แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการตนเองด้วยกระบวนการสภาชุมชนบ้านบากันเคย
ตัวชี้วัด : 1.เกิดสภาองค์กรชุมชนนบากันเคย

 

 

  • สภาองค์กรชุมชนบ้านบากันเคยเป็นสภาที่ยังไม่ชัดเจน เนื่องจากการเสียสละของตัวแทนชุมชนมีน้อยและบางครั้งคนที่เสียสละเข้ามายังไม่ได้รับการยอมรับจากสมาชิกชุมชนส่วนใหญ่ ทำให้การแก้ไขปัญหาบางอย่างเป็นไปแนวางแดียวกัน แต่บางปัญหาแนวทางการแก้ไขยังไม่สอดคล้องกันมีความเห็นที่แตกต่างกันยังหาจุดศูนย์กลางไม่ได้ ส่วนเรื่องการกำหนดกฎกติการการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรของชุมนสภาองค์กรชุมชนบ้านบากันเคยส่วนใหญ่มีความคิดเห็นที่ตรงกัน คือ 1. ห้ามทำการประมงทุกชนิดบริเวณห่างจากฝั่งลงในทะเลเป็นระยะ300 เมตร จนถึงหน้ากระชัง (ยกเว้น ย้ำกั้ง ตกปลา ไซปูดำ)
  1. ห้ามทำประมงทุกชนิดบริเวณ แนวเขตปะการังเทียม (ยกเว้น ตกปลา)
  2. ต้องมีการปลูกพันธ์ไม่ป่าชายเลน อย่างน้อย ปีละ 2,000ต้น (หรืออย่างน้อย 2 ไร่/ปี)
  3. ต้องมีการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำอย่างน้อย ปีละ2 ครั้ง ส่วนเรือประมงพานิช ที่มาทำการประมงบริเวณหน้าอ่าวตันหยงโป มีทั้งอวนลาก อวนลุน การไดหมึกที่ใช้แรงวัตต์ไฟฟ้าสูงมากๆๆ ทำให้ปลาหมึกหน้าอ่าวตันหยงโปหมดไป และสัตว์เล็กๆก็ตายหมดรวมทั้งหญ้าทะเลด้วย จึงต้องให้ทางประมงจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการเนื่องจากชาวบ้านไม่สามารถดำเนินการแก้ไขได้ ในส่วนนี้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงโปได้เรียกผู้นำ อปท.ที่มีพื้นที่ติดกับชายฝั่งทะเลทั้งจังหวัดสตูล พร้อมด้วยตัวแทนจากประมงจังหวัด กรมเจ้าท่า มาปรึกษาหารือ ถึงมาตรการการทำประมงพื้นบ้าน ชนิด ขนาด ของอุปกรณ์ เครื่องมือการทำประมงพื้นบ้าน ให้มีมาตรฐานเดียวกัน และวิธีการจัดการกับเรือประมงพานิชที่เข้ามาทำการประมงบริเวณหน้าอ่าวของแต่ละพื้นที่ ส่วนเรื่องอื่นๆยังไม่สามารถดำนเนิการได้ เช่น กฎการเลี้ยงสัตว์

- สรุปว่าการกำหนดกฎกติการการใช้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งสามารถดำเนินการได้จริงสำหรับในชุมชน

2 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรชายฝั่งประมงพื้นอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด : 1.ประชาชนจำนวน 50 คน มีความรู้ความเข้าใจและให้ความตระหนักต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรบ้านบากันเคย 2.มีการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรคือ ปลูกป่าชายเลน ,ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ การวางปะการังเทียม ฯลฯ ปีละ 4 ครั้ง

 

 

  • ประชาชนที่เข้าร่วมทำกิจกรรมของชุมชนจำนวน 50 คน ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ฟืนฟูของทรัพยากรของชุมชนรวมทั้งมีความตระหนักต่อการอนุรักษ์ฟืนฟูเป็นอย่างดีและได้มีการถ่ายถอดองค์ความรู้ที่ได้จัดเก็บและรวบรวมมูลภายในชุมชนจากบุคคลที่มีองค์ความรู้แต่ละด้าน คือ นายสมาน มะสมัน มีความเชี่ยวชาญ เรื่องทิศทางลม นายนายกูสมาแอ สตอหลง มีความเชี่ยวชาญเรื่องทิศางน้ำ และทั้งสองสามารถถ่ายทอดประวัติความเป็นมาของชุมชนได้เป็นอย่างดี และทางคณะทำงานและประชาชนที่เข้าร่วมทำกิจกรรม ได้ริเริ่มก่อตั้งธนาคารสัตว์น้ำชุมชนบ้านบากันเคย (ปูม้าไข่นอกกระดอง) เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสัตว์น้ำ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือหนึ่งในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายในชุมชน สืบเนื่องจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันเนื่องมาจากวิถี การผลิต และการใช้ประโยชน์ทรัพยากร นำไปสู่การการก่อตัวของชุมชนในการเข้ามามีบทบาทบทจัดการทรัพยากรในรูปแบบต่างๆ ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชน ทำให้สามารถนาไปสู่การจัดการทรัพยากรของชุมชนที่เป็นระบบ เป็นรูปธรรม และคืนความสมบูรณ์แก่ระบบนิเวศชายฝั่ง ซึ่งแนวทางในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งแบบยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของของชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ สามารถเรียนรู้ ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์และร่วมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และพัฒนาองค์ควารู้ในการจัดการทรัพยากรและการดำรงชีวิตได้

  • กิจกรรมการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ว่างเปล่าและในพื้นที่เสื่อมโทรมเพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับทรัพยากรธรรมชาติและเพิ่มความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ และปรับระบบนิเวศให้สมดุลกันและเพิ่มปริมาณพื้นที่ป่าชายเลนให้เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เพิ่มแหล่งพลังงาน อาหาร และที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ตามธรรมชาติ และ ช่วยป้องกันชายฝั่งทะเลจากการกัดเซาะพังทลายกำบังคลื่น ลม กระแสน้ำและพายุ ที่พัดมาทำลายทรัพย์สินบริเวณบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยของประชาชนในชุมชน

  • จากการจัดกิจกรรมได้รับการตอบรับจากชุมชนเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นกิจกรรมที่เห็นผลเป็นรูปธรรม และสามารถทำได้บ่อยครั้ง และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชน โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงโป สำนักงานประมงจังหวัดสตูล สำนักงานพัฒนาป่าชายเวนที่ 35 และ 34 จังหวัดสตูล หน่วยทหารพัฒนาเคลื่อนที่ 45 สตูล ทำให้ทุกคนในชุมชนจึงเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรมากขึ้น นำไปสู่การกำหนดกฎระเบียบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและการกำหนดพื้นที่และช่วงเวลาในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงการทำธนาคารปูม้า เป็นต้น
3 เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส.และ สจรส.

 

 

จำนวน 3 ครั้ง