บ่อร้างสร้างคุณค่า เลี้ยงปลากะชังเสริม ปลูกผักเพิ่ม เติมรายได้ให้ชาวเกาะพุด

จัดกิจกรรมถอดบทเรียนปิดโครงการ3 สิงหาคม 2557
3
สิงหาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย sutham
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและรับรู้ผลการดำเนินโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กรรมการผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ช่วยกันจัดกิจกรรมสร้างสุขเกาะพุดเพื่อปิดโครงการ ในช่วงวันแม่ และได้ประชาสัมพันธ์การเปิดศูนย์เรียนรู้ที่เป็นศูนยกลา การจำหน่าย แลกเปลี่ยนผลผลิตจากครัวเรืือน ที่เน้นการปลูกแบบปลอดสารพิษ ลดการใช้ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี แตามแนวเกษตรอินทรีย์ โดยเชิญตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการร่วมกันอภิปราย ผลการร่วมกิจกรรมที่ผ่านมา ข้อดี ข้อเสีย ปัญหา อุปสรรค และเชิญพี่เลี้ยงที่ปรึกษาโครงการ นายสุธรรม  แก้วประดิษฐ์ และตัวแทนจา อบต.คลองกระบือ มาร่วมรับฟังผลการในลักษณะถอดบทเรียน และประเมินคุฯค่าจากโครงการ ในด้านต่างๆ 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การจัดกิจกรรมถอดบทเรียนโดยมีผู้ดำเนินการหลัก 1 นายทวี  ศรีเกตุ 2 นายประสิทธิ์  คงเคล้า 3 นางชะอ่อน  เดชศรี  4 นายสุคนธ์  เดชศรี 5 นายสุธรรม  แก้วประดิษฐ์ ซึ่งจากการร่วมอภิปราย พบว่ามีข้อสังเกตดังนี้ 1. จำนวนครัวเรือน ร่วมปลูกผักแลอดสารพิษ จำนวน 25 ครัวเรือน ได้รับผลผลิต ทั้งหมด คิดเป้น ร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยผลผลิตที่ได้ผลดี ส่วนใหญ่ ได้แก่ ฟัก ฟักทอง มะเขือ พริก และผักกินใบ สวนครัว ได้แก่ ถั่วฝักยาว ผักกวางตุ้ง คะน้า ซึ่งทุกครัวเรือน ทุกคน ขานรับแนวการปลูกผักอินทรีย์ เนื่องจาก ช่วยลดรายจ่าย ปุ๋ย ยา ฮอร์โมน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ลดได้ถึง 12,000 บาท  นอกจากนั้น เราเก็บมากินเอง ก็มั่นใจว่าปลอดภัย ส่วน น้าสิทธิ์ เพิ่มเติมว่า เอาหอยเชอรี่ในไร่ มาทำน้ำหมัก ต้องทำต่อ เพราะ เอาศัตรูพืชมาทำประโยชน์ ได้ประโยชน์สองต่อ ได้ปุ๋ยหมักชีวภาพ แล้ว ยังได้จัดการศัตรูพืช ตัวฉกาจ 2. บทเรียนการทำน้ำหมักหอยเชอรี่ พี่สุคนธ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในการทำน้ำหมัก เล่าว่า น้ำหมักหอยเชอรี่ ช่วงแรกๆที่หมักจะมีกลิ่นเหม็นแรงสักหน่อย แก้ปัญหาโดยการใส่กากน้ำตาลให้เพิ่มขึ้น และเพิ่ม ยูเรีย เพื่อทำให้ช่วยเพิ่มธาตุอาหารแก่พืช และเพิ่มเติม ว่า การใช้สูตรป้องกันแมลง อาจใช้ใบพืชที่มีฤทธิ์ต้านแมลงได้แก่ น้อยหน่า และพริก ช่วยป้องกัน แมลงวันทอง ด้วงงวง หนอนชานใบ ส่วนบอระเพ็ด ตะไคร้หอม ป้องกัน แมลง ต่างๆ เป็นต้น 3. การเลี้ยงปลานิลในกะชัง ในการดำเนินการ พบว่า จำนวน 25 รา ชบา ก็นำมาาใส่เพิ่มได้ แก้ปัญหา เพลี้ย ไร ได้ย ไดผลผลิตปลาเต็มวัยตามเกณฑ์ เพีง 10 ราย ได้แก้ กำนันประสิทธิ นายไพทูร พี่เตี้ยน พี่ชะอ่อน เป็นต้น ส่วน จำนวน 15 ราย ที่เหลือ ประสบภาวะน้ำในบ่อแห้ง ขอด ต่อเนี่ยง ถึง 6 เดือน ทำให้ ต้องย้ายปลาออกกจากกะชัง นำไปเลี้ยงรวมในบ่อรวม หรือในบึง ที่น้ำพอมี และทำให้ปลาโตช้า เนื่องจากให้อาหารไม่ได้ตามสัดส่วน แก้ไขโดยการนำปลาขึ้นเมือเห็นว่าได้ขนาดพอแปรรูปทำปลาแห้ง ปลาร้า ปลาแดดเดียวได้ ก้นำมาแบ่งปันกัน และขายเพื่อนบ้าน และนำไปขายที่ตลาดนัดในหมู่บ้านใกล้เคียง ส่วน คนที่ประสบผลสำเร็๗ เนื่องจาก บ่อกว้าง น้ำมีพอ กะชังจำนวน 2 ใบ ที่ตนเองทำเพิ่มขึ้น เลี้ยงปลานิลได้ผลดี และนำไปทำอาหารเลี้ยงผู้มาทำบุญในงานศพพ่อ เมื่อเดือนกรกฎาที่ผ่านมา ได้ตลอดงาน และ พบว่า ปลานิลที่เลี้ยงกะชัง มีรสชาดดี ไม่คาว ไม่เหม็น เนื่องจาก ใช้น้ำหมักผสมในอหารที่บดสับจากวัสดุที่เหลือในครัวเรือน  ช่วยลดต้นทุนได้ มาก ปีที่ผ่านมา แกเล่าว่า อาหารปลาเดือน สี่ถึงห้าพัน  ปีๆ รายจ่ายเป้นหมื่น ปีนี้ แค่ค่าทำหัวเชื้อทำน้ำหมัก ไม่กี่พัน ลดรายจ่ายลงมาก และปลานำมาทำอาหารรสชาดดี ไม่มีคาว 4. สิ่งที่มีคุณค่า จากการพุดคุย ได้แก่ ความสัมพันธ์ที่ดี ของคนในชุมชน ผญ.ชะอ่อน บอกว่า แกเป้นผู้ใหญ่บ้านที่เป็นผู้หญิง และได้รับการคัดเลือดมาเป้นผู้นำในปีที่แล้ว ปีนี้ จับงานสร้างชุมชนเกาะพุดให้น่าอยู่ รึลูกคน เพราะที่ผ่านมาก็ยังเกิดความขัดแย้งอยู่ การชวนคุนมาร่วมทำโครงการนี้ ช่วยสร้างคุณค่าความสัมพันธ์ที่ดีกลับคืนมา เหมือน คสช.คืนความสุขให้ประชาชน ซึ่งพี่หมู ก็สะท้อน ว่า เดี่ยวนี้ สังคมออนไลนื ทำให้คนสื่อสารกันโดยไม่ต้องเห็นหน้าเจอตัวกัน การทำโครงการและกิจกรรมต่างๆ ช่วยทำให้คนได้เจอกัน ไม่ต่างตนต่างอยู่ สนุกสนานหยอกล้อ จากนั้นก้โพสต์รูปโม้ ให้คนอื่นเห็นเป็นตัวอย่างๆและรู้ไปทั่ว เป็นการประชาสัมพันธ์โครงการอย่างดี ตอนนี้ผมเก่งแล้ว 5. ด้านภาพรวมการเกิดนวตกรรมในชุมชนจากการทำโครงการ พบว่า กะชังลอยน้ำไม่ได้แก้ปัยหา ภาวะน้ำท่วม เหมือนทุกปี เนื่องจากปีน้ำน้ำแห้ง ฝนไม่ตกยาวนาน ไม่มีน้ำในบ่อปลา ท่วมไม่ถึงท้องกะชัง ทำให้ ปัญหากะชังลอยน้ำ แก้ไม่ได้ หลายครัวเรือน จึงไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ก็ยังเก็บกระชังไว้เลี้ยงปลาในปีต่อไป แต่ก็ได้ นวตกรรมการหมักหอยเชอรี่ ผสม หัวปลา เศษปลา มาเป้นน้ำหมัก ลดขยะ สร้างมูลค่าในชุมชน เนื่องจากเศษผัก เศษปลา มีจำนวนมาก ปล่อยทิ้งก็เหม็น เกิดประโยชน์มากในการทำน้ำหมักชีวภาพ และช่วยสร้างความตระหนักและเป็นตัวอย่างแก่คนในชุมชนที่ยังใช้ระบบเดิมในการปลูกผัก ให้เห็นว่า ถึงแม้ผักปลาอ้วน สมบูรณ์ แต่ คนผู้ซื้อไม่มั่นใจเท่ากับผักปลาในโครงการ พี่เลี้ยงโครงการได้สรุป บทเรียนชองเกาะพุดว่า การใช้วิธีที่แตกต่างกันนัเน ย่อมทำให้เกิดการเปรียบเทียบ ดี เสี เด่น ด้อย และควรนำมาเชื่อมโยงปรับปรุงให้เกิดประดยชน์ต่อครอบครัว ชุมชน เศราฐกิจ และสภาพแวดล้อมต่อไป ไม่ควรสร้างความขัดแย้ง ซึ่งชุมชนตอบรับ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สุธรรม แก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี