ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน หมู่ 18 บ้านโคกพยอม

เวทีสรุปถอดบทเรียนโครงการ เพื่อทบทวนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ และวางแผนการดำเนินงานโครงการในอนาคต5 สิงหาคม 2558
5
สิงหาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย maimunah18
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อทบทวนกิจกรรมทั้งหมด - เพื่อสรปผลการดำเนินงานโครงการ - เพิื่อวางแผนการดำเนินโครงการในอนาคต
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา  9.30  น. ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทยอยเดินทางกันมา ณ  ศูนย์เรียนรู้บ้านหัวหิน  และได้ลงทะเบียน จนถึงเวลา  10.00 น. ผู้เข้าร่วมประชุมได้พูดคุย ทักทาย และในการประชุมได้มี  วิทยากร ส.ด.จ. มาร่วมเป็นวิทยากรด้วย โดย คุณ  พิเชษฐ์  เบญจมาศ ได้เริ่มกล่าวทักทายผู้เข้าร่วมประชุม  และได้บอกว่า  การจัดเวทีสรุปบทเรียนในวันนี้ เราคุย หรือ (จังกาพย์) แบบเป็นกันเอง ทุกคนไม่ต้องเครียด นาง ไมมู่นะ หลีหาด (ผู้รับผิดชอบโครงการ)ได้เล่าในที่ประชุม เรื่อง การทำกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งหมด ของโครงการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ให้ทุกคนได้เล่า หรือ บอก ในที่ประชุมว่า ตั้งแต่ ที่เราทำโครงการนี้มาเราได้อะไรบ้าง  และทุกคนคิดอย่างไรกับโครงการนี้ เพื่อเราจะได้สรุปทำเป็นรายงานหรือรูปเล่ม และให้ทุกคนทบทวน ในการที่ทำทำกิจกรรมที่ผ่านมา นาง อรวรรณ  ขุนรายา ได้เล่าว่า  จากการที่เราทำกิจกรรมมา เราได้รู้ อะไรหลายๆเรื่อง  เช่น เราได้รู้ประวัติศาสตร์ของโคกพยอม  ได้ร้เรื่องการทำการท่องเที่ยว รู้เรื่องภูมิปัญญาต่างๆในหมู่บ้าน  เช่น เรื่องรองแง็ง  หมอนวดเส้น การทำเสื่อ หมอไสยศาสตร์ การทำขวัญข้าว ลิเกบก
นาง  เจ๊ะสู พูดว่า สิ่งที่สำคัญที่เราได้ คือ การรวมกลุ่ม  ความสามัคคี และจากกิจกรรมที่ทำมาแล้ว พวกเราสามารถมีรายได้จาก  การทำขนมลูกโร้ย การแสดงลิเกบก ทำให้ทุกคนรู้สึกภูมิใจ และดีใจมากๆ ที่เราสามารถทำสื่งเหล่านี้ ให้เกิดประโยชน์และมีรายได้ นาง  เจ๊ะสารีหนา  กาสเส็น พูดว่า การทำกิจกรรมที่ผ่านมา ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนมากเป็นผู้หญิง กับ เยาวชน นาย พิเชษฐ์  เบญจมาศ ได้ถามว่า ผู้หญิงมีบทบาทพรือกับการพัฒนาบ้านตีหงี นาย  เผด็จ โต๊ะปลัด เล่าว่า ผู้หญิงมีบทบาทมากในการพัฒนาบ้านโคกพะยอม ไม่ว่าเรื่อง การจัดการปัญหาในพื้นที่ร่วมกับผู้ชาย โดยเริ่มจากการรวมตัว การจัดการปัญหาทรัพยากรในพื้นที่ การแยกหมู่บ้าน  หลังจากนั้น ก็ได้ขยายมาเป็นกลุ่มออมทรัพย์จากแกนนำเพียงไม่กี่คน ต่อมาก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เป็นกลุ่มแม่บ้าน และได้รวมตัวกันเพื่อดำเนินการพัฒนางานในพื้นที่  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ เกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้เสริม  หลังจากนั้นก็ได้เกิดกลุ่ม หลายๆกลุ่ม เช่น กลุ่มแม่บ้านขนมพื้นเมือง กลุ่มแม่บ้านยางแผ่น กลุ่มข้าวซ้อมมือ กลุ่มสายใยรัก นอกจากนี้ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ยังมีการรวมกลุ่มทำปลาเค็ม  เพาะเห็ด  เลี้ยงเป็ด กลุ่มเลี้ยงปูนิ่ม กลุ่ม อสม. วิทยากรกลุ่มผู้หญิงบ้านโคกพะยอมเป็นอย่างไรบ้าง ในการจัดการงานและชุมชน
“ก่อนทุกคนจะพูดว่า ที่ผ่านมา กลุ่มผู้หญิงไม่เคยมีความขัดแย้ง  ทุกคนรวมตัวทำงาน เห็นได้ชัดจาการเพิ่มขึ้นของกลุ่มแม่บ้านที่ตอนแรกมีจำนวน 30 คน  ตอนนี้เพิ่มป็น 70 คน “ วิทยากรถามว่า  ในช่วงที่ผ่านมา  อะไรบ้างที่คิดว่า  แม่บ้านทำสำเร็จ  มีสองเรื่องที่สำเร็จ คือ การทำขนมลูกโร้ย การเลี้ยงปูนิ่ม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดการทบทวนสรุปผลการดำเนินงานของโครงการที่ผ่านมา
  • เกิดการรวมกลุ่ม เกิดความรัก ความสามัคคี
  • ได้รู้จักใช้ภูมิปัญญญาท้องถิ่น(ลูกโร้ย,ลิเกบก)
  • เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
  • เกิดสภาผู้นำ
  • เกิดศูนย์กลางการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน คือ มัสยิด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน 20 คน
  • เยาวชน 20 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นายตรา เหมโคกน้อย
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี