โครงการป่ายางต้นแบบตามรอย ปู่-ตา (โป+พ่อเฒ่า)

ประชุมเชิงปฏิบัติการ คณะกรรมการ แกนนำ เพื่อถอดองค์ความรู้การปลูกยางโดยไม่ใช้สารเคมี นัดแนะทำความเข้าใจในการลงพื้นที่ภาคปฏิบัติทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ7 กุมภาพันธ์ 2556
7
กุมภาพันธ์ 2556รายงานจากพื้นที่ โดย นางธัญวลัย คงมา
circle
วัตถุประสงค์

...ประชุมเชิงปฏิบัติการ คณะกรรมการ แกนนำ เพื่อถอดองค์ความรู้การปลูกยางโดยไม่ใช้สารเคมี นัดแนะทำความเข้าใจในการลงพื้นที่ภาคปฏิบัติทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เร่ิมประชุม 13.00 น. ณ ที่ีศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 มีผู้เข้าร่วมประชุม 24 คน เร่ิมจากผู้ใหญ่อดิศักดิ์  สมบัติปราโมทย์ คณะทำงานของโครงการ ได้ชี้แจงข่าวสารจากอำเภอให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับทราบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคณะทำงานของโครงการ นายอำเภอได้พูดถึงโครงการป่ายางตามรอยโป+พ่อเฒ่า ที่เห็นจากป้ายประชาสัมพันธ์ 2 ป้าย ที่หน้าร้านไก่โอ่ง ชุมชนเกาะค่างขาว กับหัวโค้งควนนำ ถนนจันดี-ฉวาง น่ายอำเภอชมผู้ใหญ่อดิศักดิ์ ถ้าผู้ใหญ่ทำสำเร็จจะเกิดประโยชน์กับชุมชนมาก

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-มีผู้เข้าร่วมประชุม 24  คน  ผู้ใหญ่อดิศักดิ์  สมบัติปราโมทย์ ประธานที่ประชุม  ผู้ใหญ่อดิศักดิ์ ให้นงธัญวลัย คงมา ดำเนินการเพื่อถอดองค์ความรู้จากทั้ง 4 กลุ่มที่มีการลงพื้นที่สัมภาษณ์ไปแล้ว - เร่ิมจากกลุ่มที่ 1 นำโดยนางสุมล  ธราพรกับนึกศึกษา กศน. และคนในชุมชน สัมภาษณ์ นายสุนทร  ธราพร  อายุ  60 ปี เป็นหมอดินอาสาและคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร เป็นเกษตรกรบ้านนายาว ซึ่งผู้ก่อตั้งกลุ่มบ้านนายาวพัฒนาการเกษตร ท่ีเป็นเรียนรู้ของคนในชุมชนและบุคคลภายนอกทั่วไปที่เข้ามาศึกษาดูงาน เป็นเกษตรกรต้นแบบที่ีไม่ใช้สารเคมีในการทำสวนยางพารา นายสุนทรใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพที่ได้จากวัสดุท่ีมีอยู่ในชุมเช่น กล้วย มะละกอ หยอกกล้วย ดอกกาหลา ตะลิงปลิง เปลือกสับปะรด เหงือกปลา  นำมาทำความสะอาด หั่นเป็นช้ิน ๆ พอประมาณ ใส่ในถังพลาสติก ผสมกับกากน้ำตาล สารเร่ง พด. 2 หมักทิ้งไว้ 21 วัน จึงนำมาใช้รดต้นยางพารา และพืชผักทุกชนิด นายสุนทรทำแบบนี้มานานนับ 10 ปีแล้ว นอกจากนี้นายสุนทรได้ทำ น้ำยาเอนกประสงค์ น้ำยาซักผ้า ยาสระผม ไว้ใช้ในครัวเรือนแทนการใช้สารเคมี  แจกจ่าย แนะนำการทำให้กับผู้ที่สนใจ และกลุ่มที่เข้ามาศึกษาดูงาน -กลุ่มที่ 2 นำโดยหัวหน้ากลุ่มนางนาตยา  ริวรรณ  กับ นักศึกษา กศน. และคนในชุมชน สัมภาษณ์นางเรวดี  ไสท้ายดู  อายุ 43 ปี เป็นอสม.ดีเด่นด้านสุขภาพ เป็นผู้ที่ทำสวนยางพาราที่ไม่ใช้สารเคมี ใช้วิธีตัดหญ้าด้วยเครื่องตัดหญ้าขนาดเล็กไม่ใช้ยาฉีดหญ้า  มีการปลูกไม้เสริม เช่น สะเดา ตะเคียนทองจำปาทอง เขลียงไว้ในสวนยาง รอบ ๆ บริเวณบ้านก็มีผลไม้ เงาะ ทุเรียน ลองกอง หมาก และพืชผักสวนครัวไว้กินเอง เหลือจำหน่ายจ่ายแจกกับคนในชุมชน -กลุ่มที่ 3 นำโดยหัวหน้ากลุ่มนางสุดจิต  สุขศรีนวล คณะกรรมการชุมชนเกาะค่างขาว กับนักศึกษา กศน. และคนในชุมชนสัมภาษณ์นายพร้อม  ทองรักษ์  อายุ 69 ปี เป็นปราชญ์ชาวบ้าน และพ่อดีเด่นตำบลจันดี ซึ่งเป็นผู้ทำสวนยางพารามานาน ใช้ทั้งปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ทำให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างสารเคมี กับ ชีวภาพ ว่าการใช้สารเคมีทำให้ดินเสื่อม ฟื้นฟูสภาพดินช้าจึงต้องหันกลับมาใช้ปุ๋ยชีวภาพแทน  นอกจากนั้นก็ยังเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู ปลูกพืชผักผลไม้ ในสวนยางพาราด้วย -กลุ่มที่ 4 นำโดยหัวหน้ากลุ่มนางสาวสาริกา  บุตดิพรรณ กับ นักศึกษา กศน. และคนในชุมชน สัมภาษณ์ นางธัญวลัย  คงมา  อายุ 54 ปี เป็นประธานสภาเกษตรตำบลจันดี ประธานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลจันดี ประธานสวภาองค์กรชุมชนตำบลจันดี นางธัญวลัย คงมา กล่าวถึงการทำสวนยางสมัยที่จำความได้คือ ในป่ายางแต่ก่อนนั้นจะมีพืช ผัก ผลไม้ ผสมผสานกันในป่ายาง การใช้สารเคมีจะไม่มีเลย เพราะว่ารุ่นพ่อ - แม่ที่ทำสวนยางจะปลูกพืช ผัก ผลไม้ สมุนไพร เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงวัว ไว้ในป่ายาง ปุ๋ยก็จะได้จากขี้เป็ด ขี้ไก่ ขี้วัว และใบไม้ที่หล่นมาทับถมกันนาน ๆ ทำให้ต้นยางสมบูรณ์ไม่มีโรค           ต่อมาประมาณ  40 ปีที่ผ่านมา เมื่อมีกองทุนสงเคราะห์ยาง เข้ามาช่วยในการสนับสนุนเงินทุนในการทำสวนยางพารา คือ ต้องทำตามแนวทางที่เขากำหนด  ต้นไม้ทุกต้นก็ต้องโค่นให้หมด  แล้วปลูกแต่ยางอย่างเดียว ห้ามปลูกต้นไม้เสริมทุกชนิด  การกระทำแบบนี้เรียกว่การปลูกพืชเชิงเดี๋ยวซึ่งไม่เหมาะกับบ้านเรา การขุดหลุม การวางแนว ระยะห่าง การปลูกยางต้องรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี  การดูแลรักษาก็ต้องใช้สารเคมีทั้งปุ๋ย ยาฉีดหญ้า  สุดท้ายยางรุ่นนี้ก็เปิดกรีดได้ประมาณ 20 ปี ก็ต้องยืนต้นตายนึ่งที่เกิดจากเชื้อโรค โรคโคนเน่า เพราะการสนับสนุนให้ใช้สารเคมีมากเกินความจำเป็น       นงธัญวลัย กล่าว ตอนเข้ามาเป็นเกษตรกรเต็มตัวเมื่อปี 2546  ก็ได้ทำตามที่กองทุนสงเคราะห์ฯแนะนำทุกอย่าง แต่เมื่อทำเข้าจริง ๆ ทำให้เราต้องเสียสุขภาพเมื่อเจอสารเคมีแล้วทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง จึงได้ศึกษาแนวทางใหม่กับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรฯ ขณะนั้นทางกองทุนอนุญาตให้ปลูกไม้เสริมในสวนยางได้ไร่ละไม่เกิน 15 ต้น แต่คิดว่าการทำสวนยางตามรอยโป + พ่อเฒ่า น่าจะทำให้เราอยู่รอดปลอดภัยจากสารเคมี จึงได้เข้าศึกษาการอยู่ร่วมกันของพืชพันธุ์ไม้นานาชนิด แล้วนำมาปลูกเสริมในสวนยางพาราของ เช่น ไม้สักทอง ไม้ตะเคียนทอง จำปาทอง จิกนม ไม้ไผ่หวาน สะตอ เนียง เขลียง กระชาย ทือ ลองกอง เลี้ยงไก่ เพื่อให้สัตว์ พืชพันธุ์ไม้เหล่านี้ดูแลเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และยังเข้าอบรมการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพใช้เอง กับนายสุนทร  ธราพร รวมทั้งการทำน้ำยาเอนกประสงค์ น้ำยาซักผ้า ยาสระผม สบู่เหลวไว้ใช้เอง เพื่อลดการใช้สารเคมีอีกทางหนึ่ง และลดต้นทุนในการดูแลรักษาอีกด้วย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์จของผู้ที่ลงสัมภาษณ์ยังไม่ครอบคลุมตรงประเด็นเท่าที่ควร ทางโครงการต้องอาศัยครู กศน. มาช่วยรวบรวม รต้องเพ่ิมงานให้กับครู กศน. อีกเท่าตัว จึงทำให้งานล่าช้าไม่สารถจัดพิมพ์ให้แล้วเสร็จตามกำหนด แนวทางแก้ไข ทางโครงการจะดำเนินการเรื่องเอกสารคู่มือให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน และนำเข้าหลักสูตรท้องถิ่นในการเรียนการสอนต่อไป

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

.

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

.