งานสร้างคน เพื่อ พัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

สรุปบทเรียนและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจและผลสัมฤทธิ์ของแหล่งเรียนรู้ตามฐานเรียนรู้กับนักวิชาการในชุมชนและแกนนำเยาวชนในท้องที่เพื่อให้มีการปฏิบัติในโครงการไปในทิศทางเดียวกัน25 มกราคม 2556
25
มกราคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย ekaruk-pl
circle
วัตถุประสงค์

1.ประชาชนและเยาวชนมีความรู้และเข้าใจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

  • ต้องการให้โครงการสัมฤทธ์ผลและมีประสิทธิภาพโดยการให้อบต.และผู้นำชุมชนเข้ามาร่วมเสนาถึงการพัฒนาร่วมกันในอนาคนจากแหล่งเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในชุมชน

2.เพื่อจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • การถกถึงปัญหา และผลตอบรับและการพัฒนาต่อไปในอนาคต ผลที่ได้รับและการบูรณาการร่วมกันจากภาครัฐในพื้นที่ และแหล่งทรัพยากรทางต้นทุนที่เกิดขึ้นแล้วในชุมชน หมู่ที่ 2 บ้านสวนพริก ตำบลตากแดด อำเภอเมือง จังหวัดพังงา
  • การกำหนดแผนกิจกรรมเพิ่มในโครงการให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนในท้องที่อย่างแท้จริง และให้ตรงตามความต้องการของแกนนำในชุมชน โดยอยู่ภายใต้กรอบของโครงการ
  • การวางแผนการรับรู้ผลของการเงินในโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 25  มกราคม  2556 นายวิจา  ส้มจันทร์ ปราชญ์ชาวบ้านหมู่ที่ 2และนายวิชัช  ชูดวง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 เวลา 10.00น.15.30น ณ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตากแดด

        จากการที่โครงการได้จัดกิจกรรมไปในแต่ละครั้งก็ได้รับความสนใจให้กับผู้นำชุมชนเพราะมีการประชาสัมพันธ์ทุกครั้ง และเมื่อจัดกิจกรรมแล้วก็ได้รับความตอบรับของชาวบ้านได้เป็นอย่างดี
ทางคณะกรรมการของโครงการ ได้จัดการประชุมระดับผู้นำของชุมชน ถึงทิศทางในความเป็นไปได้ในการพัฒนาเพื่อต่อยอดหลังเสร็จสิ้นโครงการและผลปฏิบัติงานทั้งหมด ให้กับคณะกรรมการในโครงการและผู้นำชุมชนทราบ รวมถึงแกนนำในพื้นที่ และแกนนำเยาวชน ในกิจกรรมที่ผ่านมาและบทบาทของแกนนำแต่ละกลุ่ม  ทราบ  ถึงผลตอบรับ และกิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นในครั้งต่อไป ทั้งนี้ มีการถาม-ตอบ จากนักวิชาการอิสระ  นางวันเพ็ญ  แวววับศรี ผู้อำนวยการจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตากแดด และผู้นำชุมชน ได้แก่นายวิจา  ส้มจันทร์ และผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 นายวิชัช  ชูดวง  และทางคณะกรรมการถึงความปรอดโปร่งใส และ กิจกรรมทีกำลังจะเกิดขึ้นมีการวางแผนงาน ผลสัมฤทธิ์ในการจัดทำคู่มือ การบรรจุไว้ในวิชากิจกรรมของวิชาการเรียนการสอนในโรงเรียน การจัดทำแปลงสาธิต และความจำเป็นในการศึกษาดูงานนอกสถานที่  ทั้งนี้ การศึกษาดูงานนอกสถานที่ ทางคณะกรรมการได้ลงมติแล้วว่า ร้อยละ 80 เห็นควรให้ไปดูนอกสถานที่ใกล้ๆ ที่อำเภอท้ายเหมือง ชุมชนบ้านตีนเป็ด โดยให้คัดเลือกแกนนำที่จะริเริ่มต่อยอดในแหล่งเรียนรู้ที่มีของตัวเอง และชุมชนของตัวเอง จำนวน 30 คน ที่คณะกรรมการเห็นมติว่าจะไปดูงานที่หมู่ย้านตีนเป็ดเพราะหมูบ้านตีนเป็ดเคยเป็นปฏิสัมพันธิ์อันดีกับผู้นำชุมชนหมู่ที่ 2 เนื่องจากเคยร่วมดำเนินกิจกรรมโครงกราเศรษฐกิจกันมาเมื่อหลายปีก่อน แต่ด้วยการสนับสนุนและการดูแลอย่างต่อเนื่องจากองค์กรภาครัฐทำให้หมู่บ้านตีนเป็ดเป็นชุมชนที่พัฒนาแหล่งเรียนรู้ได้มากมายจนได้รับรางวัลจากหน่วยงานต่างๆและชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านสาวนพริก ยังต้องการวิทยากรเรื่อง การทำโรงเผาถ่าน และโรงสมุนไพรเพิ่ม แต่ขาดฐานความรู้ เหตุผลที่ต้องการทำโรงเผาถ่านเพราะทรัพยากรณ์ในท้องถิ่มีเยอะ และชาวบ้านเห็นด้วยกับการรักษาพืชพรรณสมุนไพร อยากจะทำยาสมุนไพร ที่มีอยู่แล้วในชุมชน(นวดประคบ )แจกจ่ายทดลองให้กับคนในชุมชน และความจำเป็นในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพิ่ม การทำโรงเผาถ่านในชุมชน และโรงสมุนไพรท้องถิ่นหมู่ที่ 2 ชุมชยบ้านนาเก่า นำโดยปราชญ์ชาวบ้าน นายวิจา  ส้มจันทร์  เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาที่จะเกิดขึ้นในชุมชนบ้านนาเก่า ในการสนับสนุนงบประมาณของกิจกรรมในโครงการครั้งต่อไป ทั้งนี้ ผลการพัฒนาทั้งหมดนี้ หลังจากเสร็จสิ้นโครงการสามารถนำมาต่อยอดได้ และ ร้อยละ 40 ของคณะกรรมการและแกนนำ ต้องการช่วยเหลือตัวเอง ไม่อยากให้องค์การปกครองท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องดพราะโครงการนี้เกิดมาจาก สสส. จึงอยากจะช่วยเหลือตัวเองหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ เพราะคิดว่าสามารถพึ่งพาและรู้แนวทาง ทำให้ชุมชนช่วยเหลือกันได้เองแล้ว ส่วนร้อยละ 60 เปอร์เซ็นต์ ต้องการให้โครงการสสส. มีบทบาทในครั้งต่อไป ชาวบ้านต้องการให้พึ่งพากันเองในชุมชน เท่านั้นโดยให้มีการจัดทำและประเมินโครงการเป็นคู่มือในการพัฒนาต่อไป

  สรุปผลที่เกิดขึ้นจริง

  • 1).คณะกรรมการได้วางแผนงานในกิจกรรมครั้งต่อไป
  • 2).ได้ทราบบทบาทภาระหน้าที่ของคณะกรรมการแต่ละคน
  • 3).เกิดการพบปะและช่วยกันแก้ไขปัญหา ในโครงการและร่วมกันจัดกิจกรรมในวาระงบต่อไป
  • 4).เกิดการวิเคราะห์ข้อมูลและต้นทุนเพิ่มเติม
  • 5).จัดกระบวนการกิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นให้ตรงตามความต้องการที่แท้จริงโดยอยู่ภายใต้กรอบของกิจกรรมในโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การจัดระเบียบข้อมูลให้เป็นเอกสาร ยังไม่มีการเข้าใจเพราะชาวบ้านไม่สามารถใช้หลักวิชาการนำมาปฏิบัติได้
  • วัตถุประสงค์ความต้องการของแต่ละแกนนำยังไม่ตรงกัน เพราะบางรายเห็นความสำคัญในการช่วยเหลือด้านการเงินมากกว่าช่วยเหลือด้านความรู้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสุทธาทิพย์ ทวีกิจพัฒนภักดี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ควรให้เจ้าหน้าที่ทางการปกครองท้องถิ่นเข้ามาร่วมช่วยแก้ไขปัญหา
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ติดตามและสังเกตุถึงความต้องการของท้องถิ่นที่เข้ามาร่วมโครงการถึงวัตถุประสงค์และแนวนโยบายให้สอดคล้องกันเพื่อเป็นแผพัฒนาหลังเสร็จสิ้นโครงการ