นาต้องทำด้วยวิธีการไถ่ ให้ดินที่กลับตัว และปรับให้แปลงนามีร่องน้ำที่น้ำสามารถถ่ายเทได้ เพราะถ้าน้ำไม่สามารถไหลได้ น้ำก็จะท่วมทำให้ต้นข่าวเน่าและตายในที่สุด จากน้ันในวันต่อมา ชาวบ้านก็ได้ร่วมมือกันลงแขก โดยได้เอาต้นกล้าที่หว่านไว้ มาลงแขก โดยทุกคนลงไปยืนเรียงกันเป็นหน้ากระดานในแปลงนา จากน้ันก็เริ่มการดำนา โดยทุกคนจะเริ่มปักต้นกล้าตามแนวยาว ปักมาเรื่อย ๆ จนเต็มแปลงนาจากน้ันก็ย้ายไปยังแปลงนาอีกแปลงหนึ่ง หลังการการดำนาหรือลงแขกเรียบร้อยแล้ว เมื่อต้นข้าวเริ่มโต มีใบอ่อนแตกออกมา ก็จะเริ่มให้ปุ๋ยข้าว จากน้ันก็ต้องคอยดูเรื่อย ๆ ว่ามีอะไรมากัดกินต้นข้าวหรือไม่ หากมีต้องกำจัดออก เพื่อไม่ให้ต้นข้าวเสียหาย

 

50 45

9. ตรวจสอบเอกสารทางการเงิน สรุปรูปแบบโครงการ รายงานผล

วันที่ 21 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารโครงการ 2.แก้ไขและปรับเปลี่ยนเอกสารให้ถูกต้อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

รายงานและรูปแบบมีความถูกต้องและชัดเจน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตรวจสอบเอกสารทางการเงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะพี่เลี้ยงจาก สจรส.ได้ทำการตรสจเอกสารทางการเงินและรูปแบบรายงาน แก้ไขให้ถูกต้อง

 

2 2

10. สรุปบทเรียน จัดทำเอกสารจากการทำโครงการทั้งหมด จัดบอร์ดประชาสัมพันธ์

วันที่ 27 กันยายน 2556 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.สรุปบทเรียนและกิจกรรมที่จัดทำขึ้นท้ังโครงการ 2.จัดบอร์ดประชาสัมพันธ์กิจกรรม 3.จัดต้ังศูนย์เรียนรู้สู่ชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

หมู่บ้านเกิดความสะดวกต่อการเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจและคณะต่าง ๆ ที่สนใจศึกษาดูงานของชุมชน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนในชุมชนด้วยกันและเยาวชนร่วมทั้งผู้ที่สนใจ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รวบรวมเอกสาร จัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อนำส่งต่อเจ้าหน้าที่สสส.และคณะพี่เลี้ยง

กิจกรรมที่ทำจริง

เกิดการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจและคณะทัศนศึกษาดูงานจากสถานที่ต่าง ๆ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนในชุมชน ทำให้เกิดผลจากการทำโครงการในคร้ังนี้

 

50 50

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 17 17                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 197,700.00 178,555.00                  
คุณภาพกิจกรรม 68 51                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.มีอุปสรรคเรื่องฝนฟ้าอากาศ ทำให้บางกิจจกรรมมีผู้เข้าร่วมน้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2.ปัญหาการจัดทำพื้นที่แปลงนา ซึ่งได้ระบุปัญาไว้ในกิจกรรมดังกล่าวแล้ว

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นางปราณี ทวีรส
ผู้รับผิดชอบโครงการ