งานสร้างคน เพื่อ พัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

การคัดเลือกและเสริมสร้างกิจกรรม และให้ผลกำลังใจในแหล่งเรียนรู้โดยให้ผลรางวัลให้กับผู้ที่ร่วมกิจกรรมและเป็นตัวอย่างในการต่อยอดแหล่งเรียนรู้ในชุมชน12 มกราคม 2556
12
มกราคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย ekaruk-pl
circle
วัตถุประสงค์

1.ประชาชนและเยาวชนมีความรู้และเข้าใจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

  • ต้องการให้ขวัญกำลังใจแก่แกนนำในพื้นที่ ที่ร่วมปฏิบัติและสนับสนุนโครงการในการทำกิจกรรมแกจกรรม และอุทิศตัวเองเพื่อโครงการ

2.เพื่อจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ติดตามแกนนำและการเอาใจใส่ดูแลรวมถึงการร่วมมือในการทำแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
  • ให้รางวัลในการปฏิบัติตนดีเด่นจากผู้นำแหล่งเรียนรู้ในแต่ละฐานเรียนรู้ ที่มีการปฏิบัติตนตามสาธารณะประโยชน์ และร่วมสนับสนุนกิจกรรมในโครงการทุกกิจกรรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 12  มกราคม 2556 เวลา 12.00 น.-15.00น.นายศุภนนท์  ผลแก้ว  นายวิจา  ส้มจันทร์ และคณะทำงานของโครงการ ณ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตากแดด

    เป็นการประชุมและเป็นการกำหนดในโครงการไว้แล้วในการทำกิจกรรม เริ่มจากการประชุมหารือแกนนำในการพัฒนาศักยภาพและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ นอกเหนือจากกิจกรรมที่ทำอยู่ ผุ้ที่เป็นแกนนำในท้องถิ่นในแหล่งเรียนรู้ทั้ง 9 แหล่งได้แก่ การเลี้ยงไก่ไข่(ศูนย์การเรียนรู้รพ.สต.) -โรงเพาะเห็ดฟาง(ศูนย์การเรียนรู้ รพ.สต.) - การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก(นางสุกัญญา ชุ่มชื่น) -การเลี้ยงปลาดุกในบ่อกระชัง(นายสุรพล ชนะพาล) -การเลี้ยงปลาซิวเพื่อขยายพันธ์(นายยี เสมอภาค) -การปลูกผักไร้สารพิษ(นายฉลาด ชูดวง) -การเลี้ยงกบนา(นายประพิศ ชูดวง) -การปลูกข้าวไร่(ชุมชนบ้านสวนพริก) - การนวดแผนไทย(ศูนย์การเรียนรู้รพ.สต.) -ถอดบทเรียนฐานการเรียนรู้ทั้ง 9 ฐาน - จัดทำเป็นเอกสารเพื่อเป็นคู่มือการเรียนรู้ในชุมชน  มีการพัฒนา แหล่งเรียนรู้อยู่เสมอ เนื่องจากแกนนำทั้ง 9 เป็นแกนนำเข้มแข็ง เมื่อรู้ว่าตัวเองมีบทบาทในชุมชน เป็นผู้ที่พัฒนา แหล่งเรียนรุ้อยู่เสมอ นอกเหนือจากกิจกรรมที่ทำไว้แล้วในแต่ละครั้งนั้น ถือว่าแกนนำทั้ง 9 คนได้มีศักยภาพมากในการเป็นผู้นำแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ซึ่งแต่ละคนได้มีกลยุทธิ์ในการพัฒนาดังนี้

1).การเลี้ยงกบนา  นายประพิศ  ชูดวง  มีการออกนอกพื้นที่ และศึกษาพันธ์กบที่เหมาะกับท้องถิ่น และเวลาว่างก้เข้าหากลุ่มเดียวกันให้คำแนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ตอนนี้มีสมาชิกการเลี้ยงกบเพิ่ม จาก 5 ครัว กลายเป็น 15 ครัวเรือน และนอกชุมชน อีก 10 กว่าครัวเรือน

2).การเลี้ยงไก่ไข่ นำโดยนางผกายศรี  แสงมณี มีการ เช่าตู้ฟักไข่ และนำไข่มาฟักแจกจ่ายให้สามาชิกในกลุ่ม จาก 4 ครัวเรือนในชุมชน เพิ่มขึ้นเป็น 12 ครัวเรือน และต่อยอดไปฟักใข่เป้ด ตอนนี้อยุ่ในช่วงการทดลองดดยมีผุ้เลี้ยงเป็ดมาแนะนำอยุ่เสมอ

3). การปลุกผักไร้สารพิษ  นำโดยนายฉลาด ชูดวง  มีการรวมกลุ่มและประย่อยนอกเหนือกิจกรรม เพื่อแนะนำให้มีการปลุกพืชท้องถิ่นเพิ่มขึ้น เช่นการเข้ามาขอพันธ์พืชจากโครงการ ซึ่งทางคณะกรรมการโครงการเห็นด้วยในฏารสนับสนุนพันธ์พืชสาธิต จำนวน 50 ต้น(ต้นผักเหลียง/ผักเหมียง) ให้ไปปลูกเป็นตัวอย่าง เพื่อให้กลายเป็นพ่อพันธ์และแม่พันธ์ต่อไป รวมถึงได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จากกลุ่มนี้ ได้แก่ การใช้น้ำหมักมาเป็นสารในการกำจัดวัชพืช

4).การเลี้ยงปลาดุกในบ่อกระชัง โดยนายสุรพล  ชนะพาล  เมื่อมีการขายไปในแต่ละยอด นายสุรพลเองก็ได้นำมาเลี้ยงอีก เมื่อประสบปัญหา นายสุรพลก็ไปขอรับคำแนะนำจากเกษตรจังหวัด สนับสนุน ข้อมูลโดย  นายสุขสันต์  เล็กน้อย เกษตรจังหวัดพังงา  และเป็นผู้นำด้านวิทยากรที่ดี ร่วมกับกิจกรรมของโครงการทุกครั้ง โดยในหมู่บ้านมีผู้สนในการเลี้ยงปลาดุกในกระชังจำนวน 5 ราย จากครั้งแรกมีแค่นายสุรพลรายเดียว

5).การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก  นำโดยนายแดง และนางสุกัญญ  ชุ่มชื่น สองสามีภรรยา ตัวอย่างในการพัฒนาชุมชน ทั้งสองนอกจากเป็นวิทยากรของโครงการแล้ว ยังแจกจ่ายพันธ์ปลาและแนะแนวทางการตลาดให้กลุ่มนี้อีกด้วย โดยได้มีผู้ร่วมในกิจกรรมนี้ 8 รายจาก เดิมก่อนเริ่มโครงการมีเพียง 1 ราย

6).การนวดแผนไทย มีการสนับสนุนเพิ่มขึ้นจากองค์กรอื่นๆ ที่เห็นความสำคัยและการเริ่มต้นจากชาวบ้านในชุมชน จากนวดกันแบบดั้งเดิม ปัจจุบันมีองค์กรเข้ามาสนับสนุน ให้ทุนและจัดสร้างโรงนวด โดยใช้อสม.ในชุมชนเป็นแกนนำ มีเวรการนวดทุกวัน โดยเสนอชั่วโมงละ 300 บาท และเป็นแหล่งเรียนรู้ในการสอนนวดรุ่นต่อไป นำโดย นางผกายศรี  แสงมณี  และนางสุกัญญา  ชุ่มชื่น

7.การเลี้ยงปลาซืว  โดยนายบุญยี  เสมอภาค เป็นการเลี้ยงไว้เพื่อขยายพันธ์ และปัจจุบันมีชุมชนนิกพื้นที่มาศึกษาเพื่อนำไปเพาะเลี้ยงเป้นอาหารซึ่งการบริโภคปลาซิวส่วนมาจะนำไปแกงส้ม หรือการทำปลาร้า ทั้งนี้นายบุญยี ก็สนับสนุน และเป็นผุ้เพาะเลี้ยงไว้ลงสู่ธรรมชาติ จึงเหมาะแก่การยกย่องให้เป็นบุคคลสาธารณะ การสนับสนุนและให้รางวัลกับบุคคลเหล่านี้ถึงแม้ว่าจะได้รายละ 500 บาทตามกรอบของโครงการที่ระเบียบกำหนด แต่ถือว่าเป็นรางวัลที่สร้างขวัญกำลังใจในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ไปตลอด เห้นควรที่จะให้มีอย่างนี้ไปตลอดเพื่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างแกนนำและกิจกรรมของดครงการ
  สรุปผลที่เกิดขึ้นในกิจกรรมครั้งนี้

  • 1).แกนนำได้ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานและอุทิสร่วมกับชุมชน
  • 2).แกนนำได้เห็นบทบาทของตัวเองในสังชุมชนที่ตนเองที่มีอยู่
  • 3).เป็นการสนับสนุนและพัฒนาบทบาทและแหล่งเรียนรู้ของตนเองอยุ่เสมอ
  • 4).ร้อยละ 50 ของผุ้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความรู้และนำไปใช้ได้ทันทีจากกิจกรรมที่มาศึกษาหมายความว่า ผู้ที่เป็นแกนนำในการเป็นวิทยากรให้ความสนใจและเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองปฏิบัติอยู่เสมอ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การเฝ้าติดตามถึงพฤติกรรมแกนนำและแหล่งเรียนรู้จากการร่วมกิจกรรมทุกครั้ง
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสุทธาทิพย์ ทวีกิจพัฒนภักดี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • การให้กำลังทางด้านปัจจัยมีผลต่อการดำเนินกิจกรรมดังนั้นไม่ควรกำหนดขอบเขตจำนวนปัจจัย เพราะผู้จัดทำโครงการได้พิจารณาความสำคัญของรางวัลหรือจำนวนปัจจัยตามความเหมาะสมทุกครั้งก่อนที่จะเสนอให้กับคณะกรรมการในโครงการ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ยินดีและเห็นควรที่จะสร้างขวัญกำลังใจของคนในชุมชน