โครงการพัฒนาศักยภาพ เยาวชนนักพัฒนา (ผลัดกันแลลูกเธอลูกฉัน)

ตกปลา ในนาข้าว4 มกราคม 2557
4
มกราคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย จินตหรา บัวหนู
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตคนบ้านป่าชิง และสืบทอดวิถีที่เรียบง่าย

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เด็กๆกลุ่มหลบมาแลป่าชิงบ้านเรา ให้ความสนใจกับเรื่องความมั่นคงทางอาหารของบ้านเรา เพราะมันคือสิ่งที่เราต้องกินอยู่ทุกวันนี้ พวกเราได้ออกเรียนรู้การทำนาอินทรีย์ เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากนา และก็เกิดความคิดอยากเรียนรู้ การตกเบ็ด ที่เป็นเสมือนวัฒนธรรมการทำนาของคนบ้านเรา เมื่อดำนาแล้วรอจนข้าวแตกกอ หรือหลังดำนาประมาณ 1 เดือน ปลาที่ฝังโคลนก็ได้ขยายพันธุ์และอาศัยต้นข้าวเป็นที่หลบร้อน เป็นแหลงอาหาร ทำให้ช่วงหน้านา มีปลาจำนวนมากส่วนใหญ่จะเป็นปลาหมอและปลาช่อน
เมื่อเสร็จจากนา ว่านปุ๋ยข้าว หลังจากนั้นเมื่อปฏิบัติภารกิจหลักของคนบ้านเรานั้นก็คือตัดยางเรียบร้อยแล้ว เราจะใช้เวลาช่วงเที่ยงถึงบ่าย 2 เป็นการพักผ่อนหลังจากที่ต้องตื่นมาตัดยางบางคนก็ตี 1 บางคนก็ตี 4 ตี 5 แล้วแต่ความมากน้อยของสวนยางที่ตนตัด ตื่นมาก็ชวนเพื่อนบ้านข้างเคียง 2 คน 3 คน ถือคันเบ็ดเดินตามหลังกันเป็นแถว เหยื่อที่ใช้ตกปลาก็เป็นไข่มดแดง “เอาเหยื่อเกี่ยวเบ็ด แล้วหย่อน แล้วกะยักเลย” เสียงเล่าจากป้านวย ป้านวยเป็นชาวบ้านควนแก้ว มาตกปลาที่ทุ่งนาป่าชิงเกือบทุกวัน ป้านวยยังเล่าต่ออีกว่า “ปีนี้ปลามาก หย่อนแล้วยักๆ เพลินมากเลย” เป็นเสียงเล่าสะท้อนความสมบูรณ์ของพื้นที่บ้านเรา
เด็กๆ กลุ่มหลบมาแลป่าชิงบ้านเราก็ออกมาเรียนรู้การตกปลาในนาข้าว น้องติณ เยาวชนบ้านป่าชิงซึ่งได้มาร่วมกิจกรรมของกลุ่มเป็นครั้งแรก เป็นคนที่มีทักษะในการตกปลา “เราต้องหาที่ ไปเรื่อยๆ จนพบเองว่าที่ตรงไหนที่มีปลามาก แล้วก็ย้ายไปเรื่อยๆ” น้องติณไม่เพียงแค่พูดบอกคนอื่นๆเท่านั้น แต่น้องติณได้ทำให้พวกเราเห็นว่าที่เขาพูดออกมามันเป็นจริง เพราะเขาเป็นคนที่ตกปลาได้เยอะที่สุด เวลาเพียงแค่ 4 ชั่วโมงที่พวกเราช่วยกันตกปลา ทำให้วันนี้เราได้กับข้าว 1 มื้อ นี้คือตัวบ่งบอกความอุดมสมบูรณ์ของผืนนาบ้านเรา ถึงแม้ว่าวันนี้พื้นที่นาบ้านเราหายไปมากแล้วเพราะที่นาเดิมถูกเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น อย่างเช่น สร้างบ้าน ปลูกยาง ปลูกปาล์ม ตามความต้องการของเจ้าของที่ แต่เราก็ยังหลงเหลือความสมบูรณ์ที่เราทุกคนช่วยกันรักษาไว้จนถึงทุกวันนี้ และเราคนรุ่นหลังก็ไม่ยากให้เรื่องเล่านี้เป็นเพียงแค่ตำนานของคนปาชิง แต่จะดูแลรักษาไว้ในคนรุ่นต่อไปได้เรียนรู้เหมือนกับที่เราได้เรียนรู้ในวันนี้ แล้วเราก็ขอยืนยันว่านี้แหละคือความสุขที่แท้จริง ที่เราต้องการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กได้เรียนรู้วิถีชีวิต คนกับความสัมพันธ์ของนาข้าวจึงเป็นบทเรียนที่เรียนรู้จากข้างนอกไม่ได้เลย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 9 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

เด็กและเยาวชน 6 คน ทีมทำงาน 3 คน รวม 9 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหาอุปกรณ์ยังน้อยเกินไป เด็กๆต้องแบ่งกันตก ต้องทำอุปกรณ์เพิ่มเพื่อให้เท่ากับจำนวนคน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-