task_alt

ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โครงการ เยาวชนคนสร้างสุข

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โครงการ เยาวชนคนสร้างสุข

ชุมชน หมู่ที่ 9 บ้านนาเกาะไทร อ. เหนือคลอง จ. กระบี่

รหัสโครงการ 56-02531 เลขที่ข้อตกลง 56-00-1077

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2556 ถึง 30 กันยายน 2557

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2556 ถึงเดือน มกราคม 2557

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมกรรมการการจัดทำโครงการเยาวชนสร้างสุข ครั้งที่ 1

วันที่ 10 กันยายน 2556 เวลา 08.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมจัดตั้งกรรมการดำเินินงานโครงการเยาวชนคนสร้างสุข

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีคณะกรรมการเข้าประชุมตามเป้าหมายที่เชิญเข้าร่วมประประชุม ซึ่งมีคณะกรรมการเข้ามาดำเินินกิจกรรมทั้งหมด 9 คน ซึ่งเดิมตั้งไว้ที่ 7 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดประชุมคณะกรรมการจัดทำโครงการเพื่อเตรียมงานเปิดตัวโครงการและวางแผนการจัดทำหลักสูตร

กิจกรรมที่ทำจริง

ได้รวมแกนหนำฝ่ายต่างๆของชุมชนมาแบ่งหน้าที่เพื่อดำเนินงานโครงการ และทำความเข้าใจเนื้อหาของโครงการให้เข้าใจเหมือนกันใครมีข้อส่งสัยสิ่งใดให้สอบถามให้เข้าใจ สรุป มีกรรมการเกิดสาขึ้น 9 คนในการดำเนินงาน

 

7 9

2. ประชุมกรรมการจัดทำโครงการเยาวชนสร้างสุข ครั้งที่ 2 เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการ รวบรวมข้อมูลประกอบหลักสูตร

วันที่ 15 กันยายน 2556 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแต่งตั้งและวางแผนการทำงานของกรรมการแต่ละฝ่าย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

หลังจากได้คณะกรรมดำเนินงานโครงการแล้ว จึงมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบและแต่งตั้งมอบหมายงานให้เป็นฝ่ายต่าง ๆเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการประกอบเป็นหลักสูตร วิถีชุมชนตามแบบอิสลาม ต่อไป กรรมการแต่ละคนเลือกแต่งตั้งหน้าที่ตามความสามารถเฉพาะตัว เช่น แต่งตั้งนาย ชาตรี ไกรบุตร เป็นเจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูลเพื่อมาเป็นหลักสูตรแกนกลางของโครงการสร้างการเรียนการสอนและการอบรมทางด้านวิชาการศึกษาและวิถีชุมชนท้องถิ่น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงานจัดทำหลักสูตร

กิจกรรมที่ทำจริง

หลายท่านที่คณะกรรมการได้เชิญเข้ามาร่วมประชุมเพื่อแสงดความคิดเห็นและ พูดถึงข้อมูลในเชิงลึกเช่น ประวัติศาสน์หมู่บ้าน ความเป็นมาการตั้งชุมชนและการศึกษาศาสนาในอดีตแตกต่างกับปัจจุบันอย่างไรเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากับหลักสูตรที่เราจะมาจัดทำในโครงการครั้งนี้

 

21 26

3. ติดตั้งป้ายเขตปลอดบุหรี่

วันที่ 16 กันยายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตั้งป้าย เขตปลอดบุหรีัี่ในบริเวณศาสสถานนำร่องแห่งแรกของอำเภอ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เป็นผลงานจากการดำเนินโครงการเยาวชนคนสร้างสุข  ที่สามารถ ประกาศพื้นที่เขตปลอดบุหรี่ ในพื้นที่สาธารณะได้สำเร็จและชาวบ้านเห็นด้วย และยังจัดให้มัสยิดซึ่งเป็นศาสนสถานทางศาสนาอิสลาม ได้จัดเป็นเขตปลอดบุหรี่นำรองแห่งแรกของอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่  เพื่อจะได้เผยแพร่กิจแบบนี้ต่อไปกับพื้ันที่อื่นนำไปปรับใช้ให้คลอบคลุมทุกแห่งที่เป็นศาสนสถานทางศาสนา..

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดพิมพ์ป้ายเขตปลอดบุหรี่และติดตั้งถาวร บริเวณศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรมประจำมัสยิด และอาคารมัสยิดบ้านนาเกาะไทร

กิจกรรมที่ทำจริง

ติดตั้งป้าย โดยยึดติดกับตัวอาคารศูนย์อบรม และ อาคารมัสยิดบ้านนาเกาะไทรอย่างถาวร โดยมีผู้นำศาสนา ครู และนักเรียน ร่วมกันช่วยในการติดตั้ง เพื่อเป็นที่รับทราบโดยทั่วกัน

 

2 5

4. ตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรพร้อมจัดทำพิธีเปิดตัวโครงการเยาวชนคนสร้างสุข

วันที่ 7 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงโครงการให้สาธารณะชนทั้วไปรับทราบ และร่วมวิเคราะห์หาข้อมูลชุม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชุมวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชนที่เก็บรวบรวมมาได้ และให้เจ้าที่หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแบ่งเป็นหมวดหมู่ให้ง่ายต่อการจัดทำหลักสูตร
โดยให้เก็บข้อมูลจากภาพถ่ายหรือคำบอกเล่า ประสบการณ์ของชาวบ้าน วิถีชีวิตประจำวันของคนในพื้นที่ดำเนินโครงการหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับชุมชนที่ทำกิจกรรมกับชุมชนเรื่อยมา และให้เอาข้อมูลเหล่านั้น จัดทำเป็นโครงสร้างในการประกอบหลักสูตร และให้ในการสอนเรียนของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ดำเนินการ พร้อมกับการจัดอบรมเป็นช่วงเวลา เช่นการ อบรมระยะสั้นหรือบางโอกาสตามเหมาะสม โดยมีหัวหน้าทีมในการจัดเก็บข้อมูลแต่ละด้านมารวมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

มีการเปิดตัวโครงการเยวชนคนสร้างสุข โดยนายกอบต.ปกาสัย เป็นประธาน มีนายสุรศักดิ์ เถาว์กลอย ประธานคณะกรรมการการศึกษาฟัรดูอีน กล่าวรายงาน และช้ีแจงความเป็นมาของการจัดทำโครงการเยาวชนคนสร้างสุข ได้รับความร่วมมือด้วยดีจากทุกภาคส่วนในพื้นที่และภาคีภายนอกชุมชน หลังจากนั้นเป็นการประชุมคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรและวางแผนแบ่งหน้าที่รวบรวมข้อมูล

กิจกรรมที่ทำจริง

เปิดเวทีชี้แจงโครงการและร่วมประชุมวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชน และให้เจ้าที่หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแบ่งเป็นหมวดหมู่ให้ง่ายต่อการจัดทำหลักสูตร
โดยให้เก็บข้อมูลจากภาพถ่ายหรือคำบอกเล่า ประสบการณ์ของชาวบ้าน วิถีชีวิตประจำวันของคนในพื้นที่ดำเนินโครงการหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับชุมชนที่ทำกิจกรรมกับชุมชนเรื่อยมา และให้เอาข้อมูลเหล่านั้น จัดทำเป็นโครงสร้างในการประกอบหลักสูตร และให้ในการสอนเรียนของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ดำเนินการ พร้อมกับการจัดอบรมเป็นช่วงเวลา เช่นการ อบรมระยะสั้นหรือบางโอกาสตามเหมาะสม

 

22 90

5. เดินทางเข้าประชุมร่วมในการจัดทำหลักสูตรวิถีชุมชน

วันที่ 30 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลในการจัดทำหลักสูตร วิถีชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีข้อมูลชุมชนที่คล้ายคลึงกัน สามารถกำหนดแนวทางในการจัดทำหลักสูตรเพื่อมาพัฒนากิจกรรมของโครงการให้ดียิ่งขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างโครงการในการทำหลักสูตรชุมชนเพื่อเผยแพร่ให้คนในชุมชนรับทราบ

กิจกรรมที่ทำจริง

เดินทางร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ และข้อมูลในการจัดทำหลักสูตรวิถีชุมชน

 

3 4

6. แต่งตั้งอาสาเก็บข้อมูลผู้มีภมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน วิทยกร

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเป็นการสร้างแกนนำเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เก็บภาพ และ ข้อมูลไ้ด้ตามแบบฟร์อมที่ต้องการ จนกระทั่งค้นพบภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่นโดยบังเิอิญ จากการเดินสำรวจข้อมูลของเยาวชน คือ การทำหนาง อาหารที่สามารถเก็บไว้ได้นานอาหารท้องถิ่นประจำภาคใต้ และ การสร้างฝายทดน้ำที่เรียกว่า เล่ ซึ่งเป็นเครื่องมือจับปลา ทั้งที่จริงแล้วคือฝ่ายชลอน้ำบรรเทาภัยแล้ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กรอกแบบสอบถามตามแบบสำรวจ ถ่ายภาพ ประกอบข้อมูลและสิ่งที่เป้นองค์ความรู้ เป็นการพบปะพูดคุยชาวบ้านของแกนนำเยาวชน ส่งเสริมให้เยาชนกล้าแสดงออก

กิจกรรมที่ทำจริง

เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์มจากชาวบ้านที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือ ความรู้จากคำบอกเล่าประสบการณ์ในอดีตลงบั้นทึก หรือถ่ายภาพมาเพื่อประอบข้อมูล

 

2 2

7. ปฐมนิเทศโครงการ ติดตามความก้าวหน้า

วันที่ 22 ธันวาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน หลังจากได้รับทุนสนันสนุนกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการเข้าร่วมประชุมและได้นำเอกสารการาจัดทำกิจกรรมไปตรวจสอบ มีข้อมบกพร่องในการลงรายละเอียดในเอกสาร และไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานเบิกเงินได้ ทางทีมงาน สจรส. มอ. ได้แนะนำให้ไปเก็บเอกสารใหม่ที่สามารถนำมาเบิกเงินกับโครงการได้ สิ่งที่ได้รับแนะำนำสามารถนำกลับไปพัฒนาโครงการให้สมบูรณ์ต่อไปได้ การจัดทำบัญชียังไม่สมบูรณ์เนื่องจากไม่เข้าใจการทำงบการเงินที่ถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมประชุม ทำความเข้าใจการลงข้อมูลกิจกรรม ตรวจสอบเอกสารการเงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมพัฒนาและรายการกิจกรรมหลังจากได้รับอนุมัติโครงการงวดงานแรก จากทีมงานติดตามประเมิน สจรส. มอ. หาดใหญ่

 

2 1

8. ประชุมกรรมการศูนย์อบบรมคุณธรรมจริยธรรม ทำแผนปฏิบัติงาน

วันที่ 28 ธันวาคม 2556 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  การเตรียมความพร้อมในการเปิดการอบรมด้านภาษาและเพิ่มทักษะภาคปฏิบัติของเยาวชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กำหนดวันเวลาการเปิดอบรมที่เหมาะสม โดยให้คณะกรรมการศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรมดูช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ไม่มีผลกระทบการเรียนของกลุ่มเป้าหมาย โดยเนื้อหาที่ด้านภาษาที่เปิดอบรมนั้นต้องเพิ่มพูนความรู้และทำให้เด็กเยาวชนผุ้เข้ารับการอบรมกล้าแสดงออก หลังจากการเข้ารับอบรมแล้วให้มีการจัดเวทีแสดงออกความสามารถ และทำการประเมินผลของการจัดกิจกรรมนั้นๆ  จัดให้ทำแผนอบรม และคู่มือการอบรม ณ มัสยิดบ้านนาเกาะไทร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างคณะกรรมการดำเนินงานโครงการและคณะกรรมการของศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรมเพื่อจัดกิจกรรมกับกลุ่มเยาวชนหรือกลุ่มภาคีเครือข่าย โดยมีเป้าหมายกับเยาวชนที่รับการศึกษาอยู่ในศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรมและเยาวชนผู้สนใจในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

กำหนดวันเวลาการเปิดอบรมที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบกับการเรียนภาคปกติของเยาวชน, วัตถุประสงค์ของการจัดการอบรม ,การเปิดโอกาสให้กับกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ, จัดหาวิทยากรที่มีความรู้ให้การอบรมกับกลุ่มเป้าหมาย สถานที่มัสยิดบ้านนาเกาะไทร

 

15 18

9. อบรมภาษาอาหรับและภาษามายูเบื้องต้น แก่เด็กและเยาวชน

วันที่ 1 มกราคม 2557 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเพิ่มทักษะด้านภาษาอาหรับและภาษามาละยูซึ่งเป็นภาษาที่ใช้มากในกลุ่มประเทศอาเซียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การที่ได้รับการอบรมด้านภาษาเบื้องต้น สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเสริมในบทเรียนหรือชั่วโมงเรียนประจำของเยาวชน หรือถ้าเป็นผู้สนใจสามารถ อ่าน พูด และเขียนภาษาดังกล่าวได้เบื้องต้น ภาษา มาละยู เป็นที่สนใจของเด็ก ๆ เพราะอยากพูดภาษามาลายู ภาษามายูยังเป็นภาษาถิ่นเดิม ของคนแถบทะเลอันดามันด้วยเป็นข้อมูลชุมชนที่ได้จากการจัดกิจกรรมครั้งนี้
1. ภาษามาลายู หรือยาวี เป็น ชื่อเรียกของ เกาะกลางทะเลอันดามันเกือบทั้งหมด เช่น เหลาปิและ คือหมู่เกาะห้องกระบี่ เหลาลาดิง เกาะสะหยา อ่าวโละซามะ เกาะพีพี เกาะปอดะ เกาะสิมิลัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เปิดรับสมัครเด็กและเยาวชนผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรมภาษาอาหรับ, ภาษามาละยู เป็นเวลา 20 ชั่วโมง จำนวน 5 วัน วันละ 4 ชั่วโมง โดย มีวิทยากรที่ชำนาญในการอบรมด้านภาษาอาหรับ และภาษามาละยู ทำแบบทดสอบการผ่านเกณฑ์การอบรม ณ ศูนย์อบรมคุณธรรมประจำหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจ 30 คน จัดหาวิทยกรที่มีความรู้ด้านภาษาอาหรับ และภาษามาละยู เพื่อทำการอบรมด้านการ เขียน อ่าน พูด และทำแบบทดสอบเบื้องต้น ระยเวลาในการเข้ารับการอบรมจำนวน 5 วัน วันละ 4 ชั่วโมง รวมเป็น  20 ชั่วโมงเท่ากับ 2 คอร์ดการเรียนระยะสั้น ให้วิทยากรหรือเจ้าหน้าที่เตรียมเอกสารในการบรมเองเพื่อจะได้ตรงตามความสามารถของผู้ที่เป็นวิทยากรหรือครูผู้ให้ความรู้ มีคู่มือในการอบรมแก่ผู้เข้ารับการอบรมภาษาอาหรับมาละยูเบื้องต้นในครั้งนี้ เด็กๆ ชอบภาษามาลายู เพราะเป็นภาษาที่เด็กๆให้ความสนใจ เพราะมีเยาวชนย้ายมาจาก 3 จังหวัดชายแดน มาอยู่ในชุมชนด้วย เลยทำให้อยากพูด ภาษามาลายูได้ ใช้สถานที่ ศูนย์อบรมคุณธรรมประจำหมู่บ้าน

 

30 30

10. จัดเวทีแสดงออก ทดสอบความรู้ความสามารถ

วันที่ 12 มกราคม 2557 เวลา 08:00 - 15.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแสดงออกความสามารถ ด้านการพูด และด้านความรู้จากการศึกษาและอบรม ฝึกการกล้าแสดงออกบนเวที

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการประชุมคณะกรรมการโครงการเยาวชนคนสร้างสุขร่วมกับคณะกรรมการการศึกษาภาคฟัรดูอีน ได้จัดเวทีแสดงออกความสามารถขึ้นในวันที่ 12 มกราคม 2557 ขึ้นใช้เวลา 1 วันในการจัดกิจกรรมาตั้งแต่เช้า ผู้ปกครองและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมมากมายมีการแลกของขวัญ กิจกรรมถามตอบปัญหา การแสดงละคร ภาคีเครือข่ายร่งมแจกทุนการศึกษา กิจกรรมแสดงให้เห็นถึงความยินดีของชุมชนที่สามารถมีเวทีแสดงออกให้กับเยาวชนในครั้งนี้ เป็นการกระตุ้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการศึกษาโดยใช้ศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรมเป็นสถานที่จัดกิจกรรม และทุนสนับสนุนกิจกรรมจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ให้เป็นที่รู้จัก กิจกรรมเป็นไปอย่างสนุกสนานทั้ง วิชาการ และการแสดงออกความสามารถ ชาวบ้านได้สนับสนุนของรางวัลต่อกิจกรรมที่ชนะการแข่งขันและร่วมรับประทานอาหารร่วมกันระหว่างผู้ปกครองเด็กและเยาวชน แกนนำกลุ่มอาสา ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา สรุป สิ่งที่เกิดขึ้น 1. การประสานงานระหว่างคณะกรรมการชุมชนกับคณะกรรมการโครงการเยาวชนคนสร้างสุขเกิดขึ้นโดยความร่วมมือที่ดี 2. ผู้ปกครอง เด็ก เยาวชน ผู้นำศาสนา ภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วนเข้าร่วม กิจกรรม 3. เวทีได้เปิดให้เยาวชน คนที่มีความสามารถได้แสดงออกอย่างเต็มที่และสร้างสรรค์ 4. การกระจ่ายข่าวกิจกรรมโดยกลุ่มสื่อสารชุมชน วิทยุชุมชน ได้นำรูปแบบการจัดกิจกรรมไปเป็นแบบอย่าง และสนใจในโครงการของ สสส. 5. ผลประเมิน 100 คะแนน ต้องการให้มีกิจกกรรม แบบนี้เกิดขึ้นทุกปี 6. ภาพถ่ายกิจกรรมได้เผยแพร่ บนสื่ออินเตอร์เน็ตออนไลน์ ต่าง ๆ ทั้ง เฟสบุ๊ค ไลน์ และสื่อวิทยุชุมชน 7. วิดีโอ ประมวลภาพกิจกรรมแสดงออก บางส่วนที่เกิดขึ้นบนเวที

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เปิดเวที แสดออกความสามารถ จากการจัดกิจกรรมอบรมภาษาและคุณธรรมจริยธรรม มาแล้ว ณ ศูนย์อบรมคุณธรรมประจำหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมนี้เป็นหนึ่งของโครงการเยาวชนคนสร้างสุข 1. ประชุมคณะกรรมการ 2 ฝ่าย คือฝ่ายการศึกษาและคณะกรรมการโครงการ
2. แนวทางกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นบนเวทีแสดงออก 3. ความพร้อมของเจ้าหน้าที่เตรียมการ 4. ประสานงานภาคีเครือข่าย เข้าร่วมกิจกรรม  อบต. ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้นำศาสนา ครูสอนศาสนา สื่อวิทยุชุมชน 5. ประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่จัดขึ้น จำนวน 100 ชุดประเมิน ณ ศูนย์อบรมคุณธรรมประจำหมู่บ้าน

 

100 200

11. ประชุมชี้แจงหลักสูตรให้ชุมชนรับทราบ

วันที่ 22 มกราคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงหลักสูตร วิถีชุมชนตามแบบศาสนาอิสลาม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทุกภาคส่วนที่ได้เข้าร่วมรับฟังการประชุมในครั้งนี้เห็น ว่าหลักสูตรนี้สามารถนำมาใช้กับภาคส่วนของการศึกษาในชุมชนได้เด็กๆเยาวชนจะได้มีความรู้ที่หลากหลายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเนื้อหาของวิถีชีวิตคนมุสลิมที่อยู่ในพื้นที่ให้ได้รู้ถึงความเป็นมมาของชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมชี้แจงเนื้อหาหลักสูตร วิถีชุมชนตามแบบศาสนาอิสลามให้คนในพื้นที่และกลุ่มเป้าหมารับทราบ โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม  โรงเรียนประถม  ศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรม  มัสยิด  เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทราบเนื้อหา สาระ ที่เป็นวิถีชุมชนตามแบบอิสลาม มาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมที่ทำจริง

ก่อนการชี้แจงหลักสูตรคณะกรรมผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาหลายท่านได้เข้าร่วมวิเคราะห์เนื้อหาความถูกต้องของหลักสูตรเพื่้อความเรียบร้อย  ช่วงบ่ายของการประชุมเป็นการชี้แจงเนื้อหาของหลักสูตรและจะใช้หลักสูตรนี้กับดรงเรียนสอนฟัรดูอีน มุสลิมชุมชนสัมพันธ์

 

70 70

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 30 11                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 181,160.00 59,430.00                  
คุณภาพกิจกรรม 44 40                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

จากการปฏิบัติงานดำเนินการโครงการเยาวชนคนสร้าสุข มาจนครบช่วงงวดงาที่ 1 แล้ว ทำกิจกรรมตามแผนงานทั้งหมด 7 กิจกรรม เป็นกิจกรรมประชุมและวางแผนงานที่จะดำเนินการต่อในงวดงานที่ 2 เป็นส่วนใหญ แต่ละกิจกรรม มีการร่วมกันประชุมในรอบแผนงานบ้างนอกแผนบ้างเพื่อให้มีความเข้าใจกันในคณะกรรมการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1 ประชุมจัดตั้งกรรมการดำเินินงาน  วันที่  10  กันยายน 2556 โครงการมีคณะกรรมการ จากเป้าหมาย  7  คน แต่เมื่อประชุมและแต่งตั้งเรียบร้อย เราได้คณะกรรมการ 9  คน เป็นคนคอยประสานงานแต่ละด้านตามความสามารถและเพื่อสะดวกในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย  คนในชุมชนให้ความสนใจเป็นอย่างดี

กิจกรรมที่ 2 ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรและวางแผนในการปฏิบัติงาน วันที่  15 กันยายน 2556  โครงการมีเจ้าหน้าที่ในการการเก็บรวบรวมข้อมูลของชุมชนที่ชัดเจนและตามความเหมาะสมของข้อมูลด้านต่าง ๆ  โดยในการประชุมครั้งนี้คณะกรรมการได้จัดทำคู่มือแผนปฏิบัติงาน การทำกิิจกรรมที่ชัดเจนและจะต้องมีการประชุมทุกครั้งครั้งก่อนดำเนินงานกิจกรรมที่ระบุไว้ตามสัญญโครงการ ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทีเพิ่มขึ้นแต่ทางคณะกรรมการยังไม่ได้ไปเบิกถอนเงินจากโครงการมาใช้จ่ายเนื่องจากเงินยังไม่เข้าบัญชี

กิจกรรมที่ 3 ประชุมเพื่อวิเคราะห์็ข้อมูลและกำหนดเนื้อหาในการเขียนหลักสูตรชุมชน วันที่  7 ตุลาคม 2556 จากข้อมูลของเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ไปจัดเก็บมานั้นเราได้ข้อมูลมาเนื้อหาในการเขียนหลักสูตร ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้มาจากเอกสาร หนังสือ ภาพถ่าย คำบอกเล่า จากชาวชุมชนในพื้นที่จริง ๆ จำเป็นต้องมาแยกเป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการเขียนเป็นร่างหลักสูตรชุมชน  จากการเก็บข้อมูลครั้งนี้ ทางโครงการไ้ด้ค้นพบองค์ความรู้ที่มีอยู่จริงในชุมชนหลายด้าน เช่น
1. พื้นที่ของชุมชนเคยเป็นพื้นที่แห่งประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 4 เคยเป็นพื้นที่ทำนาหลวงของทหารทัพหน้าก่อนที่จะมีขบวนของเจ้าเมืองมาตั้งเพนียดจับช้างและนำช้างไปขายกับชาวต่างชาติ 2. เป็นที่ตั้งของศิลปินพื้นบ้านรองแง็ง นายดาอ่ะ ไกรบุตร เป็นหัวหน้ากลุ่มศิลปินรองแง็งที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ มีความ สามารถในการสีไวโอลิน ได้ทุกจังหวะเพลงรองแง็งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปแถบนั้น กระบี่ พังงา ตรัง ภูเก็ต เป็นศิลปิลรับเชิญให้ไปแสดงให้กับการจัดงานระดับประเทศมาแล้ว มีคลิปวิดิโอ ลงในยุทูป ชื่อคลิปว่า รองแง็งกระบี่ ปัจจุบันมีอายุมากแล้วไม่สามารถเดินทางไปนอกสถานที่ได้ อยู่กับบ้านทำงานช่วยลูกหลานเล็กๆ น้อย ๆ ขาดการสนใจจากเจ้าหน้าที่รัฐ ที่จะให้คงคุณค่าของความเป็นศิลปินไว้ 3. ด้านเกษตรกรรมและโภชนาการ  นายฉาย  เหมบุตร เป็นผุ้ชำนาญในการชำแหละเนื้อสัตว์และเชือดสัตว์ตามบทบัญญัติไว้ในศาสนาอิสลามที่ว่า สัตว์ที่เชือดต้องเอ่ยพระนามขององค์อัลเลาะห์ก่อน จะทำการชำแหละและนำมาปรุงเป็นอาหารได้ตามหลักการ กฎ ของการเชือดสัตว์ นายฉาย ยังสามารถปรุงอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้อย่างหนึ่ง คือ "หัวหนาง"  หัวหนาง คือ เนื้อและหนังบริเวณส่วนหัวของ วัวหรือควายที่ถูกเชือด เมื่อก่อนหัวาของวัวและควายที่ถูกชำแหละนั้นไม่มีราคา ถึงขั้นทิ้งให้เน่าเปื่อยเพราะไม่มีเนื้อ แต่นายฉาย สามารถนำส่วนนั้นมาแปรรูปและถนอม หัวหนางให้เก็บไว้ได้นานเป็นปี และที่สำคัญยิ่งเก็บไว้นานยิ่งน่ารับประทาน หัวหนาง เป็นอาหารพื้นเพทางภาคใต้เท่านั้นที่มีให้รับประทานและนายฉายก็เป็นคนหนึ่งที่ปรุง หัวหนาง ได้อร่อยและสะอาดที่สุด 4. ด้านภูมิปัญาท้องถิ่น นายนิคม  หมดจด  เป็นคนหนึ่งที่มีความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดมาแต่ครั้งบรรพบุรุษที่หลาย ๆ คนมองข้าม บ้านของนายนิคมอยู่ติมกับลำคลองของหมู่บ้านและเป็นลำคลองต้นน้ำของแม่น้ำที่ใหลเข้ามาจากทะเลหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ยอดคลอง ซึ่งจะมีน้ำทะเลหนุนซึ่งเป็นน้ำกล่อยเข้ามาในพื้้นที่ลำคลองที่เป็นชนประทานที่ทำการเกษตรได้ นายนิคมได้สร้างเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง เรียกว่า "เล่" เป็นเครื่องมือจับปลาที่มีขนาดใหญ่มาก ลักษณะของ เล่ คล้ายกับฝายทดน้ำ หรือฝายแม้วที่เขาเรียกกัน นายนิคมได้ สร้างเล่ เกิดขึ้ันในลำคลองกันช่วงระหว่้างน้ำกล่อยและน้ำจืดเพื่อจับปลาในตอนฤดูน้ำหลาก ในฤดูน้ำหลากนอกจากไว้จับปลาแล้วเล่ยังช่วยชะลอความแรงของน้ำที่จะไปเซาะพังตลิ่งหรือถนนทำให้แรงของน้ำเบาลง ลดการพังของตลิ่งได้ดีมาก แต่พอฤดูแล้ง เล่ ของนายนิคมเป็๋นฝ่ายเก็บน้ำและชะลอการแห้งของน้ำจืดที่มีในลำคลองให้แห้งช้าลงจนมีน้ำเหลือเพื่อทำเกษตรกรรมจนกว่าจะเข้าฤดูฝนอีกครั้งแถมยังเป็นฝายกั้นน้ำทะเลหนุนเข้ามาในพื้นที่น้ำจืดในช่วงฤดูแล้งซึ่งน้ำจืดในลำคลองมีน้อยทำให้ปลาน้ำจืดได้วางไข่และขยายพันธ์ของช่วงน้ำหลากอีกครั้ง     ปัญหาในกิจกรรมที่ 3 นี้มีผู้เข้าร่วมประชุมเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ 22  คน แต่มีผุ้เข้าประชุม 90 คน โดยการลงทะเบียน ทำให้อาหารและเครื่องดื่มที่เตรียมไว้ไม่เพียงพอค่าใช้จ่ายเกินงบประมาณการที่ตั้งไว้ และไม่ทราบว่าส่วนที่เกินมานี้จะเบิกจากโครงการได้หรือไม่ ผู้จัดทำบัญชีเองยังไม่เข้าใจในการจ่ายเงินของโครงการ

กิจกรรมที่ 4  ชี้แจงเนื้อหาหลักสูตร  วันที่  22  มกราคม  2557  มีคณะกรรมการที่ปรึกษาในการทำหลักสูตรมาให้ความรู้เพิ่มเติม และมีผู้ที่เกี่ยวข้องในการประกาศใช้หลักสูตรวิถีชุมชนตามแบบอิสลาม มีผู้เข้ามาประชุมฟังคำชี้แจง 13 หน่วยงานภาคีเครื่อขายให้ความร่วมมือ           ปัญหาในการจัดกิจกรรมครั้งมีผู้เข้าประชุมไม่มากเพราะ เป็นการประชุมชี้แจงออกแนววิชาการชาวบ้านไม่ค่อยเข้าใจเลยไม่เข้าประชุมเท่าไหร่ ประกอบกับอยู่ในช่วงมีปัญหาทางการเมืองมีคนในชุมชนเดินทางไปร่วมกับการชุมชนและเกรงว่าในการประชุมจะเป็นการประชุมเกี่ยวกับทางการเมืองเลยไม่กล้ามาร่วมประชุมด้วย แต่เมื่อดูองค์ประชุมและผู้ที่เชิญแล้วทำการประชุมได้จึงมีการประชุมเกิดขึ้นและประสบผลที่ดี

กิจกรรมที่ 5 เก็บข้อมูลชุมชนเพื่อทำแผนการใช้หลักสูตรวิถีชุมชนตามแบบอิสลาม วันที่ 23 ธันวาคม 2556  คณะกรรมการได้ตั้งอาสาในการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับจะมีการใช้หลักสูตรชุมชน กับเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านที่จะเกิดขึ้น และจัดทำแบบประเมินความพอใจ เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของโครงการด้วย           ปัญหาของกิจกรรม  การเก็บข้อมูล ผู้ปกครองบอกว่าแล้วแต่ครูก็แล้วกันให้ไปถามเด็ก ๆ ว่ารับได้หรือเปล่าหากาต้องมีการเรียนการสอนแบบนี้เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ 6 ประชุมร่วมหระหว่าง คณะกรรมการดำเนินงานโครงการและคณะกรรมการศูนย์อบรมคุณธรรมจริบธรรมประจำมัสยิด  25 ธันวาคม 2556 ได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางในการให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนที่อยู่ในศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรมและดำเินินงานกิจกรรมที่สอดคล้องกันในเรื่องของการศึกษาการอบรมระยะสั้นควรเลือกวันเวลาที่ไม่กระทบต่อการเรียนภาคปกติของเด็กและเยาวชน ดูความพร้อมของเด็กเป็นหลักเนื่องจากไม่ต้องการให้เด็กและเยาชนเสียโอกาสทางการเรียนในภาคปกติ

กิจกรรมที่ 7  ประชุมออกแบบประเมิน ความพอใจของโครงการเยาวชนคนสร้างสุข 15 มกราคม 2557  คณะกรรมการได้ประชุมคณะกรรมการ ในการจัดทำแบบฟอมร์ในการสอบถามความพอใจของโครงการที่มีต่อชุมชนเพื่อนำมาประเมินค่าความพอใจและปรับปรุงแก้ไขการทำงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมคณะกรรมการออกแบบประเมิน ผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ ครั้งที่ 1 ( 9 ก.พ. 2557 )
  2. รายงานความก้าวหน้าโครงการ กับ สสส. ที่ รพ.คลองท่อม ( 19 ก.พ. 2557 )
  3. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน 7 คน ครั้งที่ 2 ( 12 เม.ย. 2557 )
  4. จัดอบรมภาษาต่างประเทศภาษาอังกฤษ ( 24 เม.ย. 2557 - 30 เม.ย. 2557 )
  5. ทดสอบความรู้ ความสามารถหลังจากเสร็จสิ้นการอบรม นอกสถานที นอกพื้นทีดำเนินการ ( 17 พ.ค. 2557 )
  6. ประชุมกรรมการตั้งชมรมภาษาต่างประเทศ ( 15 มิ.ย. 2557 )
  7. เดินทางร่วมการประชุมแผน ปี 58 สสส. กทม. ( 16 มิ.ย. 2557 )
  8. พัฒนา มัสยิดบ้านนาเกาะไทร ( 22 มิ.ย. 2557 )
  9. พัฒนากลุ่มรักการอ่าน ( 26 ก.ค. 2557 )
  10. ปรับปรุงแปลงเกษตรเยาวชนคนปลูกผัก ให้เป็นแปลงเกษตรปลอดภัย ( 31 ก.ค. 2557 )

(................................)
นายสุรศักดิ์ เถาว์กลอย
ผู้รับผิดชอบโครงการ