อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านบากันเคย

วางปะการังเทียม15 เมษายน 2558
15
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย laddawan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งและผลผลิตทางการประมง (การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) และฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของชาวประมงทะเลพื้นบ้านให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แบ่งหน้าที่คณะทำงานให้รับผิดชอบ ดังนี้ - นายรอซาด สุวาหลำ นายกูสารดีสตอหลง และ นายสาบรี เส็นดากันมีหน้าที่ หาเรือจำนวน 10 ลำ ในการลำเรียงวัสดุปะกังเทียม และจัดหาน้ำมันในการขนส่ง - นายวีระศักดิ์ มะสมัน นายจำปัน ปันดีกา นายสมาน มะสมัน มีหน้าที่ สำรวจพื้นที่กำหนดแนวเขตวางปะกังเทียมและวางทุ่น และจุดการทิ่งปะการังเทียม - นายกิตติหมัดตานี นายรอซาด สุวาหลำ มีหน้าที่ จัดหาวัสดุปะการังเทียม และขนย้ายจากฝั่งไปยังท่าเทียบเรือ เป็นท่อซีเมนต์จำนวน200 ท่อน และยางรถยนต์ จำนวน 100 ชิ้น และทุ่นจำนวน 3 ลูก เพื่อวางเป็นแนวเขตอนุรักษ์ในทะเล - นายนสรีกรมเมือง นายสแลมันเส็นดากัน และ นายมะหาหมาดยุเหล่ มีหน้าที่เตรียมไม้เพื่อจัดทำสะพานชั่วคราวเพื่อขนย้ายวัสดุปะการังเทียมลงเรือ
ขั้นตอนการวางปะการังเทียม แบ่งคนออกเป็น 2 ชุด
ชุดที่ 1 อยู่บนฝั่ง มีหน้าที่ ขนย้ายวัสดุปะการังเทียมจากฝั่งบริเวณสะพานไม้ที่ทำขึ้นสำหรับขนย้ายวัสดุปะการังเทียมลงเรือ จำนวน 15 คน
ชุดที่ 2 อยุ่ประจำเรือ มีหน้าที่ นำปะกังเทียมที่อยู่ในเรือออกไปทิ้งตามจุดต่างๆที่ได้สำรวจไว้เเล้ว และวางทุ่นในการอนุรักษ์ตามแนวเขตที่สำรวจไว้ และวางทุ่นเพื่อบอกแนวเขตการวางปะการังเทียม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการวางปะการังทำให้ ด้านชีววิทยา สามารถรักษาบริเวณที่เป็นแหล่งเลี้ยงตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อน ทำให้ประชากรรุ่นใหม่ของ สัตว์น้ำที่จะเข้าสู่แหล่งทำการประมงมีมากขึ้นส่วนทางด้านเศรษฐกิจ เพิ่มแหล่งทำการประมงที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนการผลิต และด้านสังคม การบริหารการประมงของรัฐ ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความขัดแย้ง ทั้งนี้ยังก่อให้เกิด - ชาวประมงพื้นบ้านมีแหล่งทำการประมงเพิ่มขึ้น - ชาวประมงพื้นบ้านสามารถทำการประมงได้ปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น - สามารถป้องกันการลักลอบใช้เครื่องมือทำการประมงที่ผิดกฎหมาย (โดยทางอ้อม) - ความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการปกป้องดูแลเสริมสร้างความแข็งแรงให้สมดุลภายในระบบนิเวศทางทะเล - ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพิ่มขึ้นและเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ - เป็นการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำตามแนวชายฝั่งทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ชาวประมงมีรายได้จากการจับสัตว์น้ำมากขึ้น และบางรายมีรายได้จากการท่องเที่ยว เพื่อตกปลา - ประชาชนในชุมชนได้เห็นความทสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากร

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  1. คณะกรรมการหมู่บ้าน 4 คน
  2. ผู้นำชุมชน 2 คน
  3. ประชาชน 30 คน
  4. เยาวชน 14 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การจัดหาวัสดุปะการังเทียม มีจำนวนน้อย จึงต้องมีการระดมทุนในการจัดซื้อเพิ่มเติม การวางปะกังแต่ละครั้งต้องใช้ต้นทุงสูง จึงต้องขอความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่มาก

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายตรา เหมโคกน้อย
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

การงวางปะการังเทียมเป็นงานที่ดีมากและเห็นผลได้ชัดเจน เพื่อบริเวณที่ทิ้งปะการังเทียม จะมีปลามาอาศัยมาก สามมารถพัฒนาเป็นแหล่งตกปลา ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาตกปลาได้รวมทั้งประชาชนในชุมชนด้วย จึงต้องการให้ทาง สสส. สนับสนุนงบประมาณด้านการวางปะการังเทียมด้วย

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-