แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพสภาแกนนำฯ บ้านหูยานและครัวเรือนขยายผลเลี้ยงผึ้ง
ตัวชี้วัด : 1.1 ได้แผนพัฒนาชุมชนพึ่งตนเอง 1.2 เรียนรู้และทำบัญชีครัวเรือน 50 ครัวเรือน 1.3 ชักชวนประชาชนขยายผู้เลี้ยงผึ้งจาก 25 เป็น 50 ครัวเรือน

 

 

  1. ชุมชนหูยานมีแผนพัฒนาชุมชน ใช้เป็นกรอบในการเคลื่อนงานชุมชน โดยสภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน

  2. สมาชิกครัวเรือนต้นแบบกว่า 50 ครัว เรีียนรู้ และทำบัญชี ครัวเรือนในการวิเคราะห์ตัวเองและชุมชน ทำอย่างสมำเสมอและสมาชิกคารัวเรือนสามารถสอดและขยายผลได้

  3. เกิดการขยายผลการเลี้ยงผี้งทั้งในชุมชน  นอกชุมชน  และนอกพื้นที่ มากกว่า 50 ครัวเรือน ในชุมชนหูยานครัวเรือนต้นแแบบมีผึ้งจำนวน 69 ครัว สำหรับนอกพื้นที่ได้เข้ามาเรียนรู้ขยายผลไปครอบคลุมทุกอำเภอจะมีการเลี้ยงผึ้ง

2 2.เพื่อจัดตั้งและขยายผลโรงเรียนผึ้งและพัฒนาเป็นหลักสูตรชุมชน
ตัวชี้วัด : 2.1 ตั้งโรงเรียนผึ้งและทำหลักสูตรผึ้ง 1 หลักสูตรเป็นหลักสูตรชุมชน 2.2 เรียนรู้หลักสูตรผึ้ง 1 รุ่น 25 คน 2.3 รวมกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 3 กลุ่ม

 

 

  1. ตั้งโรงเรียนผึ้งเป็นแหล่งเรียนรู้มีหลักสูตร ผึ้ง...ภูมิปัญญาฟื้นชุมชนน่าอยู่ เป็นหลักสูตรชุมชน สาสมารถให้สอนกับ คนทั่วไป  เด็กปฐมศึกษา และอนุบาล

  2. หลักสูตรผึ้งได้มีผู้มาเรียนมากกว่า 1 รุ่น 25  คนทั้งสมาชิกในชุมชนและนอกพื้นที่และเป็นแหล่งดูงานได้จากผู้สนใจจากนอกพื้นที่

  3. เกิดกลุ่มผลิตภัทฑ์ กลุ่มผึ้ง  กลุ่มผัก  กลุ่มสินค้าทดแทน ที่มีการบริหารจัดการโดยกลุ่ม ที่มี นางบุญเรือง  แสงจันทร์  หัวหน้ากลุ่มผึ้ง, นางสุมาลี  ศรีโดน  หัวหน้ากลุ่มผัก,  นางประคอง  จันทร์เพ็ง  หัวหน้ากลุ่มสินค้าทดแทน

3 3.พัฒนาตลาดเขียวพื้นที่คนรักษ์สุขภาพมีการรับรองมาตรฐานสินค้าอาหารปลอดภัย
ตัวชี้วัด : 3.1 พัฒนาตลาดเขียวเปิดพื้นที่คนรักษ์สุขภาพจำหน่ายผลผลิตอาทิตย์ละ 1 ครั้ง 3.2 พัฒนาสินค้าตลาดเขียวให้ได้รับตราสินค้ามาตรฐานอาหารปลอดภัยมาตรฐานจากคณะกรรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลนาท่อม 3.3 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมตลอดโครงการ.

 

 

1.  ตลาดเขียวพื้นที่คนรักษ์สุขภาพเปิดได้เดือนละ 2 ครั้ง วันพุธแรกของเดือนที่อนามัยและวันเสาร์สุดท้ายของเดือนที่สะพานบ้านหูยาน ไม่สามารถเปิดได้ทุกอาทิตย์เพราะผลผลิตเน้นปลูกไว้กินเองที่เหลือนำมารวบรวมตั้งจำหน่าย เช่น แหล่งจำหน่ายสินค้าของสมาชิกคือ ร้านค้าในชุมชน งานวัดในชุมชน หรือ งานรณรงค์ต่าง ๆ

2.  กลุ่มสวนผักได้พัฒนาตรามาตรฐานรับรองคุณภาพอาหารปลอดภัย  ที่รับรองโดยเทศบาล  ผู้ผลิต  และอนามัย  เป็นคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตำบลนาท่อม  เพื่อสร้างความมั่นใจกับคนชื้อและคนขาย และใช้เป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์สร้างความเชื่อมั่นต่อไป

3.  โครงการมีการสื่อสารตลอดโครงการมากกว่า 5  ครั้งให้คนได้รู้ และ เข้าใจ ตระหนักเรื่องสุขภาพ การสื่อสารเมื่อทำอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบด้านบวกกับโครงการ และประชาชน

4 4.เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งที่พื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม

 

 

1.  การประชุมแต่ละเดือนเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง  ทางราชการแจ้งให้ทราบ  เรื่องโครงการ  เรื่องของประชาชน

2.  เรื่องทางหน่วยงานราชการแจ้งมาผ่านการประชุมประจำเดือนผู้นำจะนำมาขยายผลกับประชาชน

3.  เรื่องโครการหูยานจัดการตนเอง ได้มีการเตรียมตัวทำกิจกรรม  การรายงานความก้าวหน้า  การวางแผนงานต่อไป

4.  เรือ่งของประชาชน  เช่น ร่วมแลกเปลี่ยน การทำบัญชีครัวเรือน  กองทุนสวัสดิการ ด้านการเกษตร เงินช่วยเหลือสวัดิการ อื่น ๆ