ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน หมู่ 18 บ้านโคกพยอม

เวทีฝึกอบรมเยาวชนในการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ลิเกบก เพื่อส่งเสริมกลุ่มเยาวชนให้เกิดการรวมกลุ่มและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์24 มิถุนายน 2558
24
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย maimunah18
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อส่งเสริมกลุ่มเยาวชนให้เกิดการรวมกลุ่มและสามัคคี
  • เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา  10.00 น. ของวันที่  24  มิถุนายน 2558  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและคณะนักเรียนได้เดินทางมาถึงที่ชมรมชาวประมงพื้นบ้านที่ได้นัดหมายกัน เพื่อทำกิจกรรม ซึ่งในวันที่ 24 มิถุนายน  2558 จะเป็นการเล่าประวัติความเป็นมาของลิเกบก  และทำความรู้จักกับเครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดง และได้มีครูภูมิปัญญาเข้ามาร่วมเป็นวิทยากรในการเล่าประวัติการแสดงลิเกบก  การแสดงลิเกบก  ก่อนที่จะแสดงต้องมีการโหมโรงหรือการขับนำก่อนการแสดง คล้ายๆกับการไหว้ครู  ลิเกบกหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ลิเกป่า เป็นศิลปะการแสดงพื้นเมืองที่นิยมเล่นกัน แถบจังหวัด ตรัง  กระบี่  พังงา  และ สตูล ( เขตอำเภอละงูและทุ่งหว้า )
ความเป็นมาของการแสดงลิเกบกมีมานานเท่าไร  ไม่ปรากฏ  สันนิษฐานว่า มีต้นกำเนิดที่จังหวัดตรัง หรือ กระบี่

ประวัติความเป็นมาของลิเกบก ลิเกบกหรือลิเกป่า เป็นศิลปะการแสดงพื้นเมืองที่นิยมเล่นกันแถขจังหวัด ตรัง กระบี่  พังงา และสตูล ( เขตอำเภอละงูและทุ่งหว้า )
ความเป็นมาของการแสดงลิเกบกมีมานานเท่าไรไม่ปรากฏ  สันนิษฐานว่า มีต้นกำเนิดที่จังหวัดตรัง หรือ กระบี่ ภายหลังได้แพร่หลายเข้ามาในจังหวัดสตูล โดยรับอิธพลด้านดนตรีและการแต่งกายจากมาลยู  รับอิธิพลการร่ายรำจากมโนราห์  และมีส่วนคล้ายทางภาคกลาง  เพราะมีการออกแขกก่อนการแสดง  การแสดงลิเกบกจึงเป็นการแสดงแบบประสมประสาน เวทีการแสดงทำอย่างง่าย  ยกเสาขึ้น  6 หรือ 9 เสา หลังคาเป็นเพิงหมาแหงนมุงด้วยใบมะพร้าว มีม่านกันกลาง  ปูเสื่อ ตัวเทศและเสนาแต่งกายแบบคนอินเดียนุ่งกางเกง หรือบางครั้งนุ่งผ้าถุง  สวมเสื้อแขนยาวมีผ้าพาดบ่า สวมหมวกแขก มีหนวดเครารุงรัง  ส่วนยาหยีแต่งแบบมุสลิม คือ นุ่งผ้าปาเต๊ะ สวมเสื้อแขนยาว เรียกว่าเสื้อบาหยา มีผ้าโปร่งคลุมศีรษะ  เสนามักแต่งให้ตลกขบขัน  บางครั้งไม่สวมเสื้อ  ผู้แสดงชุดนี้  เมื่อแสดงเรื่องใหม่ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายใหม่เพื่อให้เข้ากับบทบาทของเรื่องที่จะแสดงต่อไป ดนตรีที่ใช้ มี รำมะนา 1 คู่ ฆ้อง ซอ และ ปี่ ผู้แสดงมีประมาณ 10 – 14 คน ( รวมนักดนตรี ) โอกาสที่แสดง เช่น  งานแต่งงาน  งานแก้บนงานศพและงานฉลองต่างๆ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เยาวชนเกิดการรวมกลุ่มและสามัคคีเพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  • เยาวชนสามารถรับรู้ถึงประวัติความเป็นมา เครื่องดนตรีของการละเล่นลิเกบก
  • เยาชนสามารถ ทำท่าเต้นหรือขับกลอนในการแสดงลิเกบกได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  • เยาวชนในโรงเรียน 20 คน
  • เยาวชนนอกโรงเรียน 20 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นายตรา เหมโคกน้อย
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี