แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน หมู่ 18 บ้านโคกพยอม

ชุมชน บ้านโคกพยอม หมู่ที่ 18 ตำบล ละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

รหัสโครงการ 57-01455 เลขที่ข้อตกลง 57-00-1452

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 สิงหาคม 2557 ถึง 15 กันยายน 2558

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน สิงหาคม 2557 ถึงเดือน มกราคม 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปรับปฎิทินโครงการ

วันที่ 8 ตุลาคม 2557 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อปรับรายละเอียดปฎิทินโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ข้อมูลปฎิทินโครงการที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ปรับปฎิทินโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ปรับปฎิทินโครงการ

 

2 2

2. จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่

วันที่ 10 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อรณรงค์การงดสูบบุหรี่ในสถานที่ห้ามสูบหรือที่สาธารณะ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ป้ายรณรงค์งดสูบบุหรี่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

  • สั่งทำป้ายรณรงค์งดสูบบุหรี่

 

1 1

3. ประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 1 เพื่อทำความเข้าใจโครงการ และชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ

วันที่ 13 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ 2. เพื่อสร้างความเข้าใจแก่คณะทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงถึงรายละเอียดของโครงการ
  2. ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ
  3. คณะทำงานได้รับรู้ข้อมูลรายละเอียดโครงการ
  4. เกิดความสามัคคีของคณะทำงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมชี้แจงโครงการ
    -สร้างความเข้าใจแก่คณะทำงานเกี่ยวกับโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประสานทีมคณะทำงานทั้งชุดเก่าและชุดใหม่
  • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโครงการ

 

20 30

4. ตรวจเอกสารและการบันทึกกิจกรรมกับ สจรส.ม.อ.

วันที่ 19 ตุลาคม 2557 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารการเงินและการเขียนบันทึกรายงานผลกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้เรียนรู้การจัดทำเอกสารทางการเงินที่ถูกต้องและการแยกประเภทหมวดค่าใช้จ่าย
  • มีการบันทึกผลการดำเนินกิจกรรมครบถ้วนทุกกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ตรวจเอกสารการเงิน การบันทึกรายงานกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ตรวจสอบการลงข้อมูลโครงการบนเว็บไซต์
  • ตรวจเอกสารทางการเงิน
  • ตรวจการบันทึกรายงานผลกิจกรรม

 

2 2

5. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 เพื่อออกแบบสอบถาม เรื่องประวัติศาสตร์ชุมชนและวางแผนงานการลงพื้นที่แบ่งทีมรับผิดชอบในการทำงาน

วันที่ 24 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อแบ่งทีมรับผิดชอบในการทำงาน - เพื่อร่วมกันออกแบบสอบถาม เรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานแบ่งเป็นทีมเพื่อลงเก็บข้อมูลเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน
  • ได้แบบสอบถามเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมชี้แจงโครงการ
  • สร้างความเข้าใจแก่คณะทำงานเกี่ยวกับโครงการ
  • ออกแบบสอบถาม เรื่อง ประวัติศาสตร์ชุมชน
  • วางแผนงานในการลงพื้นที่เพื่อสอบถามข้อมูลประวัติศาสตร์ในชุมชน
  • แบ่งทีมรับผิดชอบของคณะทำงานในการลงพื้นที่เพื่อสอบถาม สัมภาษณ์ข้อมูลประวัติศาสตร์ในชุมชน)

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะทำงานร่วมกันตั้งประเด็นที่อยากทราบเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในชุมชน
  • คณะทำงานร่วมกันออกแบบสอบถาม
  • แบ่งทีมรับผิดชอบเพื่อลงเก็บข้อมูลตามประเด็นต่างๆ

  • รายงานการประชุม วันที่ 24 ตุลาคม 2557 เริ่มการประชุมเวลา 13.00 น. โดยนางสาว ไมมู่น๊ะ หลีหาด ( ผู้เสนอโครงการ ) กล่าวเปิดการประชุม พูดถึงการประชุมครั้งแรกเรื่องการชี้แจงโครงการให้ทีมผู้รับผิดชอบรับทราบ และครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 มีการแบ่งทีมรับผิดชอบและจะมีการออกแบบสอบถามเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านโคกพยอม

    จักกฤต : การมาร่วมประชุมในครั้งนี้จะมีการออกแบบสอบถาม ทุกคนอยากทราบเรื่องอะไรกันบ้างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในชุมชน อะไรบ้างในบ้านโคกพะยอมหรือว่าบ้านตีหงีที่เราอยากจะศึกษา ?

    อรวรรณ :  บ้านตีหงีก่อตั้งขึ้นมาเมื่อไหร่ ? ใครมาอยู่เป็นคนแรก ?

    พิเชทฐ์ : ผมมีตัวอย่างจากที่ผมไปศึกษาของตำบลปากน้ำเค้าต้องการศึกษาความเป็นมาของตำบลปากน้ำมีประเด็นหลักๆ คือ การตั้งถิ่นฐาน ประวัติหมู่บ้าน และบุคคลสำคัญ

    อรวรรณ : บ้านตีหงีมีตำนานหลายตำนาน เช่น ผึ้งร้อยรัง โจรสลัดมาจอดเรือที่คลองตีหงี ความเชื่อเรื่องไสบศาสตร์ และตำนานเรื่องเรือโตบ (เรือสำเภา)

    ออนี : บ้านตีหงีมีการละเล่นคือ การแสดงการต่อสู้ปัญจสีละ ร็องแงง และที่เด่นๆคือ การแสดงลิเกบก

    นุชรี : การทำเสื่อจากเตย

    อรวรรณ : การย้อมผ้าจากเปลือกไม้ การทำลอมข้าว การตำข้าว

    จักกฤต : ผมอยากให้มีการทำแผนผังเครือญาติตระกูลในหมู่บ้านตีหงี ทำแผนผังว่าแต่ละตระกูลมีกี่รุ่นมาแล้ว ที่นี้มีตระกูลใหญ่ๆ กี่ตระกูลครับ

    อรวรรณ : มี 3 ตระกูลใหญ่ๆ คือ หลีหาด ขุนรายา และหลงสมัน และตระกูลย่อยๆ คือ อังศุพาณิชน์ และแซ่ตั๋น
    หลังจากที่คณะทำงานร่วมกันเสนอความคิดออกมาแล้ว ก็ได้มีการออกแบบสอบถามกัน หลังจากออกแบบสอบถามเสร็จก็แบ่งทีมรับผิดชอบในการลงเก็บข้อมูล ลงเก็บข้อมูลวันที่ 1-2 พ.ย 57 และสรุปข้อมูลวันที่ 8 พ.ย 57

    เมื่อแบ่งทีมรับผิดชอบเรียบร้อยแล้วคณะทำงานก็รับประทานอาหารว่าง และปิดการประชุมโดยหวารออะห์ ปิดการประชุมเวลา 15.00 น.

 

20 18

6. ลงพื้นที่สอบถามข้อมูลสืบค้นรากเง้าประวัติศาสตร์ชุมชน บ้านโคกพยอม ครั้งที่ 1

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านโคกพยอม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์บ้านโคกพยอม ข้อมูลประวัติชุมชน ขนมลูกโหรย การนวดแผนโบราณ การต่อเรือ หมอไสยศาสตร์ ลิเกบก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เตรียมคณะทำงาน ทำความเข้าใจแบบสอบถาม แบ่งบทบาทหน้าที่ กำหนดวันเวลาในวันเก็บข้อมูล
  • ลงพื้นที่ตามแผนงานที่วางไว้
  • ประชุมสรุปคณะทำงาน ข้อมูล ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะทำงานมารวมตัวกันที่ศูนย์สามวัยสายใยรัก บ้านโคกพยอม
  • นางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาด ได้ทบทวนหัวข้อในการสอบถามให้แก่คณะทำงาน
  • คณะทำงานแยกกันพูดคุยวางแผนการลงเก็บข้อมูลตามทีมรับผิดชอบที่ได้มอบหมายไว้
  • แจกแบบสอบถามแก่คณะทำงานทุกคน
  • คณะทำงานแยกย้ายกันลงเก็บข้อมูลตามประเด็นที่ตนเองได้รับ

 

20 20

7. ลงพื้นที่สอบถามข้อมูลสืบค้นรากเง้าประวัติศาสตร์ชุมชน บ้านโคกพยอม ครั้งที่ 2

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านโคกพยอม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์บ้านโคกพยอม ได้สัมภาษณ์นายแมะ หลงสมั่น เรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน นางสาว ขุนรายา ได้สัมภาษณ์เรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน การปกครอง นายหมีด หลงสมั่น ได้เล่าเรืองผึ้งร้อยรัง ต้นแคใหญ่ ภูมิปัญญาการขับกล่อมคาถาผึ้งเพื่อเข้าไปจับผึ้งได้ง่าย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เตรียมคณะทำงาน ทำความเข้าใจแบบสอบถาม แบ่งบทบาทหน้าที่ กำหนดวันเวลาในวันเก็บข้อมูล
  • ลงพื้นที่ตามแผนงานที่วางไว้
  • ประชุมสรุปคณะทำงาน ข้อมูล ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • แจกแบบสอบถามแก่คณะทำงานทุกคน
  • คณะทำงานลงเก็บข้อมูลในแต่ละหัวข้อที่ได้รับ

 

20 20

8. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 3 เพื่อสรุปผลการลงเก็บข้อมูล

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2557 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อนำข้อมูลประวัติศาสตร์บ้านโคกพยอมที่ไปสอบถามมาสรุปข้อมูล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ข้อมูลประวัติศาสตร์บ้านโคกพยอมตามหัวข้อที่ได้มอบหมายให้ลงเก็บข้อมูล

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมเพื่อนำข้อมูลในแบบสอบถามมาสรุปร่วมกัน
  • วางแผนงานในการลงพื้นที่เพื่อสอบถามข้อมูลประวัติศาสตร์ในชุมชน ในครั้งต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

  • รายงานการประชุม
    เริ่มการประชุมเวลา 14.00 น. โดยนางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาด (ผู้เสนอโครงการ) เปิดการประชุมกล่าวทักทายทุกๆคน ที่ได้ลงไปเก็บข้อมูล เห็นวาทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และได้ทำตามหน้าที่ที่ได้แบ่งกันรับผิดชอบในแต่ละเรื่อง  จากนั้นคณะทำงานทุกคนต่างก็นำข้อมูลที่ตนเองได้เก็บมานำเสนอต่อหน้าคณะทำงานเพื่อให้ทุกคนทราบข้อมูลในอต่ละหัวข้อ

    นางสาวไมมู่น๊ะ : ทุกคนมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง? ในการลงเก็บข้อมูลในครั้งนี้

    อรวรรณ : รู้สึกดีใจว่าเราได้รู้ประวัติรากเง้าของบรรพบุรุษที่ได้ต่อสู้กับความยากลำบากในสมัยก่อน

    อำชะ : รู้สึกตื่นเต้นที่ได้รู้ความหลังมีอารมณ์ร่วมกับคนที่เล่าให้ฟัง สนุก ฟังแล้วกลับมาคิดว่าถ้าหมดคนรุ่นนี้ ความหลังหรือประวัติต้องสูญหายไปแน่นอน

    รำภา : ได้รับรู้เรื่องของคนสมัยก่อน ประวัติต่างๆ ทำให้คิดได้ว่าเค้าลำบากกว่าเราหลายเท่า

    ออนี : รู้สึกว่าการลงเก็บข้อมูลคนที่ให้ข้อมูลมีความเป็นกันเอง ถึงแม้ว่าเค้าจะเป็นครู มีสัมพันธภาพที่ดี

    ทุกคนได้แสดงความรู้สึกร่วมกันและเห็นว่าข้อมูลที่เก็บรวบรวมมายังไม่สมบูรณ์หรือครบถ้วน ต้องลงเก็บข้อมูลอีกในวันที่ 15-16 พฤศจิกายน และนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาร่วมกันสรุปในวันที่ 22 พฤศจิกายน จากนั้น นายเผด็จ โต๊ะปลัดได้กล่าวขอบคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือในครั้งนี้ ปิดการประชุมเวลา 16.30 น.

 

20 20

9. พบพี่เลี้ยงเพื่อจัดทำรายงานกิจกรรมและตรวจสอบเอกสารการเงิน

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อจัดทำรายงานกิจกรรม - เพื่อตรวจสอบเอกสารการเงิน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้จัดทำเอกสารรายงานกิจกรรมที่ถูกต้องและเอกสารการเงิน
  • มีการบันทึกผลการดำเนินกิจกรรมครบถ้วนทุกกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ตรวจสอบเอกสารการเงิน
  • จัดทำรายงานกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบเอกสารการเงินของทุกกิจกรรม
  • แก้ไขข้อมูลบางส่วนเพื่อให้ข้อมูลมีความสมบูรณ์ถูกต้องยิ่งขึ้น
  • ปรับปฏิทินโครงการ เพื่อให้ตรงกับวันที่ได้ปฏิบัติงานจริง

 

2 2

10. ลงพื้นที่สอบถามข้อมูลสืบค้นรากเง้าประวัติศาสตร์ชุมชน บ้านโคกพยอม ครั้งที่ 3

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2557 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ข้อมุลประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านโคกพยอม เรื่อง การตั้งถิ่นฐาน การต่อเรือ การทำเสื่อ การแสดงลิเกบก ประวัติหมู่บ้าน และเรื่องความเชื่อไสยศาสตร์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานในการลงเก็บข้อมูลครั้งที่ 3
  • คณะทำงานแยกย้ายกันลงเก็บข้อมูลจากผู้รู้
  • คณะทำงานนำแบบสอบถามมาเก็บรวบรวม
  • พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการลงเก็บข้อมูลครั้งที่ 4

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะทำงานมารวมตัวกันเวลา 10.00 น. ที่ศูนย์สามวัยสายใยรักบ้านโคกพยอม
  • คณะทำงานต่างพุดคุยวางแผนการลงเก็บข้อมูลครั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์
  • คณะทำงานแยกย้ายกันไปตามสถานที่ต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านผู้สูงอายุในหมู่บ้าน เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านโคกพยอม
  • เมื่อคณะทำงานต่างเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ก็กลับมารวมตัวกัน ที่ศูนย์สามวัยสายใยรักบ้านโคกพยอม
  • คณะทำงานทั้ง 20 คนนำข้อมูลมาพุดคุยกัน และร่วมกันวางแผนการลงเก้บข้อมุลครั้งที่ 4
  • ทุกคนแยกย้ายกันกลับบ้าน

 

20 20

11. ลงพื้นที่สอบถามข้อมูลสืบค้นรากเง้าประวัติศาสตร์ชุมชน บ้านโคกพยอม ครั้งที่ 4

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อเก็บรายละเอียดข้อมูลให้สมบูรณ์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง


- ได้ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านโคกพยอมที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ พร้อมที่จะนำมาสังเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เตรียมคณะทำงาน ทำความเข้าใจแบบสอบถาม แบ่งบทบาทหน้าที่
  • ลงพื้นที่ตามแผนงานที่วางไว้
  • ประชุมสรุปคณะทำงาน ข้อมูล ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เวลา 09.00 น. คณะทำงานทยอยเดินทางมายังศูนย์สามวัยสายใยรักบ้านโคกพยอม ครบ 20 คน เวลาประมาณ 09.45 น.

  • คณะทำงานพูดคุยทำความเข้าใจการลงเก็บข้อมูลครั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุด

  • คณะทำงานต่างแยกย้ายกันลงเก็บข้อมูลโดยครั้งนี้จะเน้นให้คณะทำงานเก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุด

  • เวลาประมาณ 15.00 น. คณะทำงานต่างทยอยกลับมาที่ศุนย์สามวัยสายใยรักบ้านโคกพยอม

  • คณะทำงานนำข้อมูลมาพูดคุยกันและเห็นว่าข้อมูลมีความสมบูรณ์แล้วก็นัด วันที่จะนำข้อมูลมาสังเคราะห์ร่วมกัน

  • คณะทำงานแยกย้ายกันกลับบ้าน เวลา 16.00 น.

 

20 20

12. ประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 4 เพื่อสรุปผลการลงเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2557 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสรุปผลการลงเก็บข้อมูลและร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนที่ครบถ้วนสมบูรณ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมสรุปผลการลงเก็บข้อมูล
  • ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล
  • สรุปผลข้อมูลทั้งหมด

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุมเวลา 10.00 น. เปิดการประชุมโดย นางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาด กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน พูดถึงกิจกรรมที่ผ่านมาคือการลงเก็บข้อมูลครั้งที่ 3 และ ครั้งที่ 4 เพื่อเพิ่มเติมส่วนของมูลที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ จากนั้นก็ได้นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ตามหัวข้อต่างๆ และได้ถามว่าใครรับผิดชอบเรื่องอะไรแต่ละเรื่องใครเป็นผู้ให้ข้อมูล ทุกคนต่างก็ร่วมกันนำเสนอข้อมูลที่ได้เก็บเพิ่มเติมมานำเสนอต่อที่ประชุม และนางสาวไมมูน๊ะ ได้ถามถึงปัญหาในการลงเก็บข้อมูลครั้งที่ 3 และ 4 นางลินดาก็ตอบว่าปัญหาคือ เวลาผู้ให้สัมภาษณ์ให้ข้อมูลจะพูดเร็วจนเราจนบันทึกไม่ทันเลยเก็บข้อมูลมาได้ไม่เยอะพอสมควร นายพิเชษฐ์พูดว่าเราต้องนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์อีกทีเพื่อเพื่อเพิ่มเติมในสิ่งที่ขาดไปในเวทีสังเคาระห์ข้อมูล และถามว่าใครมีปัญหาหรือมีข้อชี้แจงอะไรบ้าง หากไม่มีก็จะนัดวันที่จะจัดเวทีสังเคราะห์ขิอมูล หลังจากพูดคุยกันเสร็จทุกคนก็ร่วมกันรับประทานขนมจีน และปิดการประชุมโดยนางสารีนา

 

20 15

13. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 5 เพื่อเตรียมงานเวทีสังเคราะห์ข้อมูลสู่ชุมชน

วันที่ 12 ธันวาคม 2557 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมเพื่อเตรียมงานเวทีสังเคราะห์ข้อมูล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง


- จัดทำกำหนดการการจัดทำเวทีสังเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมงานเวทีสังเคราะห์ข้อมูล
  • จัดทำกำหนดการงานเวทีสังเคราะห์ข้อมูล
  • จัดหาปราชญ์ผู้ให้ข้อมูล 

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุมเวลา 10.00 น. เปิดการประชุมโดย นางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาด (ผู้รับผิดชอบโครงการ) กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน พูดคุยเรื่องที่ได้ลงเก็บข้อมูลทั้ง 4 ครั้ง ว่าข้อมูลของเราที่ได้มาต้องนำมาวิเคราะห์ในเวทีสังเคราะห์ข้อมูลอีกครั้ง เพื่อได้เติมเต็มข้อมูล นายพิเชษฐ์บอกว่าในเวทีเราต้องเชิญผู้ที่เป็นปราชญ์แต่ละเรื่องมาด้วยเพื่อเพิ่มเติมข้อมูลที่ขาดไป ได้ถามทุกคนว่าใครรับผิดชอบเรื่องอะไร และปราชญ์เรื่องนั้นคือใคร ทุกคนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าปราชญ์แต่ละเรื่องให้มีพี่เลี้ยงที่รับผืดชอบไปเชิญและติดต่อปราชญ์ล่วงหน้าก่อนถึงวันจัดเวทีทุกคนได้รับหน้าที่ที่มอบหมายให้แต่ละเรื่อง และนายพิเชษฐ์ได้บอกให้ทุกคนสร้างกำหนดการขึ้นมาว่าก่อนที่เราจะจัดเวทีเราต้องทำอะไรบ้าง และได้ถามทุกคนให้บอกหัวข้อมา นางสารีหราบอกว่า แรกๆต้องกล่าวต้อนรับเปิดเวทีโดยนางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาดกล่าวต้อนรับ นางอรวรรณพูดว่า ต้องบอกเรื่องโครงการให้เขาได้ฟังว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไร เราเชิญเขามาทำอะไร ให้นางสารีหนารับผิดชอบ นายพิเชษฐ์ถามต่อว่ามีอะไรอีกบ้าง นอกจากนี้แล้วนางออนีพูดว่า เราต้องถามและบันทึกข้อมูล พิเชษฐ์บอกว่าเราต้องบันทึกข้อมูลแบบรูปภาพ แบบเขียน
หลังจากนั้นก็ให้ทุกคนนำเสนอแต่ละเรื่อง และนางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาด พูดว่าเราจะเชิญพี่เลี้ยงมาด้วยและให้ทุกคนกำหนดมาเลย หลังจากนั้นนางสาวสารีหนาได้ปิดการประชุม

 

20 18

14. ประชุมสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลรากเง้าประวัติศาสตร์ชุมชนที่ชัดเจน

วันที่ 20 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีรายละเอียดครบถ้วนสมบูรรยิ่งขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง


- ได้ข้อมูลเกี่ยวกับหมู่บ้านที่ชัดเจน ครบถ้วน 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประสานงานคณะทำงานที่ลงเก็บข้อมูล
  • ประชุมร่วมกันสังเคราะห์ข้อมูลรากเง้าประวัติศาสตร์ชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุมเวลา 10.00 น. นางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาด ( ผู้เสนอโครงการ ) ได้กล่าวต้อนรับทักทายผู้เข้าร่วมประชุม นางสาวไมมู่นะ หลีหาด ได้อธิบายถึงกิจกรรมที่ได้ทำมาแล้วคือกิจกรรมประชุมคณะทำงาน ลงพื้นที่เก็บข้อมุล 4 ครั้ง และได้ข้อมูลมาแล้วแต่ละเรื่อง ในเวทีนี้เป็นเวทีวิเคราะห์ข้อมูล และให้ทุกคนที่รับผิดชอบแต่ละเรื่องแบ่งกลุ่มเพื่อที่จะสัมภาษณ์เพิ่มเติมในแต่ละเรื่อง เช่นรองแง็ง หมอนวดเส้น ครูทำเสื่อ หมอไสยศาสตร์ ลิเกบก การทำขวัญข้าว และเมื่อสัมภาษณ์ต่างคนต่างจดบันทึกข้อมูลลงบนกระดาษชาร์จของแต่ละเรื่อง พอเสร็จแล้วทุกกลุ่มก็ได้นำเสนอของแต่ละเรื่อง เรื่อง รอแง็ง ผู้นำเสนอ นางเจ๊ะสารีหนา กาสเส็น ผู้ให้ข้อมูล นางสุธาวัลย์ เส็นสาย อายุ 63 ปี ที่มา เป็นศิลปะพื้นบ้านมาจากประเทศอินโดนีเซีย ชาวอินโดนีเซียประมาณ 12 คน ล่องเรือมาถึงเกาะอาดังเรือก็แตกทั้งหมดว่ายน้ำขึ้นเกาะอาดังหลังจากนั้นก็เกิดความคิดในการใช้ชีวิตคือต้องเต้นร็องเง็งเพื่อแลกกับเงินมาเลี้ยงชีพ ร็องเง็งจึงเป็นศิลปะที่สืบต่อกันมาจนบัดนี้
จังหวะดนตรีเพลงร็องเง็ง มี 5 จังหวะ - ลาหงูดูวอ - มะอีนาง - หาดยาว - ยาโงง - ซิตีบาหยง เครื่องดนตรีประกอบการเล่นร็องเง็ง - ไวโอลิน - รำมนา - ฆ้อง

เรื่อง หมอนวดเส้น ผู้สัมภาษณ์ นางฮาลีม๊ะ เอ็มเล่ง  ผู้ให้ข้อมูล นางบ๊ะ การนวดส่วนต่างๆของร่างกาย จะเป็นการนวดคลายเส้น มีคาถาใช้ในการนวด

เรื่อง การทำเสื่อ ผู้สัมภาษณ์ นางเจ๊ะสารีอ๊ะ กาสเส็น  ผู้ให้ข้อมูล นางรมล๊ะ พัทลุง นางรมล๊ะ บอกว่า ใช้วิธีการดูและศึกษาการทำเสื่อจากผู้ใหญ่มาตั้งแต่เมื่อก่อน และเริ่มลงมือทำด้วยตัวเองจนเกิดความชำนาญ วิธีการทำเสื่อ ใช้เตยใบพ้อหรือกก  เลือกยอดแก่มีสีเขียวทั้งใบ ต้องตัดเตยเดือนแรมเวลากลางวัน เมื่อได้เตยแล้วนำเตยมาลนไฟแล้วนำมาขูดหลังจากนั้นนำมาแช่น้ำประมาณ 2 คืน แล้วเอามาตากแดด แลล้วขูดอีครั้งเพื่อให้เตยเป็นสีขาว หลังจากนั้นก็สานเป็นเสื่อลวดลายต่างๆ มีลายขัด ลายหมากรุก ลายลูกแก้ว เป็นต้น เรื่อง หมอไสยศาสตร์ ผู้สัมภาษณ์ นางวิภา ม่าหมูด ผู้ให้ข้อมูล นายสันติ
นายสันติศึกษามาจากโต๊ะสูอาดเรียนจากบทเรียนและคำสอน สามารถทำเรื่องเสน่ห์ เรื่องผีสาง เรื่องขอที่อยู่ ใช้หมาก พลู เทียน มีเงินค่าครู หลังจากทำต้องมารดน้ำสะเดาะเคราะห์กับหมอบ้าน คำที่ใช้แต่ก่อนเป็นภาษามลายู แต่เลี่ยนมาใช้ภาษาไทยแล้ว วิธีการทำ
- ยื่นหมาก 3 คำ พลู 3 ใบ เทียน 1 เล่ม หลังจากนั้นหมอเข้าทรง - ถามเรื่องที่อยากรู้ - หมอทรงตอบคำถาม - คนที่มาหาหมอทรงก็นำคำตอบไปปฎิบัติตาม - ทาแป้งที่หนาหมอทรงก็จะออก เรื่อง การทำขวัญข้าว ผู้สัมภาษณ์ นางอรสรรณ ขุนรายา  ผู้ให้ข้อมูล นางปอหรี อุรามา ก่อนหว่านเมล็ดข้าวต้องเอาแป้งสะบ้า มะนาว ใบเชียงพร้า มาผสมน้ำแล้วนำไปเคล้ากับเมล็ดข้าว แล้วนำไปหว่าน เพราะขวัญข้าวเป็นผู้หญิงสาวสวย เลยต้องมีของแต่งแรกไถนาต้องดูวันที่ไม่ตกไฟ ตอนดำนาต้องมีฤกษ์ดูวัน ตกลมเพราะมนจะเร็วเหมือนลม ( เป็นความเชื่อ ) เวลาเก็บข้าวสุกเขาจะแรกขวัญข้าว เขาเรียกว่าเชาะซัง มีคาถาป้องกันสัตว์มีพิษ เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวจะไม่เกิดอันตรายเมื่อเก็บเสร็จเขาไปแก้ที่เชาะซังไว้ เมื่อนำข้าวขึ้นบ้าน เขาดับลอมใช้น้ำ แป้ง หิน น้ำมันใส่ผม มีคคาถาของคนโบราณ เวลาโกยข้าวห้ามโกยทับเงาตัวเอง เพราะเงาจะโกยด้วย

แต่ละคนได้นเสนอวิทยากรนายพิเชษฐ์ได้สอบถามเพิ่มเติมในแต่ละเรื่องและทุกคนในที่ประชุมได้นำแต่ละเรื่องมาวเคราะห์ว่าขาดข้อมูลอะไรบ้างนางอรวรรณบอกว่าพวกเราต้งาคนที่มีความรู้ความชำนาญมาเติมเต็มขอมูลอีกนางสาวไมมู่น๊ะ บอกว่าไม่เป็นไรเรามีเวทีอีกเวทีเป็นเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน นายพิเชษฐ์บอกว่าเราต้องมาช่วยเติมเต็มในเวทีคืนข้อมูลอีกทีเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ขึ้น จากนั้นก็ได้ให้นางมาโหยมภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องร็องเง็งรำให้ดูก่อนปิดการประชุม และนางสารีหนากล่าวปิดการประชุม เวลา 15.00 น.

 

20 24

15. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 6 เพื่อเตรียมงานเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน

วันที่ 25 ธันวาคม 2557 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อเตรียมงานเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีการแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบในการจัดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมชี้คณะทำงาน
  • ชี้แจงรายละเอียดเวทีคืนข้อมุลสู่ชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุมเวลา 14.00 น. โดยนางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาด ( ผู้รับผิดชอบโครงการ ) เปิดการประชุมพูดถึงการเตรียมงานซึ่งเป็นเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน และได้ถามในที่ประชุมว่าวันไหนบ้านที่พวกเราว่างตรงกัน และนางอรวรรณได้พูดว่าทุกคนว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2557  นางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาดพูดว่า ตกลงเราจะนัดกันวันที่ 30 ธันวาคม และได้วางหน้าที่ให้ทุกคนรับผิดชอบแต่ละเรื่องเพื่อนำเสนอในวันที่ 30 ธันวาคม ซึ่งเนเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนเป้าหมายคือ 80 คน เพื่อให้เขาได้มารับรู้ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนในแต่ละด้าน และในเวทีจะให้เขาช่วยเติมเต็มและร่วมกันแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ในแต่ละเรื่อง พิเชษฐ์บอกว่าเราต้องทำสื่อพาวเวอร์พอยท์ด้วยและบางเรื่องที่เรานำเสนอจะต้องมีการแสดงด้วย เช่น ร็องเง็ง ลิเกบก ทุกคนในที่ประชุมบอกว่าเห็นด้วย นางสารีหนาถามว่าแล้วจัดเวทีที่ใหน นางสาวไมมู่น๊ะบอกว่าที่ชมรมชาวประมงพื้นบ้านและได้บอกทุกคนให้รับผิดชอบในหน้าที่ด้วย นางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาดปิดการประชุมเวลา 16.30 น.

 

20 16

16. เวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน คนในชุมชนได้รับข้อมูล และได้เติมเต็มข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชน

วันที่ 30 ธันวาคม 2557 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเผยแพร่ให้คนในชุมชนได้รับรู้
  • เพื่อร่วมกันเติมเต็มข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ข้อมูลรากเง้าประวัติศาสตร์ที่สมบูรณ์
  • คนในชุมชนต่างได้รับทราบข้อมูลรากเง้าประวัติศาสตร์บ้านโคกพยอม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมเตรียมความพร้อม คน สถานที่ แบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ
  • ทำตามแผนงานที่วางไว้
  • ประชุมสรุปงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

ช่วงเวลา 09.30 น. ผู้เข้าร่วมเดินทางเข้าสู่ที่ประชุมตามที่ได้นัดหมายพร้อมกับการลงทะเบียน พูดคุยร่วมกัน และตามเวลาที่เหมาะสม(ตามนัดหมาย)ผู้เข้าร่วมเข้าสู่ห้องประชุมชมรมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดสตูล ดำเนินรายการโดย คุณพิเชษฐ์เบ็ญจมาศ ที่เริ่มด้วยการทักทายผู้เข้าร่วมพร้อมกับให้ผู้เข้าร่วมแนะนำชื่อของตัวเองด้วยบรรยากาศเป็นกันเอง หลังจากนั้นจึงได้ชวน ฉายคลิป “การจัดการชุมชนบ้านหนองกลางดง จ.ประจวบฯ” หลังจากนั้นจึงชวนเล่าเสริมในประเด็นการบริหารจัดการของชุมชนที่เริ่มจากการแก้ปัญหาด้วยข้อมูล การศึกษาข้อมูลแล้วนำมาสู่การแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนและที่มาของเวทีในวันนี้ก็เช่นเดียวกัน “เวทีคืนข้อมูลภูมิปัญญาชุมชนบ้านโคกพยอม” ที่นำไปสู่การจัดการของชุมชนในอนาคต หลังจากนั้นจึงเชิญหัวหน้าโครงการ นางสาว ไมมู่นํะ หลีหาดกล่าวความเป็นมาเวทีดังกล่าว ที่เริ่มด้วยการกล่าวขอความสันติสุขจงมีแด่ทุกท่านและที่มาของเวทีในวันนี้คือการคืนข้อมูลหาความรู้เพิ่มเติมภูมิปัญญาชุมชนบ้านโคกพะยอม และก่อนหน้านี้ ทางทีมได้ลงพื้นที่สำรวจ สัมภาษณ์สอบถามข้อมูล เช่น การละเล่นลิเกบก รองเง็ง ภูมิปัญญาการนวด

จากข้อมูลดังกล่าวในวันนี้จึงได้เชิญผู้มีความรู้ในแต่ละด้านมานำเสนอ พร้อมกับให้เราได้แลกเปลี่ยนด้วยกันในวันนี้ หลังจากนี้ขอมอบเวทีให้กับผู้ดำเนินรายการดำเนินการต่อไป ขอบคุณคะ

คุณพิเชษฐ์เบ็ญจมาศ ชวนให้ทีมลิเกบก ออกนำเสนอการละเล่น

คำร้องพร้อมกับให้เยาวชน ผู้ปกครองร่วมเรียนรู้ แลกเปลี่ยนซักถาม เช่นเดี่ยวกับการใช้คำร้องของรองเง็ง และต่อด้วยการสาทิศนวดเพื่อสุขภาพตามภูมิปัญญาหลังจากนั้นทางผู้ดำเนินรายการได้ชวนให้ผู้เข้าร่วม “นักเรียน”ร่วมกันแสดงทดลองการได้รับความรู้จากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาโดยให้มีการแบ่งกลุ่มละ 5 คน รวม 4 กลุ่ม (โดยใช้วิธีนับ 1-5 เป็น 1 กลุ่ม) พร้อมกับให้โจทย์ 2 ข้อ คือ 1 วันนี้เราได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง อย่างไร ข้อที่ 2 หลักจากนี้เราจะทำไรต่อ อย่างไร พร้อมกับแจกอุปกรณ์กระดาษชาร์ต ปากกาเคมี โดยกำหนดเวลาให้ 15 นาที ทุกกลุ่มต่างตั้งหน้าตั้งตาเขียนโจทย์พร้อมกับระดมความร่วมกันลงในกระดาษชาร์ตที่เตรียมไว้ เวลาผ่านไป 15 นาทีตามนัดกำหนดไว้ ทางผู้ดำเนินรายการจึงนัดรวมเพื่อพร้อมที่จะให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ ดังต่อไปนี้

กลุ่มที่ 1 ชื่อกลุ่ม “เด็กใต้โคกพยอม”

โจทย์ ข้อ 1. วันนี้เราได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง อย่างไร

ตอบ

  • ลิเกบกที่ต้องใช้ส่วนประกอบของร่างกาย และต้องปล่อยเสียงให้ดัง ขับร้องให้ถูก
  • ร๊องแง็ง ต้องขับร้องให้ไพเราะ ถูกต้องและร้องให้ชัดเจน
  • การนวดต้องใช้กำลังในการนวด และรู้จักวิธี

โจทย์ ข้อที่ 2 หลักจากนี้เราจะทำไรต่อ อย่างไร
ตอบ  นำกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน และนำความรู้ที่ได้รับไปบอกเพื่อนๆ สมาชิกในกลุ่ม

  1. ด.ช.กิ๊ฟรอน หลงหัน ป.5
  2. ด.ช.อนุวัฒน์ ปองแท้ ป.5
  3. ด.ช.วนาพล ราคพล ป.5
  4. ด.ช. ปริญญา หูเขียว ป.5
  5. ด.ช.ซัลวาย์ หลีหาด ป.4

กลุ่มที่ 2 ชื่อกลุ่ม “เด็กบ้านๆ”

โจทย์ ข้อ 1. วันนี้เราได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง อย่างไร

  • ชมรมลิเกบก เช่น การขับร้องเสียงใหญ่ มีหางเสียง และมีท่าประกอบ
  • ร๊องแง็งเช่น การร้องการเต้น
  • วิธีการนวด เช่น การนวดขมับ คลายเส้น นวดเท้า

โจทย์ ข้อที่ 2 หลักจากนี้เราจะทำไรต่อ อย่างไร

ตอบ

  • ภูมิปัญญา ความคิดเพิ่ม
  • นำกลับไปปฏิบัติ
  • มีความกล้าแสดงออก

สมาชิกในกลุ่ม

  1. ด.ญ.นัชมลต์ หมันทุย
  2. ด.ญ.ธัญญาวดี หมาดหวัง
  3. ด.ช.ปนัดดา นุ้ยโส๊ะ
  4. ด.ญ.นาตยา สาหมีด
  5. ด.ญ.สุธิภัทร หลีหาด

กลุ่มที่ 3 ชื่อกลุ่ม เราเด็กโคกพยอม

โจทย์ ข้อ 1. วันนี้เราได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง อย่างไร

ตอบ

  • ภูมิปัญญาลิเกบกหรือลิเกป่า เรียกว่ารำมะนาที่มีตัวละคร เช่น เทศ เสพา ยาหยี มีเครื่องดนตรีประกอบเช่น รำมะนา กลับ
  • การนวด มีกรนวดตีนคอแก้เมื่อย นวดหลังแก้เอ็นจม การนวดขมับแก้อาเจียน
  • การขับร้องร๊องแง็ง เป็นเพลงขับเรียกว่าเพลงหาดยาว
  • ความหมายของคำว่า “ภูมิปัญญา” คือ พื้นความรู้ ความสามารถ เช่น ความสามารถในการคิด

โจทย์ ข้อที่ 2 หลักจากนี้เราจะทำไรต่อ อย่างไร

ตอบ นำความรู้ที่ได้จากวันนี้กลับไปบอกเพื่อนๆและนำความรู้ที่ได้มากลับไปฝึก สมาชิกในกลุ่ม

  1. ด.ญ.ซามีร่า ศรีนิ่ม ป. 5
  2. ด.ญ.ซานียาฮ์ หลีหาด ป.5
  3. ด.ญ.ฮาซีนะ ขุนรายา ป.5
  4. ด.ญ.ดารา อรัญตุก ป.5
  5. ด.ญ.แสงตะวัน ธรรมรัตน์

กลุ่มที่ 4 ชื่อกลุ่ม “เด็กใต้”

โจทย์ ข้อที่ 1 วันนี้เราได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง อย่างไร

ตอบ เราได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนใต้ เช่น ลิเกบกที่ใช้ตัวละคร ๓ คนพีดำ พี่เทศ น้องจิ

โจทย์ ข้อที่ 2 หลักจากนี้เราจะทำไรต่อ อย่างไร

ตอบ พักเที่ยงกินข้าว กลับไปโรงเรียน

สมาชิกในกลุ่ม

  1. ด.ช.ธีรภัทร หลีหาด
  2. ด.ช.ธนกร ขุนรายา
  3. ด.ช.เมธิชัย สงไข่
  4. ด.ช.ปิยพัทธ์ สอเหลบ
  5. ด.ช.ซัยนุดดีน เตาวะโต
  6. ด.ช.ศิวกร หมาดหวัง

หลังจากที่มีการนำเสนอกลุ่มแต่ละกลุ่มเสร็จสิ้นลง ทางผู้ดำเนินรายการได้ให้ผู้ปกครองสะท้อนความรู้สึกจากเวทีดังกล่าว

  • ได้เห็นความสามารถของเด็ก มีแวว เก่งมากๆ
  • เด็กมีความสามรถที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับคุณ
  • รู้สึกดีใจที่เห็นลูกหลาน ความสามารถ
  • เด็กกล้าแสดงออก และขอบคุณครูสาโยด ที่ทำให้เด็กกล้าแสดงออก
  • ครูสาโหยด มีความภาคภูมิใจที่มีเด็กเป็นคนมีความสารถมีส่วนหนึ่งทางชุมชนเห็นความสำคัญ และให้ความร่วมมือ ในส่วนของทางโรงเรียนจะสนับสนุนเด็กในด้านภูมิปัญญา สุดท้ายขอขอบคุณทุกท่าน
  • นายลิเกบก..ขอบคุณที่ให้พบมาวันนี้ ลิเกรำมะนาที่เริ่มหายไปแล้ว และผมกับทีมทำให้เกิดขึ้น ผมเองอยากให้การละเล่นดังกล่าว สืบถอดต่อไป
  • หัวหน้าโครงการ.. ขอบคุณผู้เข้าร่วมทุกท่านที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับภูมิปัญญาบ้านเราที่เริ่มหายไปทุกที และนี้ก็เป็นโอกาสดีที่ทุกคนได้เข้ามาร่วมกันทั้งที่เป็นกลุ่มเด็กนักเรียนที่เป็นลูกหลานของเรา
    กลุ่มผู้ปกครอง ผู้ใหญ่บ้าน คุณครู และครูภูมิปัญญาที่เสียสละเวลาลามาให้ความรู้หลังจากนี้จะเป็นกิจกรรมออรมให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาไว้ประสานงานอีกรอบ สุดท้ายขอขอบคุณทุกท่านอีกครั้ง
  • ผญ.ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้าเวทีคืนข้อมูลภูมิปัญญาของคนชุมชนโคกพะยอม ขอบคุณครับ.

 

80 70

17. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 7 เพื่อสรุปผลการทำงานที่ผ่านมาและเตรียมวางแผนการทำงานในอนาคต

วันที่ 8 มกราคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลการทำงานที่ผ่านมาและเตรียมวางแผนการทำงานในกิจกรรมถัดไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานโครงการได้ร่วมกันสรุปผลการทำงานที่ผ่านมาและได้วางแผนการทำงานกิจกรรมอื่นๆและได้ร่วมกันพูดคุยการทำงานของพื้นที่ในเรื่องอื่นที่เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ซึ่งมีกิจกรรมที่หน่วยงานเข้ามาสนับสนุนในการขับเคลื่อนงานชุมชนหลายหน่วยงานทำให้แกนนำในพื้นที่ต้องเชื่อมการทำงานกับหลายหน่วยงานและถือว่าเป็นโอกาสให้พื้นที่ได้สร้างจุดขายในการขยายศิลปะวัฒนธรรมของพื้นที่ไปสู่รุ่นลูกหลายต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมชี้แจงโครงการ
    -สร้างความเข้าใจแก่คณะทำงานเกี่ยวกับโครงการ -ออกแบบสอบถาม เรื่อง ประวัติศาสตร์ชุมชน -วางแผนงานในการลงพื้นที่เพื่อสอบถามข้อมูลประวัติศาสตร์ในชุมชน -แบ่งทีมรับผิดชอบของคณะทำงานในการลงพื้นที่เพื่อสอบถาม สัมภาษณ์ข้อมูลประวัติศาสตร์ในชุมชน)
  • ประชุมสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมสรุปผลการดำเนินงานในเวทีคืนข้อมูลซึ่งมีเยาวชนเข้าร่วมและให้ความร่วมมือในการทำงานเป็นอย่างดี เยาวชนกล้าแสดงออก พวกเราในฐานะทีมทำให้เมื่อเห็นศักยภาพของเยาวชนในพื้นที่แล้วก็เป็นโจทย์สำคัญในการขับเคลื่อนงานโดยกิจกรรมต่อไป ก็ต้องฝึกอบรมยาวชนเหล่านี้ให้สามารถเป็นแกนนำในการถ่ายถอดศิลปะวัฒนธรรมของพื้นที่ คือลิเกบกซึ่งวันที่วางแผนไว้ก็ประมาณวันที่ 24-25 ม.ค. 58 แต่คิดว่าคงไม่ทันเนื่องจากช่วงนี้มีงานเข้ามามากทำให้ไม่ว่างในการจัดกิจกรรมเลยน่ายกไปทำกิจกรรมในเดือน ก.พ.แทนซึ่งงวันเวลาค่อยหารือกันอีกครั้งเพราะพวกเราก็เป็นคนในพื้นที่ที่สามารถสื่อสารกันได้ง่ายและก็จะมีการประชุมคณะทำงานครั้งถัดไปเราก็คิดว่าจะไปชุมกันต้นเดือน ก.พ. แทนแล้วจะหารือกันเรื่องจัดเวทีนี้ด้วยว่าต้องอะไร ที่ไหน อย่างไร

 

20 18

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 36 17                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 179,700.00 55,006.00                  
คุณภาพกิจกรรม 68 48                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ตรวจสอบการเงิน ( 31 ม.ค. 2558 )
  2. ตรวจสอบการบันทึกข้อมูลกิจกรรม ( 2 ก.พ. 2558 )
  3. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 8 เพื่อเตรียมเวทีสร้างแกนนำเยาวชนจิตอาสาปลูกป่าทดแทน ( 10 มี.ค. 2558 )
  4. เวทีสร้างแกนนำเยาวชนจิตอาสาเรียนรู้ปลูกป่าทดแทน เพื่อให้เยาวชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน และเสริมให้ระบบนิเวศในหมู่บ้านมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ( 16 มี.ค. 2558 )
  5. ตรวจสอบการบันทึกข้อมูลกิจกรรม ( 20 มี.ค. 2558 )
  6. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 9 เพือสรุปผลการอบรมเยาวชน และวางแผนการฝึกอบรมการทำขนมลูกโหรย ( 10 พ.ค. 2558 )
  7. ฝึกอบรมการทำขนมลูกโหรยและศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อส่งเสริมการใช้พืชท้องถิ่นในการทำขนมและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของแม่บ้านกับเยาวชนในชุมชน และนำข้อมูลมาถ่ายทอดต่อไป ( 16 พ.ค. 2558 - 17 พ.ค. 2558 )
  8. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 10 เพื่อสรุปผลการอบรมการทำขนมลูกโหรย และเตรียมการกิจกรรมอบรมลิเกบก ( 17 มิ.ย. 2558 )
  9. เวทีฝึกอบรมเยาวชนในการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ลิเกบก เพื่อส่งเสริมกลุ่มเยาวชนให้เกิดการรวมกลุ่มและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ( 24 มิ.ย. 2558 - 25 มิ.ย. 2558 )
  10. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 11 เพื่อสรุปผลการสร้างแกนนำจิตอาสาในการปลูกป่าทดแทน และวางแผนเตรียมเวทีนโยบายสาธารณะ ( 25 ก.ค. 2558 )
  11. เวทีสรุปถอดบทเรียนโครงการ เพื่อทบทวนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ และวางแผนการดำเนินงานโครงการในอนาคต ( 5 ส.ค. 2558 )
  12. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 12 เพื่อเตรียมงานถอดบทเรียน ( 10 ส.ค. 2558 )
  13. ถอดเงินคืนเปิดบัญชีธนาคาร ( 14 ส.ค. 2558 )

(................................)
นางสาว ไมมู่น๊ะ หลีหาด
ผู้รับผิดชอบโครงการ