ชุมชนหูยาน บ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง

3.4 สรุปถอดบทเรียน24 พฤษภาคม 2557
24
พฤษภาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-วิทยากร นายสมนึก  นุ่นด้วง นักวิชาการสาธารณสุข รพสต.อนามัยบ้านนาท่อม เป็นวิทยากร ดำเนินการ -นายถาวร  คงศรี  ผู้รับผิดชอบโครงการ,และนายอนุชาเฉลาชัย ผู้จัดการโครงการ,สมาชิกสภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน,สมาชิกครัวเรือนต้นแบบ -เริ่มต้นด้วยนายถาวร และนายอนุชา  สรุปวัตถุประสงค์และเป้าหมายโครงการ ชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง โดยลำดับให้ผู้เข้าร่วมได้ทราบอีกครั้งเพื่อให้เห็นกระบวนการดำเนินโครงการและผลที่เกิดขึ้นว่าสอดคล้องกับโครงการ ตัวชี้วัดหรือไม่ โดยวิธีการรับฟังจากทุกคนที่ร่วมกันมองสะท้อนออกมา

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้อสรุปจากผลการรดำเนเินโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง - ด้านพัฒนาสภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน เพื่อ ร่วมกันเรียนรู้การกำหนดบทบาทหน้าที่และโครงสร้าง       1.ได้เรียนรู้กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนจาก หัวหน้าสำนักงานปลัดเทศบาลตำบลนาท่อมจนรู้และเข้าใจจนสามารถร่วมกันกำหนดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ให้กับชุมชน เช่น ชักชวนสมาชิกครัวเรือนทำบัญชครัวเรือนเพื่่อเรียนรู้ตนเอง ผลที่เกิดขึ้นสมาชิคสภาแกนนำและครัวเรือนฝึกทำบัญชีอย่างต่อเนื่อง จำนวน 50  ครัวเรือนและร่วมกันรณรงค์ให้ออมทรัพย์สวัสดิการเดือนละ 30 บาทเพื่อเป็นสวัสดิการแก่สมาชิกครัวเรือนต้นแบบ       2. สมาชิกสภาแกนนำเรียนรู้โครงสร้างกรรมการหมู่บ้านและบทบาทหน้าที่ จากปลัดจริญา  จันทร์ดำ ผลของการเรียนรู้ส่งให้การจัดกระบวนการชุมชน ให้สภาแกนนำเป็นกรรมการหมูบ้าน ที่มีโครงสร้างและแต่ละคนแต่ละฝ่ายให้มีบทบาทหน้า  ผลที่เกิดขึ้น  หัวหน้าชุมชนหรือกำนันได้รับการประเมินหมู่บ้านที่บริหารโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน ไ้ด้รับรางวัล กำนันแหนบทอง และมีผลงานต่อเนื่อง เป็นคณะทำงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผลลัพธ์จากการพัฒนาศักยภาพแกนนำ - ด้านการตั้งแหล่งเรียนรู้เป็นโรงเรียนผึ้งและมีหลักสูตรพัฒนาเป็นหลักสูตรชุมชนเรียนรู้ขยายผล ผลที่เกิดขึ้น จำนวนคนที่ขยายผลการเลี้ยงผึ้งเพิ่มขึ้นภายในชุมชน ครัวเรือนต้นแบบขยายผล มากกว่า 25  คน ภายนอกชุมชนจำนวนมากหลายพื้นที่ สื่อเนื่องจากการประชาสื่อประชาสัมพันธ์ ทางวิทยุ,หนังสือพิ่มย์ไทยรัฐ จำนวน 2 ครั้ง,วารสารจังหวัด,การออกบูทแสดงในงานของจังหวัด จำนวนหลายครั้ง ผลผลิต เกิดหลักสูตร ผึ้งภูมิปัญญา ฟื้นชุมชนให้น่าอยู่ ใชักับแหล่งเรียนรู้โรงเรียนผึ้ง โดยนางบุญเรื่อง  แสงจันทร์เป็นวิทยากรและนายมานพ  แสงจันทร์ ผลผลิตเป็นกลุ่มรวมกันขาย - ด้านการพัฒนาตลาดเขียวพื้นที่คนรักษ์สุขภาพให้มีตรารับรองมาตรฐาน สิ่งที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาพื้นที่คนรักษ์สุขภาพหรือตลาดเขียว
      1. มีตรารับรองมาตรฐานสินค้า ที่มาจากจาก คณะกรรมการคุมครองผู้บริโคภ ร่วมกันกำหนดขึ้น จากเทศบาลนาท่อม  อานามัยนาท่อม และคณะทำงานภาคประชาชนร่วมกันกำหนดมาตรฐานอาหารปลดภัย       2. ชุมชนมีความรู้และความตระหนักเพิ่มขึ้น จนครัวเรือนปลูกกินเองมากขึ้นและนำมาขายผ่านร้านค้าของชำในชุมชนและร้านขนมจีนจำนวนมากในชุมชนทำให้สินค้าผลิตไม่พอต่อความต้องการ เป้าหมายที่วางไว้จะเปิดเป็นตลาดนัดมีสินค้าไม่พอ เป็นช่องทางการเพิ่มรายได้แต่โครงการนี้มุ่งเน้นสุขภาพมาเป็นลำดับสำคัญ สำหรับการสื่อสาร เน้นจากหอกระจายข่าว,กิจกรรมในชุมชน,งานออกบูทในสถานที่ต่าง ๆ,ในร้านค้าชุมชนเป็นการขยายผล,มีแม่ค้าเข้ามารับจนไม่พอจำหน่าย ข้อสรุปทีได้ คือ ตลาดนัดคนรักษ์สุขภาพไม่สามารถขายได้ทุกวันพุทธ เนื่อจากผลผลิตไม่พอ เน้นการปลูกไว้กินเอก และแบ่งปัน ส่วนที่เหลือขายในร้านค้าชุมชน คนได้กินของดี ส่วนตลาดไม่มีสินค้าขาย ถึงมีก็ไม่คุ้มค่า

สรุปภาพรวมสิ่งที่ได้รับจากการดำเนินการโครงการ ชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง         ชุมชนหูยาน หมู่ที่ 8  ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เป็นชุมชนน่าอยู่เนื่องจาก ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมหลายเรื่องเกิดขึ้น เช่น กรรมการหมู่บ้านที่เป็นสภาแกนนำจำนวน 21 คน มีการประชุม  พูดคุยกันอย่างสมำเสมอในการให้ความรู้กับชุมชน มีการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานข้างนอกเพื่อนำกิจกรรมมาสู่ชุมชน จัดระบบชุมชนแบบมีโครงสร้าง แบ่งบทบาทหน้าที่จนแต่ละฝ่ายมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง จนผู้นำ คือ นายอนุชา  เฉลาชัยที่เป็นผู้จัดการโครงการ เป็นกำนัน จนได้รับรางวัล กำนันแหนบทอง ในการดำเนินโครงการนี้จากการประเมินผู้นำท้องถิ่นดีเด่น , ด้านเศรษฐกิจ ที่มีนางบุญเรือง  แสงจันทร์ ได้รับการแต่งตั้งจาก ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง นายเสรี  ศรีหไตร เป็น คณะทำงาน ครม น้อย เพื่อขับเคลือนขยายผล การเลี้ยงผึ้งเพื่อเพิ่มรายได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  และฟื้นสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้สารเคมี เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรจากการที่มีผึ้งเพิ่มขึ้น ดีต่อสุขภาพ และเป็นประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้านในการ ใช้สื่อหอกระจายข่าวในการสื่อสารโครงการ จนได้รับไว้วางใจให้ไปจัดแปลงสวนผักชุมชน ในจวนผู้ว่าเพื่อเป็นโมเดล, ด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ได้มีกลุ่มสวนผัก และกลุ่มสินค้าทดแทน ในการร่วมกันรณรงค์การปลูกผักกินเอง สร้างแปลงผักครัวเรือน เพิ่มขึ้นมากกว่า 70 ครัว และขยายไปยังชุมชนไกล้เคียงจากการมาเป็นสมาชิกตลาดเขียวของกลุ่มสวนผักชุมชนคนหูยานฯ สำหรับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เกิดขึ้นจริงมีรูปธรรม 3 แหล่งเรียนรู้ที่เป้าหมายเดียวกัน  คือ สิ่งแวดล้อมเรื่องสุขภาพของคน คือ แหล่งเรียนรู้เรื่องสวนผักชุมชน  ผลลัพธ์เกิดผึ้งจำนวนมากขึ้น  เพราะชุมชนไม่ใช้สารเคมี  ส่งผลให้เกิดกลุ่มผึ้งมากขึ้น  ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น รายได้เกษตรกรมากขึ้น  แก้ปัญหาเศรษฐกิจรายได้น้อยกว่ารายจ่าย และกลุ่มสินค้าทดแทน ที่ผลิตจากผลผลิตในชุมชนเพื่อลดรายจ่ายครัวเรือน สมาชิกครัวเรือนต้นแบบเรียนรู้และทำบัญชีครัวเรือน 50 คนทุกคนเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตเป็นเงื่อนไขหนี่งในการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่         จากการขับเคลื่อนโครงการมาระยะหนึ่ง ผู้นำได้เห็นความสำคัญกับแผนชุมชน ที่ใช้เป็นกระบวนการพัฒนา จึงได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ตำบลร่วมกับเทศบาล และทบทวนแผนชุมชนบ้านหูยาน ตลอดจนเชื่อต่อหน่วยงานภาครัฐ เช่น สหกรณืการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุงในการหนุนเสริมกิจกรรมของชุมชนอย่างต่อเนื่องปีที่ 2 โดยการหนุนเสริมกิจกรรมอาชีพ เช่น เมล็ดพันธุ์พืช,ปลา,การพัฒนากลุ่มเป็นต้น  หน่วยงานพัฒนาชุมชนมาต่อให้กลุ่มกิจกรรมไปแสดงสินค้า ในเมืองเมื่อมีงาน  อนามัยบ้านนาท่อม มาหนุนเสริมการให้ความรู้กับชุมชนให้เป็นตัวอย่างหมู่บ้านเปลี่ยนพฤติกรรม  สปสช. ตำบลนาท่อม ให้การหนุ่นเสริมกิจกรรมโดยนำกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เป็นระยะ ส่วนหน่วยงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษ ร่วมให้การสนับสนุนดโครงการสืบชะตาคลองนาท่อม สนับสนุนการทำกิจกรรม เก็บขยะ ปลูกไม้ ปล่อยปลา ขยายเขต และผู้นำชุมชนนำกิจกรรมกรรมหลากหลายเข้ามาร่วมเนื่องจากคนในชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้น อย่าง เช่น ตลาดหูยาน สะพานคนเดิน เป็นการรวบรวมผลผลิตจากชุมชนมาขายทุกวันเสาร์สุดท้ายของเดือน มีการจัดกิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชนในกิจกรรม ยิ้ม  ริมคลองนาท่อม เป็นการรณรงค์ให้ใช้พื้นที่ดี ๆ ในชุมชน ให้เด็กได้ร่วมกันเก็บขยะ  ปล่อยปลาในคลองเป็นการอนุรักษ์  จัดพื้นที่ให้เป็นลานศิลป, ลานเล่น, ลานกินอาหารเพื่อสุขภาพ ,มีเวทีให้ความรู้เรื่องอาหารกับสุขภาพ  สิ่งต่าง ๆ เล่านี้เกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชนบ้านหูยานอย่างต่อเนื่องมาตลอดท้้งปี จากการดำเนินงานมา 2 ปี ชุมชนสามารเป็นชุมชนต้นแบบเรื่องการดูแลระบบสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อสุขภาพ ตอบตัวชี้วัดความสุข ความน่าอยู่ คือ คัวเลขสารปนเปื้อนในร่างกาย จาก 97 % ลดต่ำกว่า 97%  ซึ่งตัววัดที่เป็นรูปธรรม เช่น ผึ้งเพิ่มมากขึ้น ครัวเรือนมีแปลผักมากกว่า 70 ครัว สะท้อนให้เห็นชุมชนไม่ใช้สารเคมี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกสภาแกนนำ ๅ16  คน สมาชิกครัวเรือนต้นแบบ  14คน ผู้นำรับเชิญ  1 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-บทบาทหน้าที่ของสภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน คือ เมื่อมีโครงสร้างแล้วบทบาทหน้าที่ต้องเรียนรู้ในเชิงลึก ประชาชนธรรมดาที่ทำงานให้ชุมชนมีความหลากหลาย ต้องใช้เวลาในการอธิบายเพราะเขาเป็นจิตอาสาเข้ามาร่วมงานชุมชนไม่ไช่เป็นผู้นำที่ผ่านการเลื่อกตั้ง,ไม่ได้มีผลตอบแทนได ๆ เขาเป็นสมาชิกแกนนำของกลุ่มบ้านที่มาร่วมงานเป้าหมายหลักคือ เป็นคนสื่อสารกับกลุ่มบ้านเท่านั้น  แนวทางการแก้ปัญหา ต้องทำอย่างต่อเนื่องและใช้เวทีประชุมทุกเดือนเป็นตัวช่วยเรื่่องนี้ -โครงการจัดการตนเอง การดำเนินงานมุ่งสร้างความเข้าใจเป็นหลัก  สร้างกระบวนการ  เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นชุมชนที่มีเงื่อนไข คือ  การร่วมสร้างกฏกติกาให้คนในและภายนอกร่วมกันปฏิบัติ ต้องค่อย ๆ  ทำอย่างต่อเนื่อง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี