โครงการชุมชนคนไทดำเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ

ฝึกอบรมอาสาสมัครกู้ภัย ครั้งที่121 สิงหาคม 2556
21
สิงหาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย issaree
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่ออบรมอาสาสมัครเรื่องภัยพิบัติ บทบาทการเป็นอาสาสมัคร และการใช้อุปกรณ์กู้ชีพให้กับเยาวชนและอาสาสมัครในพื้นที่
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ความรู้ความเข้าใจเรื่องภัยพิบัติ
  • บทบาทการเป็นอาสาสมัครกู้ภัย
  • ทักษะการใช้อุปกรณ์กู้ภัย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. อาสาสมัครและคนในชุมชนได้ความรู้เรื่องการกู้ภัย  มีความเข้าใจเรื่องภัยพิบัติมากขึ้นและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยมีเนื้อหาสรุปดังนี้ ความหมายของภัยพิบัติ
  • ราชบัณฑิตยสถานได้อธิบายไว้ว่า คำว่า ภัยพิบัติ (อ่านว่า ไพ-พิ-บัด) ประกอบด้วยคำว่า ภัย หมายถึง สิ่งที่ทำให้กลัว หรืออันตราย กับ คำว่า พิบัติ หมายถึง ความฉิบหาย หรือหายนะ ภัยพิบัติ หมายถึง อันตรายที่นำไปสู่หายนะ หรือหายนะที่เป็นอันตราย มีทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติและเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุไซโคลน ภูเขาไฟระเบิด เป็นภัยธรรมชาติที่ทำให้เกิดภัยพิบัติ เครื่องบินตก เรือล่ม รถไฟตกราง สงคราม เป็นภัยพิบัติที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ คำว่า ภัยพิบัติ อาจใช้ว่า พิบัติภัย (อ่านว่า พิ-บัด-ไพ) ก็ได้ เช่น ทุกประเทศควรมีระบบป้องกัน บรรเทา และฟื้นฟูผลอันเนื่องมาจากพิบัติภัย
  • ภัยพิบัติ (Disaster) หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือจากการกระทําของมนุษย์ และส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนในสังคมหรือชุมชน โดยชุมชนที่ประสบภัยพิบัติไม่สามารถจัดการกับภัยพิบัติที่ เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง
  • อุทกภัย คือ ภัยหรืออันตรายที่เกิดจากน้ำท่วม หรืออันตรายอันเกิดจากสภาวะที่น้ำไหลเอ่อล้นฝั่งแม่น้ำ ลำธาร หรือทางน้ำ เข้าท่วมพื้นที่ซึ่งโดยปกติแล้วไม่ได้อยู่ใต้ระดับน้ำ หรือเกิดจากการสะสมน้ำบนพื้นที่ซึ่งระบายออกไม่ทันทำให้พ้นที่นั้นปกคลุมไปด้วยน้ำ
  • โดยทั่วไปแล้วอุทกภัยมักเกิดจากน้ำท่วม ซึ่งสามารถแบ่งเป็นลักษณะใหญ่ๆ ได้ 2 ลักษณะ คือ 1) น้ำท่วมขัง/น้ำล้นตลิ่ง เป็นสภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเนื่องจากระบบระบายน้ำไม่มีประสิทธิภาพ มักเกิดขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและบริเวณชุมชนเมืองใหญ่ๆ มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเกิดจากฝนตกหนัก ณ บริเวณนั้นๆ ติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน หรือเกิดจากสภาวะน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขังส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณท้ายน้ำและมีลักษณะแผ่เป็นบริเวณกว้างเนื่องจากไม่สามารถระบายได้ทัน ความเสียหายจะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรและอสังหาริมทรัพย์เป็นส่วนใหญ่ สำหรับความเสียหายอื่นๆ มีไม่มากนักเพราะสามารถเคลื่อนย้ายไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัย 2) น้ำท่วมฉับพลัน เป็นภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในพื้นที่ เนื่องจากฝนตกหนักในบริเวณพื้นที่ซึ่งมีความชันมาก และมีคุณสมบัติในการกักเก็บหรือการต้านน้ำน้อย เช่น บริเวณต้นน้ำซึ่งมีความชันของพื้นที่มาก พื้นที่ป่าถูกทำลายไปทำให้การกักเก็บหรือการต้านน้ำลดน้อยลง บริเวณพื้นที่ถนนและสนามบิน เป็นต้น หรือเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำพังทลาย น้ำท่วมฉับพลันมักเกิดขึ้นหลังจากฝนตกหนักไม่เกิน 6 ชั่วโมง    และมักเกิดขึ้นในบริเวณที่ราบระหว่างหุบเขา ซึ่งอาจจะไม่มีฝนตกหนักในบริเวณนั้นมาก่อนเลยแต่มีฝนตกหนักมากบริเวณต้นน้ำที่อยู่ห่างออกไป เนื่องจากน้ำท่วมฉับพลันมีความรุนแรงและเคลื่อนที่ด้วยความรวดเร็วมากโอกาสที่จะป้องกันและหลบหนีจึงมีน้อย ดังนั้นความเสียหายจากน้ำท่วมฉับพลันจึงมีมากทั้งแก่ชีวิตและทรัพย์สิน สาเหตุของการเกิดอุทกภัยจากธรรมชาติ มีดังนี้
  • ฝนตกหนักจากพายุหรือพายุฝนฟ้าคะนอง เป็นพายุที่เกิดขึ้นติดต่อกันเป็นเวลาหลาย ชั่วโมง มีปริมาณฝนตกหนักมากจนไม่อาจไหลลงสู่ต้นน้ำลำธารได้ทันจึงท่วมพื้นที่ที่ อยู่ในที่ต่ำ มักเกิดในช่วงฤดูฝนหรือฤดูร้อน ฝนตกหนักจากพายุหมุนเขตร้อน เมื่อพายุนี้ประจำอยู่ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเป็นเวลานานหรือแทบไม่เคลื่อนที่ จะทำให้บริเวณนั้นมีฝนตกหนักติดต่อกันตลอดเวลา ยิ่งพายุมีความรุนแรงมาก เช่น มีความรุนแรงขนาดพายุโซนร้อนหรือไต้ฝุ่น เมื่อเคลื่อนตัวไปถึงที่ใดก็ทำให้ที่นั้นเกิดพายุลมแรง ฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้างและมีน้ำท่วมขัง นอกจากนี้ถ้าความถี่ของพายุที่เคลื่อนที่เข้ามาหรือผ่านเกิดขึ้นต่อเนื่องกัน ถึงแม้จะในช่วงสั้นแต่ก็ทำให้น้ำท่วมเสมอ
  • ฝนตกหนักในป่าบนภูเขา ทำให้ปริมาณน้ำบนภูเขาหรือแหล่งต้นน้ำมาก มีการไหลและเชี่ยวอย่างรุนแรงลงสู่ที่ราบเชิงเขา เกิดน้ำท่วมขึ้นอย่างกะทันหัน เรียกว่าน้ำท่วมฉับพลัน เกิดขึ้นหลังจากที่มีฝนตกหนักในช่วงระยะเวลาสั้นๆ หรือเกิดก่อนที่ฝนจะหยุดตก มักเกิดขึ้นในลำธารเล็กๆ โดยเฉพาะตอนที่อยู่ใกล้ต้นน้ำของบริเวณลุ่มน้ำ ระดับน้ำจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงกับเทือกสูง เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
  • ผลจากน้ำทะเลหนุน ในระยะที่ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อยู่ในแนวที่ทำให้ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด น้ำทะเลจะหนุนให้ระดับน้ำในแม่น้ำสูงขึ้นอีกมาก เมื่อประจวบกับระยะเวลาที่น้ำป่าและจากภูเขาไหลลงสู่แม่น้ำ ทำให้น้ำในแม่น้ำไม่อาจไหลลงสู่ทะเลได้ ทำให้เกิดน้ำเอ่อล้นตลิ่งและท่วมเป็นบริเวณกว้างยิ่งถ้ามีฝนตกหนักหรือมีพายุเกิดขึ้นในช่วงนี้ ความเสียหายจากน้ำท่วมชนิดนี้จะมีมาก
  • ผลจากลมมรสุมมีกำลังแรง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้เป็นมรสุมที่พัดพา ความชื้นจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ประเทศไทย ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม เมื่อมีกำลังแรงเป็นระยะเวลาหลาย วัน ทำให้เกิดคลื่นลมแรง ระดับน้ำในทะเลตามขอบฝั่งจะสูงขึ้น ประกอบกับมีฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมได้ ยิ่งถ้ามีพายุเกิดขึ้นในทะเลจีนใต้ก็จะยิ่งเสริมให้มรสุมดังกล่าวมีกำลังแรง ขึ้นอีก ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดจากประเทศจีนเข้าสู่ไทย ปะทะขอบฝั่งตะวันออกของภาคใต้ มรสุมนี้มีกำลังแรงเป็นครั้งคราว เมื่อบริเวณความกดอากาศสูงในประเทศจีนมีกำลังแรงขึ้นจะทำให้มีคลื่นค่อนข้าง ใหญ่ในอ่าวไทย และระดับน้ำทะเลสูงกว่าปกติ บางครั้งทำให้มีฝนตกหนักในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพร ลงไปทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง
  • ผลจากแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด เมื่อเกิดแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟบนบกและภูเขาไฟใต้น้ำระเบิด เปลือกของผิวโลกบางส่วนจะได้รับความกระทบกระเทือนต่อเนื่องกัน บางส่วนของผิวโลกจะสูงขึ้นบางส่วนจะยุบลง ทำให้เกิดคลื่นใหญ่ในมหาสมุทรซัดขึ้นฝั่ง เกิดน้ำท่วมตามหมู่เกาะและเมืองตามชายฝั่งทะเลได้ เกิดขึ้นบ่อยครั้งในมหาสมุทรแปซิฟิก
  • สิ่งของที่ต้องนำติดตัวเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ตราประทับ, เงินสด, สมุดบัญชี, ไฟฉาย, ถ่านไฟฉาย, ไฟแช็ค, ที่เปิดกระป๋อง, มีด, กล่องปฐมพยาบาล, เทียนไข, เสื้อผ้า, ถุงมือ, ผ้าห่ม, หมวกกันน็อค, ผ้าหนาสำหรับคลุมป้องกันศรีษะ, น้ำดื่ม, ขวดนม, อาหาร, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, วิทยุ (แนะนำให้ใช้ชนิดที่สามารถรับข้อความจากสถานีวิทยุได้)  หากมีของที่สามารถใช้แทนกันได้ในบ้าน ก็สามารถนำมาใช้ได้ สิ่งสำคัญคือการเตรียมสัมภาระต่างๆให้พร้อม
  • สิ่งของที่ควรเก็บสะสมไว้ยามจำเป็น ปกติแล้วกว่าอาหารจะถูกเริ่มแจกจ่ายจะใช้เวลา 3 วัน จึงควรเตรียมเสบียงอาหารและน้ำดื่มสำหรับ 3 วัน ( 1 คน 1 วัน 3 ลิตร) ครอบครัวที่มีเด็กทารก และผู้สูงอายุ ควรเตรียมนมผง และอาหารที่ทานง่าย ผ้าอ้อม ยาต่างๆเอาไว้ด้วย  ชุดปฐมพยาบาล, น้ำดื่ม ( 1 คน 1 วัน 3 ลิตร), อาหาร (ขนมปังแห้ง, ข้าวที่สามารถทานได้เมื่อเติมน้ำร้อน, อาหารกระป๋อง, อาหารแห้ง เป็นต้น) , หม้อ, เตาแก๊สพกพา, เสื้อผ้า, ถุงนอน, ผ้าห่ม, อุปกรณ์กันฝน, ถ่านไฟฉายสำรอง, อุปกรณ์สำหรับเขียน
  • เงือนเชือก
  1. เงื่อนพิรอด  เป็นเงื่อนที่มีประโยชน์มากในการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะการต่อปลายเชือก 2 ข้างเข้าด้วยกัน ซึ่งเงื่อนนี้จะแน่นมาก แต่สามารถแก้ออกได้อย่างง่ายดาย ประโยชน์

- ใช้ต่อเชือกขนาดเท่ากัน เหนียวเท่ากัน - ใช้ผูกปลายเชือกเส้นเดียวกัน เพื่อผูกมัดห่อสิ่งของและวัตถุต่างๆ - ใช้ประโยชน์ในการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ เช่น ผูกชายผ้าพันแผล ผูกชายผ้า ทำสลิงคล้องคอ เป็นต้น - ผูกเชือกรองเท้าผูก 2. เงื่อนบ่วงสายธนู  เป็นเงื่อนที่ไม่รูด ไม่เลื่อนเข้าไปรัดกับสิ่งที่ผูก ตัวบ่วงจะคงที่ ประโยชน์ - ใช้ผูกสัตว์ไว้กับหลักหรือต้นไม้ เป็นเงื่อนที่ไม่รูดและไม่เลื่อนเข้าไปรัด กับหลัก เหมาะสำหรับการผูกล่าม เพราะสามารถหมุนรอบได้ - ใช้ผูกเรือกับหลัก เมื่อเวลาน้ำขึ้นหรือน้ำลงบ่วงจะเลื่อนขึ้นลงได้เอง - ใช้คล้องกันธนูเพื่อโก่งคันธนู - ใช้คล้องคนให้หย่อนตัวจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำแทนเงื่อนเก้าอี้ - ใช้ผูกปลายเชือก ผูกถังตั้งหรือถังนอน - ใช้เป็นบ่วงคล้องช่วยคนตกน้ำลากขึ้นมาจะไม่รูดเข้าไปรัด เวลาลากต้องจับต้นคอคนตกน้ำให้หงายขึ้นเพื่อให้จมูกพ้นน้ำ 3. เงื่อนตะกรุดเบ็ด  เป็นเงื่อนที่ใช้งานต่างๆ ได้มากมาย เช่น ผูกสิ่งของต่างๆ ผูกเหล็ก ผูกรั้ว ผูกตอม่อในการสร้างสะพาน ผูกแขวนรอก ผูกสมอเรือ ผูกบันได ผูกเบ็ด ประโยชน์ - ใช้ผูกเชือกกับเสาหรือหลักเพื่อล่ามสัตว์เลี้ยงหรือแพ - ใช้ผูกบันใดเชือก บันใดลิง - ใช้ในการผูกแน่น เช่น ผูกประกบ ผูกกากบาท - ใช้แขวนรอก , ใช้ผูกเต้นท์ - ใช้ทำหอคอย , ใช้ผูกเบ็ด - ใช้ผูกตอม่อสร้างสะพาน

  • การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (Basic life support, BLS) เป็นขั้นแรกของการช่วยเหลือผู้ที่หัวใจหยุดเต้น เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนในการกู้ชีพ การตรวจสอบว่ามีการหยุดเต้นของหัวใจ (Immediate recognition of cardiac arrest) และการเรียกหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน (Activation of the emergency response system)
  1. การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (Early cardiopulmonary resuscitation, CPR)
  2. การรักษาด้วยไฟฟ้า (Rapid defibrillation)
  3. การกู้ชีพขั้นสูง (Effective advanced life support)
  4. การดูแลหลังได้รับการกู้ชีพ (Integrated post-cardiac arrest care)
  • ขั้นตอนในการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน  เพื่อให้การกู้ชีพมีประสิทธิภาพสูงสุด แนวทางสำหรับการกู้ชีพขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลทั่วไปมีรายละเอียดดังนี้  เมื่อพบกับผู้ที่ไม่รู้สึกตัว ให้ตรวจสอบว่ามีการหยุดเต้นของหัวใจหรือไม่ โดยเคาะที่ไหล่ ตะโกนเรียก หรือสังเกตการหายใจ หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการเรียก หยุดหายใจ หรือมีลักษณะการหายใจแปลกๆ(เช่น หายใจเฮือกๆ) ให้ถือว่าผู้ป่วยมีการหยุดเต้นของหัวใจ ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก ความตกใจ ความตื่นเต้น ความไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไร เป็นการประวิงเวลาที่ผู้ป่วยควรได้รับการช่วยเหลือ และทำให้โอกาสที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตเพิ่มขึ้น เมื่อตรวจสอบแล้วว่าผู้ป่วยเรียกไม่รู้สึกตัว หยุดหายใจ หรือหายใจแปลกๆ ให้รีบแจ้งหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
  • หลังจากแจ้งหน่วยแพทย์ฉุกเฉินแล้ว ให้เริ่มทำนวดหัวใจทันที การนวดหัวใจจะทำให้เลือดในร่างกายหมุนเวียน ทำให้สมองและหัวใจได้รับเลือดและออกซิเจน วิธีนวดหัวใจคือประสานมือแล้วกดตรงๆ ลงไปที่กลางหน้าอกให้ลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร หรือ 2 นิ้ว ในอัตราเร็ว มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที และปล่อยให้หน้าอกคืนกลับสู่ตำแหน่งเดิมทุก ครั้งก่อนที่จะกดครั้งใหม่ ระหว่างการกดควรมีช่วงหยุดให้น้อยที่สุด (push hard, push fast, fully recoiled, minimally interrupted) สำหรับผู้ที่ไม่เคยฝึกฝนการกู้ชีพ ให้ใช้วิธีการนวดหัวใจแบบ hands-only คือ ใช้แต่เพียงมือกดหน้าอกเท่านั้น โดยไม่ต้องผายปอดหรือช่วยหายใจ จนกระทั่งหน่วยแพทย์ฉุกเฉินมาถึง จึงทำการผายปอดร่วมกับการนวดหัวใจ และพิจารณาให้การรักษาด้วยไฟฟ้า
  • การกู้ชีพขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กมีขั้นตอนที่แตกต่างกันออกไป ในการช่วยเหลือผู้ที่หัวใจหยุดเต้น มักจะเกิดความรู้สึกตื่นเต้น กังวล และไม่กล้าให้ความช่วยเหลือด้วยเหตุผลต่างๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการไม่เคยฝึกฝนมาก่อน แต่จะเห็นได้ว่าขั้นตอนในการกู้ชีพขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลทั่วไปเป็นสิ่งที่ ทำได้ไม่ยากนัก การตรวจสอบความรู้สึกตัวและการหายใจ การเรียกหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน และการนวดหัวใจกู้ชีพ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยคืนชีวิตให้กับผู้ป่วยที่เราพบได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี