ต่อลมหายใจคนปลายน้ำที่บ้านทุ่งแซะ

ประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรสัตว์น้ำ30 กันยายน 2557
30
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pisit76
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรสัตว์น้ำที่ถูกต้อง - เพื่อให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรสัตว์น้ำ และผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สุขภาพและสังคม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการ แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรสัตว์น้ำ วันอังคารที่  30    กันยายน  2557  ณ  ศาลาทุ่งแซะ เช้า

เวลา  09:00      ลงทะเบียน  รับของว่าง

พิธีเปิด                    โดยนายพิชัย  สัจจา  ข้าราชการบำนาญ ให้เกียรติเป็นพิธีกร และวิทยากรกระบวนการขับเคลื่อนการประชุม

เวลา  09:30    ประธานในพิธีเดินทางมาถึง  ร.ต.พิสิษฐ์  รักเล่ง  กล่าวรายงาน    นายสมศักดิ์  เวชพานิช
                            นายอำเภอเขาชัยสนประธานในพิธี  กล่าวเปิดงาน  พร้อมบรรยายพิเศษ

เวลา  10:50      การหนุนเสริมของภาคีเครือข่าย เจ้าหน้าที่เขตุห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง

เวลา  11:00      แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรสัตว์น้ำ    โดยนายสิทธิพล  เมืองสง
                            หัวหน่วยบริหารจัดการประมงน้ำจืดจังหวัดพัทลุง เวลา  12:00      พักรับประทานอาหารกลางวัน

บ่าย

เวลา  13:00      ผู้เข้าร่วมประชุมแบ่งกลุ่มระดมความคิด เปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์จากทะเลสาบในช่วง  20 ปีที่ผ่านมา
เวลา  14:00      นำเสนอผลความคิดในแต่ละกลุ่ม  ตอบแบสอบถาม เวลา  15:30      ปิดประชุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

หลังการประชุม

ร้อยละ  97  เข้าใจแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งและสัตว์น้ำ
ร้อยละ  3  ไม่เข้าใจแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งและสัตว์น้ำ

กิจกรรมแบ่งกลุ่มระดมความคิด
หัวข้อ ความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรสัตว์น้ำ และผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชนโดยสรุปได้ดังนี้

            อดีต • เครื่องมือ  การทำประมงด้วยเครื่องมือที่ผลิตขึ้นเองในชุมชน ตามภูมิปัญญาของท้องถิ่น ซึ่งมีความเหมาะสมเฉพาะในการจับสัตว์ในแต่ละชนิด  เช่น อวน ทำโดยการใช้เชือกป่าน หรือด้ายมาผูกเป็นตาข่ายตามขนาดที่ต้องการ ไซ แบบต่างๆจะทำด้วยไม้ไผ่ ใช้เถาวัลย์กรองเป็นรูปร่างต่างๆ • สัตว์น้ำ  มีจำนวนมาก ทั้งชนิดและปริมาณ  และทุกที่ที่มีน้ำจะมีปลา
• ระรบนิเวศน์มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก ทั้งพืชพันธุ์และสัตว์น้ำ รวมถึงแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ • ด้านสังคม  คนในอดีต มีจิตสำนึกที่ดี  ไม่เบียดเบียนทำลายธรรมชาติ อยู่ร่วมกับธรรมชาติแบบพึ่งพาอาศัยกัน ผู้คนมีความเอื้อเฟื้อต่อกัน

ปัจจุบัน • เครื่องมือบางส่วนยังผลิตใช้เอง  บางส่วนซื้อหาจากท้องตลาด  มีความทันสมัยมากขึ้น  บางชนิดใช้วัสดุที่ทำจากพลาสติก  บางชนิดใช้โครงเหล็ก  คนบางกลุ่มใช้เทคโนโลยี่ และสารเคมี • สัตว์น้ำหลายชนิดสูญพันธ์ เช่น ปลาทก  ปลาตุ่ม  ปลาฉนาก เป็นต้น  และหลายชนิดลดลงจนใกล้สูญพันธุ์ไปจากพื้นที่  เช่น  ปลาพรม  ปลาดุกเนื้ออ่อน(ดุกนา) ฯล • สังคม  ขาดจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากร  ใช้เครื่องมือที่มีการทำลายล้างสูง เช่น  ใช้กระแลไฟฟ้า  วางยาเบื่อ  ดักโพงพาง  การพัฒนาแหล่งน้ำ/ลำคลอง เช่นการขุดลอก  การสร้างฝาย ซึ่งเป็นการทำลายแหล่งวางไข่เพาะพันธุ์ ทำลายระบบนิเวศน์

ซึ่ง ข้อมูลส่วน นี้จะไปนำเสนอในเวที คืนข้อมูลแก่ชุมชน  และเวทีสร้างกฎระเบียบการบริหารจัดการเขตฯต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 115 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนในหมู่ที่ 5 จำนวน 104 คน
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง จำนวน 5คน รพ สต บางแก้วใต้ จำนวน 1คน ประมงอำเภอเขาชัยสน 1 คน เทศบาลตำบลจองถนน จำนวน 1 คน หน่วยบริหารจัดการประมงน้ำจืด พัทลุง 2 คน นายอำเภอเขาชัยสน 1 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวนงลักษณ์ รักเล่ง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-