directions_run

โครงการตามรอยวิถีชีวิตมุสลิม นำมาสู่ความพอเพียง ปี 2

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 1.เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตามรอยวิถีมุสลิมแก่เยาวชนกลุ่มเสี่ยง
ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละ 60 ของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง มีการจดบันทึกสมุดบันทึกความดี ในการปรับเปลี่ยนแนวคิดด้วยการนำเอาหลักศาสนามาเป็นแนวทางดำเนินชีวิต 2.ร้อยละ 70 ของเยาวชนปรับเปลี่ยนแนวคิดเยาวชนเข้ามาร่วมเป็นคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ 3.เกิดคณะทำงานด้านการขับเคลื่อนสู่ชุมชนสุขภาวะที่มีองค์ประกอบจาก 3 ภาคส่วน คือ ภาคประชาชน กลุ่มเยาวชนกลุ่มเสี่ยง หน่วยงานรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

 

  • ร้อยละ 30 ของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง มีการนำแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา ศก.พอเพียง ตลอดจนหลักธรรมในศาสนาอิสลามมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การละหมาด,การแต่งกาย,และเล่นกีฬาฟุตบอล

  • มีคณะทำงานทั้งฝ่ายปกครอง ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชน เยาวชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในรูปแบบสภาผู้นำ เพื่อขับเคลื่อนการทำงานในชุมชน

2 2.เพื่อสร้างทักษะให้เยาวชนกลุ่มเสี่ยงและประชาชนในบ้านสนีให้ดำรงชีวิตตามแนววิถีเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัด : 1.เกิดเครือข่ายเยาวชนจัดทำแผนที่สุขภาวะของชุมชน 2.เกิดแผนที่สุขภาวะชุมชนของบ้านสนี

 

 

  • เกิดเครือข่าย  อสม น้อย พอเพียง ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมสู่ชุมชนสุขภาวะ
  • เกิด ”ครัวเรือนต้นแบบ เศรษฐกิจพอเพียง” ต้นแบบของการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  อย่างน้อย  30 ครัวเรือน
3 3.เพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นำ ภาคีเครือข่าย และประชาชน ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.ผู้นำ ภาคีเครือข่าย ตัวแทนองค์กรในชุมชนเข้ามาร่วมเป็นคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ 2.เกิดแหล่งเรียนรู้ชุมชนต้นแบบตามแนววิถีเศรษฐกิจพอเพียงอย่างน้อย 2 แห่ง 3.เกิดเครือข่ายอาสาสมัคร เพื่อป้องกัน เฝ้าระวัง ปัญหาเยาวชนในชุมชน

 

 

  • เกิดศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน คือแหล่งเรียนรู้ คลังปัญญา และศูนย์รวมภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบ้านสนี ที่พร้อมถ่ายทอดแก่ผู้ที่สนใจ ได้แก่ สวนครัวและสมุนไพรโรงเรียนปลอดสารพิษ  และศูนย์ฝึกอาชีพกลุ่มสตรีดาหลา

  • เกิดชุดความรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ตามวิถีมุสลิม ชุมชนบ้านสนี

4 ติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ โดยทีมสสส.และ สจรส.มอ.หาดใหญ่
ตัวชี้วัด : 1.การจัดทำรายงานส่ง เช่น ส1,ส.2,ส.3 และเอกสารการเงิน ง.1,ง.2 ในแต่ละงวด 2.การเข้าร่วมประชุม ร่วมกับ สสส.และสจรส.มอ.หาดใหญ่ ร้อยละ 75 ในการประชุม

 

 

  • การจัดทำรายงาน มีความล่าช้าเล็กน้อย  เพราะยังไม่ชำนาญกับ แบบฟอร์ม/ รูปแบบ การรายงานใหม่เท่าที่ควร
    ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมประชุม ร่วมกับ สสส.และสจรส.มอ.หาดใหญ่ ทุกครั้ง