แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 1 สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรชายฝั่งทะเลหน้าบ้านจงเก
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1.1.คนในชุมชนมีความรู้และเข้าใจเห็นความสำคัญของการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหาเลหน้าบ้านเสื่อมโทรมร้อยละ 50 ของคนในชุมชน ี 1.2.มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพประมงของชาวบ้านในพื้นที่ ม. 3 บ้านจงเก 1.3.ได้ชุดข้อมูลเเละแผนในการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลฯ จำนวน 1 ชุด เชิงคุณภาพ 1.1 คนในชุมชนมีความตระหนักเเละสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูล 1.2 มีการไปเรียนรู้รูปธรรมความสำเร็จในการจัดการทรัพยากร ณ บ้านช่องฟืน ต.เกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง

 

 

1.ชุมชนมีความเข้าใจถึงระบบการทำงานของชุมชนที่ต้องมีการเอื้อเฟื้อกันในเรื่องของการดูเเลทรัพยากรของทะเลหน้าบ้าน


2. เกิดการทำงานที่เห็นการมีส่วนร่วมของคตนในชุมชนเเละได้แประสบการณ์จากการศึกษาดูงาน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการกลับมาทำงานในพื้นที่ของตคนเองต่อไป

2 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในปฏิบัติการการเฝ้าระวังป้องกัน ฟื้นฟูและพัฒนาทะเลสาบหน้าบ้านจงเก
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 2.1. เพิ่มชนิดของไม้ป่าริมเล จำนวน 6 ชนิด จำนวน 300 ต้น ในพื้นที่บ้านจงเก ม. 3 ต.จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุงในระยะทาง 3 กิโลเมตร 2.2 มีสื่อรณรงค์/ป้ายประชาสัมพันธ์ของพื้นที่บ้านจงเก 2.3 เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำและปรับสภาพน้ำในทะเลสาบ โดยผลิต อีเอ็มบอล เพื่อปรับสภาพน้ำจำนวน 8,000 ลูก 2.4มีการขยายพันธ์กล้าไม้ริมเล จำนวน 6 ชนิดๆละ 100 ต้น รวมทั้งหมด 600 ต้น 2.5 มีแผนในการเฝ้าระวัง และมีชุดอาสาสมัครฯจำนวน 5 คน 2.6 มีกฏกติกาของชุมชนในการรักษาดูเเลพื้นที่เขตอนุรักษ์ บ้านจงเก เชิงคุณภาพ 2.1. เป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำวัยอ่อนและป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลหน้าบ้าน 2.2. เพิ่มปริมาณพันธุ์ไม้หายากที่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ริมทะเลสาบ เช่น ต้นลำพู ต้นจาก ต้นจิก ต้นปอ ต้นคุระ ต้นหว้า และมีกฏกติกาในการดูแลรักษาร่วมกัน 2.3 มีการอบรมเครือข่ายวิทยุสื่อสาร CB เพื่อเฝ้าระวังฯ/มีแผนที่ทรัพยากรที่คนในชุมชนร่วมกันกำหนด/มีกิจกรรมการเฝ้าระวังฯออกตรวจตราพื้นที่เขตอนุรักษ์ในทะเล

 

 

  1. เกิดข้อตกลง กติกาชุมชนที่ผ่านการพูดคุยจากพื้นที่เเละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการดูเเลรักษาทะเลหน้าบ้านจงเก เเละมีแผนการดูเเลทะเลสาบกหน้าบ้านอย่างต่อเนื่อง

  2. ชาวบ้านในพื้นที่สามารถจับสัตว์น้ำได้เพิ่มขึ้นเเละมีพันธ์ุไม้ริมเลเพิ่มขึ้นโดยในการปลูกป่าริมเล เเกนนำชาวบ้านได้มีการซ่อมเเซมอยู่ตลอด โดยให้เด็กเเละเยาวชนในพื้นที่ เข้าร่วมในการเพาะกล้าไม้

3 พัฒนากลไกการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งให้มีกฏระเบียบที่ชัดเจนที่เกิดจากการวางแผนของคนในชุมชน
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 3.1 มีคณะทำงานจำนวน12คน มีการประชุมร่วมกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อวางแผนติดตามการประเมินผลโครงการอย่างต่อเนื่อง 3.2 มีสรุปการเรียนรู้จากรูปธรรมความสำเร็จในการจัดการพื้นที่อนุรักษ์ บ้านจงเก เชิงคุณภาพ 3.1 เเกนนำชุมชนในท้องถิ่นเเละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นกลไกในการดำเนินงาน 3.2 ยกระดับการทำงานอาสาสมัครเฝ้าระวังในพื้นที่/เพิ่มอาสาสมัครในชุมชน 3.3 มีการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการฯ 4 เดือน/1ครั้ง

 

 

มีคณะทำงานของโครงการทั้งหมด 12 คน โดยในการปฏิบัติจริง คณะกรรมการ จำนวน 8 คน เข้าร่วมในการดำเนินงานทุกครั้งเเละมีเเกนนำของชุมชนที่เกิดความสนใจในการทำงานร่วมกับกลุ่มคณะทำงาน ทำให้งานเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นอีกทั้งหน่วยงานในพื้นที่ร่วมดกันส่งเสริมให้เกิดการทำงานที่ดีร่วมกับชุมชนบ้านจองถนน

4 เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามผลประเมินโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับสสส. และ สจรส.

 

 

ในการประชุมเเต่ละครั้ง เเกนนำเเละคณะทำงานในพื้นที่ร่วมกันเเลกเปลี่ยนการดำเนินงานกับพี่น้องเครือข่ายอื่นๆ ทุกครั้ง เพื่อรายงานความก้าวหน้าของโครงการเเละบอกเล่าเรื่องราวการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ให้กับโครงการอื่นๆเเละเจ้าหน้าที่ สสส.ได้รับทราบเเละร่วมกันเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่่อเป็นประโยชน์ต่อไป