อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านบากันเคย

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 85 มีนาคม 2558
5
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย laddawan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปผลการจัดกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ ครั้งที่ 2 และวางแผนจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. สรุปผลการจัดกิจกรรมปล่อนพันธ์สัตว์น้ำ ครั้งที่ 2
    • เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอีกรูปแลลหนึ่งที่ได้รับความนิยมและสามารถกระทได้ไม่ยากทำให้ การปล่อยพันธ์สัตว์น้ำครั้งนี้ ได้ขอรับการสนับสนุนพันธ์กุ้งขาว และพันธ์ปลากะพงขาว จากหน่วยงาน สำนักงานเพาะพันธ์สัตว์น้ำประมงชายฝั่ง อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นพันธ์กุ้ง จำนวน5 แสนตัวและ พันธ์ปลากะพงขาว จำนวน 5 แสนตัว ส่วนพันธ์ไม้ป่าชายเลน ไดรับการสนุเคราะห์จากสถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 35 สตูล จำนวน500ต้น
    • มีการแบ่งหน้าที่ของคณะทำงาน เพื่อให้การทำงานที่รวดเร็วขึ้น ดังนี้1) นางสาวลัดดาวัลย์สุวรรณะมีหน้าที่ติดต่อหน่วยงานเพาะพันธ์สัตว์น้ำประมงชายฝั่ง อำเภอละงู จังหวัดสตูล เพื่อขอรับพันธ์สัตว์น้ำ และประสานเจ้าหน้าที่ คณะทำงาน เพื่อไปรับมอบและขนย้ายพันธ์สัตว์น้ำ2) นายกูสารดี สตอหลง นายวีระศักดิ์ มะสมัน นายจำปัน ปันดีกา การเตรียมสถานที่ในการปล่อยพันธ์กุ้งและปลา โดยการนำทางใบจาก และมะพร้าว มาปักไว้ใต้สะพานและรอบๆบันใดใต้สะพานบากันเคย เพื่อให้เป็นที่พักของลูกกุ้ง ลูกปลาที่นำมาปล่อย จะทำให้พันธ์สัตว์ที่ปล่อยมีโอกาสรอดมากขึ้น3) นางฝารีด๊ะ ยุเหล่ นางมารีย๊ะนวลจันทร์มีหน้าที่ ดูแลเรื่องอาหารและอาหารว่างสำรับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม และคณะทำงานที่เตรียมสถานที่ก่อนวันทำกิจกรรม4) นายรอซาด สุวาหลำ นายสมาน มะสมันและคณะทำงานอีก 3 คน มีหน้าที่ จัดเตรียมสถานที่ปลูกพันธ์ไม้ป่าชายเลน5) คณะทำงานที่เหลือ มีหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 29 มกราคม 2558 เวลา 09.00 - 14.00 น เนื่องจากการทำกิจกรรมแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา ช่วงเช้าจะเป็นกิจกรรมปล่อยพันธ์กุ้งและปลา เพราะเป็นเวลาที่น้ำขึ้นสูง การปล่อยพันธ์สัตว์น้ำช่วงนั้นจะทำให้พันธ์สัตว์ที่ปล่อยมีโอกาสรอดชชีวิตมากที่สุด และช่วงบ่าย จะเป็นกิจกรรม ปลูกป่าชายเลน เนื่องจากจะเป็นเวลาที่น้ำทะเลลงลึกมากที่สุดสามารถลงไปปลูกพันธ์ไม้ป่าชายเลนได้
  2. วางแผนการจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน โดยมีกิจกรรมเพื่อคืนข้อมูล ดังนี้

- วิทยากรบรรยายให้ความรู้และคืนข้อมูลให้กับชุมชน - ปราชญ์ชาวบ้านบอกเล่าความเป็นมาของชุมชน และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรเมื่อสมัยก่อนเปรียบเทียบกับปัจจุบัน และการสะท้อนปัญหาด้านทรัพยากรร่วมกับเยาวชน - ทำเอกสารข้อมูลแจกให้กับประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม - ทำข้อมูลลงไวนิลเพื่อให้ชุมชนทราบ การแบ่งหน้าที่
- นางสาวลัดดาวัลย์ สุวรรณะ มีหน้าที่ ติดต่อวิทยากร เพื่อมาให้ความรู้ของการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เก็บได้ - นายสมาน มะสมัน และนายกูสมาแอ สตอหลง เป็นปราชญ์ชาวบ้านมีหน้าที่บอกเล่าความเป็นมาของชุมชนและสะท้อนปัญหาของชุมชนร่วมกับเยาวชน - นางฝารีด๊ะยุเหล่และ นางมารีย๊ะ นวลจันทร์นางลีลา ปันดีกา มีหน้าที่ ดูแลด้านอาหาร และอาหารว่าง ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม - นายจำปัน ปันดีกา นายวีระศักดิ์ มะสมัน นายรอซาด สุวาหลำ มีหน้าที่ จัดสถานที่ในการจัดกิจกรรม ดดยขอใช้สถานที่อาคารตาดีกา บากันเคย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการจัดกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ มีประชาชนและเยาวชนให้ความสนใจเป็นเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยาการทางทะเลและชายฝั่งมากยิ่งขึ้น ร่วมทั้งกลุ่มองค์กรและหน่วยงานต่างๆก็ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของชุมชนบ้านบากันเคยและให้การสนับสนุนการทำกิจกรรมต่างๆด้วยดีเสมอมา  และการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งโดยชุมชนมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันมีองค์กรต่างๆ มากมายทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน และปัจจุบัน ระดับของการมีส่วนร่วมของประชาชนชุมชนบากันเคยมีมากขึ้น  และแนวความคิดของของชุมชนของการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทั้งกระบวนการนับว่าเป็นแนวทางที่ดี
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 27 คน
ประกอบด้วย
  1. ผู้นำชุุมชน จำนวน  3 คน
  2. คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 3 คน
  3. อสม. จำนวน 3 คน
  4. กลุ่มอนุรักษ์ทรักยากรบ้านบากันเคย จำนวน  3 คน
  5. ประชาชน จำนวน 4 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ชุมชนมีการตื่นตัวต่อการฟื้นฟู้ทรัพยานทางทะเลและชายฝั่ง แต่งยังมีปัญหาในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ชุมชนจึงมีการตั้งกฎ กติกา ในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของชุมชนและกหนดแนวเขตการอนุรักษ์อย่างชัดเจน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายตรา เหมโคกน้อย
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-