งานสร้างคน เพื่อ พัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

จัดอบรมเด็กนักเรียนเพื่อเป็นแกนนำเยาวชนในโครงการ16 มีนาคม 2556
16
มีนาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย ekaruk-pl
circle
วัตถุประสงค์

1.ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและนำมาปฏิบัติในชุมชน

2.เพื่อจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชน

  • เพื่อให้แกนนำได้ฝึกทักษะการคิด วิเราะห์วิธีดำเนินการ
  • เพื่อให้ทราบแนวทางการจัดการเรียนรู้ของศูนย์เรียนรู้ในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • สอนการคิดวิเคราะห์การดำเนินงานการจัดทำแนวทางการเรียนรู้โดยให้ทำความเข้าใจใน 4 หัวข้อหลักคือ แนวทางการจัดทำเรียนรู้ คือมือการจัดการ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และแกนนำชุมชน
  • แกนนำชุมชน/แหล่งเรียนรู้ ฝึกทักษะการคิดการพูด และผลการดำเนินการของการจัการแหล่งเรียรู้ในชุมชน
  • ประเมินและวิเคราะห์แหล่งเรียนรู้ถึงความเป็นปได้ในการที่จะร่วมบูรณาการจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อความมีศักยภาพและการสนับสนุนงบประมาณที่ช่วยมาสานต่อในบางกิจกรรม จากผู้นำชุมชน
  • ปรึกษาในเรื่องความเป็นไปได้ในการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ตำบลโดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งชุมชนเข้าประกวด
  • ชาวบ้านและแกนนำผู้ร่วมโครงการ 100ละ90% มีความเข้าใจและสามารถประเมินตนเองและชุมชนของตนเองได้ขากการจัดเวทีประเมินในครั้งนี้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เมื่อเวลา 10.00 น. ณ ศาลาหมู่ที่ 2  บ้านสวนพริก นำโดยนายวิชัช  ชูดวง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2  และแกนนำแข้มแข็งในชุมชนและแหล่งเรียนรู้ได้เข้ามาร่วมประชุม โดยมี นางสาว  มณฑา  นิรมล  และ นางสุกัญญา  ชุ่มชื่น  รวมถึง เจ้าหน้าที่ ตำแหย่งพัฒนาชุมชน เข้ามาร่วมเสวนาเปิดเวที ประเมิน แกนนำ โดยร่วมกัน ประเมินและจัดทำเอกสาร เพื่อจะได้เป็นข้อมูลของชุมชนในอนาคต และ การเพิ่มที่เรียนของแหล่งเรัยนรู้ โดยได้มีการประเมินถึงกิจกรรมและการมีส่วนร่วมของแกนนำที่ผ่านมา ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ มีปัญหา และมีการเข้าใจในปัญหาที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ รวมถึงการจัดทำแหล่งเรียนรู้ ที่จะให้มีการเพิ่มแหล่งเรียนรู้นอกจากที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแล้ว ควรจะมีแหล่งเรียนรู้เพิ่มที่สามารถอยู่ใกล้จุดศูนย์กลางของชุมชนอี 1 สถานที่  ทั้งนี้การหาช่องทางบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างโครงการ และหน่วยงานที่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมในหมู่บ้าน เพื่อเสนอและส่งเสริมหมู่บ้านเข้าร่วมประกวดระดับจังหวัด จากนั้น ก็มีการตั้งคำถามเพื่อให้แกนนำได้เกิดความคิด สามารถวิเคราะห์ และสามารถทราบวิธีดำเนินการการจัดการโครงการ และการต่อเนื่องของโครงการว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ สรุปผลที่เกิดขึ้นจริงคือ

  • การานัดแกนนำเข้าร่วมประชุม โดยได้แกนนำจากแหล่งเรียนรู้จริงจำนวน 30 คน และผู้ร่วมขบวนการอีก 50 คน
  • มีการเข้ามาร่วมเสวนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พัฒนาจังหวัด และเกษตรจังหวัดถึงทิศทางการพัฒนาต่อยอด
  • มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ที่ชุมชนสามารถเข้ามาศึกษาได้ตลอดโดยเป็นการร่วมมือกันของคนในชุมชน คือโดรงเพาะเห็ดชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 98 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การไม่มีเงินทุนหมุนเวียนในการจัดทำแหล่งเรียนรู้ ที่ใช้เงินจำนวนมาก
  • การขยายแนวคิดการทำเกษตรพอเพียง และการจัดสร้างแหล่งเรียนรู้ยังไม่ครอบคลุมทั่วชุมชน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสุทธาทิพย์ ทวีกิจภักดี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ควรกำหนอกรอบการจัดสรรงบประมาณให้ครอบคลุมการสร้างแหล่งสาธิตศูนย์การเรียนรู้ให้มีกรอบและเกณฑ์กำหนดให้กว้างและหลากหลายกว่านี้
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

พี่เลี้ยงได้จัดทำข้อมูล และลงพื้นที่ทุกครั้ง ในการทำกิจกรรม และการเปิดใจให้ความอิสระการให้ชาวบ้านมามีส่วนร่วม เป็นผลให้งานมีความราบรื่นอยู่ตลอดเวลา