อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านบากันเคย

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 111 พฤษภาคม 2558
1
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย laddawan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปผลการวางปการังเที่ยม และวางผนการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ ครั้งที่ 4

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. สรุปผลการวางปะการังเที่ยม

- ผลที่ได้จากการวางปะการังเที่ยม 1) เพื่อฟื้นฟูผลผลิตทางการประมงเป็นการจัดการและพัฒนาทรัพยากรในท้องถิ่น 2) ฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของชาวประมงทะเลพื้นบ้านให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 3) ฟื้นฟูระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผลที่ได้จากการวางปะการังเทียม (ท่อซีเม็น) ได้วางปะการังเทียม จำนวน 2 จุด จุดละ 50 ลูก ระยะห่างจากฝั่งประมาณ 1,000 เมตร และมีการวางทุ่นเป็นแล้วแนวเขตปะการังเทียม เพื่อป้องกันไม่ให้เรือประมงวางอวนและ วางไซเนื่องจากแนวปะการังเทียมเป็นการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำโดยรวม มีสัตว์น้ำนานาชนิดอาศัยอยู่รวมกัน ทั้งกุ้ง, หอย, ปู และปลาหลายชนิดที่เป็นปลาประจำถิ่น เช่น กลุ่มปลากะพงหลายชนิด, ปลาเก๋า และปลาในแนวปะการังทั่วไป สามารถทำการตกปลาได้ ทำให้ประมงพื้นบ้านและนักท่องเที่ยวมาตกปลาเพิ่มมากขึ้น เป็นการสร้างอาชีพให้กับประชาชนในชุมชนอีกทางหนึ่ง - การมีส่วนร่วมของชุมชนประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือในการวางปะการังเทียมเป็นอย่างดี และเห็นความสำคัญของการวงปะการังเทียม เพราะชุมชนได้ประโยชน์โดยตรงจากกิจกรรมนี้ ชุมชนจึงเกิดแนวคิดการจัดเวรยามเพื่อเฝ้าระวังการทำประมงบริเวณเนวเขตปะการังเทียม ซึ่งเป็นการรักษาผลประโยชน์ของชุมชนเอง และเกิดจากความต้องการของชุมชนเอง โดยได้แรงกระตุ้นจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และประชาชนส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างรู้คุณค่าของทรัพยากรมากขึ้น - ผลตอบรับของชุมชนชุมชนให้การตอบรับกับกิจกรรมทั้งหมดของโครงการ เนื่องประชาชนทุกคนในชุมชนได้รับผลประโยชน์จากการทำโครงการทั้งสิ่้น และชุมชนเริ่มให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทัพยากรเพิ่มมากขึ้น และมีการเฝ้าระวังการลักลอบทำประมงบริเวณแนวเขตปะการังเทียม ของหมู่บ้าน
2. วางแผนการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำครั้งที่ 4
- การมอบหมายหน้าที่ หาพันธ์สัตว์น้ำ พันธ์ป่าไม้โกงกาง มอบให้ นางสาวลัดดาวัลย์สุวรรณะ เป็นผู้ติดต่อประสานงานในการขอพันธ์พืชและพันธ์สัตว์ กับหน่วยงานสถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 35 สตูล และสถานีเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่ง อำเภอละงูโดยให้ นายกูสารดีสตอหลง และนายวีรศักดิ์ มะสมัน เป็นผู้ไปรับพันธ์ต้นกล้าและพันธ์สัตว์ - การเตรียมสถานที่ปลูกป่า และปล่อยพันธ์สัตว์มอบหายให้ นายรอซาดสุวาหลำ และนายจำปันปันดีกาเป็นผู้ดำเนินการ
- การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม มอบหมายให้นางสาวฝารีด๊ะยุเหล่ และนางมารีย๊ะ นวลจันทร์ เป็นผู้ประชาสัมพันธ์ และให้ทุกคนช่วยกันประชาสัมพันธ์ด้วย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการทำกิจกรรมวางปะการังเทียม ชุมชนให้ความร่วมือเป็นอย่่างดี และเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพนากรทางทะเลและชายฝั่งมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมแต่ละครั้งจะมีจำนวนประชาชนเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้นทุกครั้ง และเกิดการรวมกลุ่มในการอนุรักษ์พันธ์ปูม้า โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่หน้าบ้านผู้ใหญ่ มีอุปกรณ์การเพาะพันธ์ปู ดังนี้  ถังสำหรับเพาะพันธ์ปูม้า ขนาด 10 ลิตร  จำนวน  10 ถัง เครื่องออกซิเจน จำนวน 10 ชุด ถังเก็บน้ำขนาด 2,000  ลิตร จำนวน 2 ถัง อุปกรณ์ทั้งหมด ได้รับบริจาค จาก หน่วยงาน อบต. ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และการสร้างโรงเรือน ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านทุกคนในชุุมชนบ้านบากันเคย และมีการเฝ้าระวังการลักลอบการทำประมงบริเวณเเนวเขตะการังเทียมอีกด้วย 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 21 คน จากที่ตั้งไว้ 27 คน
ประกอบด้วย
  1. คณะกรรมการหมู่บ้าน3 คน
  2. ผู้นำชุมชน 3 คน
  3. กลุ่มอนุรักษ์ 5 คน
  4. อสม. 3 คน
  5. เยาวชน7 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายตรา เหมโคกน้อย
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-