งานสร้างคน เพื่อ พัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

เตรียมเวทีสู่ความพร้อม การนำเสนอ การแลกเปลี่ยนและศึกษา เพื่อจัดการ การปรับทัศนคติให้กับผู้ร่วมโครงการ12 ตุลาคม 2555
12
ตุลาคม 2555รายงานจากพื้นที่ โดย ekaruk-pl
circle
วัตถุประสงค์

1.ประชาชนและเยาวชนมีความรู้และเข้าใจตามแนวเศรษบกิจพอเพียง

  • ประชุมหารือถึงแนวทางที่จะปฏิบัติต่อในโครงการและงบประมาณให้ทั้งคณะกรรมการและทีมงานได้รับทราบ รวมทั้งการแนะนำกิจกรรมแหล่งเรียนรู้9 กิจกรรมให้ทราบเพื่อเป็นการเปิดตัวโครงการและกิจกรรมที่ทำ

2.เพื่อ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมหารือถึงแนวทางที่จะปฏิบัติต่อในโครงการและงบประมาณให้ทั้งคณะกรรมการและทีมงานได้รับทราบ รวมทั้งการแนะนำกิจกรรมแหล่งเรียนรู้9 กิจกรรมให้ทราบเพื่อเป็นการเปิดตัวโครงการและกิจกรรมที่ทำ

  • คัดเลือกแหล่งเรียนรู้ที่สามารถนำไปต่อยอดในกิจกรรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 12 ตุลาคม 2555 เวลา 09.00น - 16.00น เริ่มต้นจากนายวิชัช ชูดวง ประธานโครงการได้กล่าวแนะนำโครงการ ที่ศาลาหมู่ที่ 2 บ้านสาวนพริก เป็นการกล่าวนำโครงการถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ นอกจากนั้นทีมงานคณะกรรมการ ได้มาชี้แจงถึงกิจกรรมของโครงการ ได้แก่นางผกายศรี  แสงมณี และนางสุกัญญา  ชุ่มชื่น ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือโดยวิทยากรท้องถิ่น ผู้เป็นปราชญ์ชาวบ้าน นายวิจา  ส้มจันทร์ ปราชญ์ชาวบ้าน และเป็นประธานชมชมงดเหล้าเข้าพรรษาในชุมชน ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากแกนนำที่ร่วมกิจกรรมกับโครงการงานสร้างคนเพื่อพัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดได้ให้ความสำคัญและตอบรับกับกิจกรรมของโครงการเป็นอย่างดี

  ชาวบ้านในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลตากแดด อำเภอเมือง จังหวัดพังงา  มีชาวบ้านในพื้นที่ จำนวน 224 ครัวเรือน และทางโครงการได้คัดเลือกครัวเรือนที่สามารถเป็นแกนนำในชุมชนได้ 50 ครัวเรือน ในการจัดประชุมที่มาของโครงการผ่านแกนนำแข้มแข็ง และจัดเวทีสนทนากล่าวถึงสาระและกิจกรรมของโครงการ กลุ่มแกนนำ 50 คนได้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการเพื่อปฏิรูปแหล่งเรียนรู้ในชุมชนทั้ง 9 แหล่งจากต้นทุนเดิมที่มีอยู่แล้วคือ 1.กลุ่มการเลี้ยงไก่ไข่ 2.โรงเพาะเห็ดฟาง
3.ลุ่มเลี้ยงปลาดุกในพลาสติก
4.กลมการเลี้ยงปลาดุกในบ่อกระชัง
5.การเลี้ยงปลาซิวเพื่อขยายพันธ์
6.การปลูกผักไร้สารพิษ
7.กลุ่มการเลี้ยงกบนา
8.การปลูกข้าวไร่
9.กลุมการนวดแผนไทย
    ทั้งหมดเป็นทรัพยากรซึ่งเป็นต้นทุนเดิมที่รอการพัฒนาและจัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีระบบ จากการที่ขาดความสนใจของคนในชุมชน เพื่อให้เอาแหล่งเรียนรู้ทั้ง9เข้ามาอยู่ในแผนพัฒนาตามโครงการ โดยกลุ่มแกนนำ50 คนได้ลงมติ หาแกนนำในแต่ละกลุ่มเรียนรู้ได้ดังนี้

  • แหล่งเรียนรู้ที่ 1.การเลี้ยงไก่ กลุ่มอสม.ชุมชนบ้านนา แกนนำนางผกายศรี แสงมณี แหล่งเรียนรู้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตากแดด หมู่ที่ 2 บ้านสวนพริก อำเภอเมืองจังหวัดพังงา
  • แหล่งเรียนรู้ที่ 2.โรงเพาะเห็ดฟาง กลุ่มแกนนำชมรมสตรีหมู่ที่2 นำโดยนางสุกัญญา  ชุ่มชื่น แหล่งเรียนรู้ที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตากแดด อำเภอเมือง จังหวัดพังงา
  • แหล่งเรียนรู้ที่ 3.กลุ่มเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก แกนนำโดยนายแดง ชุมชื่น
  • แหล่งเรียนรู้ที่ 4.การเลี้ยงปลาดุกในบ่อกระชัง  แกนนำโดย นายสุรพล  ชนะพาล
  • แหล่งเรียนรู้ที่ 5.การเลี้ยงปลาซิวเพื่อขยายพันธ์ นำโดย นายบุญยี  เสมอภาค
  • แหล่งเรียนรู้ที่ 6 การปลูกผักไร้สารพิษ  นำโดย นายฉลาด ชูดวง
  • แหล่งเรียนรู้ที่ 7. การเลี้ยงกบนา  นำโดย นายประพิศ  ชูดวง
  • แหล่งเรียนรู้ที่ 8.การปลูกข้าวไร่  นำโดย ชุมชนบ้านนาเก่า  นายวิจา  ส้มจันทร์ ,นางสุกัญญา  ชุ่มชื่น, นางผกายศรี  แสงมณี
  • แหล่งเรียนรู้ที่ 9.การนวดแผนไทย นำโดย นางสุกัญญา ชุ่มชื่น ,นางผกายศรี  แสงมณี ,และอสม.ในชุมชน ทั้งหมดเป็นการลงมติในที่ประชุม ร้อยละ 100 เต็ม

  * นอกจากนั้นทำความเข้าใจร่วมกันและกิจกรรมในโครงการรวมถึงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งเรียนรู้ ให้แกนนำกลับไปพัฒนาแหล่งเรียนรู้และเขียนความต้องการในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ร้อยละ 70 ในที่ประชุมคือแกนนำต้องการไปศึกษาแหล่งเรียนรู้เพิ่มจากการศึกษาดูงานในพื้นที่เพื่อนำมาต่อยอดจากการที่ทำกันตามมีตามเกิดของแต่ละคน และร้อยละ30 ในที่ประชุม ต้องการงบ หรือวัสดุในการสนับสนุนกิจกรรมในแหล่งเรียนรู้ ผู้จัดทำโครงการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ต้องช่วยกันอธิบายจนชาวบ้านเข้าใจของการใช้จ่ายเงินในโครงการ และทุกคนที่เข้าร่วมประชุมเข้าใจเป็นอย่างดี

  * ประชุมสนทนาจนถึงเวลา 13.30 น.ทางผู้จัดทำโครงการและแกนนำจำนวน 50 คนก็ลงพื้นที่ไปสำรวจแหล่งเรียนรู้เป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจและยอมรับแหล่งเรียนรู้ทั้ง 9 เพื่อให้เห็นกับตาว่ามีอยู่จริง และสามารถนำมาพัฒนาทำเป็นแหล่งเรียนรู้ได้จริง ผลที่ออกมาคือแกนนำทั้ง 50 คนพึงพอใจที่จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อพัฒนาศักยภาพแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และเป็นการต่อยอดเศรษฐกิจในชุมชนสามารถนำมาพัฒนาและจัดเป็นกลุ่มเพื่อศึกษาได้จริง
  * หลักจากประชุมและดูแหล่งเรียนรู้ตามและแหล่งแล้ว แกนนำทั้ง 9 ก็จับกลุ่มเพื่อหากลุ่มในการจัดทำแหล่งเรียนรู้โดยแต่ละกลุ่ม มีชาวบ้านเข้ามาร่วมและศึกษา โดยทั้งนี้มีผู้นำชุมชน คือนายวิจา  ส้มจันทร์ ปราชยญ์ชาวบ้านในชุมชนบ้านนาเก่าหมู่ที่ 2 อีกด้วย ได้หาแกนนำคนในชุมชนตัวเองสร้างชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงขึ้น โดยได้ทำสนธิสัญญากับคณะกรรมการในโครงการ ว่าจะร่วมกิจกรรมของโครงการและจะร่วมสร้างชุมชนตนเองรวมถึงพร้อมกับระดมคนให้มีทัศนคติคิดร่วมกับโครงการในกิจกรรมทุกกิจกรรม หมายความว่าตอนนี้นอกจากที่เราจะได้ แกนนำแหล่งเรียนรู้ 9 คน ของแต่ละแหล่ง แกนนำโครงการ 50 คน ในการร่วมกิจกรรมหลัก  และยังได้ ชุมชน เพิ่มอีก1 ชุมชน ซึ่งทั้งชุมชนนี้สามารถดำเนินการทันที โดยมีนายวิจา  ส้มจันทร์เป็นผุ้สนับสนุน และทั้งชุมชนก็สามารถเข้ามาดูงานในแหล่งเรียนรู้เพื่อนำไปสร้างเป็นฐานได้ทันที กลายเป็นว่าแหล่งเรียนรู้ได้กระจายออกนอกชุมชน เพื่อง่ายต่อการศึกษามากยิ่งขึ้น   *  สรุป จากการที่คณะกรรมการนำโครงการที่เขียนไปเสนอ สสส.และผลอนุมัติ ทางคระกรรมการก็ได้ กลับมาประชุมทันที ชาวบ้านให้ความร่วมมือ โดยร้อย90 ของแกนนำเป้าหมาย 50 ครัวเรือน เข้าใจและมีต้นทุนแหล่งเรียนรู้อยู่แล้ว แต่ขาดการจัดระบบและบทบาทความสำคัยของตัวเอง เมื่อโครงการนี้ส่งเสริมกิจกรรมตามความต้องการของชาวบ้าน ก็ทำให้ชาวบ้านพอใจ เกิดแหล่งเรียนรู้ และเกิดแกนนำแหล่งเรียนรู้ขึ้น ทั้งนี้ยังเกิดแหล่งเรียนรู้ชุมชนใหม่ เกิดการรวมกลุ่ม โดยร้อยละ 90 ให้ความสนในในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เป็นสถานศึกษานอกสถานที่ของเยาวชน และกลุ่มศึกษาชองชุมชน และด้วยผลตอบรับอย่างดีนี้ ทางผุ้อำนวยการรพ.สต.ในตำบล โดยนางวันเพ็ญแวว วับศรี ได้สนับสนุนสถานที่แหล่งเรียนรู้ ก็ได้สนับสนุนสถานแหล่งเรียนรู้ที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้วได้แก่ การนวดแผนไทย การเลี้ยงไก้ และโรงเพาะเห็ดฟางเพื่อให้เป้นการพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนได้ประกอบอาชีพและสร้างเสริมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งเยาวชน และประชาชนตามโครงการ  งานสร้างคน เพื่อพัฒนาชุมชน ตามแนวเศราฐกิจพอเพียง

    สรุปผลที่เกิดขึ้นในกิจกรรมนี้

  • 1).เกิดแกนนำในชุมชน 50 ครัวเรือน โดยแต่ละครัวเรือนมีผู้ที่ร่วมกิจกรรมกับโครงการเป็นหลักๆได้ครัวเรือนละ 1 คน รวม 50 คน ซึ่งทั้งหมดจะต้องร่วมกิจกรรมในทุกกิจกรรมของโครงการทุกครั้ง
  • 2).เกิดผู้นำแหล่งเรียนรู้ 9 คน ของแต่ละแหล่งเรียนรู้ ทั้งหมดจะต้องเป็นฐานในการให้ข้อมูลและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของตัวเองให้เยาวชน และผู้ที่มาสนใจศึกษาได้ โดยทั้9 คนจะต้องอยู่ร่วมกับกิจกรรมของโครงการทุกกิจกรรม สามารถเป็นวิทยากร่วมนอกพื้นที่ในกิจกรรมที่เกี่ยวของกับการศึกษาได้
  • 3).เกิดชุมชนแหล่งเรียนรู้ขึ้น 1 ชุมชน วึ่งนำโดย นายวิจา  ส้มจันทร์ ได้แก่ชุมชนบ้านนาเก่า ซึ่งทั้งชุมชนทุกหลังคาเรือน 27 หลังคาเรือน 20 หลังคาเรือนตอบรับกิจกรรม และสร้างแหล่งเรียนรู้เพิ่มในครัวเรือนได้
  • 4).เกอดผู้สนับสนุนเพิ่มในโครงการ ได้แก่ ผู้อำนวยการ รพ.สต.นางวันเพ็น แวววับศรี ซึ่งสนับสนุนกิจกรรมทุกกิจกรรมในโครงการ โดยให้สถานที่ได้แก่รพ.สต.ในชุมชนเป็นจุดศูนยืกลางในการจัดกิจกรรมทุกกิจกรรมโดยไร้เงื่อนไขและพร้อมที่จะให้เป็นจุดสาธิตและที่ตั้งแหล่งเรียนร฿ที่สำคัญได้อก่ การเลี้ยงไกไข่ โรงเเห็ด โรงสีข้าว และการนวดแผนไทย
  • 5).ชาวบ้านกระตือรือร้นกลับบ้านไปและกลับไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่มีเพื่อทำให้เกิดในครัวเรือนของตัวเอง โดย ร้อยละ 60 ในการประชาสัมพันธ์ในชุมชน ตอบรับและปฏิบัติทันที
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ชาวบ้านบางรายยังไม่เข้าใจและคิดว่าทำไมถึงไม่ให้เงินแกนนำไปต่อยอดกิจกรรมเองเลย ทำไมต้องมาจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำไมผู้จัดโครงการต้องมาควบคุมกิจกรรม วิธีการแก้ปัญหาคือ อธิบายส่วนตัวโดยคณะทำงาน จนทราบความเข้าใจอย่างแท้จริง และบางกลุ่มต้องจัดอธิบายนอกรอบอีกครั้ง ส่วนคนที่เข้าใจและรับทราบก็ทำการร่วมมือกันกับโครงการทันที
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสุทธาทิพย์ ทวีกิจพัฒนาภักดี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • งบประมาณที่วางแผนไว้อาจไม่ตรงตามแผนที่กำหนดเพราะการปฏิบัติจริงมีรายละเอียดมากกว่าที่วางแผนไว้ดังนั้นแต่ละกิจกรรมจึงไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายให้ตรงเป้าได้
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ยังไม่ต้องการ เพราะแกนนำเป็นคนในพื้นที่ และชาวบ้านต้องการผู้นำชุมชน หรือปราชญ์ชาวบ้านที่ไว้ใจและพูดคุยกันได้ โดยที่ชาวบ้านยังไม่ต้องการนักวิชาการ หรือความรู้ในทางวิชาการ โดยชาวบ้านให้เหตุผลว่า แหล่งเรียนรู้เริ่มจากการปฏิบัติจริงๆลงพื้นที่จริงๆ และลงมือจริงๆของชาวบ้านในชุมชน จึงมีความเข้าใจกว่าคนอื่นๆ ที่อยู่นอกพื้นที่ อีกทั้งยังไม่เกิดปัญหาในกิจกรรมนี้