อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านบากันเคย

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 514 พฤศจิกายน 2557
14
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย laddawan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทบทวนแบบสอบถามและสรุปผลการสำรวจข้อมูลครั้งที่ 1 และวางแผนการลงสำรวจข้อมูลครั้งที่ 2 ต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมสรุปผลการจัดเก็บข้อมูล ดังนี้
        1.1 จำแนกประเภท อาชีพ
        1.2 จำแนกขนาด     - จำนวนครัวเรือนที่สำรวจ
  2. ปรับปรุงแบบสอบถามให้มีความรัดกุมมากขึ้น
  3. วางแผนออกสำรวจรอบที่ 2
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการสำรวจข้อมูลด้านความมั่นคงทางอาหาร จำนวน 5 วันดังนี้ 1. มีประชาชนทำอาชีพประมงพื้นบ้าน จำนวน 85 ครัวเรือนดังนี้ 1) อวนกั้ง-กุ้ง-ปู38 ลำ 2) อวนปลาเหยื่อ4 ลำ3) อวนปลากุเรา 7 ลำ4)ไซกั้ง 20 ลำ 5)ไซปลาเก๋า 6 ลำ 6)ไดหมึก 3 ลำ 7)เบ็ดราว(ราไว)3 ลำ 8)ตกเบ็ด 5 ลำ 9)รุนกุ้งเคย 1 ลำ
2.ชนิดและขนาดของเรือ และเครื่องยนต์ ชาวประมงพื้นบ้านในที่นี้ หมายถึง ชาวประมงที่ไม่มีเรือประมงและชาวประมงที่เรือประมง ใช้เรือก็จะเป็นเรือหางยาว หรือเรือกอและ เรือท้ายตัด ตั้งแต่ไม่มีเครื่องยนต์จนถึงมีเครื่องยนต์ขนาด ๑ - ๗ แรงม้า และใช้เครื่องมือประมงแบบพื้นบ้านที่มีลักษณะเรียบง่าย สามารถเลือกจับสัตว์น้ำได้เฉพาะชนิด เช่น อวนลอยปลา อวนลอยกุ้ง อวนจมปู แห เบ็ด ลอบ ไซ เป็นต้น ใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลักและเป็นการประมงเพื่อยังชีพ 3. เวลาการออกทำประมงและการเข้ากลับมาไม่พร้อมกันบางครั้งต้องรอถึง 14.00 น. ซี่งเป็นเวลาไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับแหล่งที่ไปหาและเวลาน้ำขึ้น-น้ำลง ของแต่ละวัน 4. ทรัพยากรที่สำรวจ มีดังนี้ - กั้ง 250 กิโลกรัม กุ้ง25กิโลกรัมปูม้า 530กิโลกรัม ปูดำ 190กิโลกรัมปลากุเรา 150 กิโลกรัมปลาเก๋า10 กิโลกรัม ปลากะพง 125 กิโลกรัมปลาจราเม็ด 30 กก. ปลาเหยื่อ 180กก.
- ปลาแบน 450 กิโลกรัม ปลาจ๋องม๋อง 40 กิโลกรัม 5. สถานทีที่ออกทำการประมง คือ เกาะสาม,เกาะโกย,เกาะหัวมัน ,เกาะหัวมัน, เกาะกวาง ,เกาะผี,เกาะมดแดง,คลองตะเหมี๊ยง, คลองการัง ลังกาวี เขตแดนมาเลเซีย 6. ชาวประมงพื้นบ้านมีปัญหาที่เกิดจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรประมง คือ กุ้งปลาในทะเล ลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบถึงรายได้และการดำรงชีพทางด้านต่างๆ 7. สาเหตุที่ชาวบ้านต้องทำอาชีพประมงพื้นบ้าน คือ • มีรายได้เลี้ยงชีวิตอย่างพอเพียงถ้าทรัพยากรสมบูรณ์ • มีเวลาอยู่กับครอบครัว • มีเวลาทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวม เช่น การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร • มีเวลาร่วมกิจกรรมทางสังคมของชุมชน เช่น งานแต่งงาน งานมัสยิด • มีอาชีพรองที่สัมพันธ์กับอาชีพประมง เช่น การเลี้ยงปลา ถักอวน ซ่อมเรือ • ไปจับสัตว์น้านอกพื้นที่ในบางฤดูกาล

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 27 คน
ประกอบด้วย
  1. ผู้นำชุมชน 3 คน
  2. กรรมการหมู่บ้าน 3 คน
  3. ตัวแทน อสม. 5 คน
  4. ประชาชน 4 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายตราเหมโคกน้อย
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-