แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน หมู่ 18 บ้านโคกพยอม

ชุมชน บ้านโคกพยอม หมู่ที่ 18 ตำบล ละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

รหัสโครงการ 57-01455 เลขที่ข้อตกลง 57-00-1452

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 สิงหาคม 2557 ถึง 15 กันยายน 2558

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน มกราคม 2558 ถึงเดือน กันยายน 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 16 มกราคม 2558 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อการบริหารและการติดตามผลการประเมินโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้จัดทำรายละเอียด แผนงานกิจกรรม และปฎิทินการปฎิบัติงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ปฐมนิเทศโครงการ
  2. กิจกรรมส่งเสริมติดตามการดำเนินโครงการ
  3. กิจกรรมจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และการล้างอัดขยายภาพ
  4. กิจกรรจัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

เข้าร่วมประชุมและรับฟังการบรรยายจากวิทยากรเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการ การจัดทำรายละเอียดโครงการ การทำปฎิทินโครงการโดยได้มีการลงมือปฏิบัติจริง ในการลงข้อมูลเพื่อให้เรียบร้อบและได้รับคำแนะนำจากพี่เลี้ยงเพื่อให้เข้าใจการลงข้อมูลเมื่อกลับมาทำงานในพื้นที่จริง

 

2 2

2. ตรวจสอบการเงิน

วันที่ 31 มกราคม 2558 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อตรวจสอบการเงินของการทำกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • การเงินของโครงการมีความถูกต้องมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตรวจสอบการเงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการนำเอกสารการเงินมาตรวจสอบความถูกต้อง

 

2 2

3. ตรวจสอบการบันทึกข้อมูลกิจกรรม

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อตรวจสอบการบันทึกข้อมูลกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ข้อมูลกิจกกรมที่ครบถ้วนสมบูรณ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตรวจสอบการบันทึกข้อมูลกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการมาตรวจสอบเอกสารข้อมูลกิจกรรม เพื่อความครบถ้วนสมบูรณ์

 

2 2

4. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 8 เพื่อเตรียมเวทีสร้างแกนนำเยาวชนจิตอาสาปลูกป่าทดแทน

วันที่ 10 มีนาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างแกนนำเยาวชนจิตอาสา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ประชุมเตรียมเพื่อแบ่งงานที่ทุกคนจะได้รับผิดชอบในกิจกรรม สร้างแกนนำเยาวชน จิตอาสาเรียนร ุ้ปลูกป่าทดแทน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมชี้แจงโครงการ
    -สร้างความเข้าใจแก่คณะทำงานเกี่ยวกับโครงการ -ออกแบบสอบถาม เรื่อง ประวัติศาสตร์ชุมชน -วางแผนงานในการลงพื้นที่เพื่อสอบถามข้อมูลประวัติศาสตร์ในชุมชน -แบ่งทีมรับผิดชอบของคณะทำงานในการลงพื้นที่เพื่อสอบถาม สัมภาษณ์ข้อมูลประวัติศาสตร์ในชุมชน)
  • ประชุมสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุมเวลา 12.00 น. โดย นางสาว ไมมู่น๊ะ หลีหาด (ผู้รับผิดชอบโครงการ) กล่าวเปิดการประชุมทักทายผู้เข้าร่วมประชุมได้หารือกับผู้เข้าร่วมประชุมว่า ครั้งต่อไปเป็นกิจกรรมเวทีฝึกอบรมเยาวชนในการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ลิเกบก แต่เนื่องจากในวันที่ 16 มีนาคม ได้มีการจัดกิจรรมการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายเลน ซึ่งเป็นงานของทางชุมชน และเชิญท่านผู้ว่าราชการจังหวัด และศิลปินนักร้อง มาร่วมด้วย ดังนั้นจึงขอมติที่ประชุมว่าเราจะจัดกิจกรรมสร้างแกนนำจิตอาสาปลูกป่าทดแทน เพื่อให้เยาวชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน เพื่อให้ระบบนิเวศมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น นางสาวไมมู่น๊ะได้แบ่งบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบในวันที่ 16 มีนาคม โดยนางเจ๊ะสู นางอรวรรณ รับผิดชอบในเรื่องการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ นายกอด นายเหตุ ดูแลเรื่องพันธุ์ไม้ นายบาเหรน นายบอหนี ดูแลเรื่องสถานที่ นางอำชะ นางฮาลีม๊ะ รับผิดชอบเรื่องอาหาร นางซีดะ นางออหนี นางเจ๊ะสารีหนา รับผิดชอบการต้อนรับ นางสาวไมมู่น๊ะ พูดว่าทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันเพื่อให้กิจกรรมครั้งนี้ผ่านไปด้วยดี

 

20 18

5. เวทีสร้างแกนนำเยาวชนจิตอาสาเรียนรู้ปลูกป่าทดแทน เพื่อให้เยาวชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน และเสริมให้ระบบนิเวศในหมู่บ้านมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

วันที่ 16 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสร้างแกนนำเยาวชนให้มีจิตอาสา - เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องป่าชายเลน
  • คนในชุมชนรู้คุณค่าของป่าชายเลน
  • คนในชุมชนมีแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์
  • ปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลน
  • เยาวชนได้รับรู้เรื่องประวัติศาสตร์ของชุมชน
  • เยาวชนรู้เรื่องภูมิปัญญาท่องถิ่น(ลูกโร้ย)
  • เกิดความสามัคคี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมเตรียม กำหนด วัน เวลา สถานที่
  • อบรมปลูกจิตสำนึกแกนนำจิตอาสา
  • จัดทำป้ายรณรงค์การอนุรักษ์ป่าชายเลน
  • ทำกิจกรรมปลูกป่าทดแทน
  • สรุปการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09. 00น. คณะทำงานได้มารวมตัวกันที่บริเวณจัดกิจกรรมบริเวณกลุ่มเลี้ยงปูนิ่มผู้สูงอายุบ้านโคกพะยอมมีการจัดเตรียมอาหารไว้สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมหลังจากนั้นก็ได้มีเยาวชนนักเรียน และ ชาวบ้านได้เดินทางมาลงทะเบียนเรื่อยๆจนถึงเวลา10.00น.ทุกคนที่มาได้ลงทะเบียนกันหมดแล้วและได้จัดการอบรมเยาวชนเพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชน ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลนและการอนุรักษ์ขยายพันธุ์ปูดำท่านวิทยากรนายเผด็จโต๊ะปลัดกรรมการป่าชายเลนชุมชนบ้านโคกพะยอมได้กล่าวเปิดการฝึกอบรมเยาวชนและได้เล่าประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านว่าสมัยก่อนเขามีความเป็นอยู่อย่างไรความยากจนของคนสมัยก่อนได้เล่าถึงประวัติสมัยสงครามโลกครั้งที่2ว่าตอนสมัยสงครามโลกครั้งที่2 เขาไม่มีอะไรจะกินเขาคิดว่าลองเอาลูกโร้ยที่มีอยู่ในป่าชายเลนมาลองต้มแล ว่ากินได้หรือไม่เพราะมันขมมากเขาเลยหาวิธีการนำลูกโร้ยมาขูดก่อนแล้วต้มพลัดน้ำสามน้ำน้ำสุดท้ายใช้น้ำขี้เถ้าพอใส่น้ำขี้เถ้าความขมก็หายหมดและหอมด้วยเขาเลยนำลูกโร้ยมาเป็นอาหารพอประทังชีวิตของเขาได้ และวิทยากรก็ได้พุดถึงการอนุรักษ์ป่าชายเลนว่าพวกเราต้องเห็นความสำคัญของป่าชายเลนเพราะป่าชายเลนเป็นเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำของพวกเราเป็นแหล่งที่ทำมาหากินของพวกเราทุกคนถ้าเรามีป่าชายเลนที่สมบูรณ์ทรัพยากรที่อยู่ในป่าชายเลนไม่ว่ากุ้ง หอย ปู ปลาทุกอย่างก็อุดมสมบูรณ์ด้วย และวิทยากรได้ถามในเวทีว่าพวกเราควรอนุรักษ์ป่าชายเลนหรือไม่ ด. ญ.สานิยาพูดว่าเราควรอนุรักษ์เพราะต่อไปถ้าเราทำลายป่าหมดมันจะทำให้เกิดภาวะโลกร้อนท่านวิทยากรได้พูดถึงการอนุรักษ์ป่าว่าทุกคนควรเห็นความสำคัญของป่า เราไม่ควรตัดไม้ทำลายป่าถ้ามีการตัดไม้เราควรปลูกทดแทนถ้าไม่มีป่าไม้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนจะไม่มีที่อยู่อาศัย แต่ถ้าหากป่าชายเลนอุดมสมบูรณ์สัตว์ต่างๆจะเจริญเติบโตและเป็นแหล่งอาหารทำให้เกิดอาชีพเกิดรายได้ของคนในชุมชนฉะนั้นพวกเราทุกคนจึงควรเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ ลำคลองเพราะเป็นแหล่งทำมาหากินของพวกเราทุกคน เวลา 14.00 น.ทุกคนได้มาพร้อมกันเพื่อทำกิจกรรม ทางชุมชนได้เชิญท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลร่วมด้วยคณะศิลปินพร้อมผู้บริหารบริษัทโอสถสภาร่วมกันปลูกป่าและปล่อยพันธุ์ปูดำในป่าชายเลน เพื่ออนุรักษ์และขยายพันธุ์ปูดำ หลังจากนั้นท่านผู้ว่าราชการจังหวัดได้เยี่ยมชมกลุ่มผุ้สูงอายุเลี้ยงปูนิ่มบ้านโคกพะยอม ที่มีการบริหารจัดการในเรื่องของการจัดสวัสดิการของกลุ่ม หลังจากนั้นทางชุมชนได้กล่าวขอบคุณและขอให้ทุกคนเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

 

40 52

6. ตรวจสอบการบันทึกข้อมูลกิจกรรม

วันที่ 20 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อตรวจสอบการบันทึกข้อมูลกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้เอกสารที่ครบถ้วนสมบูรณ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตรวจสอบการบันทึกข้อมูลกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการ นำเอกสารเกี่ยวกับกิจกรรมมาตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์

 

2 2

7. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 9 เพือสรุปผลการอบรมเยาวชน และวางแผนการฝึกอบรมการทำขนมลูกโหรย

วันที่ 10 พฤษภาคม 2558 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพือสรุปผลการอบรมเยาวชน และวางแผนการฝึกอบรมการทำขนมลูกโหรย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีการวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมในครั้งต่อไป
  • คณะทำงานได้ทบทวนกิจกรรมสร้างแกนนำจิตอาสาปลูกป่าทดแทน
  • ได้นัดเวลาทำกิจกรรมฝึกอบรมการทำขนมลูกโร้ยในครั้งต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 9 เพือสรุปผลการอบรมเยาวชน และวางแผนการฝึกอบรมการทำขนมลูกโหรย

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุมเวลา 10.00 น. โดยนางสาวไมมู่น๊ะ หลีหาด ( ผู้รับผิดชอบโครงการ ) ได้เชิญนายพิเชษฐ์ พี่เลี้ยง ส.ก.ว. มาเข้าร่วมประชุม นางสาวไมมู่น๊ะ ได้กล่าวเปิดประชุมพูดคุยกับคณะทำงานที่มาเข้าร่วมประชุมเรื่องการทำกิจกรรมครั้งที่ผ่านมาคือการปลุกป่าชายเลน ว่าคณะทำงานแต่ละคนได้ทำอะไรไปบ้าง เพื่อสรุปการทำงานให้คณะทำงานได้รับทราบ นางเจะสุพุดว่า การปลูกป่าชายเลนเป็นกิจกรรมที่ดีเพราะอย่างน้อยเราได้สร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชน ลูกๆหลานๆของเราหู้จักการนุรักษ์พันธุ์ปูดำ นางอรวรรณพูดว่า วันที่เราปลูกป่าเราได้บอกกับเยาวชนในเรื่องของการปลูกพันธุ์ไม้โหรยและได้ทราบประวัติความเป็นมาของและปะโยชน์ของต้นโหรย และนางไมมุ่น๊ะพูดว่ากิจกรรมครั้งต่อไปเป็นกิจกรรมฝึกบรมการทำขนมลูกโหรย เป้าหมายในการฝึกบรมคือกลุ่มเยาวชนและกลุ่มแม่บ้าน เป็นการอบรมเรื่องการทำขนมลูกโหรย ศึกษาข้มูลของลูกโหรย นายพิเชษฐ์พูดว่าเยาวชนต้องเป็นเด็กในโรงเรียนหรือนอกโรงเรียนก็ได้ จากนั้นก็ให้คณะทำงานนัดวันเพื่อที่จะจัดเวทีในการฝึกบรม นางไมมู่น๊ะพูดว่า จะต้องจัดเวทีหัตรงกับวันหยุด ทุกคนเห็นด้วยในวันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม 2558 ให้พร้อมกันที่ศูนย์เรียนรู้บ้านหัวหินเวลา 09.00 น. เป็นต้นไป

 

20 18

8. ฝึกอบรมการทำขนมลูกโหรยและศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อส่งเสริมการใช้พืชท้องถิ่นในการทำขนมและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของแม่บ้านกับเยาวชนในชุมชน และนำข้อมูลมาถ่ายทอดต่อไป

วันที่ 16 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อส่งเสริมการใช้พืชท้องถิ่นในการทำขนม - เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างแม่บ้านกับเยาวชน - เพื่อข้อมูลจากแหล่งข้อมูลมาถ่ายทอด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เยาวชนและกลุ่มแม่บ้านสามารถแปรรูปอาหารจากลูกโหรยได้
  • เยาวชนมีความรู้เรื่องลูกโหรย
  • ได้การมีส่วนร่วมระหว่างเยาวชนกับแม่บ้าน
  • ได้นำพืชท้องถิ่นมาทำขนม และทุกคนได้รู้จักต้นโร้ย และได้ลงพื้นที่ในป่าชายเลนเพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้
  • ได้รุ้จักวิธีการหรือกระบวนการที่นำลูกโร้ยมาแปรรูปเป็นอาหารหรือขนม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-ประสานคณะทำงาน กำหนดวันเวลา ในการฝึกอบรม -ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ -สรุปการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00 น. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินทางมาถึงจุดนัดหมายพร้อมกับลงทะเบียนที่ศูนย์เรียนรู้บ้านหัวหิน ซึ่งทุกคนได้นัดหมายกันในวันประชุม คณะทำงาน เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2558 เมื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียนเสร็จแล้ว คุณพิเชษฐ์ เบญมาศ เริ่มกล่าวทักทายผู้เข้าร่วมกิจกรรม และในเวทีนายเผด็จ โต๊ะปลัด ได้เชิญ อ.สุนทร แก้วสม อาจารย์จากวิทยาลัยชุมชนสตูลมาเป็นวิทยากรในการแปรรูปขมลูกโหรยซึ่งในการจัดกิจกรรมในวันแรกเป็นการทำความรู้จักต้นลูกโหรย และได้ลงพื้นที่ในป่าชายเลนเพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้ในครั้งนี้มีกลุ่มคณะทำงานซึ่งได้นำเยาวชนและอธิบายความสำคัญของต้นโหรยว่ามีประโยชน์อย่างไร

  1. ลำต้นใช้สร้างบ้าน สร้างคอกเลี้ยงสัตว์ และนำมาเผาถ่าน
  2. ฝัก นำมาประกอบอาหาร
  3. เปลือกของฝักที่ขูดออก นำมาเป็นยาสมานแผล

สีของลูกโหรยมี 3 สี

  1. สีเขียว ฝักอ่อน
  2. สีน้ำตาลอมเขียว
  3. สีน้ำตาล

สีของฝักลุกโหรยที่สามารถนำมาประกอบอาหารคือสีน้ำตาล ทุกคนที่ลงพื้นที่ในป่าชายเลน มีความสนใจที่จะเรียนรู้เพราะแม่บ้านบางคนเขาบอกว่าไม่เคยเห็นต้นโหรยและทุกคนก็ได้ช่วยกันเก็บฝักลูกโหรยมาเพื่อที่จะแปรรูปเป็นอาหาร ในช่วงบ่าบของวันที่ 16 ทุกคนก้ได้นลูกโหรยมาขูดเพื่อจะนำไปต้มถ้าไม่ขูดออกความขมจะไม่หายไปเพราะฝักลุกโหรยมีความขมมาก จากนั้นก็นำฝักลูกโหรยมาขูดแล้วแช่น้ำก่นที่จะต้ม เมื่อขูดเสร็จก็นำลูกโหรยมาต้ม ต้มทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีแล้วเทน้ำทิ้ง ทำซ้ำกัน 3 ครั้ง น้ำครั้งที่ 3 ผสมน้ำขี้เถ้า เพื่อตัดความขมของลูกโหรยให้หายไป อ.สุรทร แก้วสม ได้ให้เราคิดหาวิธีลองต้มลูกโหรยโดยไม่ขูดได้หรืไม่เราก็ทดลองทำจากการทดลองไม่ขูดเปลือกออกแต่นำลูกโหรยมาต้มน้ำเกลือปรากฏว่ามันยังขม อ.สุนทร แก้วสม ได้ทดลงนำลูกโหรยมาขูดแล้วต้มน้ำเกลือโดยไม่ต้งใช้น้ำขี้เถ้าเพราะน้ำขี้เถ้าจะทำให้ลูกโหรยมีความเหนียว เพราะคิดว่าพวกเราจะนำมาแปรรูปเป็นแป้งลูกโหรยได้ในช่วงเช้าของวันที่ 17 พฤษภาคม 2558 ทุกคนด้มาพร้อมกันที่กลุ่มทำขนมกลุ่มแม่บ้านโกพยอม เพื่อจะมาแบ่งกลุ่มในการทำขนม สมาชิกแบ่งกลุ่มได้ 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ทำขนมลูกโหรยชุบแป้งทอด กลุ่มที่ 2 ทำขนมนมสาว กลุ่มที 3 ทำข้าวเกรียบ

ในแต่ละกลุ่มมีทั้งแม่บ้านและเยาวชนรวมกัน และแต่ละกลุ่มก็มีพี่เลี้ยงช่วยในการฝึกแปรรูป สอนให้เยาวชนได้เรียนรู้การทขนม ทุกคนมีความตั้งใจที่จะศึกษาการแปรรูปลูกโหรย

 

60 55

9. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 10 เพื่อสรุปผลการอบรมการทำขนมลูกโหรย และเตรียมการกิจกรรมอบรมลิเกบก

วันที่ 15 มิถุนายน 2558 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสรุปกิจกรรมการแปรรูปขนมลูกโหรย
  • เพื่อเตรียมงานการจัดฝึกอบรมลิเกบก

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีการวางแผนการทำงานในกิจกรรมการบรมลิเกบก
  • ได้ชี้แจงถึงกิจกรรมที่ผ่านมาในเรื่องของลูกโร้ย
  • คณะทำงานได้รู้วัตถุประสงค์ในการอบรมเยาวชนในการฝึกอบรมลิเกบก
  • ได้นัดวันเวลาในการกิจกรรมในเรื่องของการฝึกอบรมลิเกบก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • คณะทำงานมาพร้มกัน ณ.จุดนัดหมาย
  • ประชุมสรุปการทำกิจกรรมการฝึกอบรมการแปรรูปขนม
  • ประชุมเตรียมงานการจัดฝึกอบรมการแสดงลิเกบก

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มการประชุมเวลา 10.00 น. โดยนางไมมู่น๊ะ  หลีหาด (ผู้เสนอโครงการ) กล่าวเปิดประชุม ในกิจกรรมประชุมครั้งนี้ได้เชิญผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกพยอมและคุณครูอีหนึ่งท่านเข้าร่วมประชุมด้วย นางสาวไมมู่น๊ะได้กล่าวต้อนรับ ครูและคณะทำงานได้ชี้แจงถึงกิจกรรมที่ทำมาแล้ว ทั้งหมดและมีกิจกรรมครั้งต่อไปเป็นกิจกรรม “การฝึกอบรมเยาวชนในการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านลิเกบก” วัตถุประสงค์ในการอบรมครั้งนี้เพื่อให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และเพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเยาวชนเกิดการรวมกลุ่มและสร้างความสามัคคี ครูไพริน: เป้าหมายในการทำกิจกรรมครั้งนี้มีกี่คนคะ ไมมู่น๊ะ : 40 คนคะ ทั้งเยาวชนและคนในชุมชนแต่จะเน้นเยาวชนเป็นหลัก พิเชษฐ์ : เราควรนำเยาวชนทั้งในและนกโงเรียนมาฝึกให้เกิดการเรียนรู้พร้อมกัน แล้วเราจะเอาวิทยากรจากไหนครับ เผด็จ : เราควรเชิญครูภูมิปัญญาดั้งเดิมในเรื่องของลิเกบกโดยเฉพาะ ครูท่านนั้นคือ นายวาหลาดที่สามารถถ่ายทดการเล่นลิเกบกแบบดั้งเดิมได้ ครูไพริน : ในเรื่องของประวัติความเป็นมาเราจะเข้ามาช่วยด้วย เผด็จ : เราต้องเชิญวัฒนธรรมจังหวัดมาช่วยในเรื่องเครี่องดนตรี พิเชษฐ์ : แล้วใครจะเป็นคนประสานหน่วยงานครับ เผด็จ : ผมจะรับผิดชอบในส่วนนี้เองครับ ไมมู่น๊ะ : รับผิดชอบประสานครูภูมิปัญญา และนัดวันในการทกิจกรรมคือวันที่ 24-25 มิถุนายน 58 ซึ่งในวันที่ 24 มิถุนายน 58 จะเป็นการเรียนรู้ในเรื่องขงประวัติความเป็นมา เครื่องดนตรี นักแสดง และในวันที่ 25 มิถุนายน 58 จะเป็นการฝึกในเรื่องของการแสดง การเต้น หรือท่าทางในกาแสดง สถานที่คือโรงเรียนบ้านโคกพะยอม กิจกรรมจะเริ่มตั้งแต่ 09.30 น. – 15.00 น. เพราะเป็นช่วงเดือนรอมฎอน ใครมีอะไรสงสัยหรืจะแจ้งในที่ประชุมบ้าง พิเชษฐ์ : แล้วเรื่องการทำลูกโหรยครั้งที่แล้วเป็นย่างไรบ้างครับ อรวรรณ : ได้ทดลองไปแล้วในเรื่องของการต้มลุกโหรยกับสารส้มและต้มกับเกลือ การต้มกับเกลือเนื้อลูกโหรยจะเปื่อยกว่า หากต้มกับสารส้มเนื้อจะเหนียว ไมมู่น๊ะ : หลังจากเดือนรอมฎอน จะมีการฝึกสอนทำขนมพื้นบ้านโดยมีอาจารย์จากวิทยาลัยชุมชนสตูลมาสอน หลังจากนั้นก็ปิดการประชุม เวลา 12.30 น. ทุกคนรับประทานาหารพร้อมกัน

 

20 20

10. เวทีฝึกอบรมเยาวชนในการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ลิเกบก เพื่อส่งเสริมกลุ่มเยาวชนให้เกิดการรวมกลุ่มและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

วันที่ 24 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อส่งเสริมกลุ่มเยาวชนให้เกิดการรวมกลุ่มและสามัคคี
  • เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เยาวชนเกิดการรวมกลุ่มและสามัคคีเพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  • เยาวชนสามารถรับรู้ถึงประวัติความเป็นมา เครื่องดนตรีของการละเล่นลิเกบก
  • เยาชนสามารถ ทำท่าเต้นหรือขับกลอนในการแสดงลิเกบกได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมเตรียม กำหนด วัน เวลา สถานที่
  • ทำตามแผนงานที่กำหนดไว้
  • สรุปการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา  10.00 น. ของวันที่  24  มิถุนายน 2558  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและคณะนักเรียนได้เดินทางมาถึงที่ชมรมชาวประมงพื้นบ้านที่ได้นัดหมายกัน เพื่อทำกิจกรรม ซึ่งในวันที่ 24 มิถุนายน  2558 จะเป็นการเล่าประวัติความเป็นมาของลิเกบก  และทำความรู้จักกับเครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดง และได้มีครูภูมิปัญญาเข้ามาร่วมเป็นวิทยากรในการเล่าประวัติการแสดงลิเกบก  การแสดงลิเกบก  ก่อนที่จะแสดงต้องมีการโหมโรงหรือการขับนำก่อนการแสดง คล้ายๆกับการไหว้ครู  ลิเกบกหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ลิเกป่า เป็นศิลปะการแสดงพื้นเมืองที่นิยมเล่นกัน แถบจังหวัด ตรัง  กระบี่  พังงา  และ สตูล ( เขตอำเภอละงูและทุ่งหว้า )
ความเป็นมาของการแสดงลิเกบกมีมานานเท่าไร  ไม่ปรากฏ  สันนิษฐานว่า มีต้นกำเนิดที่จังหวัดตรัง หรือ กระบี่

ประวัติความเป็นมาของลิเกบก ลิเกบกหรือลิเกป่า เป็นศิลปะการแสดงพื้นเมืองที่นิยมเล่นกันแถขจังหวัด ตรัง กระบี่  พังงา และสตูล ( เขตอำเภอละงูและทุ่งหว้า )
ความเป็นมาของการแสดงลิเกบกมีมานานเท่าไรไม่ปรากฏ  สันนิษฐานว่า มีต้นกำเนิดที่จังหวัดตรัง หรือ กระบี่ ภายหลังได้แพร่หลายเข้ามาในจังหวัดสตูล โดยรับอิธพลด้านดนตรีและการแต่งกายจากมาลยู  รับอิธิพลการร่ายรำจากมโนราห์  และมีส่วนคล้ายทางภาคกลาง  เพราะมีการออกแขกก่อนการแสดง  การแสดงลิเกบกจึงเป็นการแสดงแบบประสมประสาน เวทีการแสดงทำอย่างง่าย  ยกเสาขึ้น  6 หรือ 9 เสา หลังคาเป็นเพิงหมาแหงนมุงด้วยใบมะพร้าว มีม่านกันกลาง  ปูเสื่อ ตัวเทศและเสนาแต่งกายแบบคนอินเดียนุ่งกางเกง หรือบางครั้งนุ่งผ้าถุง  สวมเสื้อแขนยาวมีผ้าพาดบ่า สวมหมวกแขก มีหนวดเครารุงรัง  ส่วนยาหยีแต่งแบบมุสลิม คือ นุ่งผ้าปาเต๊ะ สวมเสื้อแขนยาว เรียกว่าเสื้อบาหยา มีผ้าโปร่งคลุมศีรษะ  เสนามักแต่งให้ตลกขบขัน  บางครั้งไม่สวมเสื้อ  ผู้แสดงชุดนี้  เมื่อแสดงเรื่องใหม่ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายใหม่เพื่อให้เข้ากับบทบาทของเรื่องที่จะแสดงต่อไป ดนตรีที่ใช้ มี รำมะนา 1 คู่ ฆ้อง ซอ และ ปี่ ผู้แสดงมีประมาณ 10 – 14 คน ( รวมนักดนตรี ) โอกาสที่แสดง เช่น  งานแต่งงาน  งานแก้บนงานศพและงานฉลองต่างๆ

 

40 40

11. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 11 เพื่อสรุปผลการสร้างแกนนำจิตอาสาในการปลูกป่าทดแทน และวางแผนเตรียมเวทีนโยบายสาธารณะ

วันที่ 25 กรกฎาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อทำความเข้าใจถึงกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา
  • เพื่อให้คณะทำงานมีความพร้อมในการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ทุกคนได้รับรู้ รับทราบในเรื่องของการฝึกอบรมลิเกบกที่ผ่านมา
  • ได้นัด วัน เวลา ในการทำเวทีสรุปถอดบทเรียนในครั้งต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมชี้แจงโครงการ
    -สร้างความเข้าใจแก่คณะทำงานเกี่ยวกับโครงการ -ออกแบบสอบถาม เรื่อง ประวัติศาสตร์ชุมชน -วางแผนงานในการลงพื้นที่เพื่อสอบถามข้อมูลประวัติศาสตร์ในชุมชน -แบ่งทีมรับผิดชอบของคณะทำงานในการลงพื้นที่เพื่อสอบถาม สัมภาษณ์ข้อมูลประวัติศาสตร์ในชุมชน)
  • ประชุมสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุมเวลา  13.00  น. โดยนาง ไมมู่น๊ะ หลีหาด (  ผู้รับผิดชอบโครงการ ) กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมประชุม และได้ถามพวกเราคณะทำงานที่เข้าร่วมประชุมว่า  ในการฝึกอบรมลิเกบก พวกเราได้เห็นอะไรบ้างในเวที  และเราได้อะไรบ้างจากเวทีที่ผ่านมา นาง สารีหนา พูดว่า เราได้ทราบเรื่องความเป็นมาของลิเกบก  รู้จักเครื่องดนตรีต่างๆ  ออนี  พูดว่า ได้เห็นการแสดงโหมโรงก่อนการแสดงด้วย  และนาง ไมมู่น๊ะ ได้นัดคณะทุกคนในที่ประชุมว่า  เวทีต่อไปเป็นเวทีสรุปถอดบทเรียน  ซึ่งจะพบกับในวันที่  5 สิงหาคม  2558 ให้ทุกคนมาพร้อมกันที่ ศูนย์สามวัยสายใยรัก  บ้านโคกพยอม นาง ไมมู่น๊ะ ถามว่า ใครมีอะไรสงสัยบ้าง ทุกคนบอกว่า ไม่มี
ปิดประชุมเวลา  15.00 น.

 

20 20

12. เวทีสรุปถอดบทเรียนโครงการ เพื่อทบทวนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ และวางแผนการดำเนินงานโครงการในอนาคต

วันที่ 5 สิงหาคม 2558 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อทบทวนกิจกรรมทั้งหมด - เพื่อสรปผลการดำเนินงานโครงการ - เพิื่อวางแผนการดำเนินโครงการในอนาคต

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เกิดการทบทวนสรุปผลการดำเนินงานของโครงการที่ผ่านมา
  • เกิดการรวมกลุ่ม เกิดความรัก ความสามัคคี
  • ได้รู้จักใช้ภูมิปัญญญาท้องถิ่น(ลูกโร้ย,ลิเกบก)
  • เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
  • เกิดสภาผู้นำ
  • เกิดศูนย์กลางการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน คือ มัสยิด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประสานงานคณะทำงาน
  • ประชุมสรุปถอดบทเรียน
  • สรุปการดำเนินงานและจัดทำรายงานโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา  9.30  น. ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทยอยเดินทางกันมา ณ  ศูนย์เรียนรู้บ้านหัวหิน  และได้ลงทะเบียน จนถึงเวลา  10.00 น. ผู้เข้าร่วมประชุมได้พูดคุย ทักทาย และในการประชุมได้มี  วิทยากร ส.ด.จ. มาร่วมเป็นวิทยากรด้วย โดย คุณ  พิเชษฐ์  เบญจมาศ ได้เริ่มกล่าวทักทายผู้เข้าร่วมประชุม  และได้บอกว่า  การจัดเวทีสรุปบทเรียนในวันนี้ เราคุย หรือ (จังกาพย์) แบบเป็นกันเอง ทุกคนไม่ต้องเครียด นาง ไมมู่นะ หลีหาด (ผู้รับผิดชอบโครงการ)ได้เล่าในที่ประชุม เรื่อง การทำกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งหมด ของโครงการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ให้ทุกคนได้เล่า หรือ บอก ในที่ประชุมว่า ตั้งแต่ ที่เราทำโครงการนี้มาเราได้อะไรบ้าง  และทุกคนคิดอย่างไรกับโครงการนี้ เพื่อเราจะได้สรุปทำเป็นรายงานหรือรูปเล่ม และให้ทุกคนทบทวน ในการที่ทำทำกิจกรรมที่ผ่านมา นาง อรวรรณ  ขุนรายา ได้เล่าว่า  จากการที่เราทำกิจกรรมมา เราได้รู้ อะไรหลายๆเรื่อง  เช่น เราได้รู้ประวัติศาสตร์ของโคกพยอม  ได้ร้เรื่องการทำการท่องเที่ยว รู้เรื่องภูมิปัญญาต่างๆในหมู่บ้าน  เช่น เรื่องรองแง็ง  หมอนวดเส้น การทำเสื่อ หมอไสยศาสตร์ การทำขวัญข้าว ลิเกบก
นาง  เจ๊ะสู พูดว่า สิ่งที่สำคัญที่เราได้ คือ การรวมกลุ่ม  ความสามัคคี และจากกิจกรรมที่ทำมาแล้ว พวกเราสามารถมีรายได้จาก  การทำขนมลูกโร้ย การแสดงลิเกบก ทำให้ทุกคนรู้สึกภูมิใจ และดีใจมากๆ ที่เราสามารถทำสื่งเหล่านี้ ให้เกิดประโยชน์และมีรายได้ นาง  เจ๊ะสารีหนา  กาสเส็น พูดว่า การทำกิจกรรมที่ผ่านมา ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนมากเป็นผู้หญิง กับ เยาวชน นาย พิเชษฐ์  เบญจมาศ ได้ถามว่า ผู้หญิงมีบทบาทพรือกับการพัฒนาบ้านตีหงี นาย  เผด็จ โต๊ะปลัด เล่าว่า ผู้หญิงมีบทบาทมากในการพัฒนาบ้านโคกพะยอม ไม่ว่าเรื่อง การจัดการปัญหาในพื้นที่ร่วมกับผู้ชาย โดยเริ่มจากการรวมตัว การจัดการปัญหาทรัพยากรในพื้นที่ การแยกหมู่บ้าน  หลังจากนั้น ก็ได้ขยายมาเป็นกลุ่มออมทรัพย์จากแกนนำเพียงไม่กี่คน ต่อมาก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เป็นกลุ่มแม่บ้าน และได้รวมตัวกันเพื่อดำเนินการพัฒนางานในพื้นที่  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ เกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้เสริม  หลังจากนั้นก็ได้เกิดกลุ่ม หลายๆกลุ่ม เช่น กลุ่มแม่บ้านขนมพื้นเมือง กลุ่มแม่บ้านยางแผ่น กลุ่มข้าวซ้อมมือ กลุ่มสายใยรัก นอกจากนี้ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ยังมีการรวมกลุ่มทำปลาเค็ม  เพาะเห็ด  เลี้ยงเป็ด กลุ่มเลี้ยงปูนิ่ม กลุ่ม อสม. วิทยากรกลุ่มผู้หญิงบ้านโคกพะยอมเป็นอย่างไรบ้าง ในการจัดการงานและชุมชน
“ก่อนทุกคนจะพูดว่า ที่ผ่านมา กลุ่มผู้หญิงไม่เคยมีความขัดแย้ง  ทุกคนรวมตัวทำงาน เห็นได้ชัดจาการเพิ่มขึ้นของกลุ่มแม่บ้านที่ตอนแรกมีจำนวน 30 คน  ตอนนี้เพิ่มป็น 70 คน “ วิทยากรถามว่า  ในช่วงที่ผ่านมา  อะไรบ้างที่คิดว่า  แม่บ้านทำสำเร็จ  มีสองเรื่องที่สำเร็จ คือ การทำขนมลูกโร้ย การเลี้ยงปูนิ่ม

 

40 40

13. ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงานครั้งที่ 12 เพื่อเตรียมงานถอดบทเรียน

วันที่ 10 สิงหาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อเตรียมงานถอดบทเรียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เวลานัดหมายในการทำกิจกรรมเวทีสาธารณะเพื่อขับเคลือนประเด็นไปสู่นโยบายสาธารณะชุมชน คือวันที่ 16 สิงหารคม 2558
  • คณะทำงานได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมเวทีสาธารณะเพื่อขับเคลือนประเด็นไปสู่นโยบายสาธารณะชุมชนครั้งต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมชี้คณะทำงาน
  • ชี้แจงราขละเอียดกิจกรรมแก่คณะทำงาน
  • ประชุมคณะทำงาน
  • สรุปการประชุม

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมเวลา  13.00 น. โดยนาง  ไมมู่น๊ะ  หลีหาด (ผู้รับผิดชอบโครงการ) ได้นัดกับผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อที่จะได้พูดคุยกัน ในเรื่องการจัดเวทีต่อไป  ซึ่งเป็นเวทีสาธารณะ  เพื่อขับเคลื่อนประเด็นไปสู่นโยบายสาธารณะของชุมชน  ซึ่งนาง  ไมมู่น๊ะ  หลีหาด ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของเวทีนี้ว่า พวกเราต้องเอางานที่พวกเราทำกันมาแล้วทั้งหมด  มานำเสนอในเวที เพื่อประกาศให้เขารู้ว่า พวกเราได้ทำกันมาแล้วทุกเรื่อง และเพื่อทำข้อตกลงกับภาคีเครือข่ายพัฒนาในพื้นที่ เช่น อ.บ.ต. โรงเรียน  และหน่วยงานรัฐ พวกเราอยากให้เขารู้และรับทราบข้อมูล  และได้กำหนดวัน ในการจัดเวที ซึ่งจะจัดในวันที่ 16 สิงหาคม  2558 และได้แบ่งงานกันรับผิดชอบในแต่ละเรื่อง

 

20 25

14. ถอดเงินคืนเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 14 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อถอนเงินคืนเปิดบัญชี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้คืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เดินทางไปถอนเงินเปิดบัญชีธนาคาร

กิจกรรมที่ทำจริง

เดินทางไปถอนเงินคืนเงินเปิดบัญชีธนาคารจำนวน 500 บาท

 

3 2

15. เวทีนโยบายสาธารณะเพื่อขับเคลื่อนประเด็นไปสู่สาธารณะชุมชน และทำข้อตกลงกับภาคีเครือข่ายพัฒนาในพื้นที่บ้านโคกพยอม

วันที่ 16 สิงหาคม 2558 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อขับเคลื่อนประเด็นไปสู่สาธารณะชุมชน - เพื่อทำข้อตกลงกับภาคีเครือข่ายพัฒนาในพื้นที่บ้านโคกพยอม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้นำเสนอข้อมูลต่างๆให้กับประชาชนหรือหน่วยงานที่เข้าร่วมเวทีได้รับทราบถึงข้อมูลที่ผ่านมาในแต่ละเรื่อง
  • ได้นำเสนอผลงานเรื่องของลูกโร้ยและการแสดงลิเกบก
  • ได้จัดทำหนังสือเป็นรูปเล่ม เพื่อแจกให้กับผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน
  • ได้มีหน่วยงานเข้าร่วมแลกเปลี่ยนและได้เสนอความคิดเห็น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประสานงานคณะทำงาน
  • ประชุมสรุปถอดบทเรียน
  • สรุปการดำเนินงานและจัดทำรายงานโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา  09.30 น. ผู้เข้าร่วมเวที เริ่มทยอยเดินทางกันมาเพื่อจะลงทะเบียน  ซึ่งมีผู้รับผิดชอบในการที่จะลงทะเบียนและมีการเปิดเวทีโดยท่าน  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลละงู  นาย จำรัส ฮ่องสาย เป็นประธานในพิธี ได้กล่าวเปิดงาน เมื่อถึงเวลา  10.00 น. นาง  ไมมู่นะ  หลีหาด (ผู้รับผิดชอบโครงการ) กล่าวตอนรับผู้เข้าร่วม ประชุมทุกท่าน และมีผู้เข้าร่วมประชุม จากพัฒนาชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพละงู พี่เลี้ยง ส.ส.ส. คณะครู ชาวบ้าน นักเรียน  ในงานมีการจัดบูทนิทรรศการ  เรื่องของลูกโร้ย  ลิเกบก  หลังจากท่านนายกกล่าวเปิดงานแล้ว  ก็มีการนำเสนอ ผลงานของเรื่องลูกโร้ย ได้นำเสนอในเรื่องข้อมูล และวิธีทำขนมลูกโร้ยด้วย  ทุกคนในเวทีได้กินขนมลูกโร้ยด้วย และในเรื่องของลิเกบก ก็ได้นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมานำเสนอ  และได้มีการแสดงลิเกบกด้วย  ในเวทีได้มีการแจกหนังสือเป็นรูปเล่ม ซึ่งได้จากเวทีสรุปถอดบทเรียน  และทุกคนก็ได้รับประทานอาหาร มีการเลี้ยงข้าวหมกไก่ด้วย จากนั้นก็ได้มีการพูดคุยระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม เลิกประชุมเวลา  14.30  น.

 

80 80

16. ตรวจสอบการบันทึกข้อมูลกิจกรรม

วันที่ 17 สิงหาคม 2558 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกข้อมูลกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้กิจกรรมที่ถูกต้องสมบูรณ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตรวจสอบการบันทึกข้อมูลกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการนำเอกสารมาตรวจสอบความถูกต้อง

 

2 2

17. ล้างอัดภาพถ่ายโครงการ

วันที่ 20 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อนำภาพมาประกอบเอกสารของกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ภาพประกอบกิจกรรมของโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ล้างอัดภาพถ่ายโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

นำไฟล์ภาพที่ถ่ายเก็บไว้ทุกกิจกรรมมาล้างอัดขยาย

 

2 2

18. เตรียมข้อมูลเพื่อทำรายงาน

วันที่ 22 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้มีข้อมูลก่อนนจะปิดกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ข้อมูลกิจกรรมของโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เตรียมข้อมูลเพื่อทำรายงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการเตรียมเอกสารกิจกรรมเพื่อจะปิดโครงการ

 

2 2

19. จัดทำรายการสรุปโครงการ

วันที่ 26 สิงหาคม 2558 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสรุปโครงการ ปิดโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • กิจกรรมของโครงการเสร็จสิ้นทุกกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำรายการสรุปโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการจัดทำเอกสารปิดโครงการ

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 36 36                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 179,700.00 171,606.00                  
คุณภาพกิจกรรม 144 105                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน
  • คณะทำงานมาร่วมกิจกรรมล่าช้า ไม่ตรงต่อเวลา
  • คนสรุปทำรายงาน ไม่มีเวลาในการทำรายงานกิจกรรม
  • คณะทำงานมีภาระคือต้องทำงาน
  • คนสรุปรายงานทำงาน และต้องดูแลลูก เพราะลูกยังเล็ก
  • ผู้รับผิดชอบโครงการพยายามนัดวันเวลาที่คณะทำงานว่างจริงๆ

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นางสาว ไมมู่น๊ะ หลีหาด
ผู้รับผิดชอบโครงการ