โครงการพัฒนาศักยภาพ เยาวชนนักพัฒนา (ผลัดกันแลลูกเธอลูกฉัน)

ดำนา (ห้องเรียน นาข้าว)14 พฤศจิกายน 2556
14
พฤศจิกายน 2556รายงานจากพื้นที่ โดย จินตหรา บัวหนู
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตคนบ้านป่าชิง และสืบทอดวิถีที่เรียบง่าย

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทางห้องเรียนนาข้าวจัดการเรียนรู้นี้ขึ้นมาเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาของคนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งทำนากันตั้งแต่สมัยทวด ดังนั้นวิถีและภูมิปัญญาเดิมจะถูกนำกลับมาใช้ร่วมกันในห้องเรียนนาข้าว คือ การซอแรง ก็คือการบอกกล่าวขอแรงบรรดาญาติสนิทมิตรสหาย ให้มาช่วยทำงานนั่นเอง งานที่จะลงแขกกันนั้นอาจจะเป็นงานส่วนรวมหรืองานส่วนตัวก็ได้ สำหรับงานส่วนตัวนั้นส่วนมากมักจะเป็นงานใหญ่สุดกำลังคนในครอบครัวจะทำได้ หรืออาจจะเป็นงานหนักแต่จำเป็นต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียว จึงต้องบอกกล่าวให้ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมาช่วยเหลือเพื่อให้งานเสร็จสิ้นไปงานที่มักลงแขก เช่น การลงแขกทำนา ซึ่งมีการลงแขกดำนา ลงแขกเกี่ยวข้าว ลงแขกตีข้าว (นวดข้าว)  ถือเป็นการพึ่งพาอาศัยกันของเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง แต่ปัจจุบัน การซอแรงได้หายไป เป็นเพราะมีการใช้เครื่องทุ่นแรงเป็นหลักเช่น การไถนาด้วยรถไถขนาดใหญ่ เก็บข้าวด้วยรถเกี่ยวข้าว ใช้สารเคมีเพื่อปราบศัตรูข้าว การซอแรงจึงหายไป แต่จะใช้เงินจ้างคนดำนา จ้างคนเก็บข้าวแทน ความสัมพันธ์ที่ขึ้นชื่อว่าพี่น้องต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันก็ลดน้องลง เราจึงใช้แปลงทดลอง ห้องเรียนนาข้าวเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่คนที่เป็นญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้านที่ต้องการอนุรักษ์วิถีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายนี้เอาไว้คู่กับชุมชนของเรา ร่วมกันซอแรงดำนาและเก็บข้าวร่วมกัน เด็กๆ เยาวชนก็เข้ามาเรียนรู้เป็นระยะ เนื่องจากไม่สามารถเข้ามาทำร่วมกันกับผู้ใหญ่ได้ทั้งกระบวนการ กิจกรรมดำนาจึงได้ทำกระบวนการกัน 4 วัน มีผู้เข้าร่วม 10 คน และมีเด็กเยาวชนเข้ามาเรียนรู้ เป็นระยะ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เราได้มาฟื้นวิถีการซอแรงที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ทำให้เราลองคำนวนค่าใช้จ่ายและเวลาที่เสียไป การซอแรงมีความคุ้มค่ากว่า เพียงแค่เราร่วมกันลงแรง จะเหนื่อยมากกว่าการจ้างแรงงาน สมาชิกเห็นความสำคัญและวางแผนถึงการทำนาฤดูใหม่ที่จะต้องมีการชักชวนสมาชิกเข้ามาเพิ่ม ค่าตอบแทนที่เขาได้กลับไปคือมิตรภาพ และน้ำใจที่เราต่างต้องมีให้แก่กัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 13 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

ผู้ที่สนใจ  6 คน ปราช์ญชาวบ้าน 2 คน ทีมทำงาน 2 คน เด็กและเยาวชน 3 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-ยังขาดประสบการณ์ในการทำนาอินทรีย์ - สมาชิก ที่เข้ามาเรียนรู้นาอินทรีย์ ต้องเข้าไปทำนาตนเองก่อนที่จะมาร่วมกันทำนากลุ่ม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-