task_alt

ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โครงการ เยาวชนคนสร้างสุข

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โครงการ เยาวชนคนสร้างสุข

ชุมชน หมู่ที่ 9 บ้านนาเกาะไทร อ. เหนือคลอง จ. กระบี่

รหัสโครงการ 56-02531 เลขที่ข้อตกลง 56-00-1077

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2556 ถึง 30 กันยายน 2557

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน กุมภาพันธ์ 2557 ถึงเดือน กันยายน 2557

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะกรรมการออกแบบประเมิน ผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ ครั้งที่ 1

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำแบบประเมินกิจกรรมของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการได้ร่วมกันออกแบบเนื้อหาในแบบฟอร์ม และจัดพิมพ์เป็นต้นแบบของการประเมินกิจกรรมเพื่อถ่ายเป็นเอกสารแจกจ่ายให้ชาวบ้านตอบแบบประเมิน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมออกแบบประเมิน กิจกรรม และแบบประเมินโครงการ จัดทำแบบฟอร์มการประเมิน

กิจกรรมที่ทำจริง

ออกแบบ การประเมินกิจกรรม จัดทำแบบฟอร์มการประเมิน

 

7 9

2. รายงานความก้าวหน้าโครงการ กับ สสส. ที่ รพ.คลองท่อม

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน หลังจากได้รับทุนสนันสนุนกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ร่วมประชุมและรายงานผลความก้าวหน้ากิจกรรมของโครงการเยาวชนคนสร้างสุข โดยการแสดงเอกสารเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รายงาน เอกสารการเงินและลงบันทึกกิจกรรมในเว็ปไซต์

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมประชุมและรายงานผลความก้าวหน้ากิจกรรมของโครงการเยาวชนคนสร้างสุข

 

3 2

3. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน 7 คน ครั้งที่ 2

วันที่ 12 เมษายน 2557 เวลา 10-14.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

หารือการปิดงวดงาน และทบทวนแผนกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชุมเนื้อหา กิจกรรมที่มีในงวดงานที่ 2 ต้องมีวิทยากร สอนภาษาอังกฤษได้ มาทำการอบรม หลังจากอบรมแล้วให้ทำกิจกรรมต่อเนื่องเลย คือ พาไปทดสอบความรู้ความสารมารถที่ได้รับการอบรมมาและจำได้แกนนำเยาวชน ในการที่จะมาดำเนินกิจกรรมชมรมภาษา และมัคคุเทศชุมชนหรือ วิทยากรน้อยประจำชุมชน เช่น นักพูด มัคคุเทศน์  และ ดีเจในสถานีวิทยุชุมชน หรือของรัฐต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมประเมินความก้าวหน้าโครงการและแนวทางการปฏิบัติงานในงวดงานต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

ปรึกษาหารือการปิดงวดงานที่ 1 และดูแผนงานกิจกรรมของงวดงานที่ 2 เพื่อทำกิจกรรมทั้งของโครงการเองและโครงการของมัสยิดทีทำอยู่เดิมแล้ว และให้นำเงินของกองทุนมาใช้ทำกิจกรรมก่อนเมื่อเบิกงวดงานใหม่ค่อยใช้กลับคืนเข้ากองทุนเหมือนเดิม

 

7 9

4. จัดอบรมภาษาต่างประเทศภาษาอังกฤษ

วันที่ 24 เมษายน 2557 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ฝึกทักษะการเข้าร่วมกิจกรรมอบรม เตรียมพร้อมกิจกรรมด้านการใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน เพิื่อเกิดชมรมภาษาขึ้นในกลุ่มเยาวชนของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

              เด็กและเยาวชนมีความสนใจเป็นอย่างยิ่งกับการอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เบื้องต้น  เกิดกิจกรรมแบ่งกลุ่ม มีแกนนำและแนวทางในการก่อตั้งชมรมภาษาต่างประเทศ ความรู้่ที่ได้รับจากการอบรมโดยวิทยากร ซึ่งมีความแตกต่างจากการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ เด็กมีความชอบอยากเรียน  อยากพูด ภาษาอังกฤษ ตรงกันข้ามกับทางโรงเรียนประจำ ที่มีแต่เนื้อหาวิชาการไม่มีการปฏิบัติจริง ทดสอบการใช้ภาษาอย่างจริงจังกับชาวต่างชาติ
            เด็กๆ กล้าแสดงออก กล้าพูดตอบโต้กับยวิทยากร บรรยาย และได้รู้จักสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดตนเองได้ดียิ่งขึ้น เยาวชนได้เอาความรู้จากการอบรมไปต่อยอดการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษเพิ่มเติมอย่างมีพื้นฐานที่ดีและเข้าใจการใช้ภาษาอังกฤษกับชีวิตประจำวันและพื้นที่จังหวัดของตัวเองดียิ่งขึ้น กิจกรรม สามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่อาคาร ศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรม ประจำหมู่บ้าน ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้มีการ ใช้อาคารแห่งนี้ทำกิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลายต่อไปจากการอบรม เกิดแกนนำกลุ่มภาษาอังกฤษขึ้นมา  6  คน  และมีวิทยากรอาสาด้านภาษาอังกฤษประจำศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรม  1  คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดอบรมภาษาอังกฤษเบื้องต้นให้กับเด็กและเยาวชน ผู้สนใจในชุมชนเข้ารับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเบื้องต้น เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อเป็นทักษะในการรองรับประชาคมอาเซียนเพราะพื้นที่ดำเนินการอยู่ในจังหวัดการท่องเที่ยว ใช้พื้นที่อาคารศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรมเป็นสถานที่ถ่ายทอดความรู้

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเบื้องต้น ใช้เวลาว่างช่วงปิดภาคเรียน ซึ่งเด็กและเยาวชนสามารถใช้เวลาว่างเข้าร่วมกิจกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง  โดยการเปิดรับสมัคร เด็กและเยาวชน กับผุูที่สนใจด้านการใช้ภาษาอังกฤษ โดยสมัครใจเข้ารับการอบรมกับโครงการเยาวชนคนสร้างสุข โดยทางโครงการได้รับเอื้อเฟื้อช่วยเหลือจากอาจารย์ที่มีความรู้ด้านการใช้ภาษาอังกฤษและยังมีประสบการณ์จากการทำงานด้านการท่องเที่ยวมาเป็น วิทยากร ให้ความรู้ ด้านการ พูด  เขียน  อ่าน  และทดสอบวัดผล

 

30 40

5. ทดสอบความรู้ ความสามารถหลังจากเสร็จสิ้นการอบรม นอกสถานที นอกพื้นทีดำเนินการ

วันที่ 17 พฤษภาคม 2557 เวลา 08:00 - 16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างแกนนำเยาวชน ได้รับความรู้จากการปฏิบัติงานจริง เกิดแรงบันดาลใจ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นำความรู้ที่ได้รับจาการอบรม ไปทดสอบและปฏิบัติในสถานที่จริง  เกิดแกนนำกลุ่มด้านภาษา  10  คน  รู้จักห่วงแหนสถานที่ท่องเที่ยว  สร้างความสามัคคีในกลุ่มเยาวชน เผยแพร่กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนโดย สสส. ประเมินจากจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมาย  20 %  สร้างแรงบันดาลใจในการเป็นผู้แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่เกิดขึ้นในตัวเยาวชน  ใช่เวลาว่างช่วงปิดภาคเรียนเกิดประโยชน์ ผู้ปกครองเห็นถึงความสำคัญของการรวมกลุ่มกับเยาวชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทดสอบความรู้ความสามารถหลังจากอบรมภาษาอังกฤษเบื้องต้นมาแล้วโดยการปฏิบัติจริงกับชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยว และร่วมทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์นอกพื้นที่ดำเนินการ ทำความสะอาดกับสถานที่ท่องเที่ยว เก็บขยะชายหาด รณรงค์ลดการใช้กล่องโฟม

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุม วางกำหนดการ ติดต่อรถตู้ จัดเตรียมอาหาร เที่ยง นัดรวมตัว 7 โมงเช้า  8 โมง ออกเดินทาง มีรถนำขบวน และปิดท้ายขบวนเพ่อความปลอดภัยในการเดินทาง 9.30 น. ถึงสถานที่เป็าหมายทำกิจกรรม ติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยาน รับฟังคำแนะนำในการใช้พื้นที่ทำกิจกรรม และทุกคนก็พร้อมยังจุดรวมพล บริเวณหาดทรายคลองแห้ง หาดนพรัตน์ธารา กระบี่  พิธิเปิดกิจกรรมโดยประธานโครงการเยาวชนคนสร้างสุข รับฟังกำหนดการกิิจกรรมโดย นายร้อโสน  ลูกเหล็ม ผู้รับผิดชอบงานกิจกรรม เริ่มกิจกรรมโดยการทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์โดยการเก็บขยะ ทำความสะอาดบริเวณหาดทราย โดยมีนักท่องเที่ยวได้เข้าร่วมทำกิจกรรมเก็บขยะกับเยาวชนของโครงการด้วย  เสร็จภาระกิจเก็บขยะ พักดื่มน้ำทานของว่าง แล้วแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมทดสอบความรู้ด้านภาษา แบ่งเป็น  6  กลุ่ม มีแกนนำของแต่ละกลุ่มนำไปพบปะทักทายนักท่องเที่ยวที่เป็นชาวต่างชาติโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการพูดคุย จากการสังเกตุการของทีมพี่เลี้ยงและวิทยากร  เยาวชนมีความกล้าแสดงออกในการสัมภาษณ์พูดคุยกับชาวต่างชาติ เรียกเสียงหัวเราะกันอย่างสนุกสนาน จบกิจกรรมบริวเณหาดนพรัตน์ธารา 11.30  เดินทางไปบ้านแหลมโพธิ์ สุสานหอย 75 ล้านปี  พักรับประทานอาหารเที่ยงที่มัสยิดบ้านแหลมโพธิ์ และทำการละหลาด ตอนบ่ายพร้อมกันที่มัสยิดบ้านแหลมโพธิ์  13.30 น. เข้าสู่พื้นที่ สุสานหอย  75  ล้านปี ทำกิจกรรสาธารณะประโยชน์พร้อมกันกับเจ้าหน้าที่อุทยาน จากนั้นวิทยากรได้เรียกเข้ารับฟังความเป้นมาของสถานที่แห่งนี้ เด็กๆ ได้รับความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สถานที่ท่องเที่ยว จกนนั้นเป็นการ สำรวจพื้นที่ และทักทายพูดคุยกับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในสถานที่สุสานหอย 75 ล้านปี  14.30 น. เดินทางเข้าสู่ ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เป็นสถานที่ อนุบาลและเพาะเลี้ยง ปลา กาตูนย์ที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ ยังมีบ่อเลี้ยง ม้าน้ำ ปลาโนรี กุ้งมังกร ซึ่งในสถานที่นี้ได้ปิดป้ายชื่อของปลาแต่ละชนิดเป็นภาษาไทยและอังกฤษ กำกับไว้ ซึ่งนักเรียนได้รับความรู้ด้านภาษาและได้ศึกษาระบบนิเวศชายฝั่งจากเจ้าหน้ที่  และได้รับชมการให้อาหารปลาหมอทะเล หรือที่เด็กๆเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "  ฟิช  ดอกเตอร์  ซี "  จากนั้นก็มีเสียงหัวเราะจากชาวต่างชาติ ดังขึ้นหลังจากได้ยิน สร้างความสนุกสนานแก่เด็กๆ และทีมงานเป้นอย่างมาก  15.00 น.  เดินทางกลับโดยมีรถนำขบวน และปิดท้ายเพื่อความปลอดภัย  16.00 น. ถึง มัสยิดบ้านนาเกาะไทร พื้นที่ดำเดินงานโครงการเยาวชนคนสร้างสุข  ก่อนแยกย้ายกลับบ้าน วิทยากรได้ให้ทุกคนสรุปกิจกรรมแล้วนำมาส่งในอาทิตย์หน้า เพื่อทำการประเมินกิจกรรม

 

30 60

6. ประชุมกรรมการตั้งชมรมภาษาต่างประเทศ

วันที่ 15 มิถุนายน 2557 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อคัดเลือก แกนนำกลุ่มภาษากับเยาวชนในโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลจากการประชุม ทำให้มี ชมรมภาษาขึ้นมา 1  ชมรม และแกนนำด้านภาษา ร่างระเบียบกฏของชมรมภาษาอาเซี่ยน  1  ฉบับ  กรรมการของชมรม  1  ชุด  แผนงานและแนวทางการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ การแสดงวิสัยทัศในการคัดเลือกประะานชมรมของกลุ่มเยาวชนเอง 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมตั้งชมรมภาษาต่างประเทศ ออก กฏ ระเบียบ มอบหมายหน้าที กิจกรรมที่สอดคล้อง

กิจกรรมที่ทำจริง

นัดแนะรวมตัวกันโดยการกระจายข่าวจากแกนนำเยาวชนในกลุ่ม นัดประชุมกันที่มัสยิดบ้านนาเกาะไทร ฝนตกมาก เด็กๆ มากันด้วยใจรักในการทำกิจกรรมจริง ผู้รับผิดชอบกิจกรรมครั้งนี้ คือ ครูร้อโสน ลูกเหล็ม ซึ่งเป็น วิทยากรด้านภาษา อาหรับประจำมัสยิดอยู่แล้วดำเนินการ ลงทะเบียน  ชี้แจง หลักการและเหตุผลการจัดตั้งเป็นชมรมภาษา และเข้าสู่กระบวนการ คัดเลือก ประธานชมรมภาษา และตำแหน่งต่างๆ จากการโหวต  และต่อด้วยการ ร่างกฎระเบียบชมรม  งานหรือกิจกรรมที่ชมรมต้องทำและงานด่วนที่ต้องจัดการ คือ จัดการพัฒนาให้มีห้องสมุดประจำมัสยิด และจะได้ใช้เป็นสำนักงานชมรมภาษา  โดยใช้ชื่อว่า ชมรมภาษาอาเซี่ยน ซึ่ีงตั้งอยู่หน้าอาคารมัสยิดบ้านนาเกาะไทร

 

20 25

7. เดินทางร่วมการประชุมแผน ปี 58 สสส. กทม.

วันที่ 16 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ร่วมประชุมการจัดำทำแผน ปี 58 สำนัก 6 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สารมารถร่วมแสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุม และทราบแนวทางการทำงานของ สำนัก 6 ในปี 58

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เดินทางร่วมประชุมแผนปี 58 ร่วมกับคณะกรรมการ สสส. สำนัก 6  กทม.

กิจกรรมที่ทำจริง

เดินทางเข้าร่วมประชุมแผนปฏิบัติงาน สสส.  ของสำนัก 6  โดยการแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะแนวทางการทำงาน และถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานของแต่ละพื้นที่ แบ่งการประชุมเป็น  2 วัน วันประแรกประชุมภาพรวมทั้งหมด และแยกห้องประชุมย่อยเพื่อสรุปเป็นยุทศาสน์การทำงาน วันที่ 2 เสนอแผนยุทศาสน์กับคณะทำงานของ สำนัก 6 เพื่อให้เป็นแผนปฏิบัติงานปี 58

 

1 1

8. พัฒนา มัสยิดบ้านนาเกาะไทร

วันที่ 22 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 - 14.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเป็นการสร้างแกนนำเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เป็นการทำงานร่วมกับผู้ใหญ่ เด็กจึงแบ่งหน้าที่ออกเป็นกลุ่ม เกิดแกนนำ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่  การทำงานงานให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด เกิดความสามัคคีในกลุ่มเยาวชน เป็นที่ไว้วางใจของผู้นำชุมชนได้ ฝึกเป็นอาสาสมัครของการทำความดี เพื่อสาธารณะประโยชน์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกันพัฒนาทำความสะอาดมัสยิด สุสานประจำหมู่บ้าน โรงเรียน และพื้นที่สาธารณะในชุมชน ปรับปรุงดูและต้นไม้และสวนครัวของมัสยิดให้สวยงาม

กิจกรรมที่ทำจริง

เนื่องด้วยเป็นเดือนใกล้ๆกับเดือนรอมฎอนตามปีปฏิทินศาสนาอิสลาม ก่อนจะเข้าเดือน ถือศิลอด ชาวบ้านมักจะรวมตัวในทำความสะอาด มัสยิด พัฒนาศาสนศถานที่เป็นส่วนรวม เช่น มัสยิด โรงเรียน สุสานฝังศพ และถนนหนทางต่างๆ เพื่อต้อนรับกับผู้ที่จะมาเยือนในเดือน รอมฎอน แต่ที่แล้วมาไม่เคยนัดให้เด็กและเยาวชนออกมาร่วมกิจกรรมเหมือนครั้งนี้ เด็กๆ เยาวชนได้โอกาสเข้าร่วมกิจกรรม ถือเป็นการทำความดี ได้รับผลบุญตามหลักความเชื่อของศาสนาด้วยเช่นกัน และเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ใหญ่ สามรถช่วยแบ่งเบาภาระงานได้เป็นอย่างดี โดยการ แบ่งเป็นกลุ่ม ตามความเหมาะสม กิจกรรมที่เด็กๆ ทำได้ คือ กวาดขยะ ถูพื้นมัสยิด ขัดกระจก ล้างห้องน้ำ ขนขยะไปทิ้ง จัดโต๊ะเก้าอี้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

 

70 50

9. พัฒนากลุ่มรักการอ่าน

วันที่ 26 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อปรับปรุงห้องสมุด จากเดิมเป็นเพียงมุมอ่านหนังสือ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สามารถมีห้องสมุดที่สะดวกสบาย สร้างบรรยากาศเอื้อต่อการอ่านหนังสือ การอ่านหนังสือในมัสยิด ถือเป็นการทำดี ศาสนาอิสลามบัญญัติไว้ว่า จงศึกษาตั้งบแต่อยู่ในเปลจนถึงหลุมฝังศพ มีกลุ่มอาสารักการอ่านเพิ่มขึ้น และเป็นกิจกรรมที่ต่อยอดเป็นเครือข่ายคนรักการอ่านได้โดยจะเข้าร่วกิจกรรมกับกลุ่มหนังสือหมุนเวียน ของมัสยิดทุกมัสยิดในอำเภอเหนือคลอง และทำห้องสมุดแห่งนี้เป็นแหล่งค้นคว้าความรู้ที่หลากหลายโดยจะทำเป็นห้องสมุดออนไลน์ พร้อมพัฒนาสู่การเป็นมัสยิดอาเซี่ยน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปรับปรุงห้องสมุด จากเดิมมัสยิดมีเพียงมุมที่สำหรับอ่านหนังสือ และหนังสือที่มีมีแต่หนังสือวิชาการศาสนาเป็นหลัก เด็กขาดการอยากรู้อยากเรียน เพราะไม่มีหนังสือใหม่ๆ ที่จะมาเป็นสือเชิยชวนให้เข้ามารวมกลุ่มกันอ่านหนังสือ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้เยาวชนตั้งใจร่วมือกันพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้มาซึ่งห้องสมุดที่มีหนังสือที่พวกเขาอยากอ่านหรือไม่เคยเห้นมาก่อนเพื่ประเทืองปัญญาทางสมองเพิ่มทักษะการเรียนรู้สู่โลกกว้างอีกแง่มุมหนึ่ง

กิจกรรมที่ทำจริง

ปรังปรุง ตกแต่ง เพื่อเป็นห้องสมุดที่มีความสวยงามยิ่งขึ้น โดยความร่วมมือของกลุ่มเยาวชนกลุ่มเป้าหมายเข้ามาช่วยกันทำความสะอาดพื้นที่เพื่อให้ช่างเข้ามาปรับปรุงเป็นห้องสมุด

 

70 25

10. รณรงค์การกำจัดลูกน้ำยุงลาย

วันที่ 17 สิงหาคม 2557 เวลา 08.00-15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเกิดกลุ่มแกนนำเยาวชน อาสา อสม.น้อย  ร่วมปฏิบัติงานกับ อสม.ประจำหมู่บ้าน  จำนวน  20  คน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกและกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทางโครงการเยาวชนคนสร้างสุขได้สรุปกิจกรรมที่จัดขึ้นพร้อมกันและทำแบบสอบถามความพึงพอใจของกิจกรรมในวันเดียวกัน สิ่งที่ได้รับคือ  1.  กลุ่มแกนนำ  อสม.น้อย    20  คน
                  2.  การทำงานร่วมกับกลุ่มภาคีเครือข่าย
                  3.  ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดลุกน้ำยุงลายให้ปลอดจากโรคไข้เลือดออก                   4.  การเลือกซื้ออาหารปลอดภัย จากสารปนเปื้อนในอาหาร                   5.  แผนปฏิบัติงาน การตรวจ และกำจัดลูกน้ำยุงลาย  12  เดือน                   6. ใบประกาศรับรอง การเป็น  อสม.น้อย จาก รพ.สต. บ้านคลองเสียด                   7.  แบบประเมินความพอใจในการจัดกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เปิดโอกาสให้เยาวชน เข้าสมัครเป็นกลุ่ม อสม.น้อยประจำหมู่บ้านช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ อสม. เจ้าหน้าที่อนามัย ในการปฏิบัติงานป้องการ กำจัดลูกน้ำยุงลาย เดินรณรงค์ ต่อต้าแหน่งกำเนิดลูกน้ำยุงลาย แจกแผ่นพับให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกโดย ผ่านภาคีเครือข่าย วิทยุชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

นัดประชุมเยาวชนคัดเลือกแกนนำกลุ่ม อสม.น้อย  ส่งหนังสือเชิญ เจ้าหน้าที่จาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพมาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ใช้อาคารหน้ามัสยิดบ้านนาเกาะไทร เป็นสถานที่จัดกิจกรรมให้ความรู้ โดยมีผุู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้มาก จากที่กำหนดไว้ 30 คน เข้าร่วมกิจกรรมแต่กลับมีคนเข้าร่วมกิจกรรมมากถึง  130  คน  ที่ให้ความสนใจกับกิจกรรมที่จัดขึ้น มีเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย พี่เลี้ยง อสม.  เจ้าหน้าที่จาก รพ.สต. บ้านคลองเสียด แพทย์ประจำ แพทย์หน้าหน่วย อสม. ผอ.รพ.สต. บ้านคลองเสียด แพทย์หัวหน้ากลุ่มแพทย์แผนไทย ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ โดยช่วงเช้าเป็น กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและ ภาหะนำโรค ลูกน้ำยุงลาย การกำจัด การป้องกัน  กิจกรรมที่ 2  ให้ความรุ้เกี่ยวกับการตรวจหาสารปนเปผปื้อนในอาหาร โดยเจ้าหน้าที่ได้ สาทิต การตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหารที่เตรียมมาเพื่อสุ่มสตรวจให้เยาวชนได้เห็นและร่วมกันตรวจสารปนเปื้อน กิจกรรมที่ 3 เดินรณรงค์เคาะประตูทุกบ้านในชุมชนเพื่อตรวจหาและกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยให้เยาวชนแบ่งเป้นกลุ่มตามพี่เลี้ยง อสม. ให้ความรู้กับชาวบ้านแจกเอกสารแผ่นพับและให้ทายกำจัดลุกน้ำยุงลายทุกบ้าน พร้อมทั้งจดบันทึก ตามแบบบันทึกกาตรวจลุกน้ำยุงลายทุกบ้าน กิจกรรมที่ 4 ร่วมรณรงค์ติดป้ายป้องกันโรคไข้เลือดออกและกำจัดลุกน้ำยุงลาย จำนวน  3  แผ่นป้าย  3 จุด กลุ่มเสียงตามหมู่บ้าน เพื่อให้ชาวบ้านร่วมกันตระหนักถึงปัญหาของโรคไข้เลือดออกอันมีสาเหตุมาจากยุงลาย  ใช้โปสเตอร์ติดข้างรถพร้อมแห่ไปทั่วหมู่บ้านเพื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์ป้องกันกำจัดลุกน้ำยุงลาย  กิจกรรมที่ 5  กลับมาสรุปกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติจรืงในวันนี้  ในวันนี้ได้ พบปัญอื่นที่มีในชุมชนอีกด้วย เพราะเยาวชนได้เคาะประตูบ้านทุกหลัง บางหลังกำลังตั้งวงกินน้ำกระท่อม 4x100 อยู่ ทำให้แตกตื่นกันทั้งหมูบ้าน และนำสิ่งที่พบเห็นมาทำความเข้าใจแลัแนะนำให้ความรุ้กับเยาวชนให้รุ้ถึงพิษภัยของยาเสพติดอีกรอบ.....วันนี้เกินคาดจริงๆ

 

50 130

11. รายงานติดตามการดำเนินงานโครงการ

วันที่ 20 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

รายความก้าวหน้าโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ปรุบปรุงรายงานการเงิน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รายงานความก้าวหน้าและการเงินกับพี่เลี้ยงในพื้นที่

กิจกรรมที่ทำจริง

เข้ารายงานกิจกรรมและตรวจสอบบัญชี

 

1 1

12. ตั้งกองทุนน้ำชาเพื่อศึกษาคุณธรรม

วันที่ 21 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้มีคณะกรรมการจัดตั้งเป็นกองทุนน้ำชาจากการขายน้ำชา 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลจากการทำกิจกรรมขายน้ำชามาอย่างต่อเนื่องในวันอาทิตย์ ของสัปดาห์  ทำให้ชุมชนมี คณะกรรมการ  15 คน  เข้ามาบริหารกองทุน มีเงินฝากแบบ  หุ้นลงทุน  มีเงินปันผลรายปี  จากสหกรณ์ออมทรัพย์ ตัลมียะฮ์ จำกัด  1  บัญชี สร้างงาน  ฝึกอาชีพ แก่เยาวชนให้สามารถทำหรือนำสินค้ามาขายในวันอาทิตย์ เพื่อเป็นรายได้เสริม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตั้งคณะกรรมการมา 1 ชุด จากลุ่มแกนนำเยาวชน คณะกรรมการการศึกษาภาคฟัรดูอีน เพื่อทำการจำหน่ายน้ำชา รายได้เข้ากองทุนน้ำชาเพื่อการศึกษาของเด็กเยาวชนต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

หลังจากที่ชาวบ้านและเยาชนในพื้นที่ได้ทำการขายน้ำชาในตอนเช้า โดยการแบ่งหน้าที่ในการขาย ซึ่งให้ศูนย์อบรมเป็นที่สถานที่ขายน้ำชา และฝึกการทำขนม การชงชา  การทอดไก่ การทำข้าวยำ การเก็บผักพื้นบ้านมาเป็นส่วนประกอบของการทำข้าวยำ และการชงชา มีการจัดทำบัญชีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและได้สรุปรวบรวมเงินเพื่อทำการเปิดบัญชี กองทุนน้ำชาเพื่อพัฒนาการศึกษา โดยมีเงินเปิดบัญชีตั้งต้น  8,000  บาท  จำนวน  1 บัญชี  โดยมีคณะกรรมการบริหาร  15 คน  และ มีกรรมการ  3  ท่านในการฝากถอน

 

15 0

13. ประชุมคณะกรรมการประเมินโครงการครั้งที่ 2

วันที่ 30 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประเมินกิจกรรมของโครงการเยาวชนคนสร้างสุขระยะสุดท้ายก่อนปิดงวดงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ใช้แบบสอบถามในการประเมินกิจกรรม จำนวน  100  ใบ  ประเมินความพึงพอใจเป็นคะแนน พบปัญหาของการทำกิจกรรมแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน การทำกิจกรรมล่าช้ากว่าแผนงานที่กำหนดไว้ การใช้จ่ายเงินต้องทำ บัญชีแบบติดลบ เนื่องจากไม่ได้ไปเบิกเงินตามระยะเวลาการจัดกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ออกแบบประเมิน และเก็บผลประเมินกิจกรรมทุกๆกิจกรรมตลอดโครงการ เพื่อศึกษา ข้อดี ข้อเสีย ข้อบกพร่อง องค์ความรู้ใหม่ งานกิจกรรมต่อเนื่อง  ประเมินความพึงพอใจ ผู้ร่วมกิจกรรมทั้งหมด เยาวชน ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ครู วิทยากรชุมชน พี่เลี้ยงจาก สสส. จัดทำเล่มรายงานโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมกรรมการประเมินโครงการเยาวชนคนสร้างสุข นำกิจกรรมที่ทำไปแล้วมาวิเคราะห์ข้อมูล ทำการประเมินควาพึงพอใจในแต่ล่ะกิจกรรม โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจจากคนที่เข้าร่วมกิจกรรม

 

7 7

14. อบรมทักษะผู้นำกล่มการพูดอย่างสร้างสรรค์

วันที่ 6 กันยายน 2557 เวลา 08:00-15.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างแกนนำเยาวชน กล้าพูด กล้าคิด กล้าทำอย่างสร้างสรรค์ สามารถเป็นวิทยากรชุมชนในพื้นที่ได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เยาวชนสามารถนำประสบการณ์จริงครั้งนี้ไปปฏิบัติใช้กับสถานการณ์ที่จะต้องพูดในที่สาธารณะ มีคนมากๆได้โดยมีขั้นตอนตามที่รับการอบรมมาแล้ว การสื่อสารเรื่องราวต่างๆ ระหว่าง ผู้ส่งสาร สาร หรือข้อความ และผู้รับสาร ไม่จะเป็น งานกิจกรรมนักเรียน งานบุญ งานแต่งงาน วิทยากรบรรยายเรื่องราวชุมชน ผู้กล่าวรายงานต่อประธานพิธีการต่าง ๆ แนวคิดการต่อยอดกิจกรรม เด็กๆเยาวชนสามารถจัดทำห้องปฏิบัติการเสียงตามสายไว้พุูดคุยเรื่องราวต่างๆของชุมชนให้ชาวบ้านรับทราบโดยทั่วกัน เพราะในชุมชนไม่มีเสียงตามสายที่จะฝึกฝนทักษะการพูดคุยผ่านเสียงตามสายซึ่งจะเป็นกิจกรรมต่อยอดของชมรมภาษาต่างประเทศซึ่งเกิดขึ้นจากการก่อตั้งภายใต้โครงการเยาวชนคนสร้างสุข ซึ่งเป็นกิจกรรมตามแผนต่อยอดของชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เข้ารับการอบรมเทคนิคด้านการพูดในที่สาธาณะ เพื่อเป็น พิธีกร ผู้นำกล่าวรายงาน นักจัดการวิทยุชุมชน สามารถมีวิทยากรสำหรับบรรยายกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนได้อย่างเข้าใจ

กิจกรรมที่ทำจริง

เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการจริง หลังจากเรียนรู้ทักษะกันแล้วทดสอบนอกห้องปฏิบัติการแล้วทุกคนพร้อม เวลาออกอากาศพร้อม ดีเจ พิธิกร นักจัดรายการ ผู้ควบคุมเสียง และผู้ร่วมรายการพร้อม  การ ออนแอร์  ออกอากาศจากสถานีส่งสัญญาณระบบ FM สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดกระบี่ คลื่น 98.5 Mz ก็ออกอากาศส่งเสียงทั่วไทย ผ่านคลื่นออนไลน์ WWW.Radiokrabi.th
ในรายการ "คนกระบี่ชวนคิดชวนคุย" ดำเนินรายการโดย หนุ่มเสียงเล็กตัวใหญ่ ทวีชัย ออ่นนวล และผู้เข้าร่วมรายการจากโครงการเยาวชนคนสร้างสุข มีเยาวชนในโครงการ ผู้ประสานงานโครงการ เลขาโครงการ ได้ร่วมกันพูดคุยเรื่องราวต่าง ๆ กิจกรรมดีๆ ที่ได้ทำมาแล้วโดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนัก 6  และ สจรส.มอ. หาดใหญ่ ตัวแทนเยาวชนได้เข้าร่วมพูดคุยผ่านห้องส่งออกอากาศร่วมพูดคุยได้เป็นอย่างดี ทำให้เด็กๆทุกคน มีความตั้งใจ กระตือรือล้นที่จะพูดในหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย ทุกคนทำได้เป็นอย่างดี มีความสุข สนุก สร้างแรงบันดาลใจในการที่เป็นนักพูดหรือนักจัดรายการวิทยุที่ดีต่อไป

 

39 39

15. ศึกษาดูงานจากศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตร นอกสถานที

วันที่ 7 กันยายน 2557 เวลา 08:00 - 15.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อนำความรู้จากการดุงานมาปรับปรุงพัฒนาแปลงเกษตรเพื่อผลิตอาหารปลอดภัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปกิจกรรมศึกษาดูงานและนำกลับมาปรับปรุงแปลงเกษตรเพื่อผลิตอาหารปลอดภัยครั้งนี้ มีคนเข้าร่วมกิจกรรม  46  คน  เกินเป้าหมาย ทุกคนได้ความรู้ได้แนวคิดที่จะนำมาปรับใช้และทำตาม ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคน รับปากที่กลับไปทำที่บ้านตนเองทุกคน ทุกคนต้องการเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้อีกในโอกาสต่อไป หลายคนสามารถเข้าใจ หลักการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางของในหลวง ลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้ เหลือเก็บออม และแบ่งปัน เยาชนต้องการเข้าร่วมกลุ่มปฏิติการจริงกับโครงการปรงปรุงแปลงเกษตร อยากทำ อยากปลูก อยากมีผักที่ตนเองเป็นคนปลูก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ศึกษาดูงาน เพิ่มความรู้่การทำเกษตรแบบผสมสผานที่ทำให้เจ้าของพื้นที่มีรายได้จากแปลงเกษตรทั้งปี ก่อนทีเด็กและเยาวชนำความรู้ที่ได้มาทำกิจกรรมแปลงเกษตรปลอดภัยต่อไปในกิจกรรมของโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อถึงสถานที่เป้าหมาย อาจารย์มงคล ได้ให้ทุกคนรวมกันที่ศาลารวมพลซึ่ง จัดเป็นสถานที่อบรมภาคทฤษฎีและสาธิต เล่าถึงความเป้นมาของศูนย์การเรียนรู้ในที่นี้ โดยการนำแนวพระราชดำริ การทำเกษตรแบบพอเพียง พึงงพาตนเอง ก่อนพึ่งพาคนอื่น ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านเขากลม ของอาจารย์สงวน มงคลศรีพันธ์เลิศ ยังมีกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการไปเยี่ยมชมเพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาปรับปรุงอาชีพการทำเกษตรของตัวเองซึ่งต้องการเพิ่มผลผลิต ลดรายจ่าย และสามารถจำหน่ายเป็นรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ ซึ่งได้รับคำแนะนำจากอาจารย์สงวน มงคลศรีพันธ์เลิศ ที่เป็นแนวคิดทำการเกษตรแบบกลับหัวหรือคิดสวนทาง ทำเรื่องยากเป็นเรื่องง่าย ทำเกษตรได้โดยไม่ใช้ดิน หรือแม้กระทั่งนำเอาหลักการศาสนาอิสลามมาปรับใช้ในการทำเกษตร คือ การปลูกพืชแบบ ยะมะอ๊ะ หรือการปลูกพืช แบบ สุญูด  คือการปลูกแบบผสมรวมกันและปลูกแบบแนวราบกรากราบก่อนลกขึ้น การแกล้งพืชโดยการปลูกแบบไม่ขุดหลุมพืชต้องเอาตัวรอดให้ได้หลังจากนั้นค่อยมาเติมปุ๋ยให้น้ำ การเลี้ยงปลาในที่สูง ปลูกผักในที่ต่ำ น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาต้องมาเป็นปุ๋ย ต้องมาเป็นน้ำรดต้นผัก เป็ด ไก่ แพะ ทำหน้าที่ผลิตแม่ปุ๋ย ให้กับพืชชนิดต่าง ๆ คือ ขี้หมู ขี้วัว ขี้แพะ ขี้ควายเก็บไว้ใส่พืชกินใบ ส่วน ขี้ไก่ ใส่พืชกินผล อย่างเดียว ปลูกพืชสีเขียวที่กินได้ หากมีเหลือนำไปขายและแบ่งบันส่วนบัญชีจดบันทึกทุกวัน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เหลือเก็บออม

 

30 0

16. ปรับปรุงแปลงเกษตรเยาวชนคนปลูกผัก ให้เป็นแปลงเกษตรปลอดภัย

วันที่ 20 กันยายน 2557 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาพื้นว่างเปล่าเป็นเป็นแปลงเกษตรปลอดภัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สามารถนำความรู้มาปกิบัติทำได้จริง เยาวชนให้ความร่วมมือ  ทุกคน มีพื้นที่ทำและทดลองการปลูกพืชแบบกลัวหัว    1  แปลง มีกลุ่มเยาวชนร่วมกิจกรรม  30  คน วิทยากร  1  ท่าน
มีรายได้จากการตัดผลปาล์ม ทุกเดือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปรังปรุงพื้นที่เกษตรเก่าที่ขาดการดูแลเป็นสถานที่ทิ้งขยะ นำมาปรับปรุงเป็นแปลงเกษตรนำร่อง เกษตรปลอดภัย มีการใช้ปุ๋ยชีวภาพในการปลูกผักปลอดภัย และการปลูกผักโดยไม้ต้องขุดหลุมซึ่งเป็นการปลูกแบบธรรมชาติ ให้ผักเอาตัวรอดจากควาแห้งแล้งให้ได้ เพราะบางพื้นที่มีคนอยากทำแปลงเกษตรแต่ไม่มีพื้นที่หรือดินที่เหมาะแก่การทำแปลงเกษตร การไปศึกษาดูงานจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงทำให้เด็กๆเข้าว่าแล้วว่าการปลูกพืชหรือผักไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ดินที่ดีแต่เราสามารถปลูกมันได้โดยการดูแต่ดดยวิธีธรรมชาติให้พืชพยายามเอาตัวรอดแล้วเรารักษาดูแลมันต่อไป  กลุ่มเด็กเยาวชนได้มีการวางแผนในการเตรียมพื้นที่ แบ่ง แปลงเป็นกลุ่ม ดูแลรับผิดชอบมีพี้เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ ทุกคนต้องลงมือทำด้วยตนเอง 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมถอดบทเรียนหลังจากไปศึกษาดูงานพื้นที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้าน  อ. สงวน  มงคลศรีพันธ์เลิศ  ปราชน์ชาวบ้านที่ทำเกษตรแบบกลับหัว  ปลูกผักแบบไม่่ต้องขุด ปลูกพืชเอาผลไม่ได้เอาต้น ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก เหลือปลูกเหลือกิน ให้แบ่งปันและขาย เป็นรายได้ เริ่มโดยการแบ่งหน้าที่ ดูแลแปลงผัก ไถพรวนหน้าดิน แล้ว ตากแดดให้แห้ง  เก็บสะสมอุปกรณ์ในการนำมาแปรรูปเป็นภาชนะปลูกผัก เช่น กาบมะพร้าว ฝาพัดลม วงล้อยางรถมอไซต์ และยางเก่ารถยนต์ นำมาวางเป็นระเบียบแล้วใส่ดินใส่ขี้แพะหรือขี้วัวเก่า รองพื้น รถน้ำไว้ให้ดินชุ่มแล้วนำต้นกล้าที่พาะไว้มาลง  เตรียมอุปกรณ์ ถัง หัวเชื้อ  EM  กากน้ำตาล  แล้ววิทยากรก็แนะนำการขยายหัวเชื้อ EM  ให้มีจำนวนมากพอที่จะนำไปใช้ในการเป็นปุ๋ยใส่ต้นพืช แลรถนำผักดูแลตัดแต่ง ทางปาล์มและผลใส่ปุ๋ยชีวภาพ จนสามารถตัดผลได้ หลังจากปีแรกตอนปลูก โดนน้ำท่วม

 

30 36

17. ประชุมคณะกรรมการดำเดินงานครั้งที่ 3 เสร็จสิ้นโครงการ

วันที่ 23 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเป็นการประชุมประจำงวดงาน ตรวจสอบกิจกรรมที่ตกค้างที่ยังไม่เรียบร้อย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปรายงานกิจกรรมทั้งโครงการ ปรึกษพี่เลี้ยงโครงการปรับปรุงความถูกต้องของหน้าเวป เพื่อรายงาน ตรวจสอบยอดเงินคงเหลือในบัญชี จัดเอกสารรายงานกิจกรรมกับประธานดำเนินงานโครงการก่อนนำไปตรวจสอบกับพี่เลี้ยงอีกครั้ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน 7  คน  เกี่ยวกับการทำกิจกรรมจามแผนทั้งหมดและสรุปตัวเลขบัญชีให้ถูกต้องก่อนจะทำการสรุปรายงานกิจกรรมต่อพี่เลี้ยงโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

เนื่องจากเป็นการประชุมคณะกรรมการครั้งสุดท้ายเลยมีคนเข้าร่วมหลายฝ่ายติดตามการทำงานของโครงการเพื่อแสดงความคิดเห็นและรับฟังการสรุปยอดเงินของการทำกิจกรรมต่าง ๆตลอดโครงการ และมีแกนนำเยาวชนให้ความสนใจเข้าร่วมการประชุมและเสนอแผนของกลุ่มเยาวชนหากมีการเสนอโครงการในปีถัดไป

 

7 19

18. จัดทำรายงานปิดโครงการ

วันที่ 30 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อตรวจสอบเอกสารรายงานกิจกรรมและบัญชีการเงิน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

พบข้อผิดพลาดที่ต้องแก้ไขทั้ง ตัวรายงานเอกสารการเงินของพื้นที่หรือของโครงการบางอย่างไม่ถูกต้อง สถานะการเงิน เงินสดในมือและเงินหน้าเวปไม่ตรงกัน ไม่เข้าใจการรายงานหน้าเวป ยอดเงินที่อุดหนุนจาก สสส. ตามสัญญา บางกิจกรรมไม่ตรงกันทำให้ยอดเงินเปรียบเทียบให้ตรงกันไม่ได้ การรายงานหน้าเวปล่าล่ามีผลต่อการปิดงวดงานเพราะระบบจะหยุดการรายงานหลังจากสิ้นงวดงาน ประสานพี่เลี้ยงและ สจรส.มอ.  เพื่อขอรายงานหน้าเวปได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทำรายงานส่งสรุปปิดโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

รายงานหน้าเวป ตรวจสอนเอกสารการเงินกับพี่เลี้ยงโครงการ

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 30 29                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 181,160.00 160,217.00                  
คุณภาพกิจกรรม 116 106                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

จากการติดตามการดำเนินงานโครงการ พบบางกิจกรรมเช่นพัฒนากลุ่มการอ่าน ที่ต้องจัดหาหนังสือมาไว้ที่ห้องสมุดซึ่งไม่ได้ตั้งค่าใช้จ่ายในการจัดซือหนังสือไว้ ทำให้ไม่เพียงพอกับการจัดหาหนังสือ พี่เลี้ยงจึงให้ทางพื้นที่ทำหนังสือขออนุเคราะห์มายังโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 53 คลองท่อม ซึ่งเป็นพื้นที่ดำเนินการในปี 2556 ด้วยกัน และได้รับการอนุเคราะห์จากผู้อำนวยการโรงเรียนดังกล่าว

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายสุรศักดิ์ เถาว์กลอย
ผู้รับผิดชอบโครงการ