ความมั่นคงทางอาหาร หมู่ที่ 13 บ้านทุ่งพัฒนา (ต่อยอดโครงการ 3 ออมฯ)

วิเคราะห์ข้อมูล โดยเชิญวิทยากรเข้าร่วมในการประชุม20 ตุลาคม 2557
20
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย จันทนา อานัน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการลงเก็บข้อมูล
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ในวันที่ 20 ตุลาคม 2557 เริ่มเวลา 9.00 น. นางสาวจันทนา  อานัน ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวเปิดการประชุม แจ้งเพื่อทราบ
  • เรื่องการไปศึกษาดูงาน ณ.บ้านหนองกลางดง ต.ศิลาลอย อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันท์ ร่วมกับทีม สกว.และ สยามกัมมาจล กล่าวถึง กระบวนการทำงานของผู้ใหญ่โชคชัย ทีมีความอดทน ความมานะ ความร่วมไม้ ร่วมมือกันชุมชน จากการเป็นผู้ใหญ่บ้านมา 18 ปี ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเกิดการยอมรับจากชุมชน ซึ่งจะมีตัวชี้วัด อยู่ 2 ตัว ในการทำงาน คือ 1. ตัวเอง 2. เพื่อน/คนรอบข้าง
  • ซึ่งจะเป็นตัววัดการทำงานของตนเอง ว่าจะไปในทิศทางไหน ดีขึ้น หรือ แย่กว่าเดิม  โดยหลักสำคัญที่สุดในการจัดกระบวนการของหมู่บ้าน คือ แผนชุมชน พึ่งตนเอง ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะเป็นกระจก กลับมาพัฒนาตนเอง ซึ่งตรงกับ กิจกรรมของเราที่ก่อนจะทำงานอะไรก็แล้วแต่ จะต้องมีข้อมูล ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
  • อีกอย่างนึง ในการจัดการที่สำคัญอีกตัวหนึ่งของหมู่บ้านคือ สภา 59 โดยมาจากแกนนำหรือตัวแทนของกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ท่านก็ได้แนะนำในเรื่องของการเลือกตัวแทนว่า คุณสมบัติที่พึงประสงค์ คือ 1. เป็นคนฉลาด 2. มีจิตใจสาธารณะ/จิตใจดี 3. เป็นคนที่พูดจารู้เรื่อง / ประชาสัมพันธ์ได้
  • เรื่องการลงสำรวจจำนวน 60 ชุด มีการสำรวจในเรื่องของ
  • ข้อมูลพื้นฐาน
  • ข้อมูลด้านสุขภาพ และ การออกกำลังกาย
  • ข้อมูลด้านพืชผักที่ปลูกในครัวเรือน
  • ข้อมูลเรื่องสัตว์เลี้ยงในครัวเรือน
  • ความรู้เรื่องภูมิปัญญา ประเพณี และวัตนธรรม
  • ในหมู่บ้านแกนนำที่ลงไปสำรวจ นางสาวศรีสุดา โกบหลำ พูดว่า จากการลงสำรวจ ทุกคนให้ความร่วมมืออย่างดีมาก เพราะจะเป็นการดีที่ได้แบบฟอร์มที่ออกแบบจากชุมชนโดยตรง เนื้อหาสาระก็ไม่วกวนจะเกินไป อ่านง่าย เข้าใจง่าย
  • นางยูรีด๊ะ ยาบาจิ พูดว่า เมื่อลงไปสำรวจแล้ว หลายคนอยากรู้ อยากเข้าร่วมเพิ่มอีกหลายคน จึงแนะนำไปว่า จะมีการสำรวจเพิ่มอีก ถ้าใครที่สนใจ
  • นางสาวอารีดา ชายเหตุ พูดว่า ในแบบสำรวจเรื่องการเก็บเมล็ดพันธุ์ จะเห็นว่า หลายคนปลูกผัก แต่ไม่มีการเก็บเมล็ดพันธุ์ ซึ่งหลังจากทำโครงการนี้ เชื่อว่า จะเป็นการดีที่จะทำให้ชุมชนให้มาใส่ใจเรื่องการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ต่อ ๆ ไป
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จัดสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ในการประชุม
  • เชิญวิทยากรเข้าร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูล
  • ประสานคณะทำงานที่ลงเก็บข้อมูล
  • วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 16 คน
ประกอบด้วย
  • วิทยากร 1 คน
  • คณะทำงาน 15 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-น.ส.อนัญญา แสะหลี , นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • อยากให้มีแบบตัวอย่างของการวิเคราะห์บ้าง เพื่อเป็นแนวทางให้กับชุมชนต่อไป