งานสร้างคน เพื่อ พัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

ประเมินแกนนำเยาวชนและแหล่งเรียนรู้ที่ให้เด็กและเยาวชนเข้าไปศึกษา30 มีนาคม 2556
30
มีนาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย ekaruk-pl
circle
วัตถุประสงค์

1.ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและนำมาปฏิบัติในชุมชน

2.เพื่อจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชน

  • สร้างแกนนำเยาวชนในท้องถิ่น
  • บูรณาการแหล่งเรียนรู้เข้ากับนักเรียนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • สร้างแกนนำโดยให้เยาวชนได้มีความรู้และความเข้าใจในรูปแบบและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้เกิดแกนนำเยาวชน และเป็นการบูรณาการการสร้างและศึกษาแหล่งเรียนรู้ ระหว่างชุมชนและโรงเรียน ทำให้เยาวชนเป็นกระบอกเสียงในการรณรงค์และรักในพื้นแผ่นดินที่อยู่อาศัยได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาหรือหาแหล่งงานภายนอก ทั้งนี้การได้รู้การได้เห็น และการได้ทำความเข้าใจ จะทำให้เยาวชนเกิดการอยากปฎิบัติและสนใจในกิจกรรมจริงๆ 
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เมื่อเวลา 10.00น ณ ศูนย์แหล่งเรียนรู้ในชุมชน นำโดย นางสุกัญญา  ชุ่มชื่น และทีมงานโครงการ ร่วมกับเยาวชน และเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านตากแดด จำนวน 30 คน ได้เดินทางมาร่วมเรียนรู้แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนจากการบูรณาการร่วมกันจาก ผู้จัดทำโครงการ งานสร้างครเพื่อพัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทางโรงเรียนสนับสนุนให้มีการเรียนรู้และสร้างแกนนำร่วมกับเด็กนักเรียน เพื่อเป็นเยาวชนตัวอย่างในชุมชน ได้เข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับศูนย์ปฏิบัติการการเกษตรของชุมชน ทั้ง 9 แหล่งเรียนรู้ โดยมี นางสุกัญญา  ชุ่มชื่น ผู้จัดทำโครงการเป็นวิทยากร จนจบรายการ โดยได้ให้เด็กเรียนรู้ถึงแหล่งเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ที่มา งบประมาณ และผลที่ได้รับจากโครงการ และ ทำอย่างไรให้เด็กๆได้มีส่วนร่วมในชุมชน โดยการให้เด็กนำตัวอย่างไปทดลองปลูกในโรงเรียนเรียน โดยเด็กๆสนในการเกษตรแบบการปลูกผักปลอดสารพิษเป็นพิเศษ เพราะปลูกง่ายดูแลง่าย นอกจากนั้นยังพาเด็กๆไปดูแหล่งเรียนรู้นอกจากที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ แล้วก็พาไปดูแหล่งเรียนรู้ การเลี้ยงสัตว์ เช่นการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก การเลี้ยงปลาดุกในกระชัง การเพาะเห็ด การเลี้ยงไก่ไข่ ดดยได้สัมผัสกับวิทยากรแหล่งเรียนรู้ จริงๆ นอกจากนั้น ก็นำเด็กๆเข้าห้องประชุม ณ รพ.สต. เพื่อมาฟังวิธีการเลี้ยงสัตว์ ตามแหล่งเรียนรู้ โดยมีวิทยากรท้องถิ่นในแต่ละแหล่งเรียนรู้เข้าร่วมบรรยาย ทั้งนายวิจา  ส้มจันทร์  ยังได้สอนเกี่ยวกับสมุนไพรมีพิษ และสมุนไพรให้ประโยชน์ และเด็กๆยังได้เรียนการนวด นอกจากนั้นยังให้เด็กๆได้สมัครเป็นเยาวชนอาสา เพื่อเป็นวิทยากร ท้องถิ่นในการศึกษางานต่อไป ทั้งนี้ กิจกรรมทั้งหมด ก็ก่อให้เกิดการเรียนรู้นอกสถานที่ สร้างความรู้ใหม่ให้เยาวชน เกิดการเรียนรู้ และการทดลอง ภายในโรงเรียนเป็นการบรรจุ แผนการเรียนนอกระบบ เป็นการบูรณาการที่ชุมชนมีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง

สรุปผลกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง

  • เด็กนักเรียนในชุมชน และแกนนำเยาวชนด้เข้ามาเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้จริง
  • มีการเชื่อมต่อกันระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก
  • มีการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ทุนในชุมชนที่เกิดขึ้นจริง
  • เป็นการบูรนาการการเรียนรู้ระหว่างห้องเรียนและชุมชน
  • เป็นการสร้างความมีส่วนร่วมของแกนนำในการให้ความรู้กับเยาวชนจริงๆ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การเกิดแบบภาคปฏิบัติได้ดีเยี่ยม แต่ภาคทฤษฎีด้านข้อมูล ยังมีข้อบกพร่อง เพราะ แหล่งเรียนรู้แต่ละแหล่งต้องอาศัยเวลาในการศึกษาเพราะมีข้อมูลซับซ้อน วิธีแก้คือ ต้องจัดทำเป็นคู่มือชุมชนในการอธิบายข้างต้น
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสุทธาทิพย์ ทวีกิจภักดี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ควรขยายกรอบและวัตถุประสงค์ของโครงการให้กว้างกว่านี้เพราะกิจกรรมบางกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงผิดหลักวัตถุประสงค์ของโครงการ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ควรมีการอลุ่มอล่วยในบางกิจกรรม เพราะการลงพื้นที่ปฏิบัติบางทีอาจไม่สอดคล้องกับระบบข้อมูล แต่มีการปฏิบัติจริง แต่เนื่องจากว่าเป็นรูปแบบชาวบ้านจึงไม่เกิดความเข้าใจในกระบวนการของข้อมูล ทำให้เกิดการล่าช้าในการบันทึกข้อมูล