อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านบากันเคย

ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายแลน ครั้งที่ 319 มีนาคม 2558
19
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย laddawan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำและพื้นที่ป่าชายเลนให้มากขึ้นและทดแทนสัตว์ที่ถูกจับไปและเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนได้รู้จักการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและใช้อย่างรู้คุณค่า

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดขั้นตอนและกระบวนการ 1. แบ่งงานหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะทำงาน       1.1 เตรีนมสถานที่ปล่อยพันธ์สัตว์และปลูกป่าชายเลน โดยกันอวนและไม้ไฝ่สำหรับเป็นที่เพาะพันธ์ปู       1.2 ติดต่อขอรับพันธ์ไม้และพันธ์ปู       1.3 ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ชุมชนบากันเคย เตรียมพันธฺปูม้า จำนวน 60 ล้านตัว สำหรับปล่อยลงทะเล       1.4 ฝ่ายต้อนรับและประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม กิจกรรมที่ปฏิบัติ 1. ปล่อยพันธ์ปูดำจำนวน 2,000 ตัว โดยขอรับการสนับสนุนจากสถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 35 สตูล 2. ปลูกพพันธ์ไม้โกงกางจำนวน 1,000  ต้น
3. ปล่อยพันธ์ปูม้า จำนวน 60 ล้านตัว จากถังที่ได้เพาะพันธ์ไว้ของกลุ่มอนุรักษ์บ้านบากันเคย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการทำกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายเลน ครั้งที่ 3 ทำให้ประชาชนในชุมชนมีความตื่นตัวและมีส่วนร่วมกับการอนุรักทรัพยากรมากขึ้น เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรและการมีส่วนร่วม จึงทำให้เกิดกลุ่มอนุรักษ์พันธ์ปูม้าบากันเคย โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำร่องในการทำและมีชาวบ้านจำนวน 3-5 คน เป็นแกนนำในการก่อตั้งกลุ่ม และกิจกรรมครั้งนี้ได้เพิ่มการปล่อยพันธ์ปูดำ ในพื้นป่าชายเลนที่ได้เตรียมไว้ จำนวน 2 ไร่ โดยล้อมด้วยอวนและไม้ไฝ่ เป็นการอนุบาลปูและขยายพันธ์ในพื้นที่ต่อไป

กิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายเลน ครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการและเอกชน หลายฝ่าย คือ สำนักงานประมงจังหวัดสตูล สถานีพัฒนาป่าชายแลน ทหารหน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ 45 สตูล เกษตรจังหวัดสตูล เครื่อข่ายศิษย์เก่านิด้า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงโป โรงเรียนบ้านตันหยงโป โรงเรียนบ้านหาดทรายยาว องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงโป และประชาชนในพื้นที่ทุกคน  ซึ่งทุกฝ่ายให้เห็นความสำคัญในการอนุรัษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกิจกรรมต่างๆได้รับการตอบรับจากประชาชนในพื้นที่และหน่วยงานภายนอกเป็นอย่างดี เป็นการรวมเครือข่ายภาคีทุกผากส่วนในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และชุมชนมามีบทบาทในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรด้วยตนเอง  ทำให้ชุมชนมีแนวทางการอนุรักษ์ที่เชื่อมโยงระหว่างการจัดการทรัพยากรทางทะเลด้วยแนวคิดการพึ่งพากันของ น้ำ ป่า ทะเล โดยการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ปลูกจิตสำนึกเพื่อลดการใช้สารเคมี หันมาพึ่งพิงวิถีธรรมชาติใช้สารสมุนไพรธรรมชาติ ตามวิถีดั้งเดิม แก่กลุ่มชาวประมง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  1. สถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 35 สตูล  จำนวน 3 คน
  2. รพ.สต. ตันหยงโป  จำนวน 2 คน
  3. อบต.  จำนวน  5 คน
  4. เยาวชน 30  คน
  5. ประชาชน  20  คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การเสียสละของคนในชุมชนมีน้อย

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายตราเหมโคกน้อย
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-