อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านบากันเคย

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1222 พฤษภาคม 2558
22
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย laddawan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปผลการวางมาตรการกฏกติกาการใช้ทรพยากรของชุมชนและถอดบทเรียนการทำงานโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สรุปผลการตั้งมาตรการ กฎกติกาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของชุมชน ตามที่ได้ประชุมกำหนดกฏกติกา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเล
และมีการปิดประกาศที่มัสยิด ดังนี้

  1. ห้ามทำการประมงทุกชนิดบริเวณห่างจากฝั่งลงในทะเลเป็นระยะ300 เมตร จนถึงหน้ากระชัง (ยกเว้น ย้ำกั้ง ตกปลา ไซปูดำ)

  2. ห้ามทำประมงทุกชนิดบริเวณ แนวเขตปะการังเทียม (ยกเว้น ตกปลา)

  3. ต้องมีการปลูกพันธ์ไม่ป่าชายเลน อย่างน้อย ปีละ 2,000ต้น หรือ 2 ไร่/ปี

  4. ต้องมีการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำอย่างน้อย ปีละ2 ครั้ง

    ให้ปิดประกาศทั้งชุมชนและมีการประกาศที่มัสยิดเพื่อให้ทุกคนได้รับทราบอย่างทั่วถึงและถือปฏิบัติอย่างเคร่วงครัด หากมีการฝ่าฝืนคนที่ได้ผลกระทบไม่ใช้ใครที่ไหนแต่เป็นคนในชุมชนนั้นเอง ดังนั้นทุกคนต้องปฏิบัติตามกฏกติกาที่ตั้งไว้เพื่อให้มีทรัพยากรใช้ตลอดไป

    1. การถอดบทเรียนจากการทำโครงการ ให้คณะทำงานสรุปผลโครงการที่ได้ดำเนินการมาแล้วทั้งหมด โดยสรุปตามวัตถุประสงค์ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข องค์ความรู้ที่ชุมชนได้รับการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ การจัดการกับทรัพยากรต่อไป
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการถอดบทเรียนโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านบากันเคย ดังนี้
ข้อสรุปที่ได้จากากรทำโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านบากันเคย คนบากันเคย ส่วนใหญ่ มีอาชีพประมงชายฝั่ง การประมงที่อาศัยเครื่องมือประมงอย่างง่าย ซึ่งได้รับการสืบสานมาจากภูมิปัญญาดั้งเดิม บ้างหรือได้จากการคิดค้นประดิษฐ์ใหม่บ้าง แต่มีลักษณะที่เหมือนกันคือ เป็นเครื่องมือที่ไม่ทำลายล้างและไม่เบียดเบียนทรัพยากรธรรมชาติมีความพอเพียง ประกอบกับเรือขนาดเล็กสำหรับออกหาสัตว์น้ำในทะเล ถือได้ว่าเป็นอาชีพที่ไม่มีในตำราเรียน มีความหลากหลายของทรัพยากรและมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง หากแต่การใช้ประโยชน์ก็มีความหลากหลายเช่นกัน ด้วยจำนวนชาวประมงพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไปรอบอ่าวตันหยงโป ซึ่งไม่เพียงแต่ชาวประมงพื้นบ้านในตำบลนี้ตำบลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงชาวประมงพื้นบ้านตำบลใกล้เคียง คือ ตำบลเกาะสาหร่าย ตำบลปูยู ตำบลเจ๊ะบิลัง ตำบลตำมะลัง ประมาณการว่าจะมีชาวประมงขนาดเล็กเข้ามาทำการประมงในบริเวณแห่งนี้ไม่ต่ำกว่า 1,500 ลำ และยังไม่รวมเรือประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ (จังหวัดใกล้เคียง เช่น ตรัง กระบี่ ภูเก็ต) ก็ยังมีการเข้ามาทำกินในอ่าวแห่งนี้ สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งกำลังการผลิตตามธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดบวกกับกำลังการใช้ประโยชน์ที่นับวันจะทวีมากขึ้นอย่างไร้ขอบเขต ไร้การควบคุม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังรอการแก้ไขเช่นกัน

ปัญหาการทำประมงที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลและละเมิดกฎหมายการทำประมง จะเกิดขึ้นกับชุมชนประมงในทุกพื้นที่ของประเทศไทย และชาวบ้านตันหยงโปก็ไม่เคยรู้เช่นกันว่ามีกฎหมายมาตราใดที่ระบุถึงข้อห้ามในการทำประมงทำลายล้างอย่างอวนรุน อวนลาก และเรือปั่นไฟ แต่เขารู้ว่าถ้าหากเรืออวนรุนเข้ามาทำการในอ่าวตันหยงโป นั่นหมายความว่า หายนะ กำลังคืบคลานเข้ามายังพื้นที่แห่งนี้

ด้วยวิถีชาวประมงพื้นบ้านที่ฝากปากท้องไว้กับความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล ส่งผลให้ช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาชุมชนในบ้านบากันเคย ได้ให้ความสำคัญในการดูแลรักษา และวางแผนการจัดการทรัพยากรมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีความพยายามที่จะสร้างการความร่วมมือในชุมชนด้วยกันเองและอาศัยภายใต้การมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาครัฐ นำไปสู่การจัดการทรัพยากรของชุมชนที่เป็นระบบและเป็นรูปธรรม ดังนี้

  1. การจัดการทรัพยากรชายฝั่งโดยชุมชน มีความสอดคล้องกับแนวคิดพื้นฐานที่มาจากการประสมประสาน การอนุรักษ์และการพัฒนา ดังนี้
    1.1 การสร้างจิตสำนึกให้กับคนในชุมชน และบุคคลภายนอกในการอนุรักษ์หวงแหนทรัพยากร และเห็นความสำคัญของทรัพยากรที่มีต่อมวลมนุษย์
    1.2 การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและบุคคลภายนอกในการเฝ้าระวังสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สุ่มเสี่ยงต่อความเสียหายของทรัพยากรชายฝั่ง
    1.3 การอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งในรูปแบบต่าง ๆ ที่เห็นได้ชัดในส่วนของกิจกรรมเกี่ยวกับป่าชายเลนตามแนวทางของชุมชนเป็นไปในลักษณะการปลูกทดแทนในส่วนที่โดนทำลายไปโดยฝีมือของมนุษย์แล้วหรือเสื่อมโทรมตามธรรมชาติ การใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับป่า เช่น การใช้ประโยชน์ไม้โกงกาง เพื่อการสร้างบ้านเรือน คอกสัตว์ มีการใช้ตามความเหมาะสม ไม่ทำลายล้าง การอนุรักษ์สัตว์น้ำ เป็นกิจกรรมสำคัญที่คนในชุมชนทุกคน มีจิตสานึกด้วยตัวเอง โดยการจับสัตว์น้ำขนาดใหญ่ ไม่จับสัตว์น้ำขนาดเล็ก หรือเมื่อติดเครื่องมือมาแล้วก็จะมีการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
    1.4 การกำหนดเขตอนุรักษ์ และเขตควบคุมการทำประมงผิดกฎหมายทำลายล้าง
    1.5 การวางกฎกติกา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของชุมชน

  2. แนวทางในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งของชุมชน เพื่อแก้ปัญหาทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน มีการประสานความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ นำไปสู่แนวทางในการจัดการ 4 แนวทาง คือ
    2.1 ร่วมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์การเกษตร (กลุ่มบากันเคย) ให้สามารถพึ่งตนเองได้
    2.2 ร่วมสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน
    2.3 ร่วมเรียนรู้ ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
    2.4 ร่วมสืบสานภูมิปัญญาพัฒนาองค์ความรู้

โดยอาศัยวิธีการหรือกระบวนการทำงานตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น ดังนี้
1. เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ซึ่งเป็นเป้าหมายในการทำงานด้านการอนุรักษ์ให้มีความตระหนักและมีจิตสานึกในการอนุรักษ์
2. เสริมสร้างกระบวนการกลุ่มในการทำกิจกรรมต่าง ๆ กล่าวคือ ในการทำกิจกรรมหรืองานต่าง ๆ ของกลุ่ม จะให้สมาชิกกลุ่มรวมตัวกัน โดยนำกระบวนการกลุ่มมาใช้ในการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
3. เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการทำงานและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม
4. การกระตุ้นสร้างจิตสานึกในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้กับคนในชุมชนผ่านการดำเนินการ ในกิจกรรมต่าง ๆ
5. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น หน่วยงานรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคีความร่วมมือต่าง ๆ ในการดำเนินงานกิจกรรม

จะเห็นได้ว่าชุมชนเกิดการเรียนรู้ การวิเคราะห์สภาพปัญหาอย่างถ่องแท้ ของชุมชน มีการกำหนดทิศทางและเป้าหมาย การวางแผนและการปฏิบัติที่สามารถดำเนินการได้จริง จึงเกิดการรวมตัวของคนในชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในรูปแบบต่างๆ ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาครัฐ ทำให้สามารถนำไปสู่การจัดการทรัพยากรของชุมชนที่เป็นระบบ เป็นรูปธรรม และคืนความสมบูรณ์แก่ระบบนิเวศชายฝั่ง และสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรชุมชน ให้สามารถพึ่งตนเอง และสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืนส่งเสริมการเรียนรู้ ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และร่วมสืบสานภูมิปัญญา พัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรและการดำรงชีวิต รวมทั้งการสนับสนุนจากภาคี องค์กรที่เกี่ยวข้อง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 27 คน
ประกอบด้วย
  1. กรรมการหมู่บ้าน  3 คน
  2. ผ้นำชุมชน 3 คน
  3. อสม.3 คน
  4. เยาวชน 3 คน
  5. เจ้าหน้าที่ อบต. อสม. โรงเรียน 4 คน
  6. ประชาชน 6 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การทำกิจกรรมและการคีย์ข้อมูลบ้างครั้งไม่ตรงต่อเวลา
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายตราเหมโคกน้อย
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี