อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านบากันเคย

จัดเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน11 มีนาคม 2558
11
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย laddawan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อคืนข้อมูลที่จัดเก็บได้คืนให้กับชุมชนได้รับทราบข้อมูลด้านทรัพยากรและด้านต่างๆของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานประชุมแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบงานเวทีคืนข้อมูล ดังนี้
1. ประสานงานติดต่อกับหน่วยงานส่วนราชการในพื้นที่ เช่น อบต. รร. รพ.สต.ตำบล 2. ฝ่ายจัดสถานที่ และติดต่อขอใช้สถานที่
3. ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม 4. ฝ่ายติดต่อวิทยากร และปราชญ์ชาวบ้าน และจัดทำเอกสารรูปเล่ม 5. ฝ่ายอาหารและต้อนรับ กิจกรรม การคืนเวที
1. วิทยากรบรรยายถึงความสำคัญของข้อมูลที่จัดเก็บได้ การใช้ประโยชน์ของข้อมูล และการชี้ให้เห็นปัญหาที่ได้จากข้อมูลที่เก็บได้มี 2. การบอกเล่าของปราชญ์ชาวบ้าน (บรรยาย) 3. กิจกรรมการแสดงประกอบการเล่าสู่กันฟังของปราชญ์ กำหนดการ 08.30 น. ลงทะเบียน
09.00 น. นายก อบต.ตันหยงโป เปิดเวทีเสวนาการคืนข้อมูลให้กับชุมชน  และบรรยายพิเศษเรื่องความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยาการทางแทะเลและชายฝั่งของชมชนบ้านบากันเคย
10.00 น. วิทยากร บรรยาย ข้อมูลที่จัดเก็บได้มาจากการสำรวจของคนในชุมชนเอง และสะท้อนปัญหาของการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของชุมชนโดยไม่เห็นความสำคัญของทรัพยากร 12.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง และละหมาด
13.30 น. ปราชญ์ชาวบ้านนเสนอเรื่องราวในอดีตประกับการแสดงของเยาวชน
14.30 น. เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและของตำลงในการใช้ประโยชน์ของทรัพยาการของชุมชน 15.30 น. ปลัด อบต. บรรยายพิเศษ เรื่องความสำคัญของทระพยากรและการอนุรักษ์ไว้เพื่อให้มีใช้ตลอดไป 16.00 น. ปิดกิจกรรมเวทีคืนข้อมูล 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลจากการจัดเวทีคืนข้อมูล
- ทำให้ทราบว่า  อาชีพประมงพื้นบ้านที่ประชาชนบ้านบากันเคยทำกันมาก คือ การวางอวน วางไซ กั้ง, และ ปู ซึ่งมีปริมาณที่มากว่าชนิดอื่นและหาได้ง่ายกว่าและมีราคาสูงกว่าสัตว์น้ำชนิดอื่น การบริโภคของตลาดก็มีความนิยม แต่ปัจจุบันการออกทะเลแต่ละครั้งไม่มีความแน่นอน และใช้เวลานาน บางครั้งต้องออกไปไกล ถึงแดนมาเลเซีย เนื่องจากปริมาณสัตว์น้ำลดลง สาเหตุของปัญหาเกิดมาจาก การเพิ่มของจำนวนชาวประมงพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไป ซึ่งไม่เพียงแต่ชาวประมงพื้นบ้านในชุมชนนี้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงชาวประมงพื้นบ้านชุมชนใกล้เคียง คือ ตำบลเกาะสาหร่าย ตำบลปูยู ตำบลเจ๊ะบิลัง ตำบลตำมะลัง และยังไม่รวมเรือประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ ก็ยังมีการเข้ามาทำกินในอ่าวตันหยงโป แห่งนี้ สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งกำลังการผลิตตามธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดบวกกับกำลังการใช้ประโยชน์ที่นับวันจะทวีมากขึ้นอย่างไร้ขอบเขต ไร้การควบคุม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังรอการแก้ไข - ทำให้ชุมชนเกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรมากขึ้นและเกิดการเรียนรู้จากประสบการจากการทำกิจกรรมต่างๆ และมีการถ่ายทอดความรู้ที่ได้ให้กับเพื่อนในชุมชน
- ชุมชนจึงเกิดการรวมกลุ่มกันเพื่อแก้ไขปัญหาด้านทรัยพากรโดยการสร้างทุนทางสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชน การสร้างเสริมเครือข่ายและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนและองค์กรเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรและชุมชน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรชายฝั่งเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกและชุมชน ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อประสานความร่วมมือในการฟื้นฟูและการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 94 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  1. กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากร
  2. กลุ่มอาสาสมัครประมงพื้นบ้าน
  3. ประชาชนในพื้นที่
  4. หน่วยงานส่วนราชการในพื้นที่
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.คนในชุมชนยังน้ำข้อมูลที่จัดเก็บได้มาใช้ประโยชน์ไม่ครอบถ้วน จึงจำเป็นต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้มาช่วยแนะนำ 2.การเสียสละของชุมชนยังมีน้อย จำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจและปลูกจิตสำนึก 3.ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายตราเหมโคกน้อย
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-