อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านบากันเคย

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 75 มกราคม 2558
5
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย laddawan
circle
วัตถุประสงค์

สรุปผลการลงสำรวจข้อมูลและวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ เพื่อคืนข้อมูลให้กับชุมชมนและวางแผนการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำครั้วที่ 2

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. สรุปผลการจัดเก็บข้อมูล จำนวน 15 วัน
  2. วางแผนกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ ครั้งที่ 2 เพื่อเป็นการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
        - การจัดหาพันธ์สัตว์น้ำ และพันธ์ไม้ป่าชายเลน  ให้ นางสาวลัดดาวัลย์  สุวรรณะ และ นายกูสารดี  สตอหลง เป็นผู้ประสานงานของรับพันธ์สัตว์น้ำและพันธ์ไม้ และการขนย้าย     - การจัดเตรียมสถานที่ปล่อยพันธ์สัตว์ และสถานที่ปลูกป่าชายเลน ให้ นายรอซาด  สุวาหลำ เป็นหัวหน้าทีมในการจัดเตรียมสถานที่    
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการสำรวจข้อมูลด้านความมั่นคงทางอาหาร จำนวน 5 วันดังนี้ 1. มีประชาชนทำอาชีพประมงพื้นบ้าน จำนวน 85 ครัวเรือนดังนี้ 1) อวนกั้ง-กุ้ง-ปู38 ลำ 2) อวนปลาเหยื่อ4 ลำ3) อวนปลากุเรา 7 ลำ4)ไซกั้ง 20 ลำ 5)ไซปลาเก๋า 6 ลำ 6) ไดหมึก 3 ลำ 7)เบ็ดราว(ราไว)3 ลำ 8)ตกเบ็ด 5 ลำ 9)รุนกุ้งเคย 1 ลำ
2.ชนิดและขนาดของเรือ และเครื่องยนต์ ชาวประมงพื้นบ้านในที่นี้ หมายถึง ชาวประมงที่ไม่มีเรือประมงและชาวประมงที่เรือประมง ใช้เรือก็จะเป็นเรือหางยาว หรือเรือกอและ เรือท้ายตัด ตั้งแต่ไม่มีเครื่องยนต์จนถึงมีเครื่องยนต์ขนาด ๑ - ๗ แรงม้า และใช้เครื่องมือประมงแบบพื้นบ้านที่มีลักษณะเรียบง่าย สามารถเลือกจับสัตว์น้ำได้เฉพาะชนิด เช่น อวนลอยปลา อวนลอยกุ้ง อวนจมปู แห เบ็ด ลอบ ไซ เป็นต้น ใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลักและเป็นการประมงเพื่อยังชีพ 3. เวลาการออกทำประมงและการเข้ากลับมาไม่พร้อมกันบางครั้งต้องรอถึง 14.00 น. ซี่งเป็นเวลาไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับแหล่งที่ไปหาและเวลาน้ำขึ้น-น้ำลง ของแต่ละวัน 4. ทรัพยากรที่สำรวจ มีดังนี้ - กั้ง 210 กิโลกรัม
- กุ้ง25กิโลกรัม - ปูม้า590กิโลกรัม
- ปูดำ 180กิโลกรัม - ปลากุเรา 24 กิโลกรัม - ปลาเก๋า8 กิโลกรัม
- ปลากะพง95 กิโลกรัม - ปลาเหยื่อ250กก.
- ปลาแบน 490 กิโลกรัม
- ปลาจ๋องม๋อง 45 กิโลกรัม - ปลาทราย 110 กิโลกรัม

  1. สถานทีที่ออกทำการประมง คือ เกาะสาม,เกาะโกย,เกาะหัวมัน ,เกาะหัวมัน, เกาะกวาง ,เกาะผี,เกาะมดแดง,คลองตะเหมี๊ยง, คลองการัง ลังกาวี เขตแดนมาเลเซีย
  2. ชาวประมงพื้นบ้านมีปัญหาที่เกิดจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรประมง คือ กุ้งปลาในทะเล ลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบถึงรายได้และการดำรงชีพทางด้านต่างๆ
    ผลการสำรวจทรัพยากรชายฝั่ง คือพันธ์ไม้ป่าชายเลนบริเวณชุมชุนบ้านบากันเคย ที่ได้จากการออกสำรวจของเจ้าหน้าที่ ดังนี้ ป่าชายเลนหรือ ฮูตันบาเกา ในภาษามาลายูที่ชาวบากันเคยเรียกกัน นับว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่าต่อระบบนิเวศชายฝั่ง การประมง และป่าชายเลนพื้นที่ป่าชายเลนบ้านบากันเคย มีเนื้อที่ประมาณ 900 ไร่ มีทั้งหมด 5 ชั้น แต่ละชั้นจะมีประกอบด้วยพันธ์ไม้ชนิดต่างๆ ดังนี้ ชั้นที่ 1พื้นที่ที่มีน้ำทะเลท่วมถึงทุกครั้ง ได้แก่ ไม้ลำพู ไม้แสม ไม้ปีปีดำ - ปีปีขาว ชั้นที่ 2มีพื้นที่เป็นชายเลนโคลนตก ได้แก่ ไม้โกงกางใบใหญ่เหงือกปลาหมอ ไม้ถั่วขาว-ถั่วดำ ไม้ตะบูนดำ-ตะบูนขาว
    ชั้นที่ 3 พื้นที่ที่มีน้ำทะเลท่วมถึงในขณะที่มีน้ำขึ้นสูงตามปกติ พบมากที่สุดคือโกงกางจะขึ้นหนาแน่นมากกว่าชนิดอื่น นอกนั้นยังพบไม้โปรงไม้ตะบูนดำ - ตะบูนขาว
    ชั้นที่ 4 พื้นที่ที่มีน้ำทะเลท่วมถึงเมื่อน้ำขึ้นสูงสุดเท่านั้น บริเวณนี้จะมีสภาพที่แห้งเกินไปไม่เหมาะกับไม้โกงกางจะขึ้นได้ แต่จะเหมาะสมกับพวกปรงทะเลไม้ฝาด กอจาก ไม้แป็ง
    ชั้นที่ 5 พื้นที่ที่มีน้ำทะเลท่วมถึงเมื่อน้ำขึ้นสูงสุดเป็นพิเศษเท่านั้น ได้แก่ ไม้เสม็ด มีปรงทะเล

    ชนิดไม้ป่าชายเลนบ้านบากันเคยที่พบมากที่สุด ได้แก่ไม้โกงกางไปใหญ่ไม้แสมรองลงมา ไม้ถั่วขาง-ดำ ลำดับที่ 3ไม้ปีปีขาว-ดำทีเหลือมีประปลายตามสภาพพื้นที่ ส่วนเหงือกปลาหมอทั่วทั้งป่าชายเลน

การนำทรัพยากรป่าชายเลนไปใช้ประโยชน์ 1. ต้นแสม นิยมตัดกันมากที่สุด นำมาทำเป็นที่อยู่อาศัย สิ่งปลูกสร้างต่างๆ เพราะเป็นไม้เนื้อแข็งมีความคบทนมากใช้งานได้ประมาณ 20 – 30 ปี
2. ต้นตะบูนดำนำมาทำเป็นที่อยู่อาศัย สิ่งปลูกสร้างต่างๆ เพราะเป็นไม้เนื้อแข็งมีความคบทนมากใช้งานได้ประมาณ 20 – 30 ปี
3. ต้นตะบูนขาวใช้งานน้อย นิยมนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ เนื่องจากมีลายไม้สวย ทำชานบ้าน 4. ต้นโกงกางนำมาทำเผาถ่านหุงต้ม คนบากันเคยไม่นิยมตันมากนัก เพราะนำมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้มามาก ไม่ค่อยคงทน 5. ต้นปีปีใช้ทำเป็นไซปลาเก๋า 6. ต้นลำพูเป็นไม้เนื้อแข็ง ใช้ทำที่อยู่อาศัย กงเรือ แผ่นกระดานเรือ 7. เหงือกปลาหมอ ใช้ทำเป็นยาสมุนไพรรักษาโรค 8. ต้นแป็งใช้ทำเป็นยาสมุนไพรรักษาโรค 9. ต้นจาก เป็นพื้นที่มีประโยชน์มาก ใบใช้ทำใบจากสูบยา ,ทำขนมจาก ก้านจากทำไม้กวาด ,ประดิษฐิ์เป็นที่วางหม้อ , ลูกจากทำขนม

สรุปผลจากการสำรวจความมั่นคงทางอาหาร ของชุมชนบ้านบากันเคย จำนวน 15 วัน ดังนี้
- กั้ง 740 กิโลกรัม
- กุ้ง68กิโลกรัม - ปูม้า1,740กิโลกรัม
- ปูดำ 580กิโลกรัม - ปลากุเรา 209 กิโลกรัม - ปลาเก๋า45 กิโลกรัม
- ปลากะพง305 กิโลกรัม - ปลาเหยื่อ560กก.
- ปลาแบน 1,300 กิโลกรัม
- ปลาจ๋องม๋อง 120 กิโลกรัม - ปลาทราย 210 กิโลกรัม - ปลาแดง 25 กิโลกรัม - ปลาจราเม็ด 20 กิโลกรัม

ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ
จากการลงพื้นที่สำรวจอาชีพและปริมาณสัตว์น้ำที่หาได้ของประชาชนบ้านบากันเคย พบว่า อาชีพที่ประมงพื้นบ้านที่ทำกันมาก คือ การวางอวน วางไซ กั้ง, และ ปู ซึ่งมีปริมาณที่มากว่าชนิดอื่นและหาได้ง่ายกว่าและมีราคาสูงกว่าสัตว์น้ำชนิดอื่น การบริโภคของตลาดก็มีความนิยม แต่ปัจจุบันการออกทะเลแต่ละครั้งไม่มีความแน่นอน และใช้เวลานาน บางครั้งต้องออกไปไกล ถึงแดนมาเลเซีย เนื่องจากปริมาณสัตว์น้ำลดลง สาเหตุของปัญหาเกิดมาจาก การเพิ่มของจำนวนชาวประมงพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไป ซึ่งไม่เพียงแต่ชาวประมงพื้นบ้านในชุมชนนี้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงชาวประมงพื้นบ้านชุมชนใกล้เคียง คือ ตำบลเกาะสาหร่าย ตำบลปูยู ตำบลเจ๊ะบิลัง ตำบลตำมะลัง และยังไม่รวมเรือประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ ก็ยังมีการเข้ามาทำกินในอ่าวตันหยงโป แห่งนี้ สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งกำลังการผลิตตามธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดบวกกับกำลังการใช้ประโยชน์ที่นับวันจะทวีมากขึ้นอย่างไร้ขอบเขต ไร้การควบคุม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังรอการแก้ไข

จากสภาพปัญหาดังกล่าว ชุมชนจึงมีแนวคิดในการดูแลรักษาทรัพยากรต่าง ๆ ของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลรักษาป่าชายเลน ทรัพยากรสัตว์น้ำต่างๆ โดยช่วยเป็นหูเป็นตาไม่ให้มีการทำลาย แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อการใช้

เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ชุมชนมีการสร้างทุนทางสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชน การสร้างเสริมเครือข่ายและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนและองค์กรเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรและชุมชน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรชายฝั่งเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกและชุมชน ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อประสานความร่วมมือในการฟื้นฟูและการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน คณะทำงาน โครงการอนุรักษ์ฟืนฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บ้านบากันเคย ได้สรุปประเด็นการสำรวจความมั่นคงทางอาหารและทรัพยากรชายฝั่ง ว่าอาชีพประมงพื้นบ้านที่ชาวบ้านทำมากที่สุด คือการออกอวนปู อวนกั้ง เพราะเป็นสัตว์ที่มีราคาสูงและความต้องการของตลาดมีมาก แหล่งที่หาก็อยู่บริเวณหน้าอ่าวตันหยงโป คือ เกาะสาม,เกาะโกย,เกาะหัวมัน ,เกาะหัวมัน, เกาะกวาง ,เกาะผี,เกาะมดแดง,คลองตะเหมี๊ยง, คลองการัง แต่ปัจจุบันจำนวนปู และกั้ง มีน้อยลง การออกทะเลแต่ละครั้งก็ต้องไปที่ไกลๆและใช้เวลานานขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมากแต่ผลผลิตกลับได้น้อย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 27 คน
ประกอบด้วย
  1. ผู้นำชุมชน 3 คน
  2. กรรมการหมู่บ้าน 3 คน
  3. อสม. 3 คน
  4. กลุ่มอนุรักษ์ บากันเคย 2 คน
  5. ประชาชนทั่วไป 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายตรา เหมโคกน้อย
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-