งานสร้างคน เพื่อ พัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

การเตรียมเวทีการสร้างแกนนำในชุมชนโดยให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดและร่วมมือกันกับแกนนำในการเป็นกระบอกเสียงในการพัฒนาชุมชน10 พฤศจิกายน 2555
10
พฤศจิกายน 2555รายงานจากพื้นที่ โดย ekaruk-pl
circle
วัตถุประสงค์

1.ประชาชนและเยาวชนมีความรู้และเข้าใจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

  • การสร้างกิจกรรมชี้นำเพื่อให้ชาวบ้านที่นอกเหนือจากแกนนำเข้ามาร่วมหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนโดยการให้ชาวบ้านและเยาวชนหรือเด็กในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมตั้งแต่เริ่มจน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • การประชุมและการหารเเนวร่วมกิจกรรม
  • การพาแกนนำที่อยากปฏิบัติจริงไปดูงานจริงๆในแถวพื้นที่ที่ปฏิบัติสำเร็จนอกจากฐานแหล่งเรียนรู้ทั้ง9 ตามที่เสนอมาเพราะชาวบ้านอยากต่อยอดกิจกรรมและอยากศึกษาความรู้จริงๆโดยมีปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตรเป็นผู้เสนอแนะนำ
  • ให้เยาวชนมีกิจกรรมร่วมกับผู้นำในชุมชนและแกนนำแหล่งเรียนรู้ในโครงการโดยการให้แสดงความคิดร่วมกับแกนนำ
  • ประชาสัมพันธ์โครงการและกิจกรรมในโครงการให้ชุมชนทราบ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10.00น-16.00น.นายวิชัช ชูดวง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 เป็นประธานในพิธี และมีนายวิจา  ส้มจันทร์ และอดีตนายกอบต.ตากแดดนายศุภนนท์  ผลแก้ว และคณะกรรมการของโครงการเข้าร่วมกิจการแนะนำกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ณ ศาลาหมู่ที่ 2 ตบ้านสวนพริก ตำบลตากแดด

  เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นด้วยในการที่โครงการนี้ได้นำเยาวชนและจัดกิจกรรมเกี่ยวข้าวไร่วันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมาทำให้ชาวบ้านสนับสนุนโครงการเพิ่มมากขึ้น โดยในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้ตั้งเป้าหมายไว้ ว่า 50 ครัวเรือน และเยาวชน 50 คน  รวมเป็น 100 คน ทั้งนี้ได้รับความสนใจจากเยาวชน ในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ในวันนั้นได้มีวิทยากรจากแหล่งเรียนรุ้ในชุมชน  ตามแหล่งเรียนรู้ ทั้ง 9 แหล่ง 1.การเลี้ยงไก่ กลุ่มอสม.จากชุมชนบ้านนา นำโดยนางผกายศรี แสงมณี จากแหล่งเรียนรู้ที่รพ.สต.ตากแดด  2.โรงเพาะเห็ดฟาง กลุ่มแกนนำชมรมสตรีหมู่ที่2 นำโดยนางสุกัญญา  ชุ่มชื่น จากแหล่งเรียนรู้ที่ รพ.สต.ตากแดด 3.กลุ่มเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก นำโดยนายแดง ชุมชื่น 4.การเลี้ยงปลาดุกในบ่อกระชัง  แกนนำโดย นายสุรพล  ชนะพาล 5.การเลี้ยงปลาซิวเพื่อขยายพันธ์ นำโดย นายบุญยี  เสมอภาค 6 การปลูกผักไร้สารพิษ  นำโดย นายฉลาด ชูดวง 7. การเลี้ยงกบนา  นำโดย นายประพิศ  ชูดวง 8.การปลูกข้าวไร่  นำโดย ชุมชนบ้านนาเก่า  นายวิจา  ส้มจันทร์ ,นางสุกัญญา  ชุ่มชื่น, นางผกายศรี  แสงมณี 9.การนวดแผนไทย นำโดย นางสุกัญญา ชุ่มชื่น ,นางผกายศรี  แสงมณี ,และอสม.ในชุมชน มาเสวนา ถึงเรื่องการเริ่มต้นในการทำ ทำอย่างไร และต้องปฏิบัติอย่างไร รวมทั้งเกษตรกรดีเด่น ของชุมชน และปราชญ์ชาวบ้านในชุมชน ได้แก่นายวิจา  ส้มจันทร์  รวมถึงการแลกเปลี่ยน และการเริ่มต้นในการปฏิบัติในการจัดทำแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ให้ชุมชนมีกิจกรรมืร่วมกันตามความสนใจในแหล่งเรียนรู้ โดยทั้งนี้ กิจกรรมทั้งหมดได้เริ่มขึ้นเมื่อ เวลา 10.00 น.โดยมีประธานโครงการและคณะกรรมการของโครงการ ได้แก่นาย วิชัช  ชูดวง และนาง สุกัญญา  ชุ่มชื่น ได้กล่าวและแนะนำชี้นำวัตถุประสงค์ของโครงการ และอนาคตของกิจกรรมของโครงการ ตามเอกสารที่แจกไว้นั้นให้กับผู้เข้าร่วมประชุม จากนั้น ก็เปิดตัวแหล่งเรียนรู้ทั้ง 9 แหล่ง โดยแต่ละแหล่งจะมีวิทยากร ประจำแหล่งมาให้ความรู้ โดยมีหัวข้อที่พูดคือ การเริ่มต้นในกิจกรรม ทำอยางไร ปฏิบัติอย่างไรมาก่อน และทำอย่างไรถึงได้ประสบความสำเร็จ และมีขั้นตอนอย่างไรถึงได้เข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการได้ รวมถึง อนาคตในแหล่งเรียนรู้แต่ละแหล่ง ทำแล้วได้อะไร เป็นต้น ต่อจากนั้น ก็ให้แกนนำ และเยาวชน ได้แสดงความคิดเห็นจับกลุ่มตามความสนใจในแหล่งเรียนรู้ทั้ง 9 แหล่ง แล้วปรึกษา หารือโดยมีแกนนำในกิจกรรมที่มีการประชุมจำนวน 50 คนในกิจกรรมวันที่วันที่12 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา เป็นพี่เลี้ยงในการให้ข้อมูล และส่งเสริมความรู้ จากนั้น ปราชญ์ท้องถิ่น ได้แก่ นายวิจา  ส้มจันทร์ ได้เสวนาต่อถึงบทบาทในชุมชน และการสร้างชุมชน ให้มีคุณค่า ตามโครงการงานสร้างคน เพื่อ ชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  และทำการแจกพืชผักสวนครัวให้ผุ้มาร่วมการประชุมนำไปปลูกสาธิต  ได้แก่ ผักเหลียง ,ผักหวานป่า,ต้นชะอม ,ต้นกล้า บวบ ต้นกล้าฟัก นอกจากนั้นก็นำเยาวชนไปให้อาหารปลา ที่บ่อปลา นายวิจา  ส้มจันทร์ และแจกพันธ์ปลาให้เยาวชนด้วย โดยทั้งนี้มีเยาวชน 4 รายขอรับพันะปลาไปเลี้ยงด้วย ทั้งนี้แกนนำเยาวชนให้ความสนใจและตอบรับโครงการ ร้อยละ 50 จากจำนวน 50 คน ตามเป้าหมาย ซึ่งครึ่งนึงเกิดจากผลตอบรับหลังจากจบกิจกรรมในเวทีนี้แล้ว สาเหตุเพราะ แกนนำหลักได้เข้าไปประชาสัมพันธ์ในชุมชนอย่างเป็นจริงเป็นจัง ทั้งประกาศทางเสียงลำโพงของหมู่บ้าน ทำให้เยาวชนสนใจเป็นอย่างมาก เข้ามาเซ็นต์ชื่อตอบรับโครงการเป็นอย่างดี
*ผลที่เกิดขึ้นจริงในกิจกรรมนี้

  • 1).ชาวบ้านร้อยละร้อย ตามเป้าหมายให้ความสนใจ จาก50 ครัวเรือน ได้ตามเป้า 50 ครัวเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม
  • 2). เยาวชนจำนวน 50 คนได้จับกลุ่มเป็นแกนนำเยาวชน และได้เข้าใจในการจัดทำโครงการ และสนใจ ร้อยละ 25 เปอร์เซ็นต์ จาก 50 คน
  • 3).ชาวบ้านร้อยละ 80 เข้าใจในกิจกรรมของโครงการ
  • 4).เกิดแกนนำเยาวชนขึ้น 25 คน คิดเป็น50เปอร์เซ็นต์จาก 50 คนที่ร่วมประชุมในโครงการ
  • 5).เกิดการติดตามกลุ่มแกนนำขึ้น จากชาวบ้านในชุมชน เพราะหลังจากจัดกิจกรรม ชาวบ้านจะร่วมกันเป็นหูเป็นตา ในการดูแลความประพฤติ และติดตามกิจกรรมอื่นๆในโครงการต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ชาวบ้านบางกลุ่มมีการศึกษาและตอบสนองกิจกรรมและร่วมดำเนินกิจกรรมของโครงการได้ดี
  • ได้้แกนนำเยาวชนเพิ่มขึ้นและเยาวชนเองก็ได้ให้ความสำคัญเรื่องระบบนิเวศน์รวมถึงการเรียนรู้เกษตรพอเพียงตามแหล่งศึกษาในท้องที่ทั้ง9แหล่งเรียนรู้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสุทธาทิพย์ พัฒนกิจภักดี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • การศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกพื้นที่ก่อให้เกิดผลดีคือชาวบ้านได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆและรู้จักการต่อยอดนำความรู้นั้นมาปรับใช้ตามความถนัดและการผสมผสานตามความต้องการของตนเอง ดังนั้นงบประมาณหรือแผนกิจกรรมที่ตั้งไว้จึงมีการแตกยอดกิจกรรมย่อย ไม่สามารถกับหนดได้จริงในแต่ละกิจกรรมซึ่งทางคณะกรรมการผู้จัดทำโครงการเองจึงต้องเปลี่ยนแผนปฏิบัติงานจึงไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์หลักมากนักแต่ก็ไม่ก่อให้เกิดความแตกต่างมาก เพราะผู้จัดทำกิจกรรมในโครงการก็เห็นคุณค่าของเงินและความต้องการของชาวบ้านที่จะก่อประโยชน์สูงสุดในกิจกรรมและการส่งเสริมความรู้ในชุมชนตามเป้าหมายโครงการและวัตถุประสงค์หลักในการให้ชาวบ้านเรียนรู้เรื่องการพัฒนาตนเองตามรอยเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • พี่เลี้ยงโครงการให้ความสนับสนุนและร่วมกันเารพการตัดสินในในกิจกรรมแต่ละกิจกรรมเป็นอย่างดี รวมถึงให้คำแนะนำอยู่เสมอทำให้การจัดทำกิจกรรมจึงเป็นไปได้ด้วยดีอยู่ทุกกิจกรรม