ชุมชนหูยาน บ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง

2.1.1 ทดสอบแหล่งเรียนรู้ ฝึกการนำเสนอให้นางบุญเรือง แสงจันทร์ เป็นวิทยากร ครั้งที่ 19 พฤศจิกายน 2556
9
พฤศจิกายน 2556รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อฝึกเป็นวิทยากรแหล่งเรียนรู้จากผู้ศึกษาดูงานอย่างเป็นระบบและมีกระบวนการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เชิงปริมาณ
-สมาชิกแกนนำ 10 คน -ตัวแทนครัวเรือน  15  คน -กลุ่มบทบาทสตรีอำเภอตะโหมดศึกษาดูการเลี้ยงผึ้ง 20    คน เชิงคุณภาพ -นางบุญเรือง  แสงจันทร์เป็นวิทยากรแหล่งเรียนรู้ได้บรรยายความเป็นมาหลักคิดการเลี้ยงผึ้งให้กับกลุ่มสตรีและกลุ่มวุฒิอาสาธนาคารสมองของ โดยการนำของนายเริ่ม  เพ็ชรศรีได้มาศึกษาดูงานและเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มเลี้ยงผึ้ง  กลุ่มสวนผักชุมชนหูยาน ขั้นตอนการบรรยายแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ตามที่กำหนดไว้ คือ 20 % เป็นการนำเสนอความเป็นมา หลักคิดทฤษฎีหรือความสำคัญของการเลี้ยงผึ้งที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนหูยานและประโยชน์ในการเลี้ยง  60% เป็นการให้ดูภาคปฎิบัติของการเลี้ยงผึ้ง การทำกล่ิอง การดูแล รักษา การแก้ปัญหา ดูปฏิบัิติการจริง 20 %  ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ร่วมดูงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้นจริง นางบุญเรือง  แสงจันทร์เป็นผู้ที่สามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้งให้ผู้เข้าร่วมดูงานแลกเปลี่ยนได้เป็นระบบตามที่ออกแบบและนายมานพ แสงจันทร์ ซึ่งเป็นสามีสามารถเป็นวิทยากรควบคู่ได้เป็นอย่างดี
-ผลที่เกิดขึ้นตามมา ได้รับความสนใจจากผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นอย่างดีมีมีผู้สนใจมาศึกษาเพิ่มขึ้นจากการสื่อสารทางวิทยุ -เปลี่ยนแหล่งเรียนรู้ที่ที่มีวิทยากรการนำเสนอได้ทั้ง 2 คน ลูกสาวก็มีความรู้สามารถนำเสนอได้เช่นเดียวกัน -กลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งมาให้การต้อนรับผู้มาศึกษาดูงานเป็นอย่างดี  สะท้อนให้เห็นความตื่นตัวต้อนรับ เห็นความสำคัญของคนมาท่องเที่ยวในชุมชนบ่อยขึ้น -จากการมาเยี่ยม,ดูงาน หลายครั้งที่ผ่านมา ทำให้ทางกลุ่มเลี้ยงผึ้งบ้านหูยาน น้ำผึ้งมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ,ผลผลิตของประชาชน เช่น ผัก ผลไม้ ให้บริการจนเป็นที่พอใจของผู้มาดู
-การเข้ามาดูการเลี้ยงผึ้ง ทำให้ประชาชนขาย สินค้าได้มากขึ้นและมีการปรับตัวเป็นผู้ให้บริการได้ดีขึ้นจากเดิมไม่เคยมีต้องนำสินค้าไปขายให้แม่ค้าคนกลาง ปัจจุบันขายตรงมากขึ้น

-วิทยากรของแหล่งเรียนรู้โรงเรียนผึ้ง  มีความรู้และถ่ายทอดได้อย่างรอบรู้และเข้าใจของผู้มาดูงาน โดยที่มีกำนันอนุชา เฉลาชัยและนางสุมาลี  ศรีโดนได้ฝึกถ่ายทอดอย่างเป็นกระบวนการและนำชมกิจกรรมของกลุ่ม ผึ้ง สวนผัก ,สินค้าทดแทน จนเป็นที่พอใจของกลุ่มผู้นำบทบาทสตรี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย

-ตัวแทนครัวเรือน -สมาชิกแกนนำ -กลุ่มบทบาทสตรี

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-ปรับเนื่อหาการนำเสนอให้กระซับกับเวลา -ปรับเนื้อหาให้เป็นหลักสูตรเพื่อนำเป็นหลักสูตรการเรียนในท้องถิ่น -การเข้ามาเรียนรู้และศึกษาดูงานของบุคคลภายนอกไม่เป็นเวลา แนวทางแก้ไข ประชุมกลุ่มจะต้องร่วมกำหนดกติกาชุมชนให้ตรงกัน คือ ต้องมีศูนย์ประสานงาน และกำหนดให้การต้อนรับผู้มาดูงานวันไหนบ้าง เพราะถ้าไม่กำหนดจะกระทบกับวิถีชีวิตของคนหูยาน(อยู่ในช่วงปรึกษาหารือร่วมกันอยู่)

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

1.จากสิ่งที่เปลี่ยนแปลงต้องการพัฒนาให้มีศูนย์ประสานงานที่มีระบบการบริหารจัดการ 2.ต้องการทำสื่อองค์ความรู้ให้คนภายนอกได้เรียนรู้ ทั้งหนังสือ,vcd 

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี