งานสร้างคน เพื่อ พัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

พาเด็กจากศูนย์เด็กเล็กไปดูข้าวไร่จากภูมิปัญญาแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้สู่เยาวชน16 ตุลาคม 2555
16
ตุลาคม 2555รายงานจากพื้นที่ โดย ekaruk-pl
circle
วัตถุประสงค์
  1. ประชาชนและเยาวชนมีความรู้และความเข้าใจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
  • ให้เด็กได้เรียนรู้และการลงพื้นที่ทำให้เด็กมีการพัฒนาและทราบถึงแนวทางในการสอนเชิงระบบนิเวศน์

2.เพื่อจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ให้เด็กได้เรียนรู้และการลงพื้นที่ทำให้เด็กมีการพัฒนาและทราบถึงแนวทางในการสอนเชิงระบบนิเวศน์
  • กำหนดแผนการเรียนรู้และบรรจุไว้ในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กเพื่อเป็นหนึ่งวิชาเรียนรู้นอกสถานที่ ที่ได้ไปเรียนรู้จริงๆ
  • เกิดการสนับสนุนระหว่างชาวบ้านในชุมชนระหว่างการเรียนรู้นอกพื้นที่
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 16 ตุลาคม 2555 เวลา08.30น.-12.00น  นายงสุกัญญา  ชุ่มชื่น ได้นำเด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 50 คน ลงพื้นที่เพื่อเรียนรู้การปลูกข้าวไร่ ที่ไร่นางสมศรี  ทองสกุล  ทั้งนี้ได้นายจำรัส วิทยากรท้องถิ่น ผู้ชำนาญการปลูกข้าวไร่ มาเป็นวิทยากรในการแนะนำทั้งนี้เด็กๆได้ความรู้และสนุกกับการทำงาน -เนื่องจากระยะเวลาของโครงการกับกิจกรรมที่ชาวบ้านมีและปฏิบัติได้เกิดขึ้นไปก่อนแล้ว เมื่อโครงการอนุมัติ ทางผู้จัดทำโครงการก็สามารถปฏิบัติลงพื้นที่ทันทีโดยครั้งนี้ ต้องรีบนำเยาวชนให้เรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรม ก่อนที่จะพ้นฤดูการปลูกข้าวไร่ เพราะกิจกรรมการปลุกข้าวไร่ เป็นแหล่งเรียนรู้นึงในโครงการที่ต้องให้มีการศึกษาของเยาวชนในชุมชนตามกิจกรรมที่เสนอไว้ในโครงการแล้วนั้น โดยทั้งนี้ ได้นำเยาวชนอนุบาลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในชุมชน จำนวน 50 คน ไปดูข้าวไร่ ของไร่นางสมศรี  ทองสกุล มีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ โดยนาย จำรัส ปราชย์ ท้องถิ่นในชุมชน และนางผกายศรี แสงมณี เป็นวิทยากรร่วมในการแนะนำ โดยทั้งนี้ ผู้ปกครองเด็กทั้ง 50 คน ให้การสนับสนุน และยินดีตอบรับกับโครงการเพื่อต้องการให้เด็กๆได้ศึกษานอกสถานที่ โดยเฉพาะที่มาของการเป็นอยู่ เช่นการปลูกข้าว ตั้งแต่เวลา 08.30-12.00น. เด็กๆได้ไปทานข้าวและอาหารว่างที่ไร่  ระหว่างนั้น วิทยากรก็ได้พูดถึงที่มาการปลูกข้าว ระยะเวลาปลุกข้าว ฤดูการปลูกข้าว และระยะเวลาการเก็บเกี่ยว รวมถึงพันธ์ข้าวในท้องถิ่น ประเภทของข้าวที่เหมาะกับสถานที่ ในแต่ละสถานที่นั้น โดยครั้งนี้ ทางศูนย์ เองก็ให้ความร่วมมือ และกำหนดให้การซคึกษาแหล่งเรียนรู้ในนพื้นที่เป็นกรณีศึกษาหนึ่งในบทเรียนดดยกำหนดให้นักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ 2 เดือน ครั้ง ต่อ1 สถานที่แหล่งเรียนรู้

    *สรุป ผลที่เกิดขึ้นจริงในกิจกรรมนี้

  • 1).เด็กได้เรียนรู้ถึงแหล่งต้นทุนทางสังคม เป็นการศึกษานอกพื้นที่ เป็นการสร้างกิจกรรมและพัฒนาการของเด็กได้ทั้ง 50 คน
  • 2).ผู้ปกครองของเด็กๆทั้ง 50 คน ให้ความสนใจ และเห็นประโยชน์ของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยร้อยละ 100 จาก50ผู้ปกครอง สนับสนุนให้ทางโรงเรียน มีกิจกรรมร่วมกับโครงการแบบนี้ทุกครั้ง
  • 3).ครู และสถานศึกษาให้ความสนใจในแหล่งเรียนรู้ โดยสนับสนุนนักเรียนให้มีกิจกรรมทุกกิจกรรมของโครงการ
  • 4).เกิดแกนนำผุ้ปกครองในการสนับสนุนกิจกรรมในโรงเรียน  ระหว่างโรงเรียนและชุมชนขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การเดินทางของเด็กค่อนข้างต้องใช้ความปลอดภัย รวมถึงเด็กๆ มีความคิดละเอียดอ่อนในการทำความเข้าใจ การแก้ปัญหาคือ ครู และเจ้าของแหล่งเรียนรู้ ต้องทำความเข้าใจถึงลักษณะนิสัยของเด็ก ก็จะทำให้การเล่าเรื่องในกิจกรรมแต่ละกิจกรรมมีความเป็นไปอย่างราบรื่นและก็สนุก
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสุทธาทิพย์ ทวีกิจพัฒนาภักดี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • กิจกรรมแต่ละกิจกรรม อาจไม่เป็นไปตามแผน แต่มีความคล้ายและเชื่อมโยงกันในแผนที่กำหนดไว้
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • การจัดการงบในระบบบางครั้งเราไม่สามารถควบคุมได้ตามแผน เพราะแผนตามทฤษฎี กับแผนตามแนวปฏิบติไม่สามารถกำหนดกฎเกณฑ์ให้สอดคล้องกันได้ในบางกิจกรรม